กระเช้าสีดา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กระเช้าสีดา
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Magnoliids
อันดับ: Piperales
วงศ์: Aristolochiaceae
สกุล: Aristolochia
สปีชีส์: A.  indica
ชื่อทวินาม
Aristolochia indica
L.

กระเช้าสีดา (ชื่อวิทยาศาสตร์: Aristolochia indica) เป็นพืชในวงศ์ไก่ฟ้า (Aristolochiaceae) มีถิ่นกำเนิดในอินเดีย[1] เป็นพรรณไม้ในวรรณคดีเรื่อง "รามเกียรติ์"[2]

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์[แก้]

กระเช้าสีดาเป็นไม้เถาเนื้อแข็ง ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปสามเหลี่ยมแคบ ดอกออกเป็นช่อสั้น ออกตามง่ามใบ มีกลิ่นเหม็น ช่อหนึ่งมีเพียง 2-3 ดอก กลีบดอกมีชั้นเดียวเชื่อมติดกันเป็นหลอด โคนหลอดพองออกเป็นกระเปาะกลม เหนือขึ้นไปคอดเป็นหลอดเล็ก ๆ ปลายกลีบผายออกเป็นรูปปากแตรเบี้ยว เกสรเพศผู้ 6 อัน ยอดเกสรเพศเมียมี 6 แฉก ผลค่อนข้างกลมหรือรูปขอบขนานค่อนข้างกว้าง ผลแก่แตกเป็น 6 พู แตกเลยไปถึงก้านผลและแยกออกเป็น 6 ก้าน ภายในมีเมล็ดแบน รูปไข่ มีปีก[3]

ความเป็นพิษ[แก้]

ในกระเช้าสีดามีสารกลุ่มกรดอะริสโตโลคิก (aristolochic acids) ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง[4][5] และเป็นพิษต่อไต[6][7]

ประโยชน์ด้านอื่น[แก้]

ในอดีตมีการใช้กระเช้าสีดาเป็นยาขับระดูและยาทำให้แท้ง[8] รากกระเช้าสีดามีรสขมมาก มีฤทธิ์ทำให้อาเจียน เป็นยาแก้พิษงู[9] นอกจากนี้ ยังใช้เป็นอาหารเลี้ยงผีเสื้อได้[10]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Effect of aqueous root extract of Aristolochia indica (Linn) on diabetes induced rats" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-09-12. สืบค้นเมื่อ 2015-06-14.
  2. จากวรรณคดีลำนำ...สู่พรรณไม้งาม...ขนมหวานเลิศรส - GotoKnow
  3. กระเช้าสีดา Aristolochia indica
  4. Aristolochic Acids - National Toxicology Program
  5. Aristolochic Acid Exposure Linked To High Kidney Cancer Rates In Europe
  6. Acute nephrotoxicity of aristolochic acids in mice.
  7. Herb Danger - Aristolochic Acid Warning
  8. Aristolochia Species and Aristolochic Acids - IARC Monographs
  9. กระเช้าสีดา Aristolochia indica
  10. "การเลี้ยงผีเสื้อ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-11. สืบค้นเมื่อ 2015-06-14.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ กระเช้าสีดา
  • ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Aristolochia indica ที่วิกิสปีชีส์