มุก็อรนัศ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Muqarnas)
มุก็อรนัศตกแต่งส่วนทางเข้าเอย์วอนของศาลฟาฏิมะฮ์ บินต์ มูซา ในโกม ประเทศอิหร่าน

มุก็อรนัศ (อาหรับ: مقرنص, muqarnaṣ; เปอร์เซีย: مقرنس, moqarnas) หรือในสถาปัตยกรรมอิหร่านเรียกว่า ออฮูพอย (เปอร์เซีย: آهوپای, āhupāy) และในสถาปัตยกรรมสเปนเรียกว่า โมการาเบ (สเปน: mocárabe) คือรูปแบบหนึ่งของโครงสร้างทรงโค้งประกอบส่วนตกแต่งที่พบในสถาปัตยกรรมอิสลาม มุก็อรนัศถือเป็นรูปแบบแรกเริ่มของสถาปัตยกรรมอิสลาม เป็นส่วนหนึ่งของสิ่งก่อสร้างอิสลามที่มีต้นกำเนิดในรัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์[1] โครงสร้างของมุก็อรนัศมีที่มาจากสกวินช์ บางครั้งในวรรณกรรมภาษาอังกฤษอาจเรียกมุก็อรนัศว่า "โครงสร้างทรงโค้งรูปรวงผึ้ง" (honeycomb vaulting)[2] หรือ "โครงสร้างทรงโค้งรูปหินย้อย" (stalactite vaulting) หน้าที่ของมุก็อรนัศคือการสร้างพื้นที่เปลี่ยนผ่านให้เป็นไปอย่างกลมกลืนและมีการตกแต่งแทนที่จะปล่อยให้เป็นพื้นที่ว่างเปล่า โครงสร้างนี้ยังทำให้สามารถแยกส่วนหลักส่วนต่าง ๆ ของอาคารออกจากกัน และยังเป็นจุดเปลี่ยนผ่านระหว่างผนังห้องไปสู่เพดานรูปโดมเช่นกัน[3]

มุก็อรนัศมีความสำคัญมากในสถาปัตยกรรมอิสลามเนื่องจากรูปแบบที่วิจิตรงดงามนี้เป็นสัญลักษณ์แทนการรังสรรค์สากลของพระผู้เป็นเจ้า สถาปัตยกรรมมุก็อรนัศปรากฏในโดม, ทางเข้าครึ่งโดม, เอย์วอน และมุขโค้งด้านสกัด มุก็อรนัศสามารถแบ่งตามรูปแบบได้สองชนิดใหญ่ คือ แบบแอฟริกาเหนือ/ตะวันออกกลาง ซึ่งประกอบด้วยการวางรูปแบบชุดสามเหลี่ยมชี้ลงล่าง และแบบอิหร่าน ซึ่งประกอบด้วยชั้นส่วนที่เชื่อมต่อกัน[4]

อ้างอิง[แก้]

  1. Stephennie, Mulder (2014). The Shrines of the 'Alids in Medieval Syria : sunnis, shi'is and the architecture of coexistence. Edinburgh University Press. ISBN 9780748645794. OCLC 929836186.
  2. VirtualAni website. "Armenian architecture glossary". สืบค้นเมื่อ 2009-07-17.
  3. Bloom, Jonathan M. (1988). "The Introduction of the Muqarnas into Egypt". Muqarnas. 5: 21–28. doi:10.2307/1523107. JSTOR 1523107.
  4. "Muqarnas | School of Islamic Geometric Design". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-08. สืบค้นเมื่อ 2018-12-12.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]