สุรบถ หลีกภัย
สุรบถ หลีกภัย | |
---|---|
ภาพของสุรบถขณะถ่ายรายการ VRZO | |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ | |
ดำรงตำแหน่ง 21 มกราคม – 20 มีนาคม พ.ศ. 2566 (0 ปี 58 วัน) | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 8 ธันวาคม พ.ศ. 2530 จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ (2561–ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | มัลลิกา จงวัฒนา (2555–2559) |
บุพการี |
|
อาชีพ | พิธีกร, นักแสดง, ยูทูบเบอร์, นักการเมือง |
ชื่อเล่น | ปลื้ม |
สุรบถ หลีกภัย (เกิด 8 ธันวาคม พ.ศ. 2530)
อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทย แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ เคยเป็นพิธีกรในวีอาร์โซ อดีตรองโฆษกกระทรวงวัฒนธรรม และอดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (คุณหญิง กัลยา โสภณพนิช) เป็นบุตรชายเพียงคนเดียวของชวน หลีกภัย อดีตประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎร อดีตนายกรัฐมนตรี และภักดิพร สุจริตกุล
ประวัติ
[แก้]สุรบถ เป็นที่รู้จักของสังคมมาตั้งแต่ยังเล็ก เนื่องจากเป็นบุตรชายเพียงคนเดียวของชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น โดยชื่อ "สุรบถ" นั้น แปลว่า ท้องฟ้า เป็นชื่อพระราชทานจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องจากภักดิพร ผู้เป็นมารดาได้ขอพระราชทานจากพระองค์ท่านในฐานะที่ทรงเป็นสหายร่วมชั้นเรียนมาด้วยกันในโรงเรียนจิตรลดา
การศึกษา
[แก้]สุรบถสำเร็จการศึกษาชั้นอนุบาลจากโรงเรียนจิตรลดา ประถมศึกษาโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร มัธยมศึกษาจากโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน และโรงเรียนพร้าววิทยาคม (เป็นประธานนักเรียน และตั้งวงดนตรี ชื่อ "วงหมากเหนือ" เป็นมือคีย์บอร์ดของวง) และระดับปริญญาตรี คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ชีวิตส่วนตัว
[แก้]สุรบถชื่นชอบการเลี้ยงสัตว์ต่าง ๆ โดยเฉพาะสัตว์เลื้อยคลาน เช่น งู หรือ เต่า และยังนิยมเล่นกีฬามอเตอร์สปอร์ตอย่างเจ็ตสกีร่วมกับนาคร ศิลาชัย อีกทั้งได้เป็นผู้ดำเนินรายการวีอาร์โซ
สุรบถสมรสกับมัลลิกา จงวัฒนา พิธีกรร่วมรายการวีอาร์โซ พิธีหมั้นมีขึ้นในวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์แอทเซ็นทรัลเวิลด์ ห้องโลตัสสวีท 5-7 และบ่ายวันนั้นคู่หมั้นยังได้รับพระราชทานน้ำสังข์จากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ณ วังสระปทุมด้วย ต่อมาวันที่ 24 พฤศจิกายน 2555 จึงฉลองสมรสพระราชทานที่โรงแรมเดียวกัน[1]
หลังจากที่มีการตั้งประเด็นข้อสงสัยกันเกิดขึ้นในเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างสุรบถและมัลลิกาบนกระทู้ของเว็บไซต์พันทิป.คอม ในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 สุรบถจึงออกมาชี้แจงผ่านทางอินสตาแกรมว่าได้เลิกรากับภริยามาระยะหนึ่ง โดยให้เหตุผลว่าตนและทับทิมเหมาะควรแก่การเป็นเพื่อนกันมากกว่า[2] แต่คำชี้แจงนั้นได้ถูกลบไปเรียบร้อยแล้ว
บทบาททางการเมือง
[แก้]มักปรากฏข่าวคราวอยู่เป็นระยะ ถึงการให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องการเมือง ในฐานะที่เป็นบุตรชายของอดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งได้รับคำวิจารณ์ว่าเสนอความคิดเห็นได้เฉียบแหลม จนได้รับฉายาว่า "มีดโกนน้อย"[3] คู่เคียงกับฉายา "มีดโกนอาบน้ำผึ้ง" ของนายชวน ผู้เป็นบิดา ในระยะหลัง มักปรากฏเป็นข่าวในวงการบันเทิง กับดาราสาวหรือบุตรสาวของบุคคลในสังคมชั้นสูงหลายคน เช่น หม่อมราชวงศ์แม้นนฤมาส ยุคล[4]
นายสุรบถ หลีกภัย เคยช่วยบิดาหาเสียงให้แก่พรรคประชาธิปัตย์อย่างสม่ำเสมอ ต่อมาในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2553 กระทรวงวัฒนธรรม ได้แต่งตั้งให้นายสุรบถเป็นผู้ช่วยโฆษกกระทรวงวัฒนธรรม[5]
และในปี พ.ศ. 2562 สุรบถได้ถูกวางตัวเป็นผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ในลำดับที่ 33[6] ซึ่งเขาไม่ได้รับการเลือกตั้ง เนื่องจากพรรคประชาธิปัตย์ได้ สส. บัญชีรายชื่อเพียง 19 ที่นั่ง (ภายหลังเพิ่มเป็น 20 ที่นั่ง หลังจากการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ เขต 8 แทนตำแหน่งที่ว่าง พ.ศ. 2562) แต่ต่อมาหลังจากนายชวน ผู้เป็นบิดา ได้รับเลือกเป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร สุรบถก็ได้รับการวางตัวให้ปฏิบัติงานในทีมงานของประธานรัฐสภา โดยระยะแรกจะให้ดำรงตำแหน่งเลขานุการส่วนตัวก่อน [7]
ในปี พ.ศ. 2566 หลังอิสระ เสรีวัฒนวุฒิ และศรีสมร รัศมีฤกษ์เศรษฐ์ ยื่นใบลาออกจากการเป็น ส.ส. ส่งผลให้สุรบถได้เลื่อนลำดับบัญชีรายชื่อเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรสมัยแรก[8] และต่อมาในการเลือกตั้งซึ่งจัดขึ้นในเดือนพฤษภาคมปีเดียวกัน เขาลงสมัคร ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อของพรรค ในลำดับที่ 20[9][10]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
[แก้]สุรบถ หลีกภัย เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 1 สมัย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ (เลื่อนแทน)
ลำดับสาแหรก
[แก้]ลำดับสาแหรกของสุรบถ หลีกภัย | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ผู้หญิงของปลื้ม". ผู้จัดการ. 20 ตุลาคม 2555. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-12. สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2555.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ส่อหย่า! 'ทับทิม' เปิดใจไม่พร้อมพูด 'ปลื้ม' รับเลิกจริง! เพิ่งรู้ตัวรักแบบเพื่อน". ไทยรัฐออนไลน์. 3 กุมภาพันธ์ 2559. สืบค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "เป็น "ปลื้ม-สุรบถ หลีกภัย" สไตล์ "มีดโกนน้อย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-15. สืบค้นเมื่อ 2010-08-10.
- ↑ ปลื้มลูกชวนควงหญิงแม้นโต้ข่าวกิ๊กกัน
- ↑ "น้องปลื้ม"ประเดิมเข้าทำเนียบฯ ในฐานะผช.โฆษกกระทรวงวัฒนธรรม
- ↑ มาร์ค นำ ปชป.ยื่น150 รายชื่อ สมัคร ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์
- ↑ ทวิตเตอร์ของนายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด ทีมโฆษกพรรคเพื่อไทย
- ↑ matichon (2023-01-20). "'ปลื้ม' ลูกชวนขยับขึ้น ส.ส. หลัง 'อิสระ' ลาออก เปิดทางให้ทำหน้าที่ช่วงท้ายสภา". มติชนออนไลน์.
- ↑ "เปิด 98 รายชื่อ ผู้สมัคร ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ ปชป. "จุรินทร์-ชวน-บัญญัติ" 3 อันดับแรก". Thai PBS.
- ↑ "เผยเซฟโซนปาร์ตี้ลิสต์ ปชป. "จุรินทร์-ชวน" นำทีม "ตั๊น" ที่ 10 เบียด "เดียร์" พร้อมใส่เฝือกหาเสียง". ผู้จัดการออนไลน์. 2023-04-04. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-04-06. สืบค้นเมื่อ 2023-04-06.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- น้องปลื้มเผยพ่อชวนพร้อมเป็น นายกฯ อีกครั้ง
- หนังสือกินอยู่เรียบง่าย สบายแบบชาวบ้าน ชวน หลีกภัย ลูกแม่ค้าขายพุงปลา โดย เริงศักดิ์ กำธร (พ.ศ. 2545) ISBN 974-85645-2-5
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2530
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากกรุงเทพมหานคร
- ชาวไทยเชื้อสายฮกเกี้ยน
- ชาวไทยเชื้อสายสิงหล
- สกุลหลีกภัย
- สกุลสิงหลกะ
- บุตรของนายกรัฐมนตรีไทย
- ยูทูบเบอร์ชาวไทย
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบบัญชีรายชื่อ
- นักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์
- บุคคลจากโรงเรียนจิตรลดา
- บุคคลจากโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร
- บุคคลจากโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน
- บุคคลจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์