กรุสมบัติมิลเดนฮอลล์
![]() | ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
“จานบาคคัส” ที่พบในกรุ “กรุสมบัติมิลเดนฮอลล์” |
Mildenhall Treasure |
{{{artist}}} |
{{{period}}} |
{{{size}}} |
ค.ศ. 1942 |
มิลเดนฮอลล์, ซัฟโฟล์คในอังกฤษ |
กรุสมบัติ |
พิพิธภัณฑ์แห่งมิลเดนฮอลล์ในประเทศอังกฤษ |
กรุสมบัติมิลเดนฮอลล์ (อังกฤษ: Mildenhall Treasure) เป็นกรุสมบัติกรุใหญ่ของเครื่องเงินแบบโรมัน 34 ชิ้นที่ขุดพบในบริเวณมิลเดนฮอลล์, ซัฟโฟล์คในอังกฤษในเดือนมกราคมปี ค.ศ. 1942
กรุสมบัติมิลเดนฮอลล์ขุดพบกอร์ดอน บุชเชอร์ไถนาไปพบก่อนที่จะทำการขุดขึ้นมาด้วยความช่วยเหลือของซิดนีย์ ฟอร์ด แต่ผู้พบทั้งสองคนก็ไม่ทราบถึงคุณค่าของสิ่งที่พบจนได้ข่าวจากเจ้าหน้าที่อีกหลายปีให้หลัง ในปี ค.ศ. 1946 การค้นพบก็ได้รับการประกาศอย่างเป็นทางการและทางพิพิธภัณฑ์บริติชก็ได้ทำการขวนขวายหาซื้อมาเป็นเจ้าของ
ปัจจุบันสมบัติที่ขุดได้จากกรุสมบัติมิลเดนฮอลล์ตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์แห่งมิลเดนฮอลล์ในประเทศอังกฤษ สมบัติที่พบในกรุประกอบด้วย
ประวัติ[แก้]
เชื่อกันว่ากรุสมบัติมิลเดนฮอลล์ถูกฝังไว้ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 4[1] สมบัติที่พบในกรุประกอบด้วย “Great Dish” หรือ “จานบาคคัส” ซึ่งเป็นตัวอย่างของงานเครื่องเงินอันวิจิตรของศิลปะโรมันของกลางคริสต์ศตวรรษที่ 4 ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 605 มิลลิเมตร และ หนัก 8256 กรัม จานเงินเป็นเป็นภาพเทพบาคคัสและตกแต่งด้วยแถบกว้างรอบเป็นภาพเกี่ยวกับการเฉลิมฉลองของบาคคัส และที่หัวใจของภาพเป็นการแข่งขันการดื่มเหล้าระหว่างบาคคัสและเฮอร์คิวลีสผู้เมามายจนไม่มีสติสัมปชัญญะจนถึงกับต้องประคอง แถบในเป็นนิเรียดล้อมรอบพฤกษาพักตร์ของพระสมุทรโอเชียนัส
สิ่งอื่น ๆ นอกไปจาก “จานบาคคัส” ก็เป็นสิ่งของที่คล้ายคลึงกันที่เป็นสิ่งตกแต่งสำหรับงานเลี้ยงที่รวมทั้งจานเครื่องถมแบนที่ตกแต่งเป็นลายเรขาคณิต, จานแบนใหญ่ที่ตกแต่งด้วยภาพของเทพแพน และ เมนาด, ชามคุ่มมีฝาปิดที่ตกแต่งด้วยเซนทอร์ และ สัตว์ป่า และ ชามคุ่มที่มีขอบบานออกไป, ทัพพี และ ช้อน แม้ว่าการตกแต่งส่วนใหญ่จะเป็นศิลปะแบบคลาสสิก แต่ช้อนสามช้อนมีคริสต์สัญลักษณ์ “Chi-Rho” ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่หมายถึงพระเยซูที่เป็นอักษรอัลฟา และ โอเมกาไขว้กันที่หมายถึง “พระผู้เป็นจุดเริ่มและจุดจบ” เชื่อกันว่าสิ่งมีค่าเหล่านี้มาจากบริเวณเมดิเตอร์เรเนียน[2]
โรอัลด์ ดาห์ลเขียนบทความเกี่ยวกับการพบกรุสมบัติมิลเดนฮอลล์ที่พิมพ์ครั้งแรกในหนังสือพิมพ์ “แซเทอร์เดย์อีฟนิงโพสต์”[3] และต่อมาในชื่อ “กรุสมบัติมิลเดนฮอลล์” ในหนังสือรวมเรื่องสั้น “The Wonderful Story of Henry Sugar and Six More”[4] ในเรื่องที่รอนัลด์ ดาห์ลเขียนฟอร์ดทราบถึงความสำคัญของสิ่งที่ขุดพบ และไม่อาจจะทนกับการพรากจากสิ่งที่พบได้จึงได้เก็บไว้อย่างเงียบ ๆ แต่มีผู้มาเยี่ยมเยือนไปเห็นชิ้นที่ไม่ได้เก็บไว้เข้า ฉะนั้นจึงทำให้บุชเชอร์ไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องเงินรางวัลจากรัฐบาลสำหรับผู้พบของมีค่าได้
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "The Mildenhall Treasure". Mildenhall Museum. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-11-20. สืบค้นเมื่อ May 4, 2006.
- ↑ "The Great Dish from the Mildenhall treasure". The British Museum. สืบค้นเมื่อ May 4, 2006.
- ↑ Dahl, Roald (1947). "The Mildenhall Treasure" in Saturday Evening Post (20 September): 20-21, 93-4, 96-7, 99.
- ↑ Dahl, Roald (1995). The Wonderful Story of Henry Sugar and Six More (5th ed.). London: Penguin Group. p. 215. ISBN 0-14-037348-9.