อักษรสำหรับภาษาฟูลา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อักษรสำหรับภาษาฟูลา เดิมภาษานี้เขียนด้วยอักษรอาหรับที่เรียกอักษรอยามี ก่อนจะเปลี่ยนมาเขียนด้วยอักษรละติน

อักษรละติน[แก้]

ภูมิหลัง[แก้]

อักษรละตินเข้ามาในบริเวณที่มีผู้พูดภาษาฟูลาในแอฟริกากลางและตะวันตกโดยชาวยุโรปในช่วงก่อนหรือขณะที่มีการรุกราน ผู้คนที่หลากหลาย ทั้งมิชชันนารี ผู้บริหารอาณานิคม นักวิชาการได้พัฒนาวิธีการเขียนภาษาฟูลา สิ่งที่มีอิทธิพลมากที่สุดต่อรูปแบบการเขียนภาษาฟูลาในปัจจุบันคือ รูปแบบที่กำหนดโดยผู้บริหารอาณานิคมในไนจีเรียเหนือและอักษรสำหรับภาษาแอฟริกานส์ อย่างไรก็ตาม รูปแบบการเขียนภาษาเหล่านี้ต่างกันไปในแต่ละประเทศด้วย

การเขียน[แก้]

กฏทั่วไป:

  • สระ
    • สระเสียงยาวจะใช้อักษรสองตัว
    • สระที่ต่างกันสองตัวจะไม่ใช้ด้วยกัน
  • พยัญชนะ
    • ในการเน้นพยัญชนะ จะเขียนซ้ำหรือใส่ " ' " ก่อนพยัญชนะ เช่น "temmeere" = "te'meere"

อักษรที่ต่างกันไปในแต่ละประเทศ[แก้]

เซเนกัล แกมเบีย มอริตาเนีย[แก้]

a, aa, b, mb, ɓ, c, d, nd, ɗ, e, ee, f, g, ng, h, i, ii, j, nj, k, l, m, n, ŋ, ñ, o, oo, p, r, s, t, u, uu, w, x, y, ƴ

กินี[แก้]

  • แบบที่ 1: a, b, ɓ, nb, d, ɗ, e, f, g, ɠ, ng, h, i, j, nj, k, l, m, n, ɲ, ŋ, o, p, r, s, t, c, u, w, y, ƴ
  • แบบที่ 2: a, b, bh, nb, c, d, dh, nd, e, f, g, ng, gn or ny, h, i, j, k, l, m, n, nh, o, p, q, r, s, t, u, w, y, yh
  • การจับคู่ระหว่างสองแบบ: bh = ɓ (เช่น bheydugol); dh = ɗ (เช่น dhuytugol); q = ɠ (เช่น qaagnagol, or qermugol); gn or ny = ɲ (เช่น gnaamugol or nyaamugol); nh = ŋ (เช่น nhari); yh = ƴ (เช่น yhettugol).

กินีบิสเซา เซียราลีโอน ไลบีเรีย[แก้]

a, b, ɓ, c, d, ɗ, e, f, g, h, i, j, k, l, m, mb, n, nd, ng, nj, ŋ, ñ, o, p, r, s, t, u, w, y, ƴ, '

มาลี บูร์กินาฟาโซ[แก้]

a, aa, b, mb, ɓ, c, d, nd, ɗ, e, ee, f, g, ng, h, i, ii, j, nj, k, l, m, n, ŋ, ɲ, o, oo, p, r, s, t, u, uu, w, x, y, ƴ

ไนเจอร์ ไนจีเรีย แคเมอรูน ชาด สาธารณรัฐแอฟริกากลาง[แก้]

a, aa, b, mb, ɓ, c, d, nd, ɗ, e, ee, f, g, ng, h, i, ii, j, nj, k, l, m, n, ŋ, ny, o, oo, p, r, s, t, u, uu, w, x, y, ƴ

อักษรอาหรับหรืออักษรอยามี[แก้]

อักษรอาหรับเข้ามาในบริเวณแอฟริกาตะวันตกพร้อมกับศาสนาอิสลาม ก่อนที่ชาวยุโรปจะมาถึงและยึดครองเป็นอาณานิคม เช่นเดียวกับการเชียนภาษาฮัวซาด้วยอักษรอาหรับ มุสลิมชาวฟูลาที่เรียนเกี่ยวกับอัลกุรอ่านได้พัฒนาอักษรเหล่านี้มาเขียนภาษาของตน แต่ไม่มีรูปแบบที่เป็นมาตรฐาน แต่ละท้องถิ่นจะใช้ในรูปแบบของตนเอง ความแตกต่างจะอยู่ที่เสียงพยัญชนะและเสียงสระที่ไม่มีในภาษาอาหรับ

อักษรอัดลัม[แก้]

ในราว พ.ศ. 2532 สองพี่น้อง อีบราฮีมา บาร์รี และอับดูลาเย บาร์รี ได้ประดิษฐ์อักษรสำหรับเขียนภาษาฟูลา และปัจจุบันมีการใช้ในโรงเรียนในกินี ไนจีเรีย ไลบีเรียและประเทศข้างเคียง ชิ่ออัดลัมมาจากอักษรสี่ตัวแรกคือ A, D, L, M[1][2]

อักษรอื่นๆ[แก้]

มีความพยายามนำอักษรเอ็นโกมาเขียนภาษาฟูลาในกินี

อ้างอิง[แก้]

  1. "Proposed New Scripts". Unicode Consortium. 2015-06-12. สืบค้นเมื่อ 2015-07-16.
  2. Everson, Michael (23 September 2014). "N4628: Proposal for encoding the Adlam script in the SMP of the UCS" (PDF).