กลาวันติณทุรคะ

พิกัด: 18°58′58″N 73°13′12″E / 18.982840°N 73.219892°E / 18.982840; 73.219892
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กลาวันติณทุรคะ
कलावंतीन
อำเภอรายคท รัฐมหาราษฏระ
กลาวันติณทุรคะ
กลาวันติณทุรคะตั้งอยู่ในรัฐมหาราษฏระ
กลาวันติณทุรคะ
กลาวันติณทุรคะ
กลาวันติณทุรคะตั้งอยู่ในประเทศอินเดีย
กลาวันติณทุรคะ
กลาวันติณทุรคะ
พิกัด18°58′58″N 73°13′12″E / 18.982840°N 73.219892°E / 18.982840; 73.219892
ประเภทป้อมเนิน
ความสูง686 M
ข้อมูล
เจ้าของรัฐบาลอินเดีย
ควบคุมโดย จักรวรรดิมราฐา (1657)
อินเดีย รัฐบาลอินเดีย (1947-)

ป้อมกลาวันติณ (มราฐี: दुर्ग कलावंतीण) หรือ กลาวันติณทุรคะ (Kalavantin Durg) เป็นยอดเขาความสูง 686 เมตรในเทือกเขาฆาฏตะวันตก ใกล้กับป้อมประพัลคท ในอำเภอรายคท รัฐมหาราษฏระ ประเทศอินเดีย และเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางการไต่เขาในรัฐ

ตัวเขามีการเซาะหินเป็นขั้นบันไดเพื่อไต่ไปถึงยอดได้ อย่างไรก็ตาม แทบไม่ปรากฏหลักฐานเกี่ยวกับประวัติของการก่อสร้างบนเขานี้ มัคคุเทศก์ท้องถิ่นระบุว่าทางไต่เขานี่สร้างขึ้นให้กับราชินีกลาวันติณในศตวรรษที่ 15 ไล่เลี่ยกันกับเวลาสร้างป้อมประพัลคท[1] คำว่า "ทุรคะ" ในชื่อ แปลว่า "ป้อมปราการ" อย่างไรก็ตามบนเขานี้ไม่มีป้อมปราการตั้งอยู่

การไต่เขา[แก้]

การไต่เขาขึ้นไปบนยอดของกลาวันติณทุรคะเป็นหนึ่งในการไต่เขาที่ท้าทายและยากที่สุดในเทือกเขาฆาฏตะวันตตก การไต่เขาระยะทาง 3 กิโลเมตรเริ่มต้นจากหมู่บ้านฐากูรวตี (Thakurwadi) ในกรชัต หลังจากสองกิโลเมตรจะเป็นทางแยกไปยังกลาวันติณ อีกทางหนึ่งไปประพัลคท[2] เส้นทางไปยอดของกลางันติณมีความชันประมาณ 60 องศา ไต่ขึ้นไปตามบันไดที่เจาะเข้าไปในเขาซึ่งขั้นหนึ่งอาจสูงได้ถึง 60 เซนติเมตร[1]

อุบัติเหตุถึงชีวิต[แก้]

ในเดือนธันวาคม 2016 นักไต่เขาชาวไฮเดอราบาด วัย 27 ปี รจิตา คุปตะ กโนทิยา (Rachita Gupta Kanodia) เสียชีวิตขณะไต่เขาไปกลางันติณและประพัลคท ร่างของเธอถูกพบในอีก 10 วันให้หลัง[3] และในเดือนกุมภาพันธ์ 2018 นักไต่เขาชาวปูเณ วัย 27 เจตัน ธนเท (Chetan Dhande) ตกเขาเสียชีวิตจากความสูงที่ห่างจากยอดของกลาวันติณ 4.5 เมตร[4] ผู้ที่ไต่เขาในเวลาเดียวกันล้วนเห็นเหตุการณ์ และร่างของเขาถูกพบในสี่ชั่วโมงให้หลัง[5]

นับจากนั้นมา ทางการอินเดียเริ่มพิจารณามาตรการความปลอดภัยให้แก่ผู้ไต่เขากลาวันติณ โดยเริ่มจากการเก็บค่าธรรมเนียม 20 รูปี พร้อมให้ผู้ไต่เขาระบุข้อมูลส่วนบุคคลไว้กับเจ้าหน้าที่, ปิดไม่ให้มีการไต่เขาในเวลา 17 - 6 นาฬิกา และบังคับให้ผู้ไต่เขาต้องจ้างมัคคุเทศก์ติดตัวที่ราคา 50 รูปี ซึ่งเป็นชาวบ้านในพื้นที่ราว 50 คนที่ทางการเข้ามาฝึกฝนให้แล้ว นอกจากนี้ทางการยังไม่อนุญาตให้นำุงพลาสติกและขวดพลาสติกเข้าในบริเวณเพื่อป้องกันปัญหาขยะและสิ่งแวดล้อม[6]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Amrita Das (30 March 2017). "Mumbai to Karjat: Hike in the wilderness". Mint.
  2. Pranjali Bhonde (13 June 2017). "11 monsoon treks around Mumbai and Pune". Condé Nast Traveller.
  3. "Trekker from Hyderabad found dead at Panvel peak". Mid-Day. 10 December 2016.
  4. Umesh K Parida (10 February 2018). "Student dies after falling into gorge at Prabalgad fort". The Times of India.
  5. Ashish Phadnis (10 February 2018). "Pune trekker dies after falling into 700-ft gorge in Panvel". Hindustan Times.
  6. Ashish Phadnis (2 July 2018). "Now, if you want to trek to Prabalgad, Kalavantin forts near Pune, you have to follow these strict rules". Hindustan Times.