แมรี ทิวดอร์ สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แมรี ทิวดอร์ สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส

แมรี ทิวดอร์ สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส
ประสูติ18 มีนาคม ค.ศ. 1496
พระราชวังริชมอนด์ ราชอาณาจักรอังกฤษ
สิ้นพระชนม์25 มิถุนายน ค.ศ. 1533 (37 ปี)
ซัฟโฟล์ค ราชอาณาจักรอังกฤษ
จักรพรรดินีพระเจ้าหลุยส์ที่ 12 แห่งฝรั่งเศส
ชาร์ลส์ แบรนดอน ดยุคแห่งซัฟโฟล์คที่ 1
แมรี ทิวดอร์ สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส
พระบุตรเฮนรี แบรนดอน เอิร์ลแห่งลิงคอล์นที่ 1
ฟรานซ์ เกรย์ ดัชเชสแห่งซัฟโฟล์ค
เอเลนอร์ คลิฟฟอร์ด เคานเทสแห่งคัมเบอร์แลนด์
ราชวงศ์ทิวดอร์
วาลัวส์
พระบิดาสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 7 แห่งอังกฤษ
พระมารดาเอลิซาเบธแห่งยอร์ค สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ

แมรี ทิวดอร์ สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส (ฝรั่งเศส: Marie d'Angleterre (ออกเสียง), อังกฤษ: Mary Tudor, Queen of France) (18 มีนาคม ค.ศ. 1496 - 25 มิถุนายน ค.ศ. 1533) แมรี ทิวดอร์ เป็นสมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศสในพระเจ้าหลุยส์ที่ 12 แห่งฝรั่งเศส ระหว่างวันที่ 9 ตุลาคม ค.ศ. 1514 ถึงวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1515

แมรีประสูติเมื่อวันที่ 18 มีนาคม ค.ศ. 1496 ที่พระราชวังริชมอนด์ในราชอาณาจักรอังกฤษ เป็นพระธิดาในสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 7 แห่งอังกฤษ และเอลิซาเบธแห่งยอร์ค แมรีเป็นพระขนิษฐาในสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 พระองค์ทรงเสกสมรสครั้งแรกกับพระเจ้าหลุยส์ที่ 12 แห่งฝรั่งเศส เมื่อพระเจ้าหลุยส์เสด็จสวรรคตพระองค์ก็ทรงเสกสมรสเป็นครั้งที่สองกับชาร์ลส์ แบรนดอน ดยุคแห่งซัฟโฟล์คที่ 1 (Charles Brandon, 1st Duke of Suffolk)

การเสกสมรสครั้งแรก: พระราชินีแห่งฝรั่งเศส[แก้]

ภาพร่างระหว่างที่เป็นพระราชินีแห่งฝรั่งเศส

เจ้าหญิงแมรีเป็นพระราชบุตรีองค์ที่ห้าในสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 7 และเอลิซาเบธแห่งยอร์ค เมื่อยังทรงพระเยาว์พระองค์ทรงมีความสนิทสนมอย่างใกล้ชิดกับพระเชษฐาเจ้าชายเฮนรี จนพระเจ้าเฮนรีประทานพระนามพระธิดาองค์โตตามพระนามของพระองค์ – แมรี นอกจากนั้นก็ยังทรงตั้งชื่อเรือรบหลวงว่า “กุหลาบแมรี” (Mary Rose) เพื่อเป็นเกียรติแก่พระองค์

เจ้าหญิงแมรีทรงได้ชื่อว่าเป็นผู้มีพระสิริโฉมงดงามที่สุดพระองค์หนึ่งในบรรดาเจ้าหญิงในยุโรป[1] พระองค์ทรงถูกหมั้นหมายกับสมเด็จพระจักรพรรดิชาร์ลส์ที่ 5 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1507 แต่สถานะการณ์อันผันผวนทางการเมืองของยุโรปทำให้การเสกสมรสมิได้เกิดขึ้น[2] คาร์ดินัลทอมัส โวลซีย์ (Thomas Wolsey) จึงหันมาเจรจาสันติภาพกับฝรั่งเศส และเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม ค.ศ. 1514 เมื่อมีพระชนมายุได้ 18 พรรษาเจ้าหญิงแมรีก็ทรงเสกสมรสกับพระเจ้าหลุยส์ที่ 12 แห่งฝรั่งเศสผู้มีพระชนมายุ 52 พรรษาโดยมีแอนน์ โบลีนเป็นหนึ่งในนางสนองพระโอษฐ์ ราชทูตเวนิสบรรยายเจ้าหญิงแมรีว่า “มีพระวรการสูงเพรียว พระเนตรสีเทาที่ดูซีดปราศจากสี” ทรงฉลองพระองค์ไหมที่งดงามโดยมีพระเกศาสยายลงมาถึงบั้นพระองค์[3] แม้ว่าจะทรงเสกสมรสมาก่อนหน้านั้นแล้วสองครั้งแต่พระเจ้าหลุยส์ก็ยังคงพยายามที่จะมีรัชทายาท แต่พระองค์ก็มาเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1515 เพียงไม่ถึงสามเดือนหลังจากการเสกสมรส ที่ว่ากันว่าเกิดจากการที่ทรงหักโหมในกิจกรรมในห้องพระบรรทม แต่การเสกสมรสครั้งสุดท้ายก็มิได้ทำให้มีพระราชโอรสเช่นเดียวกับสองครั้งแรก หลังจากการเสด็จสวรรคตของพระเจ้าหลุยส์แล้วพระเจ้าฟรองซัวส์พระมหากษัตริย์องค์ใหม่ก็พยายามเสกสมรสกับพระราชินีหม้ายแต่ก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้น[4]

การสมรสครั้งที่สอง: ดัชเชสแห่งซัฟโฟล์ค[แก้]

พระราชินีแมรีไม่ทรงมีความสุขกับชีวิตสมรสกับพระเจ้าหลุยส์ซึ่งอาจจะเป็นไปได้ว่าขณะนั้นทรงตกหลุมรักชาร์ลส์ แบรนดอน ดยุคแห่งซัฟโฟล์คที่ 1 อยู่แล้ว[5] สมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 เองก็ทรงทราบความรู้สึกของพระขนิษฐา[6] แต่ก็ยังทรงหวังจะใช้การสมรสของแมรีให้เป็นประโยชน์ทางการเมืองต่อไป ฉะนั้นเมื่อทรงส่งให้แบรนดอนไปรับตัวพระราชินีแมรีในเดือนมกราคม ค.ศ. 1515 พระองค์ก็ให้แบรนดอนให้คำสัญญาว่าจะไม่ขอแมรีแต่งงาน[7] แต่แมรีและแบรนดอนก็แต่งงานกันอย่างลับๆ ในฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 3 มีนาคม ซึ่งตามกฎแล้วก็เป็นการกระทำที่ถือว่าเป็นการกบฏต่อแผ่นดินเพราะแบรนดอนแต่งงานกับเจ้าหญิงในราชตระกูลโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากพระเจ้าเฮนรี พระเจ้าเฮนรีทรงมีความพิโรธเป็นอันมาก ฝ่ายองคมนตรีก็ยุให้พระองค์จับแบรนดอนและประหารชีวิต แต่คาร์ดินัลทอมัส โวลซีย์เข้ามาช่วยไกล่เกลี่ย และพระเจ้าเฮนรีเองก็โปรดปรานทั้งแบรนดอนและพระขนิษฐา ทั้งสองคนจึงถูกลงโทษเพียงเสียค่าปรับเป็นจำนวนมหาศาล (ประมาณ £7,200,000 เมื่อเทียบกับค่าเงินในปัจจุบัน) แต่ก็ได้รับการผ่อนผันบ้างต่อมา[8] แบรนดอนและแมรีสมรสกันอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม ค.ศ. 1515 พระราชวังกรีนนิช

แม้ว่าจะทรงเสกสมรสเป็นครั้งที่สองในอังกฤษแต่แมรีก็ยังรู้จักกันในนามว่า “พระราชินีฝรั่งเศส” และไม่เป็นที่รู้จักกันตามบรรดาศักดิ์ว่าเป็น “ดัชเชสแห่งซัฟโฟล์ค” เมื่อทรงมีชีวิตอยู่[9] แมรีทรงใช้ชีวิตส่วนใหญ่ที่ที่ตั้งของดัชชีในซัฟโฟล์ค[10]

ความสัมพันธ์ระหว่างแมรีและสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 มาห่างเหินกันในปลายคริสต์ทศวรรษ 1520 เมื่อแมรีไม่ทรงเห็นด้วยกับการขอให้ประกาศการแต่งงานกับแคเธอรีนแห่งอารากอนเป็นโมฆะของพระเชษฐา แมรีคุ้นเคยกับพระราชินีแคเธอรีนอยู่เป็นเวลาหลายปีและไม่โปรดแอนน์ โบลีน[11] ผู้ที่ทรงรู้จักครั้งแรกในฝรั่งเศส[12]

แมรีสิ้นพระชนม์ที่คฤหาสน์เวสต์ธอร์พฮอลล์ในซัฟโฟล์คเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน ค.ศ. 1533 พระร่างถูกบรรจุที่เบอรีเซนต์เอ็ดมันด์ในซัฟโฟล์ค แต่ต่อมาถูกย้ายไปอยู่ที่วัดเซนต์แมรีในเบอรีเซนต์เอ็ดมันด์เช่นกัน แต่สำนักสงฆ์ถูกทำลายระหว่างสมัยที่มีการการยุบอารามทั่วไปในอังกฤษ ต่อมาแบรนดอนก็สมรสกับคู่หมั้นของลูกชายที่มีอายุเพียงสิบสี่ปีและมีลูกด้วยกันสองคน

บุตรธิดา[แก้]

แบรนดอนและเจ้าหญิงแมรีมีบุตรธิดาด้วยกันสามคน:

อ้างอิง[แก้]

  1. Weir, Henry VIII, p. 169. Desiderius Erasmus said of her that "Nature never formed anything more beautiful."
  2. Weir, Henry VIII, p. 169.
  3. Hester W. Chapman"The Thistle and The Rose"pgs172-173
  4. Antonia Fraser, The Wives of Henry VIII, pp. 68-69.
  5. Weir, Henry VIII, p. 173.
  6. Weir, Henry VIII, p. 173. Letters from 1515 indicate that Mary agreed to wed Louis only on condition that "if she survived him, she should marry whom she liked."
  7. Weir, Henry VIII, p. 178.
  8. Weir, Henry VIII, p. 178, 184. The fine of £24,000 – approximately equivalent to £7,200,000 today – was later reduced by Henry.
  9. Fraser
  10. Weir, Henry VIII, p. 185.
  11. Weir, Henry VIII, p. 310.
  12. Weir, Henry VIII, p. 175. Anne and her sister Mary Boleyn were Maids of Honour in the entourage that accompanied Mary to France for her wedding.

ดูเพิ่ม[แก้]