ข้ามไปเนื้อหา

กรอมา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แม่ค้าในตลาดเมืองกำปงธมโพกผ้ากรอมา

กรอมา[1] (เขมร: ក្រមា) เป็นเครื่องแต่งกายดั้งเดิมของกัมพูชา สามารถใช้งานได้หลายรูปแบบ เช่น ใช้พันคอ โพกศีรษะ ต่างผ้าเช็ดหน้า เคียนเอว ห่มคลุมกันแดดฝน หรือใช้เป็นเปลสำหรับทารก[2] นักกีฬาบุกกาเตาจะเคียนกรอมาที่หัว เอว และกำปั้น และใช้สีของกรอมาเพื่อแยกแยะระดับทักษะของนักกีฬา โดยกรอมาสีดำถือว่ามีระดับทักษะสูงสุด หากเป็นสีขาวจะหมายถึงระดับทักษะต่ำสุด[3] กรอมาสวมใส่ได้ในทุกเพศทุกวัย โดยมากเป็นลายตารางสีแดงหรือสีน้ำเงิน ถือเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติอย่างหนึ่งของกัมพูชา

ในยุคเขมรแดงเรืองอำนาจ รัฐบาลบังคับให้ชาวเขมรสวมชุดสีดำ[4] และพันคอด้วยกรอมาลายตารางหมากรุก[5] ซึ่งการแต่งกายเช่นนี้ ชาวไทยในเกาะกงจะเรียกว่า "กา", "เขมรดำ" หรือ "เขมรกาดำ" ด้วยเปรียบเปรยทั้งสีผิวกับสีชุด[6]

ผู้มีเชื้อสายเขมรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย จะใช้กรอมาเช่นกัน แต่เรียกตามภาษาไทยว่าผ้าขาวม้า[7]

อ้างอิง

[แก้]
  1. เปรมิกา แสนทอง. "กัมพูชา". ฐานข้อมูลสังคม-วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. สืบค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. Shiv Shanker Tiwary (2009) Encyclopaedia Of Southeast Asia And Its Tribes’’, p. 185 ISBN 978-8126138371
  3. "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-25. สืบค้นเมื่อ 2015-09-23.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  4. นิพัทธ์ ทองเล็ก, พลเอก (16 กันยายน 2562). "ภาพเก่า เล่าตำนาน : ทุ่งสังหาร…มิใช่ตำนาน… แต่เป็นเรื่องจริง". มติชนออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. Vater, Tom (2009). Moon Cambodia. Avalon Travel. p. 270. ISBN 978-1598802146.
  6. รุ่งมณี เมฆโสภณ. คนสองแผ่นดิน. กรุงเทพฯ : บ้านพระอาทิตย์, 2551, หน้า 119
  7. "Silk at Ban Sawai, Ban Chan Rom and Khwao Sinarin". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-19. สืบค้นเมื่อ 2009-08-25.