กบลำห้วย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กบลำห้วย
Limnonectes blythii from Thailand.JPG
กบทูดหรือเขียดแลว (L. blythii) หนึ่งในชนิดที่พบในประเทศไทย
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Amphibia
อันดับ: Anura
วงศ์: Dicroglossidae
วงศ์ย่อย: Dicroglossinae
สกุล: Limnonectes
Fitzinger, 1843 [1]
ชนิด
64 ชนิด (โดยประมาณ)
ชื่อพ้อง[2]
  • Elachyglossa Andersson, 1916
  • Taylorana Dubois, 1986

กบลำห้วย หรือ กบห้วย[3] (อังกฤษ: fanged frog) เป็นสกุลของกบในสกุล Limnonectes ในวงศ์กบลิ้นส้อม (Dicroglossidae) มีรูปร่างลักษณะที่หลากหลาย โดยส่วนใหญ่มักมีส่วนหัวโต ปากกว้าง ในตัวผู้มีฟันอยู่ 1 คู่บริเวณด้านล่างขากรรไกร เรียกว่า "เขี้ยวเทียม" ใช้สำหรับต่อสู้กับตัวผู้ตัวอื่น หรือใช้งับเหยื่อได้เช่นกัน ซึ่งต่างจากกบจำพวกอื่นที่มีฟันขนาดเล็ก จึงทำให้ได้อีกชื่อหนึ่งว่า "กบเขี้ยว" กบในสกุลนี้บางชนิดมีพฤติกรรมการปกป้องตัวอ่อน โดยการเอาไข่หรือลูกอ๊อดแบกไว้บนหลัง (ไม่พบพฤติกรรมนี้ในกบสกุลนี้ในไทย) บางชนิดขุดโพรงเพื่อวางไข่ในดินที่ชื้น รอให้เจริญเป็นตัวอ่อนพัฒนาเป็นกบเล็ก โผล่พ้นจากดิน หลายชนิดมีความสำคัญทางเศรษฐกิจ และมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก[3]

พบกระจายพันธุ์ในเอเชียแถบเอเชียตะวันออกถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หลายชนิดมีพฤติกรรมอาศัยอยู่ร่วมกันเป็นหมู่คณะ[4] ชนิดที่มีขนาดใหญ่มักอาศัยอยู่ในลำธารที่น้ำไหลเชี่ยว ขณะที่ชนิดที่มีขนาดเล็กอาศัยตามกองใบไม้หรือริมฝั่ง เฉพาะในซูลาเวซีของอินโดนีเซีย พบอย่างน้อย 15 ชนิด แต่ได้รับการบรรยายเพียงแค่ 4 ชนิด[5] สำหรับในประเทศไทยมีรายงานพบประมาณ 11 ชนิด[6] รวมถึงจากการศึกษาพบว่าในประเทศไทย กบสกุลนี้กินอาหารซึ่งได้แก่แมลงจำพวกมดมากที่สุด[7]

การจำแนก[แก้]

ประมาณ 64 ชนิด ที่เป็นที่รู้จัก แต่ก็ยังมีชนิดใหม่ ๆ ได้รับการอธิบายเพิ่มเข้ามาเรื่อย ๆ[8]

อ้างอิง[แก้]

  1. Malkmus, Rudolf (2002). Amphibians & reptiles of Mount Kinabalu (North Borneo). Koeltz Scientific Books. pp. 139–147. ISBN 3-904144-83-9. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  2. "Limnonectes". ระบบข้อมูลการจำแนกพันธุ์แบบบูรณาการ. สืบค้นเมื่อ July 24, 2016.
  3. 3.0 3.1 พรุ (September 23, 2010). : Limnonectes "Genus : Limnonectes". สยามเอนซิส. สืบค้นเมื่อ July 24, 2016. {{cite web}}: ตรวจสอบค่า |url= (help)
  4. McLeod, D.S. , S.J. Horner, C. Husted, A. Barley & D.T. Iskandar (2011). "Same-same, but different: An unusual new species of the Limnonectes kuhlii Complex from West Sumatra (Anura: Dicroglossidae)" (PDF). Zootaxa. 2883: 52–64. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-01-03. สืบค้นเมื่อ 2016-07-24.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  5. Iskandar, D. T.; Evans, B. J.; McGuire, J. A. (2014). "A Novel Reproductive Mode in Frogs: A New Species of Fanged Frog with Internal Fertilization and Birth of Tadpoles". PLoS ONE. 9 (12): e115884. doi:10.1371/journal.pone.0115884.
  6. "กบสกุล Limnonectes บริเวณสถานีวิจัยสัตว์ปาเขานางรํา" (PDF). คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-11-26. สืบค้นเมื่อ July 24, 2016.
  7. "อาหารของกบสกุล Limnonectes ในประเทศไทย" (PDF). คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-04-22. สืบค้นเมื่อ July 24, 2016.
  8. 8.0 8.1 Frost, Darrel R. (2014). "Limnonectes Fitzinger, 1843". Amphibian Species of the World: an Online Reference. Version 6.0. American Museum of Natural History. สืบค้นเมื่อ 26 January 2014.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Limnonectes ที่วิกิสปีชีส์