ตำบลแหลมโพธิ์

พิกัด: 6°55′57.5″N 101°18′46.8″E / 6.932639°N 101.313000°E / 6.932639; 101.313000
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตำบลแหลมโพธิ์
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันTambon Laem Pho
แหลมตาชี
แหลมตาชี
ประเทศไทย
จังหวัดปัตตานี
อำเภอยะหริ่ง
พื้นที่
 • ทั้งหมด15.45 ตร.กม. (5.97 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)[1]
 • ทั้งหมด10,655 คน
 • ความหนาแน่น689.64 คน/ตร.กม. (1,786.2 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 94150
รหัสภูมิศาสตร์940918
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
องค์การบริหารส่วนตำบลแหลมโพธิ์
อบต.แหลมโพธิ์ตั้งอยู่ในจังหวัดปัตตานี
อบต.แหลมโพธิ์
อบต.แหลมโพธิ์
ที่ตั้งที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลแหลมโพธิ์
พิกัด: 6°55′57.5″N 101°18′46.8″E / 6.932639°N 101.313000°E / 6.932639; 101.313000
ประเทศ ไทย
จังหวัดปัตตานี
อำเภอยะหริ่ง
พื้นที่
 • ทั้งหมด15.45 ตร.กม. (5.97 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)
 • ทั้งหมด10,655 คน
 • ความหนาแน่น689.64 คน/ตร.กม. (1,786.2 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.06940916
ที่อยู่ที่ทำการหมู่ที่ 3 ตำบลแหลมโพธิ์ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี 94130
เว็บไซต์www.laempho.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

แหลมโพธิ์ เป็นตำบลของอำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี เป็นที่ตั้งของแหลมตาชี เป็นการก่อตัวของสันทรายที่ยื่นออกไปในทะเลในลักษณะสันดอนจะงอย (Sand Spit) เป็นพื้นที่กันลมมรสุมและคลื่นลมให้กับอ่าวปัตตานี

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

ตำบลแหลมโพธิ์มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังนี้[2]

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับอ่าวไทย
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับอ่าวไทยและตำบลตะโละกาโปร์
  • ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลตะโละกาโปร์และตำบลบางปู
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับอ่าวไทย

ประวัติ[แก้]

แหลมโพธิ์ เดิมเป็นส่วนหนึ่งของตำบลตะโละกาโปร์ อำเภอยะหริ่ง ต่อมาในวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2526 นายจำรูญ ปิยัมปุตระ รองปลัดกระทรวงมหาดไทย และนายปรีดา มุตตาหารัช ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี ได้ประกาศแยกพื้นที่ตำบลตะโละกาโปร์ 4 หมู่บ้านบริเวณจะงอยแหลมตาชี ได้แก่ หมู่ 1 บ้านกำปง, หมู่ 7 บ้านตะโละสะมีแล, หมู่ 8 บ้านปาตาบูดี และหมู่ 2 บ้านดาโต๊ะ ออกมาตั้งเป็น "ตำบลแหลมโพธิ์"[3] เป็นตำบลลำดับที่ 18 ของทางอำเภอยะหริ่ง

สมัยโบราณพื้นที่แห่งนี้ชื่อว่า กำปงบูดี ซึ่งเป็นภาษามลายูท้องถิ่น หมายถึง "หมู่บ้านต้นโพทะเล"[4] ซึ่งขึ้นอยู่หนาแน่นในหมู่บ้านฝั่งอ่าวปัตตานี ซึ่งมีสภาพภูมิประเทศเป็นแหลมยื่นออกไปในทะเลฝั่งอ่าวไทย ประชากรที่อาศัยอยู่แหลมโพธิ์เดิมอยู่ที่กรือแซะอาชีพหลักคือ ประมง เมื่อล่องเรือมาหาปลาแถวนี้แล้วเกิดพายุกลับบ้านไม่ได้ ได้มีสร้างกระท่อมหลังเล็กเพื่อพักรอคลื่นลมสงบ ต่อมาชาวบ้านจากหมู่บ้านอื่นก็มาสร้างที่พักเพิ่มมากขึ้น การเดินทางสมัยก่อนค่อนข้างลำบาก ไม่มีถนนและไฟ ต้องใช้เรือเป็นหลัก

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

การปกครองท้องที่[แก้]

ตำบลแหลมโพธิ์แบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 4 หมู่บ้าน ได้แก่

หมู่ 1 บ้านกำปงบูดี (Ban Kampong Budi) หมู่ 1 (เดิม) โอนมาจากตำบลตะโละกาโปร์
หมู่ 2 บ้านตะโละสะมีแล (Ban Talo Samilae) หมู่ 7 (เดิม) โอนมาจากตำบลตะโละกาโปร์
หมู่ 3 บ้านปาตาบูดี (Ban Pata Budi) หมู่ 8 (เดิม) โอนมาจากตำบลตะโละกาโปร์
หมู่ 4 บ้านดาโต๊ะ (Ban Dato) หมู่ 2 (เดิม) โอนมาจากตำบลตะโละกาโปร์

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

ท้องที่ตำบลแหลมโพธิ์มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพียงแห่งเดียว คือ องค์การบริหารส่วนตำบลแหลมโพธิ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแหลมโพธิ์ทั้งหมด ซึ่งเป็นสภาตำบลแหลมโพธิ์ ที่จัดตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2517[5]

ใน พ.ศ. 2538 สภาตำบลแหลมโพธิ์มี 4 หมู่บ้าน (ในขณะนั้น) พื้นที่ 15.45 ตารางกิโลเมตร ประชากร 6,571 คน และ 1,015 ครัวเรือน[6] พ.ศ. 2539 กระทรวงมหาดไทยจึงพิจารณาให้สภาตำบลแหลมโพธิ์อยู่ในเงื่อนไขที่จะจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลได้ จึงได้รับการจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลแหลมโพธิ์ใน พ.ศ. 2540[7]

ประชากร[แก้]

พื้นที่ตำบลแหลมโพธิ์ประกอบด้วยหมู่บ้านทั้งสิ้นจำนวน 4 หมู่บ้าน มีจำนวนประชากร 10,655 คน แบ่งเป็นชาย 5,285 คน หญิง 5,370 คน (เดือนธันวาคม 2566)[8] เป็นตำบลที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดในอำเภอยะหริ่ง

      หมายถึงจำนวนประชากรได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน
      หมายถึงจำนวนประชากรได้คงเดิมเมื่อเทียบกับปีก่อน
      หมายถึงจำนวนประชากรได้ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน

* พ.ศ. 2558 มีการรวมผู้ที่ไม่ได้สัญชาติไทยในทะเบียนราษฎร ส่งผลให้ข้อมูลจำนวนประชากรปีดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก

หมู่บ้าน พ.ศ. 2566[9] พ.ศ. 2565[10] พ.ศ. 2564[11] พ.ศ. 2563[12] พ.ศ. 2562[13] พ.ศ. 2561[14] พ.ศ. 2560[15]
ปาตาบูดี 3,566 3,504 3,478 3,455 3,380 3,310 3,238
กำปงบูดี 3,349 3,304 3,265 3,218 3,162 3,124 3,066
ดาโต๊ะ 2,802 2,776 2,747 2,732 2,685 2,649 2,579
ตะโละสะมีแล 938 934 938 931 926 913 894
รวม 10,655 10,518 10,428 10,336 10,153 9,996 9,777

อ้างอิง[แก้]

  1. ประชากรในเขตตำบลแหลมโพธิ์ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี เดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.
  2. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 114 (ตอนพิเศษ 77 ง): 30–72. วันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2540
  3. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 79 (51 ง): 1340–1342. วันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2505
  4. ฐานข้อมูลการท่องเที่ยว 5 จังหวัดชายแดนใต้ ข้อมูลตำบลแหลมโพธิ์ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี (ประวัติความเป็นมา) สืบค้นเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2567
  5. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งสภาตำบลตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๒๖ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 91 (87 ง): (ฉบับพิเศษ) 1–45. วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2517
  6. ประชากรรายตำบลในประเทศไทย ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2538 (เขตตำบลแหลมโพธิ์ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี) สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2567
  7. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (ตอนพิเศษ 52 ง): 1–365. วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2539
  8. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [1] 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
  9. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [2] 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
  10. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [3] 2564. สืบค้น 18 มีนาคม 2564.
  11. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [4] 2563. สืบค้น 10 มกราคม 2563.
  12. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/036/T_0032.PDF 2562. สืบค้น 12 กุมภาพันธ์ 2562.
  13. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/041/22.PDF 2561. สืบค้น 26 กุมภาพันธ์ 2561.
  14. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat59.htm 2560. สืบค้น 3 มีนาคม 2560.
  15. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat58.htm 2558. สืบค้น 16 กุมภาพันธ์ 2559.