สนธิสัญญาโลคาร์โน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สนธิสัญญาโลคาร์โน
จากซ้ายไปขวา: กุสทัฟ ชเตรเซอมัน, ออสเตน แชมเบอร์เลน และAristide Briandตอนลงนามสนธิสัญญาโลคาร์โน
ประเภทMultilateral treaty
วันลงนาม1 ธันวาคม ค.ศ. 1925 (1925-12-01)
ที่ลงนามลอนดอน, อังกฤษ, สหราชอาณาจักร

สนธิสัญญาโลคาร์โน คือ ข้อตกลงเจ็ดประการซึ่งได้เจรจากันที่เมืองโลคาร์โน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ตั้งแต่วันที่ 5 ตุลาคม - 16 ตุลาคม 1925 และได้รับการลงนามอย่างเป็นทางการที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ซึ่งมีจุดประสงค์ที่จะให้ประเทศฝ่ายพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และกลุ่มประเทศเกิดใหม่ในยุโรปตอนกลางและตะวันออกธำรงรักษาเขตแดนของประเทศเหล่านั้น รวมไปถึงการคืนความสัมพันธ์ทางการทูตกับเยอรมนี สนธิสัญญาดังกล่าวได้แบ่งทวีปยุโรปออกเป็นสองหมวด ก็คือ ยุโรปตะวันตก ซึ่งได้รับการรับรองจากสนธิสัญญาโลคาร์โน และยุโรปตะวันออกได้รับการพิจารณาใหม่อีกครั้ง[1]


ภูมิหลัง[แก้]

สนธิสัญญาโลคาร์โนเกิดขึ้นจากการแลกเปลี่ยนหนังสือระหว่างประเทศระหว่างอังกฤษ ฝรั่งเศสและเยอรมนีในช่วงฤดูร้อนของปี 1925 หลังจากที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของเยอรมนี กุสตาฟ สเตรียสมานน์ ได้เสนอให้เกิดการปรับเปลี่ยนพรมแดนด้านตะวันตกของเยอรมนีให้เป็นประโยชน์ต่อทั้งสองฝ่าย และเป็นการแก้ไขสนธิสัญญาแวร์ซายที่ไม่เป็นธรรมต่อเยอรมนี และทำให้เยอรมนีสามารถกู้ฐานะของตนกับมหาอำนาจตะวันตก

ข้อตกลง[แก้]

ตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดสนธิสัญญาโลคาร์โนนั้นก็คือ "สนธิสัญญาไรน์แลนด์" ระหว่าง เยอรมนี ฝรั่งเศส เบลเยี่ยม อังกฤษและอิตาลี ซึ่งเยอรมนี ฝรั่งเศสและเบลเยี่ยมนั้นต่างก็ได้ลงนามในสนธิสัญญาไม่รุกรานระหว่งกัน และมีสักขีพยานคืออีกสองประเทศที่มีส่วนในสนธิสัญญาดังกล่าว และถ้าหากเกิดการรุกรานระหว่างกัน ประเทศที่เหลือจะเข้าช่วยประเทศที่ถูกโจมตีทันที

นอกจากนั้น เยอรมนียังได้เซ็นสนธิสัญญากับฝรั่งเศสและเบลเยี่ยมตามอำเภอใจ และสนธิสัญญาที่ไร้ความหมายกับโปแลนด์และเชโกสโลวาเกีย ด้านฝรั่งเศสนั้นได้เซ็นสนธิสัญญาเพิ่มเติมกับโปแลนด์และเชโกสโลวาเกีย ซึ่งสัญญาว่าจะช่วยเหลือกันในกรณีที่เกิดความขัดแย้งกับเยอรมนี จากสนธิสัญญาดังกล่าว อาจกล่าวได้ว่าฝรั่งเศสได้ลงนามเป็นพันธมิตรกับโปแลนด์แล้วเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 1921 และกับเชโกสโลวาเกียเมื่อวันที่ 25 มกราคม 1924

ผลที่ตามมา[แก้]

สนธิสัญญาโลคาร์โนนั้นถูกพิจารณาว่ามันจะเป็นหลักสำคัญที่จะพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศภายในทวีปยุโรป ซึ่งเริ่มต้นด้วยความหวังที่จะมีสันติภาพทั่วโลก เรียกว่า "จิตวิญญาณแห่งโลคาร์โน" ซึ่งปรากฏให้เห็นเมื่อเยอรมนีเข้าเป็นสมาชิกของสันนิบาตชาติ และภายในเดือนมิถุนายน 1930 กองทัพพันธมิตรก็ถอนตัวออกจากแคว้นไรน์แลนด์ทั้งหมด

ตรงกันข้ามกับโปแลนด์ มหาชนชาวโปแลนด์ได้รับควมอับอายจากความล้มเหลวของทูตโปแลนด์และเป็นเหตุที่นำไปสู่การเปลี่ยนรัฐบาลของโปแลนด์ สนธิสัญญาโลคาร์โนนั้นก็ยังทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างฝรั่งเศสกับโปแลนด์เลวร้ายลงไปอีก (แม้ว่าจะยังคงเป็นพันธมิตรระหว่างกัน) และเป็นจุดเริ่มต้นของความหวาดระแวงระหว่างโปแลนด์กับชาติตะวันตก[2] สนธิสัญญาโลคาร์โนได้แบ่งทวีปยุโรปออกเป็นสองส่วน ส่วนหนึ่งได้รับการรับรองจากสนธิสัญญาโลคาร์โน และส่วนที่เหลือไม่ได้รับการคุ้มครอง ดังคำของ Józef Beck กล่าวไว้ว่า "เยอรมนีได้ขออย่างเป็นทางการจะโจมตีทางตะวันออก เพื่อให้ทางตะวันตกเกิดสันติภาพ"[3] ความล้มเหลวในการเจรจาจากสนธิสัญญาโลคาร์โนนั้นเป็นตัวแปรหนึ่งที่ Józef Piłsudski ตัดสินใจที่จะล้มล้างรัฐสภาของโปแลนด์[4]

ข้อยกเว้นหนึ่งที่เกิดขึ้นหลังจากสนธิสัญญาโลคาร์โนก็คือ สหภาพโซเวียต ซึ่งได้มองตะวันตก (détente) นั้นได้พยายามเก็บตัวเองจากความขัดแย้งในทวีปยุโรปด้วยนโยบายโดดเดี่ยว โดยเฉพาะอย่างยิ่งโดยการถอดถอนเยอรมนีออกจากความสัมพันธ์กับตนภายใต้สนธิสัญญาลาพาลโลแห่งปี 1922 และความตึงเครียดก็ได้เริ่มขึ้นในช่วงยุโรปตะวันออก ด้วยเหตุนี้ เยอรมนีจึงจ่ายเงินราว 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐอเมริกาให้กับสหภาพโซเวียต

จิตวิญญาณแห่งโลคาร์โนนั้นมิได้คงอยู่เมื่อแนวคิดชาตินิยมได้ถูกฟื้นฟูขึ้นในเยอรมนีตั้งแต่ปี 1930 ได้มีการเสนอในปี 1934 ให้มีการลงนามในสนธิสัญญา"โลคาร์โนตะวันออก" ซึ่งน่าจะรักษาเขตแดนด้านตะวันออกของเยอรมนีซึ่งมีท่าทีไม่สงบ และโปแลนด์ก็ยืนกรานให้ประเทศตะวันตกได้ให้คำรับรองแก่เขตแดนดังกล่าว ฮิตเลอร์นั้นได้ละเมิดสนธิสัญญาโลคาร์โนโดยตรงด้วยการส่งทหารเข้าไปยึดครองไรน์แลนด์ เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 1936

อ้างอิง[แก้]

  1. "สำหรับข้าพเจ้าแล้ว สนธิสัญญาโลคาร์โนได้เปิดโอกาสให้เยอรมนีสามารถเอาดินแดนทางตะวันออกของตนคืนจากโปแลนด์" โดย Gustav Stresemann
  2. Stanisław Sierpowski, "Polityka zagraniczna Polski międzywojennej", Warszawa 1994
  3. Józef Beck, "Dernier rapport. Politique polonaise 1926 - 1939", 1951
  4. Marian Eckert, "Historia polityczna Polski, lata 1918-1939". Warszawa 1989

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]