เกล็ดหิมะ (กอริลลา)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เกล็ดหิมะ

เกล็ดหิมะ (กาตาลา: Floquet de Neu; สเปน: Copito de Nieve; ประมาณ ค.ศ. 196424 พฤศจิกายน ค.ศ. 2003) เป็นลิงกอริลลาผิวเผือก มันเป็นสัตว์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของสวนสัตว์บาร์เซโลนา ในประเทศสเปน[ต้องการอ้างอิง]

การตั้งชื่อ[แก้]

เดิมทีลิงกอริลลาตัวนี้มีชื่อว่า อึนฟูมู อึงกุย ในภาษาฟอง (ซึ่งหมายถึง "กอริลลาสีขาว") โดยผู้จับมันมา จากนั้นมันได้รับชื่อใหม่คือ ฟลูแกตดาเนว (ภาษากาตาลา หมายถึง เจ้าเกล็ดหิมะน้อย[1]) โดยผู้เลี้ยงดูมันที่ชื่อ ฌอร์ดี ซาบาเต ปี[2][3] หลังจากนั้น เมื่อมันเดินทางมาถึงบาร์เซโลนาก็ได้รับการต้อนรับอย่างเป็นทางการจากนายกเทศมนตรีของบาร์เซโลนาชื่อฌูแซป มาริอา ดา ปูร์ซิออลัส ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1966 ซึ่งมันได้รับการเรียกในชื่อ บลังกาเนียเบส (ซึ่งหมายถึง "สโนว์ไวต์") ในหนังสือพิมพ์เตเล/อักซเปรส [4] แต่มันก็กลายเป็นที่รู้จักจากชื่อที่ตั้งให้แก่มันโดย Sabater เมื่อนิตยสารเนชั่นแนล จีโอกราฟิก ได้แสดงการขึ้นหน้าปกของมันในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1967 โดยมีชื่อว่าเกล็ดหิมะในภาษาอังกฤษ และเป็นชื่อที่ได้รับการแพร่กระจายโดยสื่อมวลชน (ทั้งนิตยสารชแตร์น, ไลฟ์, ปารี-มัตช์) ส่วนตัวซาบาเตเองเรียกกอริลลาตัวนี้ว่า โกปี หรือ ฟลูแกต และต่อมาเรียกว่า เอ็นฟูมู นอกจากนี้ มันยังเป็นที่รู้จักกันในชื่อ "ลิตเติลบัตเตอร์คัป"[5] และ "วานิลลากอริลลา" รวมถึงดาวเคราะห์น้อย 95962 โกปีโต ที่ได้รับการค้นพบโดยโคตา. มันเตกา ซึ่งเป็นนักดาราศาสตร์ชาวสเปน ยังได้ทำการตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่มัน[6]

ลักษณะ[แก้]

เกล็ดหิมะเป็นกอริลลาที่ลุ่มตะวันตก ที่ไม่ได้มีภาวะผิวเผือกแบบเป็นมากทั่วทั้งกาย[7] ซึ่งมันไม่ได้มีผิวและเส้นขนในลักษณะของรงควัตถุ[8][9]

เกล็ดหิมะมีสายตาที่ไม่ค่อยดี ซึ่งเกี่ยวเนื่องมาจากภาวะผิวเผือก โดยได้มีการทดสอบซึ่งพบว่าเกล็ดหิมะไม่สามารถมองเห็นจุดที่อยู่ตรงกลางได้ส่วนหนึ่ง[10] ซึ่งอันโตนีโอ โฌงก์ ผู้อำนวยการสวนสัตว์บาร์เซโลนาได้เขียนไว้ว่า:

"ดวงตาในส่วนของตาขาวมีลักษณะเป็นสีน้ำเงินอ่อน ส่วนกระจกตาปกติ และส่วนของม่านตาเป็นสีฟ้าอ่อน ซึ่งมีความโปร่งแสงเป็นอย่างมากสำหรับการส่องด้วยไฟฉาย การปรับโฟกัสของตาและการหักเหเป็นปกติ ตัวสื่อกลางมีความโปร่งแสงและอวัยวะของตาปกติ รวมถึงมีลักษณะเป็นสีขาวโดยรวม ส่วนหลอดเลือดโครอยด์สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนและรูม่านตาเป็นปกติ มันเป็นสัตว์ที่มีอาการกลัวแสงซึ่งจะทำการปิดตาซ้ำแล้วซ้ำอีกเมื่อพบกับแสงจ้า ส่วนในที่มีแสงกระจายคล้ายกับเขตชีวชาติ เราได้คำนวณว่ามันจะกระพริบตาโดยเฉลี่ย 20 ครั้งต่อนาที"[9]

การศึกษาถึงจีโนมของเกล็ดหิมะระบุว่าพ่อแม่ของมันมีดีเอ็นเอที่เหมือนกัน 12 เปอร์เซ็นต์ ส่งผลให้นักวิจัยเชื่อว่าพ่อแม่ของมันน่าจะเป็นลุงที่ผสมเชื้อกับหลานสาว ในการศึกษากรณีเดียวกันพบว่าภาวะผิวเผือกของมันเกิดจากการกลายพันธุ์ของยีน SLC45A2 เกล็ดหิมะที่ได้รับยีนด้อยจากทั้งพ่อและแม่ ส่งผลให้มันมีสภาพเป็นกอริลลาผิวเผือก[7][11]

ประวัติ[แก้]

เกล็ดหิมะกำลังพักผ่อนอยู่ในกรงของมัน

เกล็ดหิมะถูกจับได้ในภูมิภาครีโอมูนี ที่ประเทศอิเควทอเรียลกินี เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1966 โดยเบนีโต มาเญ ซึ่งเป็นเกษตรกรผู้มีสายเลือดชาวฟอง โดยมาเญได้สังหารเหล่ากอริลลาที่มีอยู่ในฝูงของมัน (ที่มีสีปกติ) จากนั้น มาเญได้นำเจ้าเกล็ดหิมะตัวนี้มากักตัวไว้ที่บ้านของเขา เป็นระยะเวลาสี่วันก่อนที่จะส่งมันสู่จังหวัดชายฝั่งบาตา แล้วมันก็ได้รับการซื้อตัวโดยนักวานรวิทยาที่ชื่อฌอร์ดี ซาบาเต ปี[12] ซึ่งเกล็ดหิมะได้ใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ที่สวนสัตว์บาร์เซโลนา[ต้องการอ้างอิง]

เกล็ดหิมะเป็นพ่อของลูก ๆ ที่มีอยู่ถึง 21 ตัว โดยแบ่งออกเป็นตัวผู้สิบตัวและตัวเมียสิบเอ็ดตัว จากคู่ครองหรือผู้ที่เป็นแม่ของกอริลลาที่มีอยู่ทั้งหมดสามตัว ทายาทของมันหกตัวมีชีวิตมาจนเติบใหญ่และสามตัวที่ยังคงมีชีวิตอยู่ โดยไม่มีลูกตัวใดของเกล็ดหิมะที่มีภาวะผิวเผือก หากแต่ทุกตัวน่าจะมียีนเฮเทอโรไซกัส ซึ่งเป็นพาหะของยีนด้อยสำหรับยีนผิวเผือก โดยลูกหลานของมันน่าจะเป็นพาหะของยีนผิวเผือกตามค่าทางคณิตศาสตร์อยู่ที่ 50 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่ลูกหลานของมันมีโอกาสอยู่ที่ 25 เปอร์เซ็นต์ หากทั้งพ่อและแม่เป็นพาหะของยีนผิวเผือก พวกมันก็มีโอกาส 25 เปอร์เซ็นต์ในการออกลูกมาเป็นกอริลลาผิวเผือก[ต้องการอ้างอิง] ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2014 เกล็ดหิมะมีหลานทั้งหมด 21 ตัว (11 ตัวที่ยังมีชีวิตอยู่) กับเหลนอีกสี่ตัว (ยังมีชีวิตอยู่ทั้งหมด)[13] หลานของเจ้าเกล็ดหิมะที่ชื่อเอ็นโกว์มีนิ้วมือสีชมพู ซึ่งอาจจะเป็นนัยของการมีภาวะผิวเผือกในบางส่วน[ต้องการอ้างอิง]

ในช่วงเวลาของความตาย ได้มีการคาดว่าเกล็ดหิมะน่าจะมีอายุอยู่ที่ระหว่าง 38 ถึง 40 ปี โดยตั้งแต่ปี ค.ศ. 2001 มันได้รับความทุกข์ทรมานจากรูปแบบที่ผิดปกติของมะเร็งผิวหนัง ซึ่งแทบจะแน่นอนที่จะเกิดขึ้นต่อภาวะผิวเผือกของมัน[14] ผู้เข้าเยี่ยมชมสวนสัตว์นับพันได้มาร่ำลาอาลัย ก่อนที่มันจะถูกกระทำการการุณยฆาตเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน ค.ศ. 2003 [ต้องการอ้างอิง]

แรกเริ่มเดิมที ทางสวนสัตว์บาร์เซโลนาไม่ได้ตระหนักถึงลักษณะเฉพาะของเกล็ดหิมะ พวกเขาได้ส่งข้อความไปยังซาบาเต ปี โดยบอกว่า "กรุณาส่งบรรดากอริลลาสีขาวมาให้มากกว่าเดิม"[ต้องการอ้างอิง] ซึ่งต่อมาทางสวนสัตว์ได้หวังถึงการให้กำเนิดทางสายพันธุกรรม รวมถึงครอบครัวของกอริลลาสีขาวทั้งหมดที่มาจากการคัดเลือกพันธุ์[ต้องการอ้างอิง] และสวนสัตว์นี้ มีบันทึกข้อสนธิสัญญาในการเก็บรักษาลูกอัณฑะของเกล็ดหิมะเพื่อการเก็บเกี่ยวผลิตผล จากการตายของมัน จึงได้มีการเก็บไว้ในสวนสัตว์แช่แข็งเพื่อรองรับตัวเลือกในการมีลูกหลานของมันได้มากขึ้นในอนาคต[ต้องการอ้างอิง] ยีนของเกล็ดหิมะได้รับการพิจารณาว่ามีคุณค่าเป็นพิเศษเพราะมันถูกจับในป่า และเพราะเหตุนี้มันจึงเป็นหนึ่งในต้นสายพันธุ์สำหรับกอริลลาที่ลุ่มตะวันตกที่ถูกจับได้ ซึ่งเป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ และได้รับการบริหารจัดการโครงการปรับปรุงสายพันธุ์โดยโครงการเพาะพันธุ์และขยายพันธุ์สัตว์ป่าหายากของสมาคมสวนสัตว์และพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำและโครงการอนุรักษ์สัตว์ใกล้สูญพันธุ์แห่งทวีปยุโรปสำหรับการอนุรักษ์สัตว์ป่า[ต้องการอ้างอิง] ใน ค.ศ. 1986 ทางสวนสัตว์บาร์เซโลนาได้ขอความช่วยเหลือจากสัตวแพทย์เดวิด เทย์เลอร์ ในการเก็บสเปิร์มจากเกล็ดหิมะสำหรับผสมเทียม แม้ว่าความพยายามดังกล่าวจะไม่ประสบความสำเร็จ แต่เรื่องราวเหล่านี้ก็ได้รับการเผยแพร่ผ่านหนังสือพิมพ์ไปทั่วโลก[15] รวมถึงได้มีการสนทนาถึงการโคลนเจ้าเกล็ดหิมะ[ต้องการอ้างอิง]

มรดกสืบทอด[แก้]

ห้องที่อุทิศให้แก่เจ้าเกล็ดหิมะ

ทุนการศึกษาเพื่อการวิจัยเกี่ยวกับวานรวิทยาได้รับการก่อตั้งขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์และแสดงความเคารพที่มีต่อกอริลลาเผือก ชื่อเสียงของเกล็ดหิมะได้ช่วยส่งเสริมให้เกิดความตระหนักถึงสายพันธุ์ที่ใกล้สูญพันธุ์ของกอริลลา และซาบาเต ปี ยังได้กล่าวในการนำเสนอหนังสือของเขาว่า "หากเราไม่ทำอะไรเลย จะไม่มีจำนวนกอริลลาเพิ่มขึ้นอีกใน 30 ปี"

กอริลลาตัวนี้ยังได้กลายเป็นตัวละครในนวนิยายเรื่อง มามอริเอสดันฟลูแกตดาเนว ("ความทรงจำของเกล็ดหิมะ") โดยนักเขียนชาวกาตาลาที่ชื่อโตนี ซาลา

ซาบาตอร์ ปี ยังได้อุทิศหนังสือเล่มเพื่อกอริลลาตัวนี้ โดยใช้ชื่อ โกปีโตปาราเซียมเปร ("เกล็ดหิมะชั่วนิรันดร์")

นอกจากนี้ เขายังได้สร้างบทย่อสำหรับการปรากฏตัวในนวนิยายของอีตาโล กัลวีโน เรื่อง มร.ปาโลมาร์

รายการโทรทัศน์เนเจอร์ ทางช่องพีบีเอสได้สร้างตอนสำหรับการอุทิศให้แก่มัน

อดีตกวีชาวอเมริกันที่มีชื่อเสียงอย่างบิลลี คอลลินส์ ได้เขียนถึงเกล็ดหิมะในบทกวีของเขา ซึ่งมีชื่อว่า "เซิร์ชชิง" (การค้นหา) โดยได้รับการตีพิมพ์ในงานคอลเลกชันของเขาเมื่อปี ค.ศ. 2008 ในชุดบาลิสทิคส์[16]

เกล็ดหิมะยังได้ปรากฏตัวบนปกอัลบัมเพลงแดนซ์ชุด รูตี ของเบสเมนต์แจกซ์[17]

ในการแข่งขันของสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนา นักฟุตบอลชาวดัตช์ที่ชื่อโรนัลด์ กุมัน ได้รับการตั้งฉายาในชื่อ โกปีโตเดเนียเบ ซึ่งเป็นชื่อของเกล็ดหิมะในภาษาสเปน จากผมสีบลอนด์ของเขา

เกล็ดหิมะได้ปรากฏตัวในการ์ตูน เดอะทริปเลตส์ (สเปน: Les Tres Bessones) ตอน "แฝดสามพบคิงคอง" ในฐานะแขกผู้มีเกียรติสำหรับการปรากฏตัวของคิงคองในสนามกีฬาโอลิมปิกของบาร์เซโลนา

ในปี ค.ศ. 2011 ได้มีภาพยนตร์ไลฟ์แอ็กชันที่ใช้เทคนิคภาพคอมพิวเตอร์สร้างขึ้น โดยมีชื่อเรื่องคือ สโนว์เฟลก เดอะไวต์กอริลลา ที่แสดงให้เห็นถึงวัยเด็กของเกล็ดหิมะในรูปแบบเรื่องสมมติ (ให้เสียงพากย์โดยอาเรียนา แกรนเด)

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "The Name Is Snowflake", The Pittsburgh Post Gazette, May 28, 1967
  2. Sabater's pictures, at the Sabater Pi Collection at the Universitat de Barcelona
  3. "Little Snowflake, World's First White Gorilla", The Palm Beach Post, February 22, 1967
  4. "anuaris.cat". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-14. สืบค้นเมื่อ 2014-10-17.
  5. Taylor, Henry J., "An Animal Lover: Elephant Is Real King Of Jungle", Ocala Star-Banner, July 28, 1967, page 4
  6. "Asteroide Copito de Nieve"
  7. 7.0 7.1 Javier Prado-Martinez; Irene Hernando-Herraez; Belen Lorente-Galdos; Marc Dabad; Oscar Ramirez; Carlos Baeza-Delgado; Carlos Morcillo-Suarez; Can Alkan; Fereydoun Hormozdiari; Emanuele Raineri; Jordi Estellé; Marcos Fernandez-Callejo; Mònica Valles; Lars Ritscher; Torsten Schöneberg; Elisa de la Calle-Mustienes; Sònia Casillas; Raquel Rubio-Acero; Marta Melé; Johannes Engelken; Mario Caceres; Jose Luis Gomez-Skarmeta9; Marta Gut; Jaume Bertranpetit; Ivo G Gut; Teresa Abello; Evan E Eichler; Ismael Mingarro; Carles Lalueza-Fox; Arcadi Navarro; Tomas Marques-Bonet (31 May 2013). "The genome sequencing of an albino Western lowland gorilla reveals inbreeding in the wild". BMC Genomics. 14. doi:10.1186/1471-2164-14-363. สืบค้นเมื่อ 4 June 2014.
  8. International Wildlife Encyclopedia Vol. 20, Marshall Cavendish Corporation/New York, 1970, pg. 2710
  9. 9.0 9.1 Duplaix-Hall, Nicole; Antonio Jonch (1967). "The White Gorilla (Gorilla g. gorilla) At Barcelona Zoo". International Zoo Yearbook. Vol. Vol. XIII. London: Zoological Society of London. p. 196. OCLC 604039131. {{cite book}}: |volume= has extra text (help)
  10. Riopelle, A.J., "Growing up with Snowflake", National Geographic, 138:490-503, October 1970
  11. Pappas, Stephanie (17 June 2013). "Albino Gorilla 'Snowflake' Was Inbred, Gene Sequence Shows". The Huffington Post. สืบค้นเมื่อ 6 June 2014.
  12. Riopelle, A.J., "Snowflake the world's first white gorilla", National Geographic 131: 442-8, March 1967
  13. Davis, James R. (1 June 2014). "0281 - SNOWFLAKE". Dewar Wildlife. Dewar Wildlife Trust, Inc. สืบค้นเมื่อ 6 June 2014.
  14. Staff writers (22 September 2003). "Albino gorilla dying of skin cancer". BBC News. สืบค้นเมื่อ 1 June 2013.
  15. Taylor, David, Vet on the Wild Side: Further Adventures of a Wildlife Vet, Arrow (Random Century Group), 1991
  16. Poetry: Billy Collins, 'Searching' - The Atlantic
  17. Woollaston, Victoria (June 19, 2013). "The world's only albino gorilla was the result of INCEST - and his lack of colour meant he died from skin cancer, claim scientists". Daily Mail. London. สืบค้นเมื่อ 21 June 2013.

หนังสืออ่านเพิ่ม[แก้]

  • Riopelle, A.J., "Snowflake the world's first white gorilla", National Geographic 131:442-8, March 1967
  • "Unique in all gorilladom: Roman Luera Carbo's Snowflake", Life 62:69-70, March 31, 1967
  • Riopelle, A.J., "Growing up with Snowflake", National Geographic 138:490-503, October 1970
  • Jonch, Antonio, "The White Gorilla (Gorilla g. gorilla) At Barcelona Zoo", International Zoo Yearbook Vol. XIII, 1967, pg. 196
  • Schmeck, Harold M. Jr., "First Known White Gorilla Is Found", The New York Times F. 23 pgs. 1:5 & 41:2
  • "Rare albino gorilla dies", The Montreal Gazette, November 25, 2003, pg. A.21
  • Gerritsen, Vivienne Baillie (August 2004) "Snowy stardom". Protein Spotlight (SIB Swiss Institute of Bioinformatics).
  • NATURE. Snowflake: The White Gorilla|PBS