ตำบลประจัน

พิกัด: 6°48′21.3″N 101°18′44.2″E / 6.805917°N 101.312278°E / 6.805917; 101.312278
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตำบลประจัน
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันTambon Prachan
สะพานข้ามแม่น้ำปัตตานี
สะพานข้ามแม่น้ำปัตตานี
ประเทศไทย
จังหวัดปัตตานี
อำเภอยะรัง
พื้นที่
 • ทั้งหมด12.50 ตร.กม. (4.83 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)[1]
 • ทั้งหมด8,714 คน
 • ความหนาแน่น697.12 คน/ตร.กม. (1,805.5 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 94160
รหัสภูมิศาสตร์941003
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
องค์การบริหารส่วนตำบลประจัน
อบต.ประจันตั้งอยู่ในจังหวัดปัตตานี
อบต.ประจัน
อบต.ประจัน
ที่ตั้งที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลประจัน
พิกัด: 6°48′21.3″N 101°18′44.2″E / 6.805917°N 101.312278°E / 6.805917; 101.312278
ประเทศ ไทย
จังหวัดปัตตานี
อำเภอยะรัง
พื้นที่
 • ทั้งหมด12.50 ตร.กม. (4.83 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)
 • ทั้งหมด8,714 คน
 • ความหนาแน่น697.12 คน/ตร.กม. (1,805.5 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.06941008
ที่อยู่ที่ทำการหมู่ที่ 7 ตำบลประจัน อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี 94160
เว็บไซต์www.prajan.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ประจัน เป็นตำบลของอำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี มีพื้นที่ 12.5 ตารางกิโลเมตร (คิดเป็น 7,812.5 ไร่) และมีเขตการปกครองทั้งหมด 9 หมู่บ้าน

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

ตำบลประจันมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังนี้[2]

ประวัติ[แก้]

ประจัน เป็นคำทับศัพท์แทนภาษามลายู คือ ปรือแจ หรือ ปรือแจแม คือ "สถานที่ที่เราต้องจำไว้"[3] ตามตำนานเล่าว่า เมื่อประมาณ พ.ศ. 2256 ได้มีกองคาราวานติดตามช้างเผือกกลุ่มหนึ่งซึ่งมาจากจังหวัดยะลา ได้เดินทางด้วยเท้าและถึงบ้านประจันเป็นเวลาตอนเย็น พอถึงเวลากลางคืนเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง ท้องฟ้ามืดมัว การเดินทางไม่สะดวกจึงหลงทางเดินวนไปวกมาอยู่กับที่ ไม่รู้จะไปทางทิศไหนดี บังเอิญกองคาราวานนั้นได้เห็นแสงไฟตะเกียงจากบ้านหลังหนึ่งของชาวบ้านในละแวกนั้น กองคาราวานกลุ่มนั้นจึงนึกขึ้นได้ว่าน่าจะเป็นแสงไฟตะเกียงจากบ้าน ที่เราได้เดินทางผ่านมาเมื่อตอนเย็น จึงรอดจากการหลงทาง กองคาราวานจึงได้ตั้งชื่อหมู่บ้านนี้ว่า "บ้านปรือแจ" หรือ "บ้านประจัน"

คนกลุ่มแรกที่เริ่มก่อตั้งบ้านประจัน ไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นใคร แต่ชาวบ้านได้เล่าว่า คนกลุ่มแรกที่เริ่มก่อตั้งหมู่บ้านนี้น่าจะเป็นโตะแย จากหลักฐานที่ได้ค้นพบว่าในหมู่บ้านนี้มีกูโบร์โตะแย (กูโบร์ หมายถึง สุสาน) และโตะแยเป็นคนแรกที่ได้ฝังศพที่กูโบร์ประจัน ลักษณะของโตะแย ตามที่เล่าขานกันว่ามีลักษณะเป็นเพศชาย ตัวเล็ก เพดานปากสีดำและผมหยิก ชาวบ้านในสมัยนั้นเชื่อว่าโตะแยน่าจะเป็นคนที่ศักดิ์สิทธิ์ และกูโบร์โตะแย จึงเป็นที่เคารพมาจนถึงปัจจุบัน

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

ตำบลประจันแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 9 หมู่บ้าน ได้แก่

หมู่ 1 บ้านบราโอ (Ban Bra-o)
หมู่ 2 บ้านประจัน (Ban Prachan)
หมู่ 3 บ้านบือแนกือบง (Ban Buenae Kuebong)
หมู่ 4 บ้านกอและ (Ban Kolae)
หมู่ 5 บ้านบูโกะ (Ban Buko)
หมู่ 6 บ้านกูแบปูตะ (Ban Kubae Puta)
หมู่ 7 บ้านบือแนปีแน (Ban Buenae Pinae)
หมู่ 8 บ้านกูนิง (Ban Kuning)
หมู่ 9 บ้านบือแน (Ban Buenae)

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

ท้องที่ตำบลประจัน มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพียงแห่งเดียว คือ องค์การบริหารส่วนตำบลประจัน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลประจันทั้งหมด ซึ่งเป็นสภาตำบลประจัน ที่จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2517[4]

ในปี พ.ศ. 2538 สภาตำบลประจันมี 9 หมู่บ้าน พื้นที่ 12.50 ตารางกิโลเมตร ประชากร 6,773 คน และ 1,086 ครัวเรือน[5] ปี พ.ศ. 2539 กระทรวงมหาดไทยจึงพิจารณาให้สภาตำบลประจันอยู่ในเงื่อนไขที่จะจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลได้ จึงได้รับการจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลประจันในปี พ.ศ. 2540[6]

ประชากร[แก้]

พื้นที่ตำบลประจันประกอบด้วยหมู่บ้านทั้งสิ้นจำนวน 9 หมู่บ้าน มีจำนวนประชากร 8,714 คน แบ่งเป็นชาย 4,321 คน หญิง 4,393 คน (เดือนธันวาคม 2566)[7] เป็นตำบลที่มีจำนวนประชากรมากเป็นลำดับที่ 4 ในอำเภอยะรัง

      หมายถึงจำนวนประชากรได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน
      หมายถึงจำนวนประชากรได้คงเดิมเมื่อเทียบกับปีก่อน
      หมายถึงจำนวนประชากรได้ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน

* ปี พ.ศ. 2558 มีการรวมผู้ที่ไม่ได้สัญชาติไทยในทะเบียนราษฎร ส่งผลให้ข้อมูลจำนวนประชากรปีดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก

หมู่บ้าน พ.ศ. 2566[8] พ.ศ. 2565[9] พ.ศ. 2564[10] พ.ศ. 2563[11] พ.ศ. 2562[12] พ.ศ. 2561[13] พ.ศ. 2560[14]
ประจัน 1,642 1,617 1,601 1,584 1,588 1,577 1,568
บือแนปีแน 1,281 1,240 1,221 1,204 1,189 1,167 1,170
บือแนกือบง 1,265 1,239 1,237 1,239 1,213 1,206 1,182
บูโกะ 925 891 884 872 859 844 838
กอและ 892 880 863 850 829 812 812
บราโอ 797 791 783 780 781 765 756
บือแน 781 778 767 745 726 710 711
กูแบปูตะ 735 733 722 720 720 719 725
กูนิง 396 387 391 382 378 365 360
รวม 8,714 8,556 8,469 8,376 8,283 8,165 8,122

อ้างอิง[แก้]

  1. ประชากรในเขตตำบลประจัน อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี เดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.
  2. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (ตอนพิเศษ 23 ง): 65–93. วันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2542
  3. ฐานข้อมูลการท่องเที่ยว 5 จังหวัดชายแดนใต้ ข้อมูลตำบลประจัน อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี (ประวัติความเป็นมา) สืบค้นเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2567
  4. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งสภาตำบลตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๒๖ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 91 (87 ง): (ฉบับพิเศษ) 1–45. วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2517
  5. ประชากรรายตำบลในประเทศไทย ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2538 (เขตตำบลประจัน อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี) สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2567
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (ตอนพิเศษ 52 ง): 1–365. วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2539
  7. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [1] 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
  8. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [2] 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
  9. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [3] 2564. สืบค้น 18 มีนาคม 2564.
  10. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [4] 2563. สืบค้น 10 มกราคม 2563.
  11. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/036/T_0032.PDF 2562. สืบค้น 12 กุมภาพันธ์ 2562.
  12. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/041/22.PDF 2561. สืบค้น 26 กุมภาพันธ์ 2561.
  13. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat59.htm 2560. สืบค้น 3 มีนาคม 2560.
  14. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat58.htm 2558. สืบค้น 16 กุมภาพันธ์ 2559.