วิธีใช้:เอชทีเอ็มแอลในข้อความวิกิ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ซอฟต์แวร์มีเดียวิกิซึ่งวิกิพีเดียใช้อยู่อนุญาตให้ใช้ส่วนย่อย (element) หรือป้ายระบุ (tag) และลักษณะประจำ (attribute) ของเอชทีเอ็มแอล5 บางส่วนสำหรับการจัดรูปแบบนำเสนอ แต่สามารถรวมเอชทีเอ็มแอลส่วนใหญ่ได้โดยใช้มาร์กอัพวิกิหรือแม่แบบเทียบเท่า ควรใช้มาร์กอัพวิกิหรือแม่แบบในบทความมากกว่า เพราะง่ายกว่าสำหรับผู้เขียนส่วนมาก และกินพื้นที่น้อยกว่าในหน้าต่างการแก้ไข แต่เอชทีเอ็มแอลมีประโยชน์นอกบทความ ตัวอย่างเช่น เพื่อการจัดรูปแบบในแม่แบบ สำหรับคำอธิบายเรื่องการใช้แคสเคดดิงสไตล์ชีตส์ในวิกิพีเดีย ดู วิธีใช้:แคสเคดดิงสไตล์ชีตส์

บางป้ายระบุดูเหมือนเอชทีเอ็มแอล แต่ที่จริงเป็นตัวแจงส่วน (parser) และป้ายระบุขยายของมีเดียวิกิ ฉะนั้นแท้จริงแล้วจึงเป็นมาร์กอัพวิกิ

โปรแกรมสอน[แก้]

หน้าอธิบายนี้ให้เฉพาะภาพรวมของมาร์กอัพที่ใช้ได้ สำหรับความช่วยเหลือและข้อกำหนดอย่างละเอียดที่

ลักษณะประจำ[แก้]

ลักษณะประจำเอชทีเอ็มแอลให้สารสนเทศเพิ่มเติมเกี่ยวกับส่วนย่อยและระบุเสมอในป้ายระบุเริ่มต้น จะจัดรูปแบบเป็นคู่ชื่อ/ค่า (value) เช่น name="value"

ลักษณะประจำทั่วโลกใช้กับป้ายระบุทั้งหมด ลักษณะประจำซึ่งไม่อยู่ในรายการด้านล่างถูกมีเดียวิกิห้ามใช้[1] ดังนี้

  • class: การจำแนกต่าง ๆ ที่ส่วนย่อยนั้นจัดอยู่ ดู Wikipedia:Catalogue of CSS classes
  • dir: ทิศทางข้อความ— "ltr" (ซ้ายไปขวา), "rtl" (ขวาไปซ้าย) หรือ "auto"
  • id: ตัวระบุเฉพาะตัวสำหรับส่วนย่อย
  • lang: ภาษาหลักสำหรับเนื้อหาของส่วนย่อยตาม BCP 47 ซอฟต์แวร์มีเดียวิกิเพิ่มลักษณะประจำ xml:lang โดยอัตโนมัติเมื่อใดที่นิยาม lang แต่ xml:lang จะไม่ผ่านอีกเมื่อรวมอยู่เป็นลักษณะประจำอีกอย่างหนึ่ง
  • style: นำซีเอสเอสสไตล์ลิงไปใช้กับเนื้อหาของส่วนย่อย
  • title: สารสนเทศที่ปรึกษาที่สัมพันธ์กับส่วนย่อย

ลักษณะไมโครดาตาเอชทีเอ็มแอล5 ใช้กับป้ายระบุทั้งหมด[2] ดังนี้

  • ลักษณะประจำใด ๆ ที่ขึ้นต้นด้วย data-
  • itemid
  • itemprop
  • itemref
  • itemscope
  • itemtype

ป้ายระบุอื่นอย่างลักษณะประจำจำเพาะสนับสนุน <table> เหล่านี้แสดงรายการอยู่ในส่วนที่เหมาะสม

มาร์กอัป แสดงผลเป็น
นี่คือข้อความ<span style="color:red">สีแดง</span>

นี่คือข้อความสีแดง

มีเดียวิกิ Sanitizer.php เก็บกวาดลักษณะประจำบ้าง ควรใช้วากยสัมพันธ์ (syntax) ที่เหมาะสมจะดีที่สุด

  • ทิ้งลักษณะประจำที่ไม่อยู่ในไวต์ลิสต์ (whitelist) สำหรับส่วนย่อยหนึ่ง ๆ
  • เปลี่ยนเอนทิตี (entity) ที่เสียหรือไม่สมเหตุสมผลเป็นข้อความธรรมดา
  • ใส่เครื่องหมายอัญประกาศคู่ (" ") คร่อมค่าลักษณะประจำทั้งหมด
  • ลักษณะประจำที่ไม่ระบุค่าจะกำหนดค่าตามชื่อ
  • ลักษณะประจำคู่จะถูกทิ้ง
  • ลักษณะประจำสไตล์ที่ไม่ปลอดภัยจะถูกทิ้ง
  • เพิ่มช่องว่างไว้ด้านหน้าหากมีลักษณะประจำ

ส่วนย่อยเอชทีเอ็มแอล[แก้]

ซอฟต์แวร์มีเดียวิกิรองรับส่วนย่อยเอชทีเอ็มแอลเหล่านี้ ส่วนนี้ให้บทสรุปสั้น ๆ ของส่วนย่อยเอชทีเอ็มแอล ตัวอย่าง มาร์กอัพวิกิและแม่แบบเทียบเท่า

พื้นฐาน[แก้]

h1, h2, h3, h4, h5, h6[แก้]

ป้ายระบุ <h1>...</h1> ถึง <h6>...</h6> เป็นหัวเรื่องสำหรับส่วนที่ไปสัมพันธ์ด้วย <h1> ใช้กับชื่อเรื่องบทความ สามารถปรับแต่งหัวเรื่องได้ผ่านซีเอสเอสและเพิ่มเข้าสารบัญของหน้า

มาร์กอัป แสดงผลเป็น
<h1>หัวเรื่อง 1</h1>
<h2>หัวเรื่อง 2</h2>
<h3>หัวเรื่อง 3</h3>
<h4>หัวเรื่อง 4</h4>
<h5>หัวเรื่อง 5</h5>
<h6>หัวเรื่อง 6</h6>
หัวเรื่อง 1
หัวเรื่อง 2
หัวเรื่อง 3
หัวเรื่อง 4
หัวเรื่อง 5
หัวเรื่อง 6

มาร์กอัพวิกิ: เขียนเครื่องหมายเท่ากับตามจำนวนที่เหมาะสมคร่อมข้อความ การจัดรูปแบบหัวเรื่องด้วยมาร์กอัพวิกิเพิ่มลิงก์ [แก้]


มาร์กอัป แสดงผลเป็น
= หัวเรื่อง 1 =
== หัวเรื่อง 2 ==
=== หัวเรื่อง 3 ===
==== หัวเรื่อง 4 ====
===== หัวเรื่อง 5 =====
====== หัวเรื่อง 6 ======
หัวเรื่อง 1
หัวเรื่อง 2
หัวเรื่อง 3
หัวเรื่อง 4
หัวเรื่อง 5
หัวเรื่อง 6


p[แก้]

ป้ายระบุ <p>...</p> วางเนื้อหาเป็นย่อหน้าแยกต่างหาก

มาร์กอัป แสดงผลเป็น
<p>ภาษามาร์กอัพข้อความหลากมิติ</p><p>ภาษามาร์กอัพข้อความหลากมิติ</p>

ภาษามาร์กอัพข้อความหลากมิติ

ภาษามาร์กอัพข้อความหลากมิติ

มาร์กอัพวิกิ: คั่นย่อหน้าด้วยบรรทัดว่างหนึ่งบรรทัด

มาร์กอัป แสดงผลเป็น
ภาษามาร์กอัพข้อความหลากมิติ

ภาษามาร์กอัพข้อความหลากมิติ

ภาษามาร์กอัพข้อความหลากมิติ

ภาษามาร์กอัพข้อความหลากมิติ

ป้ายระบุ <p>...</p> มีประโยชน์อย่างยิ่งในกรณีรายการ โดยที่ไอเท็มรายการมีหลายย่อหน้า

มาร์กอัป แสดงผลเป็น
* <p>นี่นับเป็นหนึ่งย่อหน้า</p><p>นี่เป็นอีกย่อหน้าหนึ่งในไอเท็มเดียวกัน</p>
* นี่เป็นอีกไอเท็มหนึ่ง

  • นี่นับเป็นหนึ่งย่อหน้า

    นี่เป็นอีกย่อหน้าหนึ่งในไอเท็มเดียวกัน

  • นี่เป็นอีกไอเท็มหนึ่ง

หมายเหตุว่า ป้ายระบุปิด </p> ไม่จำเป็นเสมอไปสำหรับการติดตั้งมีเดียวิกิที่นำออกเอชทีเอ็มแอล 5 (เช่น วิกิพีเดีย)

br[แก้]

<br> หรือ <br /> แทรกการแบ่งบรรทัด เอชทีเอ็มแอล5 รองรับการแบ่งทั้งสองรุ่น แต่ </br> ใช้ไม่ได้

มาร์กอัป แสดงผลเป็น
ข้อความหลากมิติ<br>ภาษามาร์กอัพ

ข้อความหลากมิติ
ภาษามาร์กอัพ

แม่แบบ

  • {{break}} เพิ่มการแบ่งหลายบรรทัด
  • {{plainlist}} สร้างรายการไม่มีจุดนำ

hr[แก้]

<hr> หรือ <hr /> เป็นการแบ่งหัวข้อระดับย่อนห้า และเสนอเป็นเส้นแนวนอน

มาร์กอัป แสดงผลเป็น
<hr />

มาร์กอัพวิกิ: ใช้ ---- (ไม่มีอย่างอื่นในบรรทัดนั้น)

มาร์กอัป แสดงผลเป็น
----


แม่แบบ: {{hr}}

ความเห็น[แก้]

<!--...--> จัดรูปแบบข้อความที่ปิดเป็นความเห็นซ่อน

มาร์กอัป แสดงผลเป็น
ข้อความหลากมิติ<!--ภาษามาร์กอัพ-->

ข้อความหลากมิติ

แต่ระวังการเว้นช่องว่างรอบความเห็น การมีบรรทัดว่างรอบความเห็นจะทำให้เกิดย่อหน้าว่าง ซึ่งจะเห็นเป็นบรรทัดว่างเพิ่มอีกสองบรรทัด

มาร์กอัป แสดงผลเป็น
เนื้อหาบรรทัด 1

<!-- ความเห็น -->

เนื้อหาบรรทัด 2

เนื้อหาบรรทัด 1


เนื้อหาบรรทัด 2

การจัดรูปแบบ[แก้]

abbr[แก้]

<abbr>...</abbr> สร้างทูลทิป (tooltip) เพื่อนิยามตัวย่อที่แสดงเมื่อเลื่อนเมาส์เหนือเส้นประ

มาร์กอัป แสดงผลเป็น
<abbr title="ภาษามาร์กอัพข้อความหลากมิติ">เอชทีเอ็มแอล</abbr>

เอชทีเอ็มแอล

แม่แบบ: {{abbr}}

b[แก้]

<b>...</b> จัดรูปแบบข้อความให้เป็นตัวเส้นหนา

มาร์กอัป แสดงผลเป็น
<b>ภาษามาร์กอัพข้อความหลากมิติ</b>

ภาษามาร์กอัพข้อความหลากมิติ

มาร์กอัพวิกิ: ใช้ ''' เพื่อเปิดและปิดข้อความตัวเส้นหนา

มาร์กอัป แสดงผลเป็น
'''ภาษามาร์กอัพข้อความหลากมิติ'''

ภาษามาร์กอัพข้อความหลากมิติ

bdi[แก้]

<bdi>...</bdi> แยกเนื้อหาจากการตั้งค่าทิศทางข้อความโดยรอบ

มาร์กอัป แสดงผลเป็น
اليمين إلى اليسارซ้ายไปขวา

اليمين إلى اليسارซ้ายไปขวา

اليمين إلى اليسار<bdi>ซ้ายไปขวา</bdi>

اليمين إلى اليسارซ้ายไปขวา

รองรับ: ไฟร์ฟ็อกซ์, โครม

bdo[แก้]

<bdo>...</bdo> ระบุทิศทางข้อความ

ลักษณะประจำและค่า:

  • dir — ระบุทิศทางข้อความ
    • ltr
    • rtl
มาร์กอัป แสดงผลเป็น
<bdo dir="rtl">ภาษามาร์กอัพข้อความหลากมิติ</bdo>

ภาษามาร์กอัพข้อความหลากมิติ

blockquote[แก้]

<blockquote>...</blockquote> นำเสนอข้อความในบล็อกออฟเซต (ย่อหน้าเข้ามาทั้งซ้ายขวา)

มาร์กอัป แสดงผลเป็น
<blockquote>ภาษามาร์กอัพข้อความหลายมิติ</blockquote>

ภาษามาร์กอัพข้อความหลายมิติ

แม่แบบ: {{quote}}; สนับสนุนการแสดงที่มาและตัวแปรเสริมแหล่งข้อมูลก่อนจัดรูปแบบ

cite[แก้]

<cite>...</cite> มีชื่อเรื่องงาน เป็นบทนิยามใหม่ในเอชทีเอ็มแอล5 ในการนำไปใช้เอ็กซ์เอ็มแอลเดิม ใช้ <cite> เพื่อบรรจุแหล่งที่มาหรือการอ้างอิงไปแหล่งข้อมูลอื่น จะไม่มีการใช้การจัดรูปแบบบเมื่อใช้ป้ายระบุนี้

มาร์กอัป แสดงผลเป็น
<cite>ภาษามาร์กอัพข้อความหลายมิติ</cite>

ภาษามาร์กอัพข้อความหลายมิติ

code[แก้]

<code>...</code> จัดรูปแบบส่วนหนึ่งของรหัสคอมพิวเตอร์ ปรับไสตล์ด้วยซีเอสเอสผ่าน mediawiki.skinning/elements.css เป็นแบบตัวพิมพ์มีเชิงสแลบกว้างขนาดเดียว (monospaced slab serif) คูเรียร์มีขอบ

มาร์กอัป แสดงผลเป็น
<code>ภาษามาร์กอัพข้อความหลายมิติ</code>

ภาษามาร์กอัพข้อความหลายมิติ

แม่แบบ: {{code}} ใช้ <syntaxhighlight>

data[แก้]

<data>...</data> จัดรูปแบบเนื้อหาฉบับเครื่องอ่านได้

มาร์กอัป แสดงผลเป็น
<data value="978-0764502149">เอชทีเอ็มแอลสำหรับหุ่น</data>

เอชทีเอ็มแอลสำหรับหุ่น

ลักษณะประจำ: value

del[แก้]

<del>...</del> จัดรูปแบบข้อความถูกลบ

มาร์กอัป แสดงผลเป็น
<del>ภาษามาร์กอัพข้อความหลายมิติ</del>

ภาษามาร์กอัพข้อความหลายมิติ

dfn[แก้]

<dfn>...</dfn> ใช้ระบุตัวอย่างนิยามของคำ

มาร์กอัป แสดงผลเป็น
<dfn>บทนิยาม</dfn>

บทนิยาม

em[แก้]

<em>...</em> แทนช่วงข้อความที่มีการเน้น (คือ การเน้นความหมาย) ในเบราว์เซอร์ส่วนใหญ่แสดงผลเป็นตัวเอน

มาร์กอัป แสดงผลเป็น
<em>ภาษามาร์กอัพข้อความหลายมิติ</em>

ภาษามาร์กอัพข้อความหลายมิติ

แม่แบบ: {{em}}

i[แก้]

<i>...</i> แทนช่วงข้อความที่เฉจากเนื้อหาแวดล้อมโดยไม่เน้นหรือมีความสำคัญเป็นพิเศษ และการนำเสนอไทโปกราฟีตามแบบเป็นข้อความตัวเอน

มาร์กอัป แสดงผลเป็น
<i>ภาษามาร์กอัพข้อความหลายมิติ</i>

ภาษามาร์กอัพข้อความหลายมิติ

มาร์กอัพวิกิ: ใช้ '' เพื่อเปิดและปิดข้อความตัวเอน

มาร์กอัป แสดงผลเป็น
''ภาษามาร์กอัพข้อความหลายมิติ''

ภาษามาร์กอัพข้อความหลายมิติ

ins[แก้]

<ins>...</ins> ระบุพิสัยข้อความที่มีการเพิ่ม ซึ่งมีไสตล์เป็นข้อความขีดเส้นใต้ ใช้ในหน้าคุยเพื่อระบุข้อความที่ปรับใหม่

มาร์กอัป แสดงผลเป็น
<ins>ภาษามาร์กอัพข้อความหลายมิติ</ins>

ภาษามาร์กอัพข้อความหลายมิติ

mark[แก้]

<mark>...</mark> แทนการดำเนินการข้อความในเอกสารหนึ่งที่ทำเครื่องหมายหรือเน้นสีสำหรับความมุ่งหมายอ้างอิง เนื่องจากความเกี่ยวข้องในบริบทอื่น ข้อความที่ทำเครื่องหมายจัดรูปแบบด้วยพื้นหลังสีเหลืองโดยปริยาย แต่สามารถปรับสีได้ด้วยรหัส style

มาร์กอัป แสดงผลเป็น
<mark>ภาษามาร์กอัพข้อความหลายมิติ</mark>

ภาษามาร์กอัพข้อความหลายมิติ

<mark style="background:lightblue;">ภาษามาร์กอัพข้อความหลายมิติ</mark>

ภาษามาร์กอัพข้อความหลายมิติ

การรองรับ: ไม่รองรับในอินเทอร์เน็ตเอ็กซ์พลอเรอร์ 8 และเก่ากว่า

pre[แก้]

ส่วนย่อย <pre>...</pre> แทนบล็อกข้อความก่อนจัดรูปแบบ ในมีเดียวิกิ ที่จริง <pre> เป็นป้ายระบุตัวแจงส่วน (parser) ไม่ใช่เอชทีเอ็มแอล แต่มีหน้าที่เหมือนกัน ยังป้องกันการแจงส่วนแม่แบบด้วย

มาร์กอัป แสดงผลเป็น
<pre>ภาษามาร์กอัพข้อความหลายมิติ</pre>
ภาษามาร์กอัพข้อความหลายมิติ

เอนทิตีเอชทีเอ็มแอล[แก้]

<pre> แจงส่วนเอนทิตีเอชทีเอ็มแอล หากคุณต้องการหลีก ให้แทน & ด้วย &amp; หรือใช้ <source lang="text"> แทน

มาร์กอัป แสดงผลเป็น
<pre>&amp;</pre>
&
<pre>&lt;</pre>
<
<pre>&amp;amp;</pre>
&amp;
<pre>&amp;lt;</pre>
&lt;

แม่แบบ:

  • {{pre}} วนข้อความที่ล้นหน้า
  • {{pre2}} วนหรือใช้กล่องเลื่อน

q[แก้]

<q>...</q> ใช้ทำเครื่องหมายอัญพจน์สั้น ปัจจุบันมีการนำส่วนย่อยนี้ไปใช้น้อยมากในวิกิพีเดีย

มาร์กอัป แสดงผลเป็น
<q>ภาษามาร์กอัพข้อความหลายมิติ</q>

ภาษามาร์กอัพข้อความหลายมิติ

rp, rt, ruby[แก้]

<ruby>...</ruby> ทำเครื่องหมายช่วงเนื้อหาความสัมพันธ์ด้วยความเห็นประกอบรูบี

<rt>...</rt> ทำเครื่องหมายองค์ประกอบข้อความของความเห็นประกอบรูบี ข้อความรูบีแสดงเป็นขนาดเล็กลงเหนืออักขระธรรมดา

<rp>...</rp> ใช้เพิ่มวงเล็บคร่อมองค์ประกอบข้อความรูบีของความเห็นประกอบรูบี ให้แสดงโดยเอเจนต์ผู้ใช้ที่ไม่รองรับความเห็นประกอบรูบี

เบราว์เซอร์ที่ไม่รองรับอักขระรูบีจะแสดงข้อความรูบีในขนาดปกติ มีวงเล็บปิดอยู่หลังเนื้อหาปกติ

มาร์กอัป แสดงผลเป็น
<ruby>
東<rp>(</rp><rt>とう</rt><rp>)</rp>
京<rp>(</rp><rt>きょう</rt><rp>)</rp>
</ruby>

(とう)(きょう)

แม่แบบ:

  • {{ruby}}
  • {{ruby-ja}} สำหรับภาษาญี่ปุ่น
  • {{Ruby-zh-p}} สำหรับพินอินภาษาจีน
  • {{Ruby-zh-b}} สำหรับปอพอมอฟอภาษาจีน

s[แก้]

<s>...</s> ใช้ระบุเนื้อหาที่ไม่แม่นยำหรือเกี่ยวข้อง และถูกลบออกจากนห้า ไม่เหมาะสมเมื่อระบุการแก้ไขเอกสาร คือ ทำเครื่องหมายช่วงข้อความว่าลบออกจากเอกสาร ให้ใช้ <del>

มาร์กอัป แสดงผลเป็น
<s>ภาษามาร์กอัพข้อความหลายมิติ</s>

ภาษามาร์กอัพข้อความหลายมิติ

samp[แก้]

<samp>...</samp> ระบุการนำออกตัวอย่างจากโปรแกรมหรือระบบคอมพิวเตอร์ ตัวอย่างได้แก่ การนำออกของโปรแกรม สคริปต์ หรือแม่แบบวิกิพีเดีย การแสดงสถานภาพหรือการประกาศเสียงที่แอพหรืออุปกรณ์สร้างขึ้น การแสดงรายการสารบบระบบไฟล์และตัวอย่างจากสารบบเหล่านี้ เช่น พาธ (path) และชื่อไฟล์

มาร์กอัป แสดงผลเป็น
<samp>ภาษามาร์กอัพข้อความหลายมิติ</samp>

ภาษามาร์กอัพข้อความหลายมิติ

แม่แบบ: {{samp}} ใช้การจัดลีลาความกว้างขนาดเดียว และให้ข้อความมีสีเทาเข้มเพื่อแยกกับรหัส (<code>) และสิ่งป้อนเข้า (<kbd> หรือ {{kbd}})

small[แก้]

<small>...</small> จัดรูปแบบข้อความขนาดเล็ก

มาร์กอัป แสดงผลเป็น
<small>ภาษามาร์กอัพข้อความหลายมิติ</small>

ภาษามาร์กอัพข้อความหลายมิติ

แม่แบบ:

  • {{small}} ใช้ <small style="font-size:85%;"> แนะนำให้ใช้ {{small}} มากกว่า <small> เพราะไม่ใช่ทุกเบราว์เซอร์ที่แสงผลข้อความขนาดเล็กเหมือนกัน

strong[แก้]

<strong>...</strong> จัดรูปแบบช่วงข้อความที่มีความสำคัญมากหรือเน้นเป็นพิเศษ ซึ่งในเบราว์เซอร์ส่วนใหญ่แสดงผลเป็นตัวเส้นหนา ปกติไม่ควรใช้ในบทความวิกิพีเดียตามนโยบายมุมมองที่เป็นกลาง สำหรับการเน้นความหมาย รวมถึงในเนื้อความที่ยกมาจากที่อื่น ควรเรนเดอร์ด้วยส่วนย่อย <em>

มาร์กอัป แสดงผลเป็น
<strong>ภาษามาร์กอัพข้อความหลายมิติ</strong>

ภาษามาร์กอัพข้อความหลายมิติ

แม่แบบ: {{strong}}

sub[แก้]

<sub>...</sub> จัดรูปแบบช่วงข้อความเป็นตัวห้อย

มาร์กอัป แสดงผลเป็น
ภาษามาร์กอัพ <sub>ข้อความหลายมิติ</sub>

ภาษามาร์กอัพ ข้อความหลายมิติ

sup[แก้]

<sup>...</sup> จัดรูปแบบช่วงข้อความเป็นตัวยก

มาร์กอัป แสดงผลเป็น
ภาษามาร์กอัพ <sup>ข้อความหลายมิติ</sup>

ภาษามาร์กอัพ ข้อความหลายมิติ

time[แก้]

<time>...</time> นิยามเวลา (นาฬิกา 24 ชั่วโมง) หรือวันที่ในปฏิทินเกรโกเรียน ซึ่งจะใส่เวลาและออฟเซตเขตเวลาด้วยก็ได้

มาร์กอัป แสดงผลเป็น
<time>10:00</time>

ลักษณะประจำ: datetime

รองรับ: ไม่รองรับในอินเทอร์เน็ตเอ็กซ์พลอเรอร์ 8 หรือเก่ากว่า

u[แก้]

<u>...</u> แทนช่วงออฟเซตข้อความจากเนื้อหาแวดล้อมโดยไม่เน้นหรือให้ความสำคัญเพิ่ม และสำหรับการนำเสนอไทโปกราฟีตามปกติเป็นการขีดเส้นใต้ ตัวอย่างเช่น ช่วงข้อความภาษาจีนที่มีวิสามานยนาม (เครื่องหมายวิสามานยนามภาษาจีน) หรือช่วงข้อความที่ทราบแล้วว่าสะกดผิด

มาร์กอัป แสดงผลเป็น
<u>ภาษามาร์กอัพข้อความหลายมิติ</u>

ภาษามาร์กอัพข้อความหลายมิติ

var[แก้]

<var>...</var> จัดรูปแบบข้อความเป็นตัวเอนเพื่อระบุตัวแปรในนิพจน์คณิตศาสตร์หรือบริบทการเขียนโปรแกรม หรือข้อความสัญลักษณ์ที่ตั้งใจให้ผู้อ่านแทนค่าด้วยค่าสัญพจน์อื่นในใจ

มาร์กอัป แสดงผลเป็น
*<var>E</var>=<var>m</var>c<sup>2</sup> (c เป็นค่าคงตัวไม่ใช่ตัวแปร)
*<code><nowiki>{{</nowiki><var>ชื่อแม่แบบ</var>|<var>parameter</var>=<var>ค่า</var><nowiki>}}</nowiki></code>
* ถ้า <var>A</var> แล้ว <var>B</var>

  • E=mc2 (c เป็นค่าคงตัวไม่ใช่ตัวแปร)
  • {{ชื่อแม่แบบ|parameter=ค่า}}
  • ถ้า A แล้ว B

wbr[แก้]

<wbr> เป็นโอกาสแบ่งคำ นั่นคือ ระบุว่าที่ใดจะสามารถเพิ่มการแบ่งบรรทัดที่คำยาวเกินไปได้ หรือรับรู้ว่าเบราว์เซอร์จะแบ่งบรรทัดที่ที่ผิด

มาร์กอัป แสดงผลเป็น
Now is the time to become a power editor, by learning HyperText Markup Language

Now is the time to become a power editor, by learning HyperText Markup Language

Now is the time to become a power editor, by learning Hyper<wbr>Text Markup Language

Now is the time to become a power editor, by learning HyperText Markup Language

เมื่อปรับหน้าต่างเบราว์เซอร์ให้แคบลง ตัวอย่างที่สองจะวนระหว่าง Hyper และ Text

รายการ[แก้]

อย่าปล่อยบรรทัดว่างระหว่างไอเท็มในรายการยกเว้นมีเหตุผล เนื่องจากจะทำให้ซอฟต์แวร์มีเดียวิกิตีความแต่ละไอเท็มว่าเป็นการเริ่มรายการใหม่

dl, dt, dd[แก้]

ใช้ <dl>...</dl>, <dt>...</dt> และ <dd>...</dd> เพื่อสร้างรายการคำอธิบายโดยมีคำและคำอธิบาย คำแสดงด้วยตัวเส้นหนาและมีการย่อหน้าคำอธิบาย แต่ละรายการ ต้อง มีคำอธิบายตั้งแต่หนึ่งคำขึ้นไป

มาร์กอัป แสดงผลเป็น
<dl>
<dt>คำ</dt>
<dd>บทนิยาม 1</dd>
<dd>บทนิยาม 2</dd>
</dl>
คำ
บทนิยาม 1
บทนิยาม 2

มาร์กอัพวิกิ: สร้าง <dt> โดยใช้ ; ขณะที่ปิดอัตโนมัติใน <dl>...</dl> ส่วน <dd> สร้างโดยใช้ : สำหรับแต่ละค่า สำหรับค่าเดี่ยวหรือค่าแรก : สามารถจัดอยู่ในบรรทัดเดียวกับ ; ได้โดยค่าต่อ ๆ มาต้องจัดให้อยู่คนละบรรทัด

มาร์กอัป แสดงผลเป็น
; คำ
: บทนิยาม 1
: บทนิยาม 2
คำ
บทนิยาม 1
บทนิยาม 2

ol, ul, li[แก้]

<ol>...</ol> แทนรายการเรียงลำดับ <ul>...</ul> แทนรายการไม่เรียงลำดับ <li>...</li> แทนไอเท็มรายการประเภทใดก็ได้

มาร์กอัป แสดงผลเป็น
<ol>
<li>ไอเท็ม 1</li>
<li>ไอเท็ม 2</li>
</ol>
  1. ไอเท็ม 1
  2. ไอเท็ม 2
<ul>
<li>ไอเท็ม 1</li>
<li>ไอเท็ม 2</li>
</ul>
  • ไอเท็ม 1
  • ไอเท็ม 2

มาร์กอัพ: ใช้ * สำหรับไอเท็มในรายการไม่เรียงลำดับ และ # สำหรับรายการเรียงลำดับ (ต้องให้ชิดขอบหน้าต่างด้านซ้ายจึงจะแสดงผล)

มาร์กอัป แสดงผลเป็น
# ไอเท็ม 1
# ไอเท็ม 2

  1. ไอเท็ม 1
  2. ไอเท็ม 2
* ไอเท็ม 1
* ไอเท็ม 2

  • ไอเท็ม 1
  • ไอเท็ม 2

ภาชนะ[แก้]

div[แก้]

<div>...</div> เป็นภาชนะทั่วไปสำหรับเนื้อหาการไหลที่แสดงเป็นส่วนย่อยบล็อก

มาร์กอัป แสดงผลเป็น
ภาษา <div>มาร์กอัพ</div> ข้อความหลายภาษา
ภาษา
มาร์กอัพ
ข้อความหลายภาษา

span[แก้]

<span>...</span> เป็นภาชนะทั่วไปสำหรับเนื้อหาการไหลที่แสดงเป็นส่วนย่อยในบรรทัด

มาร์กอัป แสดงผลเป็น
ภาษา <span>มาร์กอัพ</span> ข้อความหลายภาษา

ภาษา มาร์กอัพ ข้อความหลายภาษา

ตาราง[แก้]

table, td, tr[แก้]

<table>...</table> นิยามตาราง

<tr>...</tr> นิยามแถวตาราง

<td>...</td> นิยามเซลล์ข้อมูลที่เนื้อหาอาจรวมทั้งข้อความ ลิงก์ ภาพ รายการ แบบ ตารางอื่น ฯลฯ

มาร์กอัป แสดงผลเป็น
<table border=1>
<tr>
<td>ข้อมูล</td>
<td>ข้อมูล</td>
</tr>
</table>
ข้อมูล ข้อมูล

ลักษณะประจำ:

  • <table>:
    อนุญาตแต่ไม่แนะนำ: border="" และ border="1"
    อนุญาตแต่ล้าสมัยแล้ว: border (ที่มีค่าไม่ว่างไม่เท่ากับ "1"), align, bgcolor, cellpadding, cellspacing, frame, rules, summary, width[3]
  • <td>: colspan, headers, rowspan
    อนุญาตแต่ล้าสมัยแล้ว: abbr, align, axis, bgcolor, scope, height, nowrap, valign, width[3]

th[แก้]

<th>...</th> นิยามส่วนหัวของตาราง จัดชิดกลางและเป็นตัวเส้นหนา

มาร์กอัป แสดงผลเป็น
<table border="1">
<tr>
<th>ส่วนหัว</th>
<th>ส่วนหัว</th>
</tr>
<tr>
<td>ข้อมูล</td>
<td>ข้อมูล</td>
</tr>
</table>
ส่วนหัว ส่วนหัว
ข้อมูล ข้อมูล

ลักษณะประจำ:

  • <th>: colspan, headers, rowspan, scope
    อนุญาตแต่ล้าสมัยแล้ว: abbr, align, axis, bgcolor, height, nowrap, valign, width[3]

caption[แก้]

<caption>...</caption> เพิ่มคำบรรยายในตาราง

มาร์กอัป แสดงผลเป็น
<table border=1>
<caption>คำบรรยาย</caption>
<tr>
<th>ส่วนหัว</th>
<th>ส่วนหัว</th>
</tr>
</table>
คำบรรยาย
ส่วนหัว ส่วนหัว

ลักษณะประจำ:

  • <caption>:
    อนุญาตแต่ล้าสมัยแล้ว: align[3]

thead, tfoot, tbody[แก้]

ไม่รองรับ <thead>, <tfoot> และ <tbody> แต่สร้างอัตโนมัติเมื่อเร็นเดอร์หน้า

ส่วนย่อยที่เลิกใช้แล้ว/ไม่สนับสนุนให้ใช้[แก้]

ส่วนย่อยต่อไปนี้เลิกใช้แล้วและไม่สนับสนุนให้ใช้ในเอชทีเอ็มแอล5 แต่เบราว์เซอร์ยังรองรับอยู่[3] ป้ายระบุเหล่านี้มีป้ายระบุทดแทนหรือแม่แบบที่แทนฟังก์ชันของป้ายระบุด้วยซีเอสเอส

center
<center>...</center> (เลิกใช้) ใช้จัดส่วนย่อยข้อความชิดกลาง
แม่แบบ: {{center}} ใช้ซีเอสเอส
font
<font>...</font> (เลิกใช้) ใช้จัดขนาดชุดแบบอักษร, font face และสีข้อความ
แม่แบบ: {{font}} ใช้ซีเอสเอส
rb
<rb>...</rb> (เลิกใช้) ในทำเครื่องหมายข้อความฐานในความเห็นประกอบรูบี
strike

<strike>...</strike> (เลิกใช้) จัดรูปแบบอักขระขีดฆ่า ให้ใช้ <s> แทน

tt

<tt>...</tt> (เลิกใช้) จัดรูปแบบข้อความความกว้างขนาดเดียว ให้ใช <code>, <kbd> หรือ <samp> แทน

ส่วนย่อยที่ไม่รองรับ[แก้]

ส่วนย่อยเหล่านี้ไม่รองรับ แต่มีมาร์กอัพวิกิเท่ียบเท่า หากพยายามใช้ส่วนย่อยใด ๆ ที่ Sanitizer.php ไม่ได้ขึ้นบัญชีขาว (whitelist) จะทำให้มาร์กอัพแสดงผลเป็นข้อความธรรมดา

a[แก้]

<a> ใช้สร้างลิงก์ ให้ใช้มาร์กอัพวิกิ [[ ]] สำหรับลิงก์ภายใน และ [ ] สำหรับลิงก์ภายนอก

input[แก้]

<input> ใช้สร้างแบบ (form) ป้ายระบุส่วนขยาย <inputbox> ใช้สร้างกล่องข้อความที่มีปุ่ม

ข้อยกเว้น[แก้]

ในบางหน้าในเนมสเปซมีเดียวิิกิ ซึ่งตรงแบบเป็นสารสั้นที่มีป้ายปุ่ม เอชทีเอ็มแอลไม่มีการแจงส่วน และจะเปิดเผยป้ายระบุ

หน้าซีเอสเอสและจาวาคริปต์ของผู้ใช้และทั่วเว็บไซต์ตีความเสมือนอยู่ในบล็อก <pre>

ป้ายระบุตัวแจงส่วนและส่วนขยาย[แก้]

สำหรับรายการที่เครื่องสร้าง ดู Special:Version#mw-version-parser-extensiontags อาจมีป้ายระบุที่ไม่ได้จดไว้ที่นี่

ป้ายระบุตัวแจงส่วน
<gallery>, <includeonly>, <noinclude>, <nowiki>, <onlyinclude>, <pre>
ป้ายระบุส่วนขยาย
<categorytree>, <ce>, <chem>, <charinsert>, <graph>, <hiero>, <imagemap>, <indicator>, <inputbox>, <math>, <math chem>, <poem>, <ref>, <references>, <score>, <section>, <syntaxhighlight> (alias <source>), <templatedata>, <timeline>

อ้างอิง[แก้]

  1. Allowable elements and attributes are defined in the Sanitizer.php module.
  2. "The microdata model". HTML Living Standard.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 "HTML5: A vocabulary and associated APIs for HTML and XHTML: Obsolete Features". W3C. 31 July 2014.