อเล็กซานดรา เอลบัคยาน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อเล็กซานดรา เอลบัคยาน
Alexandra Elbakyan
อเล็กซานดรา เอลบัคยาน ในพ.ศ. 2553
เกิด6 พฤศจิกายน 1988[1]
อัลมา-อะตา, สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตคาซัค, สหภาพโซเวียต[1][2][3]
มีชื่อเสียงจากการสร้างเว็บไซต์ไซ-ฮับ

อเล็กซานดรา เอลบัคยาน (รัสเซีย: Александра Асановна Элбакян[4]) เป็น นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ชาวคาซัคสถาน[5] นักเขียนโปรแกรม และผู้สร้างเว็บไซต์ไซ-ฮับ (Sci-hub)[6] เดอะนิวยอร์กไทมส์ เปรียบเทียบเธอกับเอ็ดเวิร์ด สโนว์เดน ในการปล่อยข้อมูล ด้วยความที่เธอหนีกฎหมายอเมริกาโดยย้ายไปอยู่ที่ประเทศรัสเซีย[7] อาร์เทคนิกาเปรียบเทียบเธอกับแอรอน สวอตซ์[8]

ประวัติ[แก้]

เอลบัคยานเกิดที่สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตคาซัคในปี พ.ศ. 2531 เธอเข้าศึกษาที่มหาวิทยาลัยในนครอัสตานา ซึ่งเป็นที่ที่เธอฝึกทักษะการแฮ็กคอมพิวเตอร์ การทำงานเป็นระยะเวลาหนึ่งปีเกี่ยวกับระบบความปลอดภัยคอมพิวเตอร์ทำให้เธอมีเงินมากพอที่จะย้ายไปที่เมืองไฟรบูร์กอิมไบรส์เกาในพ.ศ. 2553 เพื่อทำงานในโครงการสมอง-คอมพิวเตอร์ และทำให้เธอเกิดความสนใจในลัทธิพ้นมนุษย์ (transhumanism) ซึ่งนำเธอสู่การเข้าฝึกงานที่สถาบันเทคโนโลยีจอร์เจียในสหรัฐอเมริกา เธอเริ่มทำไซ-ฮับเมื่อเดินทางกลับสู่คาซัคสถานในพ.ศ. 2554 ถูกกล่าวถึงโดย ไซเอินซ์ ว่าทำ การกระทำเพื่อผู้อื่นที่น่าประทับใจ หรือ วิสาหกิจอาชญากรรมอันยิ่งใหญ่ แล้วแต่ว่าคุณถามใคร[1] จากคดีความซึ่งฟ้องร้องโดยแอ็ลเซอเฟียร์ในสหรัฐอเมริกา ขณะนี้เอลบัคยานต้องซ่อนตัวเพื่อลดความเสี่ยงในการถูกจับและส่งตัวข้ามชายแดน[9] จากบทสัสัมภาษณ์ในพ.ศ. 2559 งานวิจัยทางประสาทวิทยาศาสตร์ของเธอต้องถูกหยุดชั่วคราว ทว่าเธอสมัครเรียนในสาขาประวัติศาสตร์ของวิทยาศาสตร์ที่ "มหาวิทยาลัยเอกชนเล็กๆ แห่งหนึ่ง" ในที่ๆ ไม่อาจเผยแพร่ วิทยานิพนธ์ของเธอมุ่งไปที่การสื่อสารเชิงวิทยาศาสตร์[1]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 Bohannon, John (29 April 2016). "The frustrated science student behind Sci-Hub". Science. 352 (6285). doi:10.1126/science.aaf5675.
  2. "Alexandra Elbakyan". Vk.com (ภาษารัสเซีย). สืบค้นเมื่อ 6 October 2016.
  3. Coralie Trinh Thi (2016). "Alexandra Elbakyan: la pirate scientifique" (ภาษาฝรั่งเศส). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-01-11. สืบค้นเมื่อ 2017-04-10. Née en 1988 au Kazakhstan, elle est fascinée par « les livres de science soviétiques, qui expliquent scientifiquement tous les miracles attribués aux dieux ou à la magie ». Elle étudie les neurosciences à Astana et son université n’a pas les moyens de payer l’abonnement aux publications des éditeurs scientifiques. Pour son projet de recherche (l’interactivité cerveau-machine), elle aurait dû acheter chaque article autour de 30 dollars – un prix faramineux quand on sait qu’il faut consulter des dizaines ou des centaines d’articles. Elle n’a qu’une solution : les pirater.
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-07. สืบค้นเมื่อ 2016-05-21.
  5. Rosenwald, Michael S. (30 March 2016). "This student put 50 million stolen research articles online. And they're free". Washington Post.
  6. Dylla, H. Frederick (2016-03-21). "No need for researchers to break the law to access scientific publications". Physics Today. doi:10.1063/PT.5.2031. ISSN 0031-9228. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-07-28. สืบค้นเมื่อ 2016-05-05.
  7. Murphy, Kate (2016-03-12). "Should All Research Papers Be Free?". The New York Times. ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2016-03-28.
  8. Kravets, David (3 April 2016). "A spiritual successor to Aaron Swartz is angering publishers all over again". Ars Technica. Condé Nast. สืบค้นเมื่อ 18 April 2016.
  9. Bohannon, John (29 April 2016). "Who's downloading pirated papers? Everyone". Science. 352 (6285): 508–512. doi:10.1126/science.aaf5664.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]