เบลนเดอร์ (ซอฟต์แวร์)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Blender
นักพัฒนาBlender Foundation
รุ่นเสถียร
2.93.4 / 1 กันยายน พ.ศ. 2564 (2021-09-01); 930 วันก่อน[1]
ที่เก็บข้อมูล
ภาษาที่เขียนC (เป็นหลัก) C++ และ Python
ระบบปฏิบัติการทำงานได้หลายระบบ เช่น Windows, Linux, OS X, BSD
ประเภทคอมพิวเตอร์กราฟิกส์สามมิติ
สัญญาอนุญาตGPL
เว็บไซต์www.blender.org

เบลนเดอร์ เป็นซอฟต์แวร์เสรี สำหรับงานคอมพิวเตอร์กราฟิกสามมิติ สามารถใช้สร้าง โมเดลสามมิติ, คลี่ UV , ทำพื้นผิว (Texture), จัดการการเคลื่อนไหวแบบใช้กระดูก, จำลองการไหลของน้ำ, จำลองผิวหนัง, คอมพิวเตอร์แอนิเมชัน, เร็นเดอร์, พาทิเคิล, การจำลองด้วยคอมพิวเตอร์อื่นๆ, การตัดต่อและตบแต่งวีดิทัศน์และภาพผ่านระบบ คอมโพสิต, และยังใช้สร้างแอปพลิเคชันแบบสามมิติได้อีกด้วย เบลนเดอร์ทำงานได้บนหลายระบบปฏิบัติการ, เช่น Microsoft Windows, Mac OS X, GNU/Linux, IRIX, Solaris, NetBSD, FreeBSD, OpenBSD และมีการพอร์ตอย่างไม่เป็นทางการไปยังระบบ BeOS, SkyOS, AmigaOS, MorphOS และ Pocket PC เบลนเดอร์มีคุณลักษณะทัดเทียมกับโปรแกรมสามมิติระดับสูงอื่น ๆ เช่น Softimage|XSI, Cinema 4D, 3 ดีเอสแมกซ์, Lightwave และ Maya โดยมีคุณลักษณะสำคัญเช่นการจำลองกองวัตถุล้มกระทบ, การกระทบกันระหว่าง ของไหล, ผ้าถูกลมพัดพริ้ว และโครงสร้างยืดหยุ่นต่างๆ, มีระบบ modifier แบบเป็นชั้นสำหรับปรับโมเดล, ระบบจัดการภาพเคลื่อนไหวคุณภาพสูง, ระบบจัดการวัสดุและการคอมโพสิตแบบ node และรองรับ ภาษาไพทอน สำหรับเขียนสคริป Blender ต้องการ OpenGL ในการทำงาน ในปี พ.ศ. 2550 เบลนเดอร์เป็นซอฟต์แวร์แอนิเมชันสามมิติที่ถูกติดตั้งมากที่สุดในโลก [3]

ประวัติ[แก้]

ภาพหน้าจอการทำงาน จาก Blender 2.4 แสดงการ composite เพื่อปรับแต่งผลของการ render ด้วย node editor
Suzanne โมเดลที่นิยมใช้ในการทดสอบวัสดุในเบลนเดอร์ ในลักษณะเดียวกับ Utah teapot

เบลนเดอร์ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ภายในสตูดิโอแอนิเมชัน NeoGeo และ Not a Number Technologies (NaN) ในประเทศฮอลแลนด์ โดย Ton Roosendaal ซึ่งเคยเขียนโปรแกรมจำลองภาพโดยการคำนวณทิศทางแสงบนเครื่อง Amiga ในปี 1989 โดยชื่อ "เบลนเดอร์" ได้รับแรงบันดาลใจมาจากเพลงของ Yellow จาก album Baby

Roosendaal ก่อตั้ง NaN ขึ้นเมื่อเดือนมิถุนายนปี พ.ศ. 2541 ขึ้นเพื่อพัฒนาและเผยแพร่โปรแกรมเบลนเดอร์ โดยในระยะแรกเบลนเดอร์เป็นแชร์แวร์จนกระทั่ง NaN เลิกกิจการในปี พ.ศ. 2545

กลุ่มผู้ถือหุ้นตกลงจะขายสิทธิ์ในการจัดการสัญญาอนุญาต Blender ให้เป็นแบบ GPL ในราคา €100,000 ในขณะนั้น (พ.ศ. 2545) และหลังจากที่ Roosendall ได้เริ่มระดมทุนจากการรับบริจาคระยะหนึ่ง ก็ได้ประกาศว่าวันที่ 7 เดือนพฤศจิกายนพ.ศ. 2545 ว่าได้รับเงินบริจาคเพียงพอ และเบลนเดอร์ก็กลายเป็นซอฟต์แวร์เสรีและได้รับการพัฒนาต่อมาจนถึงปัจจุบันภายใต้การดูแลของ Blender Foundation

ในระยะแรก Blender Foundation ได้สงวนสิทธิ์ที่จะใช้ dual license (การใช้สัญญาอนุญาตแบบคู่ขนานคืออาจทำสัญญากับบางนิติบุคคลด้วยสัญญาที่ไม่ถูกบังคับโดยข้อกำหนดของ GPL) แต่ทางเลือกนี้ไม่ได้ถูกใช้กระทั่งยกเลิกไปในปีพ.ศ. 2548 ปัจจุบัน Blender จึงอยู่ใต้สัญญาแบบ GPL เท่านั้น

คุณลักษณะ[แก้]

Blender เป็นโปรแกรมที่มีขนาดไฟล์ที่เล็ก (ประมาณ 40MB หรือเล็กกว่าหากเลือกเฉพาะส่วน) ทำงานได้โดยไม่ต้องอินสตอล สามารถใส่ในแฟลชไดรฟ์ขนาดเล็กได้ สามารถทำงานได้บนระบบปฏิบัติการหลายรูปแบบ มีความสามารถในการทำคาแรคเตอร์และโมเดล ได้ใกล้เคียงหรือแม้แต่สูงกว่าโปรแกรม 3 มิติระดับสูงอื่น ๆ ในหลายกรณี

  • รองรับโครงสร้างพื้นฐานเรขาคณิตและการปฏิบัติการหลายอย่าง ได้แก่โมเดล โพลีกอน, ซับดิวิชันเซอร์เฟซ, เส้นโค้งเบซีเย, พื้นผิว NURBS, เมตาบอล, ประติมากรรมดิจิทัล และ ฟอนต์
  • รองรับการนำเข้าไฟล์จากโปรแกรมอื่น ๆ เช่น Wavefront OBJ, Wings 3D, 3 ดีเอสแมกซ์, LightWave3D, COLLADA และอื่น ๆ
  • มีเครื่องมือสำหรับทำแอนิเมชัน เช่น armature (กระดูก), constraints, lattice deformation, mesh deform (harmonic coordinate), shape keys, keyframes, timeline, non-linear animation, constraints, vertex weighting, ข้อต่อแบบ dual quaternion, ระบบ particles, ระบบจำลองฟิสิกส์ Bullet (Software) ของไหล ไฟ, ระบบขน ระบบแปรงสำหรับแปรงทิศทางขน ฯลฯ
  • มีเครื่องมือสำหรับใช้ตัดต่อและตกแต่งวิดีโอในตัว
  • มีเอนจินสำหรับเร็นเดอร์ภายในโปรแกรมที่มีประสิทธิภาพสูงโดยมีคุณลักษณะสำคัญเช่น DoF, Subsurface Scattering, Volumetric Rendering และรองรับโปรแกรมภายนอกสำหรับการเร็นเดอร์ที่มีความสามารถคำนวณแสงที่ซับซ้อนกว่าตัวเบลนเดอร์เอง (เช่นการคำนวณแบบ photon mapping และแบบ path tracing) ทั้งแบบที่เป็นซอฟต์แวร์เสรีเช่น YafRay และ LuxRender หรือซอฟต์แวร์กรรมสิทธิ์เช่น Indigo, Renderman, V-Ray
  • สามารถเขียนโปรแกรมเสริมการทำงานได้ด้วยภาษา ไพทอนสคริป
  • มีเกมเอนจินในตัว
  • ระบบแสดงผลแบบ GLSL เช่นสามารถจำลองเงาตกกระทบพื้นผิวได้ในตัว modeler เอง สามารถผสมผสานการทำงานแบบ multi texture ได้
  • แก้ไขภาพแบบแรสเตอร์ได้ในตัวโดยสามารถใช้ Node เพื่อจำลองการทำงานแบบ Layer
  • ระบบคลี่ UV แบบ ABF++ และ LSCM พร้อมระบบ pin ปักหมุดเพื่อช่วยการคลี่แบบต่อเนื่อง การแสดงค่าความบิดเบี้ยว/ความตึงของหน้า UV
  • สามารถระบายสีบนพื้นผิว 3 มิติได้ทันที
  • รองรับ tablet
  • สามารถนำไปแจกจ่ายหรือขายต่อได้โดยไม่ผิดกฎหมาย ตามสัญญาอนุญาตสาธารณะทั่วไปของกนู

ภาพแสดงคุณลักษณะ[แก้]

ภาพเคลื่อนไหว[แก้]

ตัวอย่างการใช้งานเบลนเดอร์ในสื่อต่าง ๆ[แก้]

ภาพจาก Big Buck Bunny ภาพยนตร์ที่สร้างขึ้นด้วยเบลนเดอร์

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Blender 2.93.4". blender.org. September 1, 2021. สืบค้นเมื่อ September 10, 2021.
  2. "blender.org Traffic Statistics". Alexa Internet. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-27. สืบค้นเมื่อ September 10, 2021.
  3. "Blender No.1 animation packaged based on number of installed copies".
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-21. สืบค้นเมื่อ 2008-12-25.
  5. http://www.plumiferos.com/index-en.php
  6. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-07-08. สืบค้นเมื่อ 2008-12-25.
  7. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-01. สืบค้นเมื่อ 2008-12-25.