เชิงชาย ชมเชิงแพทย์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เชิงชาย ชมเชิงแพทย์
สมาชิกวุฒิสภา
สมาชิกโดยตำแหน่ง
22 ตุลาคม พ.ศ. 2565 – 30 กันยายน พ.ศ. 2566
(0 ปี 343 วัน)
ก่อนหน้าพลเรือเอก สมประสงค์ นิลสมัย
ถัดไปพลเรือเอก​ อะดุง พันธุ์เอี่ยม
ผู้บัญชาการทหารเรือ
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2565 – 30 กันยายน​ พ.ศ. 2566
(0 ปี 364 วัน)
ก่อนหน้าพลเรือเอก สมประสงค์ นิลสมัย
ถัดไปพลเรือเอก​ อะดุง พันธุ์เอี่ยม
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2506 (61 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
ศิษย์เก่าโรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 22
โรงเรียนนายเรือ รุ่นที่ 77
โรงเรียนเสนาธิการทหารเรือ รุ่นที่ 55
วิททยาลัยการทัพเรือ รุ่นที่ 41
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 61
ชื่อเล่นจอร์จ
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ไทย
ยศ พลเรือเอก
บังคับบัญชากองทัพเรือ

พลเรือเอก เชิงชาย ชมเชิงแพทย์ (เกิด: 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2506) เป็นอดีตผู้บัญชาการทหารเรือ คนที่ 56 สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนมัธยมเซนต์คาเบรียล รุ่นที่ 50[1], โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 22, โรงเรียนนายเรือ รุ่นที่ 77 เป็นหัวหน้านักเรียนนายเรือ, โรงเรียนเสนาธิการทหารเรือ รุ่นที่ 55, วิทยาลัยการทัพเรือ รุ่นที่ 41 หลักสูตรบริหารผู้บริการกระบวนการยุติธรรมระดับสูง รุ่นที่ 16 และวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 61[2]

ประวัติ[แก้]

พลเรือเอกเชิงชาย เกิดเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2506[3] จบการศึกษาจากโรงเรียนเตรียมทหาร รุ่น 22 โรงเรียนนายเรือ รุ่นที่ 79 (หัวหน้านักเรียนนายเรือ) โรงเรียนเสนาธิการทหารเรือ รุ่นที่ 55, วิทยาลัยการทัพเรือ รุ่นที่ 41, หลักสูตรผู้บริหารกระบวนการยุติธรรมระดับสูง รุ่นที่ 16 และวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 61

รับราชการ[แก้]

พลเรือเอกเชิงชาย เคยดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการเรือหลวงรัตนโกสินร์ ผู้ช่วยทูตทหารเรือไทย ประจำกรุงวอชิงตัน ดี.ซี.

จากนั้นจึงเป็นผู้อำนวยการทหารกองนโยบายและยุทธศาสตร์ กรมยุทธการทหารเรือ และเสนาธิการกองเรือดำน้ำ กองเรือยุทธการ

ผู้อำนวยการสำนักงานกิจการความมั่นคง กรมยุทธการทหารเรือ ก่อนจะได้รับตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการทัพภาคที่ 3 และออกจากกองทัพเรือ มาเป็นรองเสนาธิการ กองบัญชาการกองทัพไทย ก่อนจะกลับมากองทัพเรืออีกครั้ง และขึ้นเป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการกองทัพเรือในเวลาต่อมา

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

พลเรือเอก เชิงชาย ชมเชิงแพทย์ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งไทยและต่างประเทศ ดังนี้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. กองทัพเรือส่งมอบตำแหน่ง ผบ.ทร. คนใหม่ ‘พล.ร.อ. เชิงชาย ชมเชิงแพทย์’ นับเป็น ผบ.ทร. คนที่ 56 ของไทย
  2. พล.ร.อ.เชิงชาย ชมเชิงแพทย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ
  3. อวยพรวันคล้ายวันเกิด ผบ.ทร.[ลิงก์เสีย]
  4. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๖, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๔ ข หน้า ๔๓, ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๑๐๗, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๒๓๑, ๒๕ ธันวาคม ๒๕๓๙
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๒๓ ตอนที่ ๙ ข หน้า ๒, ๓ เมษายน ๒๕๔๙
  8. ผบ.ทร.เยือนสิงคโปร์ รับมอบเครื่องอิสริยาภรณ์ เชิดชูเกียรติด้านการทหาร. Siam Hotline News. 16 สิงหาคม 2566