สามัญลักษณะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สามัญลักษณะ (อ่านว่า สามันยะ-) แปลว่า ลักษณะที่มีเสมอกันในสังขารทั้งปวง

สามัญลักษณะ หมายถึงภาวะที่เกิดขึ้น ภาวะที่มีที่เป็นแก่สังขารคือสรรพสิ่งทั้งปวงอย่างเสมอภาคกัน ไม่มียกเว้น ไม่ว่าสังขารนั้นจะมีชีวิตหรือไม่มีชีวิต เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ไตรลักษณ์ คือลักษณะประจำ 3 ประการของสังขาร และเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ธรรมนิยาม คือกฎธรรมดาหรือข้อกำหนดที่แน่นอนของสังขารทั้งปวง

สามัญลักษณะ มี 3 ประการคือ

  1. อนิจจตา ความเป็นของไม่เที่ยง ความเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา
  2. ทุกขตา ความเป็นทุกข์ คือทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้
  3. อนัตตตา ความเป็นของมิใช่ตัวตน ความมิใช่อัตตา

นิยมเรียกสั้นๆ ว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

อ้างอิง[แก้]