ข้ามไปเนื้อหา

โฌแซ็ฟ-หลุยส์ ลากร็องฌ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก โจเซฟ-หลุยส์ ลากรองจ์)
โฌแซ็ฟ-หลุยส์ ลากร็องฌ์
โฌแซ็ฟ-หลุยส์ (จูเซปเป โลโดวีโก) เคานต์แห่งลากร็องฌ์
เกิด25 มกราคม ค.ศ. 1736
ตูริน ราชอาณาจักรซาร์ดิเนีย
เสียชีวิต10 เมษายน ค.ศ. 1813
ปารีส ฝรั่งเศส
สัญชาติฝรั่งเศส, อิตาลี
อาชีพนักคณิตศาสตร์ นักดาราศาสตร์ และนักฟิสิกส์

โฌแซ็ฟ-หลุยส์ ลากร็องฌ์ (ฝรั่งเศส: Joseph-Louis Lagrange; 25 มกราคม ค.ศ. 1736 - 10 เมษายน ค.ศ. 1813) หรือชื่อเดิมว่า จูเซปเป โลโดวีโก ลากรันจา (อิตาลี: Giuseppe Lodovico Lagrangia) เป็นนักคณิตศาสตร์และนักดาราศาสตร์ชาวอิตาลี ผู้ใช้ชีวิตส่วนใหญ่ของเขาในปรัสเซียและฝรั่งเศส ได้สร้างผลงานสำคัญเกี่ยวกับการวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์ไว้มากมาย รวมถึงทฤษฎีจำนวน กลศาสตร์ดั้งเดิม และกลศาสตร์ท้องฟ้า ตามคำแนะนำของอ็อยเลอร์และดาล็องแบร์ ลากร็องฌ์ได้สืบทอดตำแหน่งของอ็อยเลอร์เมื่อปี ค.ศ. 1766 โดยได้เป็นผู้อำนวยการสาขาคณิตศาสตร์ที่สถาบันวิชาการวิทยาศาสตร์ปรัสเซีย ในกรุงเบอร์ลิน เขาอยู่ที่นี่นานถึง 20 ปี และได้สร้างผลงานต่าง ๆ ไว้เป็นจำนวนมาก รวมถึงได้รับรางวัลด้านวิทยาศาสตร์จากสถาบันวิทยาศาสตร์ฝรั่งเศสอีกหลายรางวัล

ผลงานทางวิทยาศาสตร์

[แก้]

ลากรองจ์เป็นหนึ่งในผู้คิดค้นแคลคูลัสของการผันแปร (Calculus of variations) และสมการอ็อยเลอร์-ลากรองจ์ (Euler-Lagrange Equation) นอกจากนี้เขายังขยายวิธีการพิจารณาระบบที่ถูกเงื่อนไขบางอย่างบังคับไว้ (Contrains) กลายเป็นวิธีการที่เรียกว่า ตัวคูณลากรองจ์ (Lagrange multipliers) ลากรองจ์คิดค้นวิธีการแก้สมการเชิงอนุพันธ์ที่รู้จักกันในวิธีการแปรผันของตัวแปรเสริม (Variation of parameters) และการประยุกต์แคลคูลัสเชิงอนุพันธ์ (Differential calculus) กับทฤษฎีความน่าจะเป็น(Theory of probabilities) รวมถึงการหาผลเฉลยของสมการต่างๆ เขาพิสูจน์ให้เห็นว่าทุกจำนวนธรรมชาติเป็นผลรวมของตัวเลขสี่ตัวที่ยกกำลังสอง (Sum of four squares) และ Theorie des fonctions analytiques ที่เขาคิดค้นยังเป็นทฤษฎีรากฐานสำหรับการศึกษา ทฤษฎีกรุป (group theory) และ anticipating Galois อีกด้วย สำหรับแคลคูลัส ลากรองจ์ได้พัฒนาวิธีการใหม่สำหรับการประมาณช่วงของฟังก์ชันและอนุกรมเทย์เลอร์ เขาศึกษาปัญหาสามวัตถุ (three-body problem) สำหรับอธิบายความสัมพันธ์ของโลก ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ (1764) และศึกษาการเคลื่อนที่ของดาวบริวารของดาวพฤหัสบดี (1766) และในปี 1772 ยังค้นพบว่าการแก้ปัญหากรณีพิเศษเพื่อแก้ไขปัญหานี้ เป็นที่มาจุดดาวเทียม หรือจุดลากรองจ์ (Lagrangian points) แต่ที่สำคัญเขาเป็นที่รู้จักกันดีในเรื่องของกลศาสตร์ที่เขาสามารถเปลี่ยนกลศาสตร์นิวโตเนียน (Newtonian mechanics) เป็นสาขาของการวิเคราะห์กลศาสตร์ลากรองจ์ (Lagrangian mechanics) ที่รู้จักกันในปัจจุบันและถูกนำเสนอเป็น "หลักการ" (principles) อย่างง่ายของแคลคูลัสของการผันแปร (Calculus of variations)

คุณประโยชน์ที่สร้างให้แก่วงการวิทยาศาสตร์

[แก้]

ลากร็องฌ์เป็นหนึ่งในผู้ที่พัฒนาแคลคูลัสของการแปรผันขึ้น โดยเป็นการคิดต่อยอดจากสมการอ็อยเลอร์-ลากร็องฌ์

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]