สิทธิในการประท้วง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คนงานภารโรงใช้สิทธิประท้วงหน้าอาคารเอ็มทีวี ในแซนตามอนิกา รัฐแคลิฟอร์เนีย

สิทธิในการประท้วง อาจเป็นการแสดงถึงสิทธิเสรีภาพในการชุมนุม สิทธิเสรีภาพในการสมาคม และสิทธิเสรีภาพในการพูด[1]นอกจากนี้ การประท้วง และข้อจำกัดในการประท้วงยังคงมีอยู่ตราบที่รัฐบาลมีอำนาจ[2]

ในกฎหมายระหว่างประเทศ[แก้]

สนธิสัญญาระหว่างประเทศหลายฉบับมีข้อตกลงที่ชัดเจนเกี่ยวกับสิทธิในการประท้วง ข้อตกลงดังกล่าวรวมถึงอนุสัญญายุโรปว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ค.ศ. 1950 โดยเฉพาะมาตรา 9 ถึง 11 และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ค.ศ. 1966 โดยเฉพาะมาตราที่ 18 ถึง 22 รวมทั้งมาตรา 9 ที่บัญญัติ “สิทธิในเสรีภาพทางความคิด มโนธรรม และศาสนา[3] มาตรา 10 ประกาศ "สิทธิในเสรีภาพในการแสดงออก"[3] มาตรา 11 ประกาศ "สิทธิที่จะมีเสรีภาพในการสมาคมกับผู้อื่น รวมทั้งสิทธิในการก่อตั้งและเข้าร่วมสหภาพแรงงานเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของเขา"[3] อย่างไรก็ตาม ข้อตกลงเหล่านี้ และข้อตกลงอื่น ๆ ว่าด้วยสิทธิเสรีภาพในการชุมนุม เสรีภาพในการสมาคม และเสรีภาพในการพูด อยู่ภายใต้ข้อจำกัดบางประการ ตัวอย่างเช่น กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ได้บัญญัติข้อห้าม "การโฆษณาชวนเชื่อเพื่อสงคราม" และการสนับสนุน "ความเกลียดชังทางชาติ เชื้อชาติ หรือศาสนา" และยังอนุญาตให้จำกัดเสรีภาพในการชุมนุมได้หากมีความจำเป็นตามเงื่อนไขในมาตรา 20 และ 21 ความว่า "ในสังคมประชาธิปไตยเพื่อประโยชน์แห่งความมั่นคงของชาติ หรือความปลอดภัยของประชาชน ความสงบเรียบร้อยของประชาชน การคุ้มครองสุขภาพ หรือศีลธรรมของประชาชน หรือการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น"[3] คำอธิบายของสิทธิเหล่านี้ได้แสดงถึงจุดที่แตกต่างระหว่างกัน

อย่างไรก็ตาม การประท้วงไม่จำเป็นต้องมีความรุนแรง หรือคุกคามผลประโยชน์ของความปลอดภัยสาธารณะ และความมั่นคงของชาติ และไม่จำเป็นต้องใช้การอารยะขัดขืน เมื่อผู้ประท้วงไม่มีส่วนละเมิดกฎหมายของรัฐ การประท้วง แม้แต่การรณรงค์ต่อต้านด้วยสันติวิธี มักจะมีลักษณะในการสนับสนุนระบอบประชาธิปไตย และรัฐธรรมนูญ สิ่งนี้สามารถเกิดขึ้นได้ ตัวอย่างเช่น เมื่อการต่อต้านเช่นนี้เกิดขึ้นเพื่อตอบโต้การรัฐประหารโดยกองทัพ[4] หรือในกรณีที่ค่อนข้างคล้ายกันนี้คือการที่ผู้นำของรัฐปฎิเสธที่จะยอมลงจากตำแหน่งหลังจากพ่ายแพ้การเลือกตั้ง เป็นต้น

การรณรงณ์[แก้]

ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2022 แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ได้เปิดตัวการรณรงค์ "ปกป้องการประท้วง" (“Protect the Protest”) ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อเปิดโปรงการละเมิดสิทธิการประท้วง และสนับสนุนการเคลื่อนไหวทั่วโลก และพยายามส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงให้เป็นไปในทางที่ดีขึ้น[5]

ที่สถาบันเอกชน[แก้]

นายจ้าง สถาบันการศึกษา[6] และสมาคมวิชาชีพ[7] หลายแห่ง มีนโยบายสาธิตที่จำกัดสิทธิของสมาชิกในการประท้วง เช่น กำหนดให้พวกเขาอยู่ในเขตพูดเสรี ในสหรัฐอเมริกา คดีในศาลฎีกาของทิงเกอร์ วี. ดิมอยน์ ปี ค.ศ. 1969 ได้ให้สิทธินักศึกษาในการประท้วง ตราบใดที่ไม่ก่อให้เกิด "การหยุดชะงักอย่างมีนัยสำคัญ[8]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "The Historic Right to Peaceful Protest". YourRights.org.uk (Liberty). 19 September 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 April 2008.
  2. Cooper, Jo (2005). Addis, Megan; Morrow, Penelope (บ.ก.). "The Right to Peaceful Protest" in Your Rights: The Liberty Guide to Human Rights (8 ed.). Pluto Press. ISBN 9780745322766. JSTOR j.ctt183q56g.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 Convention for the Protection of Human Rights and Fundamental Freedoms and/or International Covenant on Civil and Political Rights Office of the United Nations High Commissioner of Human Rights
  4. Adam Roberts, "Civil Resistance to Military Coups",Journal of Peace Research, Oslo, vol. 12, no. 1, 1975, pp. 19-36.
  5. "Protest". Amnesty International (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-08-14.
  6. Long, Waverly (2021-11-10). "Senior administrators emphasize Northwestern's demonstration policy". The Daily Northwestern. สืบค้นเมื่อ 2022-03-21.
  7. Mather, Victor (2020-06-10). "How Sports Leagues Regulate Athletes' Activism". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2022-03-21.
  8. Shackelford, Kelly (November 2014). "Mary Beth and John Tinker and Tinker v. Des Moines : Opening the schoolhouse gates to first amendment freedom: TINKER (1969) AND STUDENTS' FREE SPEECH". Journal of Supreme Court History (ภาษาอังกฤษ). 39 (3): 372–385. doi:10.1111/j.1540-5818.2014.12054.x.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]