สตอรีไลน์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นิยมใช้กระดานดำเป็นฉากแล้วติดเรื่องราวลงไปประกอบการสอนแบบสตอรีไลน์

สตอรีไลน์ (อังกฤษ: Storyline) หมายถึง การใช้เรื่องราวที่สร้างขึ้นมาดำเนินเรื่องโดยอาศัยเส้นทางการดำเนินเรื่อง เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์และมโนทัศน์ต่างๆ โดยผู้เรียนและผู้สอนร่วมกันกำหนดฉาก ตัวละคร แนวทางการดำเนินเรื่องอย่างเป็นลำดับขั้นตอน เป็นรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่คิดค้นขึ้นโดย สตีฟ เบลล์และแซลเลอร์ ฮาร์กเนส ซึ่งเป็นนักการศึกษาชาวสกอตแลนด์[1] โดยเริ่มต้นจากการนำไปใช้ในระดับชั้นประถมศึกษาเป็นระดับชั้นแรก[2] สำหรับวิธีการนี้เข้ามาในประเทศไทยเมื่อคราวสตีฟ เบลล์เดินทางมาถ่ายทอดแนวคิดนี้ ณ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[3] หลักสำคัญในการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบสตอรีไลน์คือต้องมีคำถามสำคัญ และองค์ประกอบหลักของสตอรีไลน์ 4 ประการ คือ ฉาก ตัวละคร วิถีชีวิตและเหตุการณ์สำคัญ ซึ่งวิธีการสอนนี้เปิดโอกาสให้ผู้เรียนเกิดจินตนาการ ได้ลงมือปฏิบัติจริงและมีความคิดสร้างสรรค์ และเป็นการเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญอีกด้วย ในปัจจุบันนี้รูปแบบการสอนสตอรีไลน์แพร่หลายอยู่ในสกอตแลนด์ สหรัฐอเมริกา กลุ่มประเทศสแกนดิเนเวีย เนเธอร์แลนด์ ฮ่องกง สิงคโปร์ ลิทัวเนีย กรีซ ตุรกี โปรตุเกสและประเทศไทย

รายการอ้างอิง[แก้]

  1. อรทัย มูลคำและสุวิทย์ มูลคำ. (2545). CHILD CENTERED: STORYLINE METHOD: การบูรณาการหลักสูตรและการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เล่ม 2. กรุงเทพ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
  2. อลิศรา ชูชาติและอรรถพล อนันตวรสกุล. การออกแบบการเรียนการสอนแบบบูรณาการด้วยรูปแบบกิจกรรม : เอกสารประกอบการสอนรายวิชาการออกแบบและการจัดการเรียนการสอน. กรุงเทพ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (อัดสำเนา)
  3. วลัย พานิช. (2545). การสอนด้วยวิธี storyline. ในอรรถพล อนันตวรสกุล (บรรณาธิการ). การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยวิธี Storyline. กรุงเทพ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.