กันดั้มภาคพื้นดิน
บทความนี้หรือส่วนนี้ของบทความต้องการปรับรูปแบบ ซึ่งอาจหมายถึง ต้องการจัดรูปแบบข้อความ จัดหน้า แบ่งหัวข้อ จัดลิงก์ภายใน และ/หรือการจัดระเบียบอื่น ๆ คุณสามารถช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้โดยการกดที่ปุ่ม แก้ไข ด้านบน จากนั้นปรับปรุงหรือจัดรูปแบบอื่น ๆ ในบทความให้เหมาะสม |
RX-79[G] กันดั้มภาคพื้นดิน | |
---|---|
ข้อมูลทั่วไป | |
ประเภท | โมบิลสูทรุ่นผลิตจำนวนมากสำหรับใช้งานภาคพื้นดิน |
ความสูง | 18 เมตร |
น้ำหนัก | 52.8 ตัน (พื้นฐาน) 73 ตัน (เต็มพิกัด) |
เกราะ | โลหะผสมลูนาไททาเนียม |
กำลังเครื่อง | 1350 กิโลวัตต์ |
อุปกรณ์ | บีมเซเบอร์ บีมไรเฟิล มัลติลันเชอร์ ปืนกล 100 มม. ปืนใหญ่ 180 มม. บาซูก้าลันเชอร์ มิสไซล์ลันเชอร์ 6 ลำกล้อง ปืนยิงตาข่าย โล่ |
นักบินสำคัญ | ชิโร่ อามาดะ คาเรน โจชัว เทอรี่ แซนเดอร์ จูเนียร์ แมท บิลลี่ |
RX-79[G] กันดั้มภาคพื้นดิน (ญี่ปุ่น: 陸戦型ガンダム) (อังกฤษ: Gundam Mass Production Ground Type) เป็นโมบิลสูทซึ่งปรากฏตัวในโอวีเอ โมบิลสูทกันดั้ม 08th ทีม ออกแบบโดยคุนิโอะ โอคาวาระ
กันดั้มภาคพื้นดินเป็นซีรี่ RX-79 ซึ่งผลิตจากชิ้นส่วนอะไหล่ของซีรี่RX-78ซึ่งมีค่าใช้จ่ายในการผลิตสูง จึงดัดแปลงโครงสร้างเป็นแบบปกติแทนโครงสร้างแบบระบบคอร์บล็อกและเปลี่ยนเป็นโมบิลสูทแบบใช้งานบนโลกโดยเฉพาะแทน ด้านหลังของRX-79[G]นั้นใช้เก็บอุปกรณ์ต่างๆหรือติดตั้งร่มชูชีพ จึงย้ายตำแหน่งที่เก็บบีมเซเบอร์มาไว้ที่ขาแทน ส่วนหัวติดตั้งกล้องเพอริสโคปสำหรับใช้งานใต้น้ำ ปืนกลวัลแคนจึงย้ายตำแหน่งไปไว้รวมกับมัลติลันเชอร์ที่ลำตัวด้านซ้าย แม้จะมีเครื่องกำเนิดพลังงานที่มีกำลังพอจะใช้บีมไรเฟิลได้ แต่RX-79[G]มักใช้ปืนกล100มม.และปืนใหญ่180มม.เป็นอาวุธมากกว่า
มีการผลิตRX-79[G]ประมาณ20เครื่อง ในจำนวนนี้มี12เครื่องประจำการกับหน่วยโคจิม่าในพื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงสงครามหนึ่งปี เพราะใช้ชิ้นส่วนของRX-78ซึ่งเลิกผลิตไปแล้ว การซ่อมแซมRX-79[G]จึงมักใช้ชิ้นส่วนของโมบิลสูทอื่นมาดัดแปลงแทน นอกจากภาคโมบิลสูทกันดั้ม 08th ทีมแล้ว กันดั้มภาคพื้นดินยังเป็นหนึ่งในโมบิลสูทตัวเอกของวิดีโอเกม โมบิลสูทกันดั้มไกเด็น Lost War Chronicles (機動戦士ガンダム戦記 Lost War Chronicles)
รูปแบบอื่นๆ
[แก้]RX-79[G]Ez-8 กันดั้มอีซี่ 8
[แก้]RX-79[G]Ex-8 กันดั้มEz8 | |
---|---|
ข้อมูลทั่วไป | |
ประเภท | โมบิลสูทสำหรับใช้งานภาคพื้นดิน |
ความสูง | 18 เมตร |
น้ำหนัก | 51.5 ตัน (พื้นฐาน) 71.7 ตัน (เต็มพิกัด) |
เกราะ | โลหะผสมลูนาไททาเนียม |
กำลังเครื่อง | 1380 กิโลวัตต์ |
อุปกรณ์ | ปืนกล 35 มม. บีมเซเบอร์ บีมไรเฟิล ปืนวัลแคน 12.7 มม. ปืนกล 100 มม. ปืนใหญ่ 180 มม. โล่ |
นักบินสำคัญ | ชิโร่ อามาดะ |
(ญี่ปุ่น:ガンダムEz8 ;อังกฤษ:Gundam Ez8) โมบิลสูทตัวเอกของโมบิลสูทกันดั้ม 08th ทีม ชื่อEz8นี้ย่อมาจากExtra Zero 8 เดิมทีกันดั้มEz8ก็คือRX-79[G]ของร้อยโทชิโร่ อามาดะ หัวหน้าหน่วย08ซึ่งได้รับความเสียหายอย่างหนักจากการพยายามหยุดโมบิลอาเมอร์ อัพซาลาสทูว์ เนื่องจากขาดแคลนอะไหล่ของRX-79[G] วิศวกรที่ซ่อมแซมจึงใช้ชิ้นส่วนอื่นๆมาเพิ่มประสิทธิภาพแทน
เกราะของกันดั้มEz8ได้รับการพัฒนาให้หนากว่าเดิม เสาอากาศแบบตัวVที่หัวถูกเปลี่ยนเป็นแบบปกติที่มีประสิทธิภาพสูงกว่า มัลติลันเชอร์ที่หน้าอกถูกถอดออกไปจึงมีพื้นที่ให้ติดตั้งเครื่องยนต์ที่มีกำลังมากกว่าเดิมได้ ด้านอาวุธกันดั้มEZ8เพิ่มปืนวัลแคนไว้ที่หัวและปืนกลต่อต้านบุคคลไว้ที่บริเวณลำตัว กันดั้มEz8ถูกทำลายในการต่อสู้กับโมบิลอาเมอร์อัพซาลาสทรี
กันดั้มEz8ได้รับการออกแบบโดยคิมิโทชิ ยามาเนะ
RX-79Ez-8 กันดั้มอีซี่8รุ่นปรับปรุง
[แก้]รูปแบบพิเศษของกันดั้มEz8ซึ่งปรากฏตัวครั้งแรกในวิดีโอเกม SD Gundam : G Generation Gather Beatสำหรับเครื่องวันเดอร์สวอนและไม่มีในประวัติศาสตร์จริงของประวัติศาสตร์ Universal Century กันดั้มEz8รุ่นปรับปรุงติดตั้งเวอเนียร์เสริมสำหรับใช้ขับเคลื่อนในอวกาศและสามารถติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเป็นRX-79Ez-8/HAC กันดั้มEz8แบบติดตั้งอาวุธหนักและRX-79Ez-8/HMC กันดั้มEz8แบบการขับเคลื่อนสูงได้
รุ่นติดตั้งอาวุธหนักนั้นนิยมเรียกสั้นๆแค่HAC(Heavy Armed Custom) เป็นรูปแบบที่เน้นการโจมตีจากแบ็คแพ็คซึ่งติดตั้งปืนมหาอนุภาคแบบเดียวกับที่ยานรบชั้นซาลามิสใช้ ส่วนขาของHACนั้นมีตัวยึดจับพิเศษซึ่งช่วยให้เล็งปืนสองกระบอกนี้ได้ง่ายขึ้น ส่วนร่างการขับเคลื่อนสูงหรือที่นิยมเรียกสั้นๆว่าHMC(High Mobility Custom)นั้นมีการเสริมเวอร์เนียร์ไว้ทั่วตัวเพื่อเสริมความคล่องแคล่วและแบ็คแพ็คแบบความเร็วสูง แต่เนื่องจากอุปกรณ์ที่ใช้เสริมประสิทธิภาพของทั้งสองรูปแบบนั้นเป็นอุปกรณ์ที่เสริมไว้ภายนอก แต่ส่วนโครงสร้างพื้นฐานของกันดั้มEz8ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงน้อยมากไม่ได้สร้างมาให้รองรับอุปกรณ์เหล่านี้ ผลก็คือร่างHACจะมีความคล่องแคล่วต่ำมากซึ่งเป็นผลจากขนาดของปืนใหญ่ซาลามิส ทำให้ต่อสู้ในระยะประชิดได้ลำบาก ส่วนร่างHMCนั้นเนื่องจากเครื่องกำเนิดพลังงานต้องรับภาระมากขึ้นจากเวอร์เนียร์ยูนิต จึงต้องใช้บีมสเปรย์กันทูว์ซึ่งมีประสิทธิภาพต่ำกว่าแทนบีมไรเฟิล
กันดั้มEz8รุ่นปรับปรุงได้รับการออกแบบโดยเคนอิจิโระ คาทากิริ
RX-79BD บลูเดสทินี่ซีรี่
[แก้]RX-79BD บลูเดสทินี่ | |
---|---|
ข้อมูลทั่วไป | |
ประเภท | โมบิลสูทรุ่นต้นแบบ |
ความสูง | 18 เมตร |
น้ำหนัก | 52.8 ตัน (พื้นฐาน) 73 ตัน (เต็มพิกัด) |
เกราะ | โลหะผสมลูนาไททาเนียม |
กำลังเครื่อง | ไม่ปรากฏข้อมูล |
อุปกรณ์ | ปืนวัลแคน บีมเซเบอร์ บีมไรเฟิล มิสไซล์ ปืนกล 100 มม. โล่ |
คุณสมบัติพิเศษ | ระบบ EXAM |
นักบินสำคัญ | ยูว์ คาจิมะ นิมบัส ชเตอเซน |
(ญี่ปุ่น:ブルーディスティニー ;อังกฤษ:Blue Destiny) RX-79รุ่นพิเศษซึ่งมีระบบEXAM อันเป็นระบบจำลองความสามารถของนิวไทป์สำหรับใช้สนับสนุนนักบินการการต่อสู้ ระบบEXAMสามารถเพิ่มประสิทธิภาพของโมบิลสูทให้สูงขึ้นไปอีกได้ แต่มีจุดอ่อนคือใช้ได้ในเวลาจำกัด ก่อนที่โมบิลสูทซึ่งติดตั้งระบบEXAMจะเริ่มเคลื่อนไหวด้วยตัวเองและโจมตีทุกอย่างอย่างบ้าคลั่งหรือไม่ก็ไม่ยอมตอบสนองต่อการควบคุม ระบบนี้ได้มาจากครุสต์ โมเซสซึ่งเป็นนักวิจัยของซีอ้อนที่ทรยศมาเข้ากับสหพันธ์โลก เดิมทีสหพันธ์โลกจะใช้โครงสร้างของRGM-79 จิมในการพัฒนาบลูเดสทินี่เครื่องแรก แต่เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดจึงเปลี่ยนมาใช้โครงสร้างของRX-79แทน ทั้งยังต้องเสริมแมกเน็ตโค้ตติ้งและติดท่อขับดันเสริมด้วย RX-79BD-1 บลูเดสทินี่หมายเลข1 จึงมีส่วนหัวเป็นแบบจิม
อาล์ฟ คามุระ ผู้ควบคุมโครงการนี้ได้เลือกยูว์ คาจิมะ ยอดนักบินของสหพันธ์โลกเป็นนักบินทดสอบของบลูเดสทินี่หมายเลข1 หลังจากที่ยูว์ใช้จิมคอมมานด์หยุดบลูเดสทินี่ที่บ้าคลั่งระหว่างการทดสอบได้ บลูเดสทินี่หมายเลข1ถูกทำลายในการต่อสู้กับอีฟรีตรุ่นปรับปรุงของนิมบัส ชเตอเซนซึ่งมีระบบEXAMเหมือนกัน
บลูเดสทินี่อีกสองเครื่องก็คือRX-79BD-2 บลูเดสทินี่หมายเลข2และRX-79BD-3 บลูเดสทินี่หมายเลข3 ซึ่งทั้งคู่เป็นกันดั้มทั้งตัวและได้รับการปรับปรุงให้ใช้ต่อสู้ในอวกาศได้และมีบีมไรเฟิลเป็นอาวุธ บลูเดสทินี่หมายเลข2ถูกนิมบัสขโมยไปแล้วและทาสีให้ดูคล้ายอีฟรีตพร้อมกับปิดการทำงานของลิมิเตอร์ทำให้สามารถใช้EXAMได้ไม่จำกัดเวลา อาล์ฟจึงให้ยูว์ใช้บลูเดสทินี่หมายเลข3เพื่อต่อสู้กับนิมบัส บลูเดสทินี่ทั้งสองถูกทำลายพร้อมกัน โดยที่ยูว์รอดมาได้แต่นิมบัสเสียชีวิต
บลูเดสทินี่ปรากฏตัวในวิดีโอเกมสำหรับเครื่องเซก้า แซทเทิร์น ออกแบบโดยคุนิโอะ โอคาวาระ