มะเร็งผิวหนัง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มะเร็งผิวหนัง
มะเร็งบาซอลเซลล์คาร์ซิโนมา ซึ่งมีลักษณะคล้ายไข่มุกและเส้นเลือดฝอยขยาย
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก
ICD-10C43-C44
ICD-9172, 173
ICD-O:8010-8720
MedlinePlus001442
eMedicinearticle/276624, article/870538, article/1100753, article/1965430
MeSHD012878

มะเร็งผิวหนัง (อังกฤษ: Skin cancers) ได้รับการตั้งชื่อตามชนิดของเซลล์ผิวหนังตามที่ได้เกิดขึ้น มะเร็งผิวหนังชนิดเบซาลเซลล์เกิดจากเซลล์ชั้นฐานของหนังกำพร้า และเป็นโรคมะเร็งผิวหนังที่พบมากที่สุดแต่เป็นอันตรายน้อย ส่วนมะเร็งผิวหนังสะแควมัสเซลล์คาร์ซิโนมาเกิดขึ้นในผิวหนังชั้นกลาง และพบได้น้อยกว่าโดยทั่วไป แต่มีแนวโน้มที่จะแพร่กระจาย และหากไม่ได้รับการรักษา ก็อาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต

สำหรับชนิดเมลาโนมา ที่เกิดจากเซลล์สร้างเม็ดสี (เมลาโนไซต์) เป็นชนิดที่พบได้น้อยที่สุด แต่เป็นอันตรายมากที่สุด ซึ่งส่วนใหญ่มีแนวโน้มที่จะแพร่กระจาย และหากไม่ได้รับการรักษา ก็อาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต[1][2]

โดยส่วนใหญ่แล้วสาเหตุมักมาจากการถูกรังสียูวีมากเกินไปจากดวงอาทิตย์หรือเตียงอาบแดด[3] ซึ่งการรักษาโดยทั่วไปจะใช้การผ่าตัด

เมลาโนมาจัดเป็นหนึ่งในโรคมะเร็งที่มีอัตราการรอดสูงสุด โดยมีกว่า 75 เปอร์เซ็นต์ของคนที่ได้รอดชีวิตยืนยาวกว่า 10 ปีในสหราชอาณาจักรระหว่างปี ค.ศ. 2005–2007 [4] ทั้งนี้ ในสหราชอาณาจักรในปี ค.ศ. 2010 ผู้คนจำนวน 12,818 รายได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็งผิวหนังชนิดเมลาโนมา และประมาณ 100,000 คนได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็งผิวหนังชนิดไม่ใช่เมลาโนมา โดยมีผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งผิวหนัง 2,746 ราย จากชนิดเมลาโนมา 2,203 ราย และจากโรคมะเร็งผิวหนังชนิดไม่ใช่เมลาโนมา 546 ราย[5] ส่วนในสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 2008 ผู้คนจำนวน 59,695 รายได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็งผิวหนังชนิดเมลาโนมา และมี 8,623 รายเสียชีวิตจากสาเหตุดังกล่าว[6]

การจำแนกประเภท[แก้]

มีสามประเภทหลักของโรคมะเร็งผิวหนัง: มะเร็งผิวหนังชนิดเบซาลเซลล์ (บีซีซี), มะเร็งผิวหนังสะแควมัสเซลล์คาร์ซิโนมา (เอสซีซี) และเมลาโนมา

โรคมะเร็ง ลักษณะ ภาพประกอบ
มะเร็งผิวหนังชนิดเบซาลเซลล์ ให้สังเกตลักษณะฝ้าคล้ายไข่มุกสีเนื้อ, เส้นเลือดเล็ก ๆ บนพื้นผิว และบางครั้งอาจมีลักษณะเป็นแผล โดยมีระยะที่สำคัญคือความฝ้ามัว
มะเร็งผิวหนังสะแควมัสเซลล์คาร์ซิโนมา โดยทั่วไปจะเป็นสีแดง, เกรอะกรัง หรือเป็นรอยสะเก็ดหรือต่อม ซึ่งมักจะเป็นเนื้องอกที่โตเร็วอย่างมาก
เมลาโนมา ลักษณะโดยทั่วไปจะกินพื้นที่แบบไม่สมดุล ซึ่งมีความผิดปกติของขอบ, รูปแบบสี และมักจะมีขนาดใหญ่กว่า 6 มม.[7]

การป้องกัน[แก้]

สารกันแดดที่มีประสิทธิภาพได้รับการแนะนำใช้ป้องกันเมลาโนมา[8] และสะแควมัสเซลล์คาร์ซิโนมา[9] ในขณะที่มีหลักฐานเพียงเล็กน้อยที่จะใช้ป้องกันมะเร็งผิวหนังชนิดเบซาลเซลล์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ[10]

ส่วนคำแนะนำอื่นที่จะลดอัตราการเกิดโรคมะเร็งผิวหนัง ประกอบด้วย หลีกเลี่ยงการถูกแดดมากเกินไป, การสวมใส่เสื้อ, แว่นกันแดด และหมวกป้องกัน ตลอดจนพยายามที่จะหลีกเลี่ยงการถูกแสงอาทิตย์ของช่วงเวลาแดดส่องสูงสุด[11] นอกจากนี้ หน่วยบริการป้องกันเฉพาะกิจแห่งสหรัฐอเมริกายังได้แนะนำว่าผู้ที่มีอายุระหว่าง 9 ปีและ 25 ปีให้หลีกเลี่ยงรังสีอัลตราไวโอเลตด้วยเช่นกัน[12]

ความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งผิวหนังสามารถลดจำนวนลงได้ด้วยการ: ลดการทำให้ผิวไหม้ในที่ร่ม และการถูกแสงแดดตอนกลางวัน รวมถึงการเพิ่มการใช้สารกันแดด[13] และหลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ยาสูบ

ในประเด็นนี้ ยังมีหลักฐานไม่เพียงพอสำหรับการสู้กับโรคมะเร็งผิวหนัง[14] ซึ่งอาหารเสริมวิตามิน และสารต้านอนุมูลอิสระยังไม่ได้รับการพบว่ามีผลในการป้องกัน[15] ส่วนหลักฐานจากการรับประทานอาหารนั้นยังไม่เป็นที่แน่ชัด[16]

อ้างอิง[แก้]

  1. Merck Manual of Diagnosis and Therapy
  2. Kasper, Dennis L; Braunwald, Eugene; Fauci, Anthony; และคณะ (2005). Harrison's Principles of Internal Medicine, 16th ed. New York: McGraw-Hill. ISBN 978-0071402354.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  3. Marks, R (Jan 15, 1995). "An overview of skin cancers. Incidence and causation". Cancer. 75 (2 Suppl): 607–12. PMID 7804986.
  4. CancerStats—Skin cancer survival เก็บถาวร 2012-08-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Cancer Research UK
  5. CancerStats—Skin cancer survival เก็บถาวร 2012-08-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Cancer Research UK
  6. CDC - Skin Cancer Statistics
  7. "Malignant Melanoma: eMedicine Dermatology".
  8. Kanavy HE, Gerstenblith MR (December 2011). "Ultraviolet radiation and melanoma". Semin Cutan Med Surg. 30 (4): 222–8. doi:10.1016/j.sder.2011.08.003. PMID 22123420.
  9. Burnett ME, Wang SQ (April 2011). "Current sunscreen controversies: a critical review". Photodermatol Photoimmunol Photomed. 27 (2): 58–67. doi:10.1111/j.1600-0781.2011.00557.x. PMID 21392107.
  10. Kütting B, Drexler H (December 2010). "UV-induced skin cancer at workplace and evidence-based prevention". Int Arch Occup Environ Health. 83 (8): 843–54. doi:10.1007/s00420-010-0532-4. PMID 20414668.
  11. Council on Environmental H, Section on, Dermatology, Balk, SJ (Mar 2011). "Ultraviolet radiation: a hazard to children and adolescents". Pediatrics. 127 (3): 588–97. doi:10.1542/peds.2010-3501. PMID 21357336.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  12. Lin JS, Eder, M, Weinmann, S (Feb 2011). "Behavioral counseling to prevent skin cancer: a systematic review for the U.S. Preventive Services Task Force". Annals of internal medicine. 154 (3): 190–201. doi:10.1059/0003-4819-154-3-201102010-00009. PMID 21282699.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  13. Lin JS, Eder, M, Weinmann, S (2011). "Behavioral counseling to prevent skin cancer: a systematic review for the U.S. Preventive Services Task Force". Annals of internal medicine. 154 (3): 190–201. doi:10.1059/0003-4819-154-3-201102010-00009. PMID 21282699.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  14. "Screening for Skin Cancer". U.S. Preventive Services Task Force. 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-01-08. สืบค้นเมื่อ 2014-05-14.
  15. Chang YJ, Myung, SK, Chung, ST, Kim, Y, Lee, EH, Jeon, YJ, Park, CH, Seo, HG, Huh, BY (2011). "Effects of vitamin treatment or supplements with purported antioxidant properties on skin cancer prevention: a meta-analysis of randomized controlled trials". Dermatology (Basel, Switzerland). 223 (1): 36–44. doi:10.1159/000329439. PMID 21846961.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  16. Jensen, JD; Wing, GJ; Dellavalle, RP (Nov–Dec 2010). "Nutrition and melanoma prevention". Clinics in dermatology. 28 (6): 644–9. doi:10.1016/j.clindermatol.2010.03.026. PMID 21034988.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]