ตำบลเกาะเปาะ

พิกัด: 6°48′39.0″N 101°12′36.9″E / 6.810833°N 101.210250°E / 6.810833; 101.210250
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตำบลเกาะเปาะ
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันTambon Ko Po
เขตแบ่งระหว่างตำบลเกาะเปาะและตำบลลิปะสะโง
เขตแบ่งระหว่างตำบลเกาะเปาะและตำบลลิปะสะโง
ประเทศไทย
จังหวัดปัตตานี
อำเภอหนองจิก
พื้นที่
 • ทั้งหมด2.88 ตร.กม. (1.11 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)[1]
 • ทั้งหมด3,324 คน
 • ความหนาแน่น1,154.16 คน/ตร.กม. (2,989.3 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 94170
รหัสภูมิศาสตร์940301
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเปาะ
คำขวัญ: 
ศิลาอ่อนช้อย น้ำอ้อยชื่นอุรา กล้วยน้ำว้ายอดนิยม ผ้าคลุมผมงามหรู ดีเกฮูลูลือกระฉ่อน
อบต.เกาะเปาะตั้งอยู่ในจังหวัดปัตตานี
อบต.เกาะเปาะ
อบต.เกาะเปาะ
ที่ตั้งที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเปาะ
พิกัด: 6°48′39.0″N 101°12′36.9″E / 6.810833°N 101.210250°E / 6.810833; 101.210250
ประเทศ ไทย
จังหวัดปัตตานี
อำเภอหนองจิก
พื้นที่
 • ทั้งหมด2.88 ตร.กม. (1.11 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)
 • ทั้งหมด3,324 คน
 • ความหนาแน่น1,154.16 คน/ตร.กม. (2,989.3 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.06940303
ที่อยู่ที่ทำการหมู่ที่ 1 ถนนบ้านท่ากูโบ-บ้านดอนรัก ตำบลเกาะเปาะ อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี 94170
เว็บไซต์kohpoh.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เกาะเปาะ เป็นตำบลของอำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี มีพื้นที่เพียง 2.88 ตารางกิโลเมตร (คิดเป็น 1,801.1 ไร่) และมีเขตการปกครองทั้งหมด 3 หมู่บ้าน

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

ตำบลเกาะเปาะมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังนี้[2]

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลตุยงและตำบลดอนรัก
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลลิปะสะโง
  • ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลปุโละปุโย
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลปุโละปุโยและตำบลตุยง

ประวัติ[แก้]

เกาะเปาะเป็นชุมชนที่อยู่ระหว่างเมืองหนองจิกและเมืองปัตตานี ซึ่งประชาชนไปมาหาสู่กันโดยอาศัยแม่น้ำทั้งสองสายเป็นเส้นทางสัญจร หากมีผู้ที่กระทำผิดแล้วหนีไป อีกเมืองก็ไม่สามารถเอาผิดได้ ด้วยเหตุผลดังกล่าวจึงจัดสร้างด่าน และได้เก็บค่าผ่านทางด้วย ผู้ที่ฝ่าฝืน ไม่ยอมจ่ายค่าผ่านด่านก็จะถูกลงโทษอย่างรุนแรง โดยการโบยหรือทุบตี วันหนึ่งบิดาของเจ้าหน้าที่ประจำเมืองหนองจิกเดินทางโดยไม่ยอมจ่ายเงิน เมื่อกลับมาถึงด่านจึงถูกบุตรลงโทษโดยการทุบตีอย่างรุนแรง ชาวบ้านจึงเรียกที่นั้นว่า กอแดเป๊าะ ซึ่งเป็นภาษามลายูแปลว่า "ทุบตีพ่อ" โดยคำว่า กอแด แปลว่า "ทุบตี" และ เป๊าะ แปลว่า "พ่อ" ต่อมาเพี้ยนเป็น เกาะเปาะ[3]

ส่วนอีกตำนานหนึ่งกล่าวว่า สมัยก่อนมีหญิงแก่คนหนึ่งออกเดินเพื่อตั้งหลักแหล่งจึงร่อนเร่จนถึงแม่น้ำสายหนึ่งและเดินเลาะริมแม่น้ำนั้น กระทั่งเจอปลาที่ลำตัวเหลือเพียงกระดูก และน่าประหลาดยิ่งนักที่ยังหายใจอยู่ด้วยเหงือกที่เหลือติดก้าง นางจึงร้องอุทานขึ้นมาว่า กะเปาะ ซึ่งเป็นภาษามลายู แปลว่า "เหงือกปลา" ต่อมาจึงเพี้ยนเป็น เกาะเปาะ[3]

ในปี พ.ศ. 2490 ทางราชการได้แยกหมู่ 1 บ้านเกาะเปาะเหนือ, หมู่ 2 บ้านเกาะเปาะใต้ ของตำบลลิปะสะโง รวมกับพื้นที่หมู่ 3 บ้านใหม่ ของตำบลดอนรัก รวมทั้งหมด 3 หมู่บ้าน จัดตั้งเป็นตำบลขึ้น โดยแรกตั้งชื่อ "เตาะเปาะ"[4] เมื่อ พ.ศ. 2510 ทางสำนักนายกรัฐมนตรีและราชบัณฑิตยสถาน ได้แก้ไขชื่อตำบลเป็น "เกาะเปาะ"[5][6] เพื่อให้ตรงกับความเป็นจริงซึ่งเป็นชื่อของพื้นที่หมู่ 1 และ 2

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

ตำบลเกาะเปาะแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 3 หมู่บ้าน ได้แก่

หมู่ 1 บ้านเกาะเปาะเหนือ (Ban Ko Po Nuea) หมู่ 1 (เดิม) โอนมาจากตำบลลิปะสะโง
หมู่ 2 บ้านเกาะเปาะใต้ (Ban Ko Po Tai) หมู่ 2 (เดิม) โอนมาจากตำบลลิปะสะโง
หมู่ 3 บ้านใหม่ (Ban Mai) หมู่ 3 (เดิม) โอนมาจากตำบลดอนรัก

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

ท้องที่ตำบลเกาะเปาะ มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพียงแห่งเดียว คือ องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเปาะ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเกาะเปาะทั้งหมด ซึ่งเป็นสภาตำบลเกาะเปาะ ที่จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2517[7]

ในปี พ.ศ. 2541 สภาตำบลเกาะเปาะมี 3 หมู่บ้าน พื้นที่ 2.88 ตารางกิโลเมตร ประชากร 4,119 คน และ 330 ครัวเรือน[8] ปี พ.ศ. 2542 กระทรวงมหาดไทยจึงพิจารณาให้สภาตำบลเกาะเปาะอยู่ในเงื่อนไขที่จะจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลได้ จึงได้รับการจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเปาะ[9]

โดยในปัจจุบันองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเปาะมีการใช้ข้อบัญญัติ การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ[10] การจัดการมูลฝอย[11] การจัดการสิ่งปฏิกูล[12] และตลาด[13] โดยบัญญัติระหว่างสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเปาะกับนายอำเภอหนองจิกทั้ง 4 ฉบับในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2566 เพื่อดูแลความเรียบร้อยในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล

ประชากร[แก้]

พื้นที่ตำบลเกาะเปาะประกอบด้วยหมู่บ้านทั้งสิ้นจำนวน 3 หมู่บ้าน มีจำนวนประชากร 3,324 คน แบ่งเป็นชาย 1,636 คน หญิง 1,688 คน (เดือนธันวาคม 2566)[14] เป็นตำบลที่มีจำนวนประชากรมากเป็นลำดับที่ 11 ในอำเภอหนองจิก

      หมายถึงจำนวนประชากรได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน
      หมายถึงจำนวนประชากรได้คงเดิมเมื่อเทียบกับปีก่อน
      หมายถึงจำนวนประชากรได้ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน

* ปี พ.ศ. 2563 สำนักบริหารการทะเบียนนำประชากรของหมู่ที่ 3 บ้านใหม่ ตำบลเกาะเปาะ ออกจากทะเบียนบ้านกลาง ส่งผลให้ข้อมูลจำนวนประชากรปีดังกล่าวลดลงเป็นจำนวนมาก

หมู่บ้าน พ.ศ. 2566[14] พ.ศ. 2565[15] พ.ศ. 2564[16] พ.ศ. 2563[17] พ.ศ. 2562[18] พ.ศ. 2561[19] พ.ศ. 2560[20]
เกาะเปาะใต้ 1,431 1,412 1,398 1,389 1,381 1,368 1,340
ใหม่ 974 1,001 1,011 *951 1,697 1,681 1,675
เกาะเปาะเหนือ 919 894 891 881 856 836 819
รวม 3,324 3,307 3,300 *3,221 3,934 3,885 3,834

อ้างอิง[แก้]

  1. ประชากรในเขตตำบลเกาะเปาะ อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี เดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.
  2. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 114 (ตอนพิเศษ 77 ง): 73–109. วันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2540
  3. 3.0 3.1 ฐานข้อมูลการท่องเที่ยว 5 จังหวัดชายแดนใต้ ข้อมูลตำบลเกาะเปาะ อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี (ประวัติความเป็นมา) สืบค้นเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2567
  4. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (26 ง): 1114–1433. วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2490
  5. "ประกาศราชบัณฑิตยสถาน เรื่อง การเขียนชื่อจังหวัด อำเภอ และกิ่งอำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 84 (56 ง): (ฉบับพิเศษ) 2-35. วันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2510
  6. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การเขียนชื่อจังหวัด อำเภอและกิ่งอำเภอ เป็นอักษรโรมัน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 84 (56 ง): (ฉบับพิเศษ) 1. วันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2510
  7. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งสภาตำบลตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๒๖ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 91 (87 ง): (ฉบับพิเศษ) 1–45. วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2517
  8. ประชากรรายตำบลในประเทศไทย ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2541 (เขตตำบลเกาะเปาะ อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี) สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2567
  9. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (ตอนพิเศษ 82 ง): 3–38. วันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2542
  10. "ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเปาะ เรื่อง การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ พ.ศ. ๒๕๖๔" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 140 (ตอนพิเศษ 304 ง): 54–62. วันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2566
  11. "ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเปาะ เรื่อง การจัดการมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๖๔" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 140 (ตอนพิเศษ 304 ง): 63–73. วันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2566
  12. "ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเปาะ เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูล พ.ศ. ๒๕๖๔" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 140 (ตอนพิเศษ 304 ง): 76–84. วันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2566
  13. "ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเปาะ เรื่อง ตลาด พ.ศ. ๒๕๖๔" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 140 (ตอนพิเศษ 304 ง): 85–98. วันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2566
  14. 14.0 14.1 กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [1] 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
  15. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [2] 2564. สืบค้น 18 มีนาคม 2564.
  16. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [3] 2563. สืบค้น 10 มกราคม 2563.
  17. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/036/T_0032.PDF 2562. สืบค้น 12 กุมภาพันธ์ 2562.
  18. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/041/22.PDF 2561. สืบค้น 26 กุมภาพันธ์ 2561.
  19. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat59.htm 2560. สืบค้น 3 มีนาคม 2560.
  20. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat58.htm 2558. สืบค้น 16 กุมภาพันธ์ 2559.