แอลลิเกเตอร์จีน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แอลลิเกเตอร์จีน
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: สมัยไพลโอซีน–ปัจจุบัน
[1]
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ไม่ได้จัดลำดับ: Archosauria
ชั้น: Reptilia
อันดับ: Crocodilia
วงศ์: Alligatoridae
สกุล: Alligator
สปีชีส์: A.  sinensis
ชื่อทวินาม
Alligator sinensis
Fauvel, 1879
แผนที่แสดงที่อยู่ของแอลลิเกเตอร์จีน
ชื่อพ้อง
  • Caigator sinensis Deraniyagala, 1947

แอลลิเกเตอร์จีน หรือ จระเข้ตีนเป็ดจีน (อังกฤษ: Chinese alligator; จีนตัวย่อ: 扬子鳄; จีนตัวเต็ม: 揚子鱷; พินอิน: yáng zǐ è) เป็นแอลลิเกเตอร์หนึ่งในสองชนิดที่ยังหลงเหลืออยู่ในโลก มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Alligator sinensis

มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 2 เมตร น้ำหนักมากกว่า 40 กิโลกรัม ทำรังด้วยการขุดโพรงวางไข่ที่ชายหาดริมฝั่งแม่น้ำ พบอาศัยอยู่ในลุ่มแม่น้ำแยงซีในประเทศจีน แถบมณฑลอันฮุย เจียงซูและเจ้อเจียงเท่านั้น

ครั้งหนึ่ง แอลลิเกเตอร์ชนิดนี้ เคยมีอยู่เป็นจำนวนมากโดยเฉพาะบริเวณชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกของจีน แต่ในปัจจุบัน ถูกจัดว่าเป็นหนึ่งใน 10 อันดับสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์ชนิดหนึ่งในอนาคตของโลก[2] เนื่องจากปัญหาด้านมลพิษ และอุณหภูมิที่สูงขึ้นรวมถึงกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์เป็นภัยคุกคามต่อการดำรงชีวิตของมัน ซึ่งปัจจุบันคาดมีปริมาณแอลลิเกเตอร์จีนอาศัยอยู่ในธรรมชาติราว 120 ตัว[3]

ซึ่งสถานะการอนุรักษ์ของแอลลิเกเตอร์จีน จัดอยู่ในภาวะใกล้สูญพันธุ์ขั้นวิกฤต และติดอยู่ในบัญชีแดงของสหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติของสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (IUCN)[4] และอยู่ในบัญชีรายชื่อหมายเลข 1 (Appendix I) ของไซเตส ซึ่งห้ามค้าขายโดยเด็ดขาด เว้นแต่จะกระทำไปเพื่อการอนุรักษ์หรือวิจัย แต่ต้องได้รับการอนุญาตจากประเทศต้นกำเนิดเสียก่อน

ปัจจุบัน ทางการจีนได้มีการอนุรักษ์และเพาะขยายพันธุ์แอลลิเกเตอร์จีนมาแล้วกว่า 30 ปี ซึ่งผลจากการอนุรักษ์และเพาะพันธุ์ที่ผ่านมานี้ทำให้มีลูกแอลลิเกเตอร์จีนเกิดมากขึ้นและมีเปอร์เซนต์รอดในธรรมชาติเพิ่มมากขึ้นจากอดีตในรอบ 5 ปี และคาดว่าจะมีปริมาณแอลลิเกเตอร์จีนเพิ่มขึ้น 300 ตัว ในอนาคต 5-10 ปีข้างหน้า[3]

อ้างอิง[แก้]

  1. Iijima, Masaya; Takahashi, Keiichi; Kobayashi, Yoshitsugu (2016). "The oldest record of Alligator sinensis from the Late Pliocene of Western Japan, and its biogeographic implication". Journal of Asian Earth Sciences. 124: 94–101. Bibcode:2016JAESc.124...94I. doi:10.1016/j.jseaes.2016.04.017.
  2. สัตว์ที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์
  3. 3.0 3.1 [https://web.archive.org/web/20160305204335/http://www.manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9520000044214 เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เผย"จระเข้ยักษ์" จีน อาจเพิ่มจำนวนเป็น 2 เท่าในอีก 10ปี จากผู้จัดการออนไลน์]
  4. "Alligator sinensis". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-21. สืบค้นเมื่อ 2011-01-04.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]