รถไฟดนตรี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

รถไฟดนตรี เป็นค่ายเพลงในประเทศไทย ซึ่งมีผลงานเพลงจากศิลปินที่มีชื่อเสียงในอดีตของค่าย เช่น พงษ์สิทธิ์ คำภีร์ , ฟรีเบิร์ดส , หนู มิเตอร์ , พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ , เดวิด อินธี ฯลฯ

บริษัท รถไฟดนตรี (1995) จำกัด
อุตสาหกรรมบันเทิง
ก่อตั้งพ.ศ. 2522 Edit this on Wikidata
สำนักงานใหญ่186 ซอยรามคำแหง 4 (ซอยสมานมิตร) ถนนรามคำแหง แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร 10250
บุคลากรหลัก
ประเสริฐ พงษ์ธนานิกร
ผลิตภัณฑ์เพลง, รายการโทรทัศน์
เว็บไซต์www.musictrain.co.th Edit this on Wikidata

ประวัติของค่าย[แก้]

รถไฟดนตรี ก่อตั้งในช่วงปี พ.ศ. 2522 โดยคุณประเสริฐ พงษ์ธนานิกร หรือที่รู้จักกันในนาม ระย้า อดีตดีเจชื่อดัง ซึ่งมีรายการวิทยุชื่อว่า Music Train ดังนั้นหลังจากทำงานให้กับบริษัท อีเอ็มไอ (EMI) มานาน คุณระย้าจึงตัดสินใจลาออกจากอีเอ็มไอ และมาเปิดค่ายเพลงเป็นของตัวเองในชื่อ รถไฟดนตรี โดยดำเนินธุรกิจการผลิต และโปรโมทผลงานเพลงไทยสากลในช่วงทศวรรษแรก ก่อนจะลุยแนวเพลงเพื่อชีวิตและเพลงลูกทุ่งเป็นหลักในช่วงทศวรรษที่สองและที่สาม ด้านการผลิตและจัดจำหน่ายผลงานเพลงนั้น ในระยะแรกได้ให้ ชัวร์ออดิโอ เป็นผู้จัดจำหน่าย ก่อนจะเปลี่ยนเป็นโรต้า , บีเคพี และมาผลิตและจัดจำหน่ายเองในนามบริษัท ยูเอฟโอ มาร์เก็ตติ้ง (ปัจจุบันปิดตัวไปแล้ว และจัดจำหน่ายผลงานเพลงในนามรถไฟดนตรีแทน) นอกจากนี้ รถไฟดนตรียังมีบริษัทในเครือชื่อว่า Zergeon Tech ซึ่งดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับอุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์อีกด้วย [1]

ในปี พ.ศ. 2552 ทางบริษัทจะมีอายุครบ 30 ปี จึงได้รวบรวมงานเพลงของศิลปินดังๆ ในอดีตทั้งหมด 8 ศิลปินได้แก่ ฟรีเบิร์ดส,สาว สาว สาว, ชรัส เฟื่องอารมย์, ภูสมิง หน่อสวรรค์, พัณนิดา เศวตาสัย, จำรัส เศวตาภรณ์, สุชาติ ชวางกูร และ ศุ บุญเลี้ยง มาจำหน่ายใหม่ในรูปแบบบ็อกซ์เซ็ต [2]

ไฟล์:สาว สาว สาว ประตูใจ.jpg
สาว สาว สาว ศิลปินกลุ่มแรกๆ ที่สร้างชื่อให้กับรถไฟดนตรี
พงษ์สิทธิ์ คำภีร์ อดีตศิลปินเพลงเพื่อชีวิตเบอร์หนึ่งของค่าย

ค่ายเพลงในเครือ[แก้]

  • ฮิตซ์เมกเกอร์
  • ฟรีโซน
  • แบ็คยาร์ด

ศิลปินที่เคยมีผลงานในค่าย[แก้]

ศิลปินในช่วงทศวรรษแรก (พ.ศ. 2522 - 2532)[แก้]

ศิลปินในช่วงทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2533 - 2542)[แก้]

ศิลปินในช่วงทศวรรษที่สาม (พ.ศ. 2543 - ปัจจุบัน)[แก้]

ศิลปินที่ไม่ได้อยู่ในสังกัด แต่มีการโปรโมทและจัดจำหน่ายผลงานเพลงให้[แก้]

รายการเพลงที่เคยออกอากาศ[แก้]

  • นัดกับโน๊ต (วันพุธสัปดาห์แรกของเดือน บ่ายโมง ช่อง 7) ออกอากาศถึงปี พ.ศ. 2547
  • มิทไนท์สตาร์ (วันเสาร์ เที่ยงคืน ช่อง 9) ออกอากาศถึงปี พ.ศ. 2551
  • ดึกดึกยังคึกอยู่ (วันศุกร์ และย้ายไปวันพฤหัสบดี 01.30 น. ช่อง 9) ออกอากาศถึงปี พ.ศ. 2551
  • โบกี้ท็อปไฟว์ (วันจันทร์สัปดาห์แรกของเดือน 11.00 น. ททบ.5) ออกอากาศถึงปี พ.ศ. 254x

อ้างอิง[แก้]

  1. [ลิงก์เสีย] "รถไฟดนตรี" ขบวน(เพลง)ธรรมดาที่ไม่ธรรมดา จากผู้จัดการออนไลน์
  2. ฉลองครบรอบ 30ปี[ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]