เฉา (นาฏกรรม)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เฉาแบบมยุรภัญช์ที่แสดงภายใต้แก่นศาสนาแบบลัทธิไวษณวะที่ภุพเนศวร รัฐโอฑิศา

เฉา, ฉะอู หรือ ฉะอุ (อักษรโรมัน: Chhau หรือ Chhou, อักษรเบงกอล: ছৌ, อักษรเทวนาครี: छऊ, โอริยา: ଛଉ) เป็นนาฏกรรมอินเดียกึ่งคลาสสิกที่ผสมผสานธรรมเนียมพื้นถิ่นและศิลปะการป้องกันตัว[1] ปรากฏเฉาอยู่สามรูปแบบซึ่งมีชื่อต่างกันไปสถานที่ ซึ่งได้แก่ ปุรุลิยาเฉา (Purulia Chhau) จากปุรุลิยาในรัฐเบงกอลตะวันตก, เสรายเกลลาฉะอู (Seraikella Chhau) จากเสรายเกลาในรัฐฌารขัณฑ์ และ มยุรภัญช์ฉะอุ (Mayurbhanj Chhau) จากมยุรภัญช์ในรัฐโอฑิศา

เฉามีลักษณะตั้งแต่ศิลปะป้องกันตัวเพื่อเฉลิมฉลอง, กายกรรม และการแสดงเชิงกีฬาด้วยแก่นแบบนาฏกรรมพื้นบ้าน ไปจนถึงการร่ายรำที่มีแบบแผนภายใต้แก่นทางศาสนาดังที่ปรากฏในลัทธิไศวะ, ลัทธิศักติ และลัทธิไวษณวะ การแต่งกายในการแสดงเฉามีแตกต่างกันไปตามชนิด เช่น เฉาแบบปุรุลิยา กับ เสรายเกลา สวมหน้ากากเพื่อระบุถึงตัวละคร[2] เรื่องราวที่นำมาแสดงด้วยเฉายังรวมถึงเรื่องราวจากมหากาพย์ฮินดู เช่น รามายณะ, มหาภารตะ, ปุราณะต่าง ๆ ไปจนถึงวรรกรรมอินเดียอื่น ๆ[2][3]

ตามธรรมเนียมแล้ว การแสดงเฉาใช้ผู้ชายทั้งหมด และแสดงเฉลิมฉลองเป็นพิเศษในช่วงฤดูใบไม้ร่วงของทุกปี เฉาอาจเป็นนาฏกรรมที่ผสมผสานมาจากการร่ายรำฮินดูแบบคลาสสิก กับธรรมเนียมของชนเผ่าโบราณต่าง ๆ ในภูมิภาค[3] นาฏกรรมนี้นำพาผู้คนจากพื้นหลังทางเศรษฐสังคมที่หลากหลายมารวมกันภายใต้บรรยากาศแห่งการเฉลิมฉลองและจิตวิญญาณร่วมทางศาสนา[2][3]

นาฏกรรมเฉามีที่มาจากอินเดียตะวันออก[4] ชื่อนี้อาจมาจากคำสันสกฤต จายะ (Chāya; เงา ภาพ หน้ากาก)[3][5] บ้างกล่าวว่ามาจากคำว่า จัทมะ (Chadma; ปลอมตัว) ที่เหลือ ซึ่งรวมถึง สีตากานต์ มหาปัตระ เสนอว่ามาจากคำภาาาโอฑิศา ฉะอุนิ (Chhauni; ค่ายทหาร)[6][7]

อ้างอิง[แก้]

  1. Williams 2004, pp. 83–84, is a semi classical Indian dance with martial, tribal and folk origins. The other major classical Indian dances are: Bharatanatyam, Kathak, Kuchipudi, Kathakali, Odissi, Manipuri, Satriya, Yaksagana and Bhagavata Mela.
  2. 2.0 2.1 2.2 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ unescochhau
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 Claus 2003, pp. 109–110.
  4. Claus 2003, pp. 109.
  5. Mohan Khokar (1984). Traditions of Indian classical dance. Clarion Books. pp. 184–186. ISBN 9780391032750.
  6. Claus, p. 109
  7. "The Chhau". Seraikela-Kharsawan district official website. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 April 2009. สืบค้นเมื่อ 15 March 2009.