วิกิพีเดีย:ความโดดเด่น (องค์การและบริษัท)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

บทความเกี่ยวกับองค์การแห่งใดแห่งหนึ่งจะถือว่ามีความโดดเด่น เมื่อมีเนื้อหาที่ครอบคลุมอย่างสำคัญจากแหล่งข้อมูลทุติยภูมิอิสระที่มีความเชื่อถือได้ เนื้อหาที่เป็นสิ่งละอันพันละน้อยหรือเรื่องราวจิปาถะจากแหล่งข้อมูลทุติยภูมิไม่ถือว่ามีความสำคัญเพียงพอที่จะจัดเป็นเนื้อหาที่โดดเด่น เนื้อหาจากทุกแหล่งต้องสามารถพิสูจน์ยืนยันได้ หน้านี้จะช่วยให้ประเมินว่าองค์การ (ทั้งด้านการค้าและด้านอื่น) หรือสินค้าหรือการบริการใด มีความสำคัญพอหรือไม่ที่จะเป็นบทความในวิกิพีเดีย

กล่าวอย่างง่าย องค์การคือกลุ่มที่มีคนมากกว่า 1 คนรวมตัวกันเพื่อวัตถุประสงค์ใดวัตถุประสงค์หนึ่ง ซึ่งอาจทำกิจกรรมเพื่อการค้าหรือไม่ใช่เพื่อการค้าก็ได้ เช่น องค์การการกุศล, พรรคการเมือง, โรงพยาบาล, สถาบัน, กลุ่มตามความสนใจ, สโมสรสังคม, บริษัท, ห้างหุ้นส่วน, ผู้ถือกรรมสิทธิ์, นิกายทางศาสนา, สำนัก เป็นต้น

แนวทางนี้ไม่ครอบคลุมถึงกลุ่มขนาดเล็ก เช่น วงศ์ตระกูล กลุ่มบันเทิง นักเขียนร่วม ผู้ประดิษฐ์ร่วม ซึ่งสามารถดูเพิ่มเติมได้ที่หน้า วิกิพีเดีย:บุคคลที่มีชื่อเสียง

การตัดสินจากหลักฐานที่พิสูจน์ยืนยันได้[แก้]

มีความโดดเด่นหมายถึง "มีค่าที่จะจดบันทึก" หรือ "มีข้อสังเกตที่น่าสนใจ" วิกิพีเดียตัดสินว่าองค์การใดมีความโดดเด่นเพียงพอที่จะเขียนเป็นบทความโดยดูจากหลักฐานที่พิสูจน์ยืนยันได้ ว่าองค์การนั้นเป็นที่สนใจอยู่ในแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ สิ่งที่สำคัญคือแหล่งข้อมูลสำคัญนั้นมีอยู่จริง มิใช่การที่แหล่งข้อมูลนั้นถูกเอ่ยถึงในบทความ

ความโดดเด่นมิได้เกิดขึ้นเองโดยปกติวิสัย[แก้]

ความโดดเด่นของบทความไม่ได้มีความหมายเดียวกับ "การมีชื่อเสียง" หรือ "การให้ความสำคัญ" และแม้แต่องค์การที่ผู้เขียนเข้าใจว่า "มีความสำคัญ" จะเป็นที่ยอมรับในความโดดเด่นก็ต่อเมื่อสามารถแสดงความโดดเด่นให้เห็นได้เท่านั้น ไม่มีองค์การไหนที่ได้รับการยกเว้นจากสิ่งนี้ ไม่ว่าจะเป็นองค์การประเภทไหน ถ้าองค์การใดไม่ได้รับการพูดถึงหรือได้รับการพูดถึงน้อย ก็ถือว่าเป็นองค์การธรรมดาสามัญที่ไม่มีความโดดเด่น

เมื่อประเมินถึงความโดดเด่นขององค์การ ควรพิจารณาว่าองค์การนั้นมีความสำคัญในแง่ใดหรือสามารถแสดงให้เห็นผลกระทบทางวัฒนธรรม ทางสังคม การบันเทิง การกีฬา เศรษฐกิจ ประวัติศาสตร์ วรรณกรรม วิทยาศาสตร์ หรือการศึกษา องค์การใหญ่มักมีข้อมูลที่สามารถพิสูจน์ได้ในแหล่งข้อมูลมากกว่า ซึ่งช่วยเป็นหลักฐานเรื่องความโดดเด่นได้ อย่างไรก็ตาม องค์การขนาดเล็กก็อาจมีความโดดเด่นได้ เช่นกันกับที่บุคคลแต่ละคนอาจเป็นคนโดดเด่น จึงไม่ควรใช้มาตรฐานด้านขนาดขององค์การในการตัดสิน

ความโดดเด่นไม่สามารถสืบทอดได้[แก้]

องค์การแห่งหนึ่ง ๆ ไม่อาจเป็นองค์การที่โดดเด่นเพียงเพราะแค่มีคนที่มีชื่อเสียงหรืองานที่โดดเด่นเกี่ยวข้องอยู่ หากตัวองค์การเองไม่ได้รับการเอ่ยถึง องค์การนั้นก็ไม่จัดว่ามีความโดดเด่น ตัวอย่างเช่น ถ้าคนมีชื่อเสียงเข้าซื้อกิจการร้านอาหาร ตัวร้านอาหารนั้นก็ไม่ได้มีชื่อเสียงตามคนที่เป็นเจ้าของ

เกณฑ์การประเมินเบื้องต้น[แก้]

บริษัท บรรษัท องค์การ กลุ่ม สินค้า หรือบริการ จะถือว่ามีความโดดเด่นได้ หากได้รับการกล่าวถึงอย่างมีนัยยะสำคัญจากแหล่งอ้างอิงทุติยภูมิที่น่าเชื่อถือหลาย ๆ แหล่ง ที่มีอิสระต่อกันในหัวข้อนั้น

เกณฑ์นี้เป็นไปตามนโยบายความโดดเด่นทั่วไป โดยให้ความสำคัญกว่าเดิมในด้านคุณภาพของแหล่งที่มาเพื่อไม่ให้ตกเป็นเครื่องมือการตลาดและเครื่องมือของมืออาชีพด้านประชาสัมพันธ์ เหนือแต่สิ่งใดแล้วคู่มือการเขียนนี้มีเป้าหมายเพื่อชี้ประเด็นต่าง ๆ เพื่อไม่ให้ได้ใช้วิกิพีเดียเพื่อการโฆษณาและประชาสัมพันธ์

ใช้เกณฑ์นี้อย่างไร[แก้]

แหล่งข้อมูลแต่ละแหล่งจะต้องได้รับการประเมินแยกกันไปและแต่ละแหล่งข้อมูลแยกจากกันโดยอิสระ และเป็นไปตามเกณฑ์สี่ข้อด้านล่างที่ถือว่าแหล่งข้อมูลเหล่านี้ผ่านเกณฑ์ความโดดเด่น

  1. เป็นแหล่งข้อมูลที่กล่าวอย่างสำคัญในหัวข้อบทความทั้งการกล่าวโดยตรงและให้ข้อมูลเชิงลึก
  2. เป็นแหล่งข้อมูลอิสระอย่างชัดเจนในหัวข้อของบทความนั้น
  3. ตรงไปตามมาตรฐานด้านแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
  4. เป็นแหล่งข้อมูลทุติยภูมิ หากเป็นแหล่งข้อมูลปฐมภูมิและตติยภูมิไม่นำมานับรวมพิจารณาความโดดเด่น

แหล่งข้อมูลอิสระ จะต้องตรงไปตามเกณฑ์ด้านบนทั้งหมดจึงจะทำให้บทความผ่านเกณฑ์ความโดดเด่น แต่ละแหล่งข้อมูลจะต้องกล่าวอย่างสำคัญ เป็นแหล่งข้อมูลอิสระ เชื่อถือได้ และเป็นแหล่งข้อมูลทุติยภูมิ นอกจากนั้นจะต้องมีแหล่งข้อมูลหลาย ๆ แหล่ง จึงจะทำให้เกิดความโดดเด่น หากแหล่งข้อมูลเหล่านี้ได้สร้างข้อสงสัย ก็ควรไม่นับแหล่งข้อมูลเหล่านั้นมาพิจารณาความโดดเด่น

ตัวอย่าง

กล่าวอย่างสำคัญ[แก้]

แหล่งข้อมูลเชิงลึกในหัวข้อนั้นจากแหล่งอ้างอิง จะต้องนำมาพิจารณา การกล่าวอย่างเล็กน้อย กล่าวแบบเรื่องจิปาถะ ไม่เพียงพอที่จะสร้างความโดดเด่น การกล่าวเชิงลึกหรือกล่าวอย่างสำคัญ จะให้ข้อมูลภาพรวม อธิบาย วิจารณ์ พิจารณ์ ศึกษา อภิปราย วิเคราะห์ หรือการประเมินผลในผลิตภัณฑ์ บริษัท หรือองค์การ

จำนวนข้อเท็จจริง[แก้]

จำนวน ไม่ได้เป็นตัวกำหนดความโดดเด่น แต่เป็นคุณภาพ ของเนื้อหา การรวบรวมแหล่งข้อมูลอย่างละเล็กอย่างละน้อย ไม่ได้ทำให้บทความนั้นมีความโดดเด่น รวมถึงการอ้างยอดการดู ยอดไลก์ ยอดแชร์ ก็ไม่ได้ทำให้ได้รับการกล่าวอย่างมีความสำคัญ เช่นเดียวกับตัวเลขทางสถิติอย่างเช่น จำนวนพนักงาน รายได้หรือทุนที่เพิ่มขึ้น อายุของบริษัท ฯลฯ ไม่ทำให้กล่าวอย่างสำคัญได้ สำหรับแหล่งข้อมูลที่กล่างอย่างสำคัญ แหล่งข้อมูลเหล่านั้นจะต้องบรรยายและให้ข้อมูลเชิงลึก อย่างเช่น จำนวนลูกจ้างที่เปลี่ยนอย่างมาก ไม่ใช่ให้ข้อมูลเพียงว่าบริษัทได้จ้างพนักงาน 500 คน หรือการกล่าวเพียงว่ามีซีอีโอคนใหม่ นอกจากนั้นการกล่าวอย่างสำคัญ มิได้พิจารณาจากชื่อเสียงของแหล่งข้อมูล แต่แหล่งข้อมูลที่มีชื่อเสียงช่วยทางด้านการเป็นแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือและเป็นแหล่งข้อมูลอิสระ

ข้อมูลกล่าวอย่างสำคัญโดยบริษัทเอง[แก้]

แหล่งข้อมูลที่ให้ข้อมูลเฉพาะที่เกี่ยวกับองค์การ ไม่ถือว่าให้ข้อมูลอย่างสำคัญ

ตัวอย่างการกล่าวอย่างไม่สำคัญ[แก้]

นี่คือตัวอย่างการกล่าวกล่าวอย่างไม่สำคัญ

  • การรวบรวมรายชื่อ/รายการ อย่างเช่น
    • หมายเลขโทรศัพท์ ที่อยู่ การบอกทางบริษัท เวลาจัดงาน ชั่วโมงทำการ
    • สถานที่ตั้งสำนักงาน สาขา แฟรนไชส์ หรือสาขาย่อย
    • เจ้าหน้าที่ พนักงาน ผู้บริหาร เจ้าของ ผู้ถือหุ้น
    • สินค้าหรือการให้บริการ
    • คู่มือการใช้สินค้า รายละเอียดปลีกย่อย การได้รับการรับรอง
    • สิทธิบัตร ลิขสิทธิ์ การทดลองคลีนิก หรือคดีความ
    • ตารางเวลาการจัดงานหรือผลการจัดงาน เช่นตารางการแสดง ผลคะแนนของกีฬา รายชื่อรางวัลที่ได้รับ
    • ข้อมูลสถิติ
  • ข้อมูลทั่วไป การประกาศทั่วไป
    • การเปลี่ยนแปลงราคาหุ้นหรือพันธบัตร
    • ผลประกอบการรายไตรมาสหรือรายปีและการคาดคะเนรายได้
    • การเปิดหรือการปิดของสาขา แฟรนไชส์ หรือร้าน
    • การเปิดตัวสินค้าใหม่ หรือการยกเลิก
    • ผู้เข้าร่วมงาน เช่น ผู้เข้าร่วมงานแสดงสินค้า
    • การประชุมผู้ถือหุ้นหรืองานอื่นของบริษัท
    • การว่าจ้าง ประชาสัมพันธ์ หรือการออกของพนักงาน
    • การขยาย การได้มา การรวม หรือการปิดของธุรกิจ
    • การดำเนินการด้านเงินทุน เช่น การได้เงินทุนมา
  • การกล่าวเล็กน้อย
    • รางวัลที่ไม่มีความโดดเด่นที่องค์กร บุคคล หรือผลิตภัณฑ์ได้รับ
    • การได้รับการสนับสนุนงาน
    • การได้รับการอ้างถึงจากพนักงานในองค์การเอง
    • ได้รับการยกตัวอย่างหรือมีสินค้าที่ได้รับการกล่าวถึง
  • อยู่ในรายชื่อในกลุ่มบริษัทใกล้เคียงกันอย่าง "สุดยอดบริษัท", "100 อันดับ", "เติบโตเร็วที่สุด" หรือรายชื่อในทำนองนี้
  • อยู่ในรายชื่อหัวข้อที่ขาดการพิจารณา เช่นอยู่ในฐานข้อมูล ฯลฯ
  • ครอบคลุมอยู่แต่เพียงงานท้องถิ่น เหตุการณ์ หรือข้อพิพาท
  • การนำเสนอ สุนทรพจน์ การบรรยายโดยเจ้าหน้าที่บริษัท
ตัวอย่างการกล่าวอย่างสำคัญ[แก้]
  • บทความในข่าวที่พูดถึงข้อพิพาทอันยาวนานเรื่องการรวมของบริษัท
  • บทความทางการศึกษา ข้อเขียนในตำรา การกล่าวถึงอย่างต่อเนื่องจากสื่อโดยให้ความสนใจในผลิตภัณฑ์หรือบริษัท
  • ภาพยนตร์สารคดีที่เล่าเรื่องราวผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมจากผลิตภัณฑ์ของบริษัท
  • การให้ข้อมูลในลักษณะสารานุกรมที่ให้ข้อมูลประวัติองค์การอย่างคร่าว ๆ
  • รายงานจากผู้บริโภคจากองค์การดูแลด้านความปลอดภัย
ผู้อ่าน[แก้]

แหล่งที่มาของกลุ่มผู้อ่านก็ต้องนำมาพิจารณา การกล่าวอย่างสำคัญในสื่อนานาชาติ สื่อระดับชาติ หรือสื่อท้องถิ่น เป็นตัววัดความความโดดเด่นได้อย่างดี การได้รับความสนใจจากสื่อท้องถิ่น เพียงอย่างเดียว (เช่นจากหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์จากเมืองเล็ก ๆ) หรือสื่อที่จำกัดกลุ่มผู้อ่านหรือหาอ่านยาก ไม่ใช่สิ่งที่บ่งบอกถึงความโดดเด่น จะต้องมีอย่างแหล่งข้อมูลอย่างน้อยหนึ่งแหล่งจาก แหล่งข้อมูลระดับท้องถิ่น ระดับรัฐ ระดับจังหวัด ระดับชาติ หรือระดับนานาชาติ

แหล่งข้อมูลอิสระ[แก้]

การทดสอบที่สำคัญเรื่องความโดดเด่นคือหาว่ามีผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียในหัวข้อนั้นหรือมีความโดดเด่นเพียงพอ โดยเขียนในลักษณะไม่ใช่การกล่าวอย่างไม่สำคัญ แหล่งข้อมูลที่เขียนในลักษณะประชาสัมพันธ์ตัวเอง การตลาดแอบแฝง หรือรูปแบบต่าง ๆ ของสื่อที่ได้รับการว่าจ้าง ไม่นับว่าเหมาะสมที่จะเป็นบทความรูปแบบสารานุกรม มีรูปแบบแหล่งข้อมูลอิสระสองรูปแบบที่ถือได้ว่าเป็นแหล่งข้อมูลที่เหมาะสม

  • อิสระในแง่ของ ผู้เขียน ผู้เขียนจะต้องไม่เกี่ยวข้องกับบริษัท องค์การ หรือผลิตภัณฑ์ บุคคลที่เกี่ยวข้องกับบริษัทรวมถึงพนักงาน เจ้าของ ผู้ลงทุน ผู้ทำสัญญาร่วม ผู้ขาย ผู้จัดจำหน่าย พาร์ตเนอร์ธุรกิจ ลูกค้า คู่แข่ง สปอนเซอร์ หรืออื่น ๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องด้านการเงินหรือมีส่วนได้ส่วนเสีย
  • อิสระในแง่ เนื้อหา เนื้อหาจะต้องไม่ได้ผลิตโดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมักเขียนเนื้อหาจากนั้นมีการคัดลอก ทำซ้ำ เผยแพร่เนื้อหาทั้งหมดหรือบางส่วนผ่านแหล่งข้อมูลอิสระ (เช่นพวกเว็บคัดลอกเนื้อหาที่อื่นมา) เนื้อหาที่นับได้ว่ามีความโดดเด่นจะต้องมีความเป็นต้นฉบับและให้ความเห็น วิเคราะห์ และมีการตรวจสอบข้อเท็จจริงอย่างชัดเจนว่าแหล่งที่มาไม่เกี่ยวข้องกับหัวข้อบทความ

หากแหล่งข้อมูลอิสระนั้นมีข้อสงสัยตามมา จะเป็นการดีที่จะตัดแหล่งข้อมูลนั้นออกจากการพิจารณาความโดดเด่น หากบทความมีความโดดเด่นแล้ว อาจนำแหล่งข้อมูลนั้นมาใช้ได้อย่างระมัดระวัง

ตัวอย่างแหล่งข้อมูลไม่อิสระ[แก้]
  • ข่าวประชาสัมพันธ์ แฟ้มข้อมูลประชาสัมพันธ์ หรือข้อมูลในลักษณะการประชาสัมพันธ์
  • แหล่งข้อมูลที่อิงข่าวประชาสัมพันธ์เป็นแกนหลัก
  • การโฆษณาและสื่อการตลาดที่ออกโดยหรือเป็นตัวแทนขององค์การ
    • มักจะมีเนื้อหาอย่าง "กรณีศึกษา" หรือ "เรื่องราวความสำเร็จ" จากหอการค้า ศูนย์บ่มเพาะทางธุรกิจ บริษัทที่ปรึกษา ฯลฯ
  • บทความหรือสิ่งตีพิมพ์ที่ได้รับการว่าจ้างหรือได้รับการสนับสนุน
    • มีเนื้อหาจากผู้เผยแพร่ที่ไม่ใช่ทีมงานตั้งแต่ ฟอบส์, ฮัฟฟิงตันโพสต์ , Entrepreneur.com , Inc.com, TechCrunch, Medium.com และสื่ออื่น ๆ ที่ไม่ได้ใส่ใจเนื้อหาของบทความ
  • เนื้อหาที่เผยแพร่เอง
  • เนื้อหาที่เขียนหรือเผยแพร่โดยเว็บเซต์ขององค์การ สมาชิก หรือแหล่งข้อมูลที่ใกล้ชิดทางตรงหรือทางอ้อม
  • งานที่บริษัท องค์การ หรือกลุ่ม พูดถึงงานของตัวเองหรือตีพิมพ์ซ้ำโดยผู้อื่น

หมายเหตุ การโฆษณาและการประชาสัมพันธ์[แก้]

บริษัทที่ไม่มีความโดดเด่นมักจะต้องการมีตัวตนอยู่ในวิกิพีเดียเสมอเพื่อโฆษณาและประชาสัมพันธ์ตัวเอง การโฆษณาและการประชาสัมพันธ์เป็นข้อห้ามอย่างเป็นทางการของนโยบายวิกิพีเดีย จะต้องนำโฆษณาออก ตามขั้นตอนต่อไปนี้ตามลำดับ

  1. เก็บกวาด ตามนโยบาย วิกิพีเดีย:มุมมองที่เป็นกลาง
  2. ลบ ส่วนเนื้อหาที่เป็นโฆษณาออกจากบทความ
  3. แจ้งลบบทความ สำหรับบทความที่มีเนื้อหาโฆษณาอย่างชัดเจน ไม่มีข้อมูลที่มีประโยชน์อื่น

เกณฑ์การพิจารณาอื่นสำหรับองค์การเฉพาะอย่าง[แก้]

ส่วนนี้เป็นการพิจารณาวิธีอื่นของความโดดเด่นในเหตุการณ์เฉพาะ ไม่มีองค์การใดที่ได้รับการพิจารณาความโดดเด่น ยกเว้นมีแหล่งข้อมูลที่พิสูจน์ว่ามีการพูดถึงจากบุคคลนอกองค์การ เกณฑ์ต่อไปนี้ประกอบด้วยทางเลือกอื่น สำหรับการพิสูจน์เรื่องความโดดเด่น องค์การที่มีความโดดเด่นหากมีแหล่งข้อมูล

  1. ตามเกณฑ์ทางเลือกอื่น
  2. เกณฑ์การประเมินเบื้องต้น
  3. แนวทางความโดดเด่นทั่วไป

หากองค์องค์การใดไม่มีหลักเกณฑ์ 1 ใน 3 ข้อด้านบน ถือว่าไม่มีความโดดเด่น

องค์การที่ไม่ใช่เชิงธุรกิจ[แก้]

องค์การที่มักมีความโดดเด่นหากตามมาตรฐาน:

  1. มีกิจกรรมที่ครอบคลุมในระดับชาติหรือระดับนานาชาติ
  2. ข้อมูลเกี่ยวกับองค์การและกิจกรรมสามารถยืนยันได้จากแหล่งข้อมูลอื่นที่มิใช่องค์การเอง, แหล่งข้อมูลอิสระที่น่าเชื่อถือ, รวมถึงอย่างน้อย 1 แหล่งข่าวทุติยภูมิที่พูดถึง (ดู เกณฑ์การประเมินเบื้องต้น ด้านบน)

หากองค์การที่ไม่ใช่เชิงธุรกิจ ไม่พบหลักเกณฑ์ตามด้านบนทั้งสองข้อ มักถูกพิจารณาว่าไม่มีความโดดเด่น สำหรับองค์การเหล่านี้ โปรดดูความโดดเด่นด้านล่าง

นอกจากนี้เกณฑ์การพิจารณาเพิ่มเติมอื่นรวมถึง:

  • เป็นองค์การระดับชาติ ท้องถิ่นที่มีชื่อเสียง: องค์การที่มีกิจกรรมระดับท้องถิ่น (เช่นโรงเรียนหรือคลับท้องถิ่น) อาจมีความโดดเด่นหากมีหลักฐานยืนยันอย่างมากในรายงานข่าวจากแหล่งข้อมูลอิสระที่มีความเชื่อถือได้ นอกเหนือจากพื้นที่ขององค์การเอง หากกิจกรรมขององค์การและข่าวจากสื่อจำกัดเพียงในบริเวณพื้นที่ท้องถิ่นแล้ว องค์การนั้นถูกพิจารณาว่าไม่มีความโดดเด่น
  • ปัจจัยอื่น: อายุขององค์การ, จำนวนสมาชิก, ความประสบความสำเร็จใหญ่ ๆ, เรื่องอื้อฉาวที่โด่งดัง, หรือปัจจัยเฉพาะขององค์การที่อาจนำมาพิจารณา
สาขาท้องถิ่น
  • สาขาท้องถิ่นขององค์การระดับชาติและนานาชาติ โดยมากมักไม่ค่อยมีความโดดเด่นพอที่จะแยกบทความออกมา ข้อมูลของสาขาและบริษัทในเครือควรจะรวมกับบทความของบริษัทแม่
  • สาขาท้องถิ่นควรจะเริ่มจากการเป็นส่วนหนึ่งของบทความองค์การแม่มากกว่าจะสร้างเป็นโครงบทความ หากบทความแม่มีความยาวอย่างมาก จึงจะแตกบทออกจากบทความแม่
    • หากแหล่งข้อมูลแสดงให้เห็นว่าสาขาท้องถิ่นมีความโดดเด่นพอ อ้างอิงจากทั้งความโดดเด่นทั่วไป หรือ เกณฑ์การประเมินเบื้องต้น (มีหลักฐานจากแหล่งข้อมูลอิสระที่มีความน่าเชื่อถือ นอกเหนือพื้นที่ท้องถิ่นขององค์การ ที่พูดถึงองค์การสาขาท้องถิ่น จากนั้นจึงพิจารณาแยกบทความออกมา)
    • หรือองค์การสาขาท้องถิ่นที่มีความโดดเด่นแต่ไม่สามารถแสดงหลักฐานได้ อาจแยกออกมาเมื่อจำเป็นในรูปแบบของรายชื่อรวมหรือบทความที่รวมสาขาย่อยทั้งหมด

องค์การธุรกิจ[แก้]

บริษัทอยู่ในตลาดหลักทรัพย์[แก้]

มีการพิจารณาหลายครั้งว่า บริษัทอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ หรืออย่างน้อยมีรายชื่อในตลาดหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ใหญ่อย่างเช่น ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ, ตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก, แนสแด็ก และตลาดหลักทรัพย์อื่นระดับนานาชาติที่มีความใกล้เคียง มีความโดดเด่นในตัวของมันเอง ความคิดเห็นของคนส่วนใหญ่เกี่ยวกับความโดดเด่นไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นโดยทันทีในที่นี้ อย่างไรก็ตาม แหล่งข้อมูลอิสระอย่างเพียงพอมักจะมีอยู่แล้ว สำหรับบริษัท ตัวอย่างเช่น แหล่งข้อมูลจากข่าว การรายงานวิเคราะห์ และข้อมูลของบริษัท อย่างเช่นข้อมูลจาก Hoover's (แหล่งข้อมูลธุรกิจ) ผู้เขียนบทความควรค้นหาข่าวและใส่อ้างอิงในบทความเพื่อให้มั่นใจในความโดดเด่นของบทความ

กรณีที่ผู้เขียนได้สร้างบทความบริษัทขึ้นโดยไม่มีแหล่งอ้างอิง ควรมีการค้นหาข้อมูลก่อนที่จะแจ้งลบ เพราะมีความเป็นไปได้อย่างสูงว่า บริษัทอยู่ในตลาดหลักทรัพย์จะมีความโดดเด่นตามเกณฑ์ประเมินเบื้องต้น

บริษัทในเครือและแฟรนไชส์[แก้]

มีหลายบริษัทที่มีเครือร้านท้องถิ่นหรือแฟรนไชส์ อย่างเช่น ร้านแม็กโดนัลด์ในระดับท้องถิ่น วิกิพีเดียจะไม่สร้างบทความเฉพาะร้านนั้นแยกออกไปต่างหาก เพราะไม่มีประโยชน์ที่จะกล่าวถึงร้านหรือแฟรนไชส์เพียงแห่งเดียวด้วยเรื่องราวที่ไม่สอดคล้องกับเครือข่ายในภาพรวม มีกรณีหายากอยู่บ้าง เช่นสถานที่ซึ่งมีความโดดเด่นเป็นพิเศษหรือลักษณะเฉพาะเจาะจงทางสถาปัตยกรรม ทำให้ที่แห่งนั้นมีความโดดเด่นขึ้นมา อย่างเช่นปั๊มน้ำมันเชลล์ ที่ Winston-Salem หรือร้านแม็กโดนัลด์ที่ Will Rogers Turnpike อย่างไรก็ตาม บทความอย่างเช่น "รายชื่อร้านวอลมาร์ตในประเทศจีน" นี้ถือว่าไม่มีสาระสำคัญ มีกรณียกเว้นอยู่บ้างถ้ามีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นที่ร้านย่อยแห่งใดแห่งหนึ่ง ให้สร้างชื่อบทความตามชื่อเหตุการณ์ แทนที่จะเป็นตำแหน่งของร้าน ดูตัวอย่างที่ การสังหารหมู่ที่ร้านแมกโดนัลด์ San Ysidro

สินค้าและบริการ[แก้]

ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและการบริการ ควรรวมเอาไว้ในบทความของบริษัทนั้นๆ เอง นอกเสียจากบทความบริษัทมีความยาวมากจนอาจทำให้บทความอ่านได้ยาก ในกรณีนี้ อาจจะเขียนบทความเกี่ยวกับสินค้าและการบริการของบริษัทแยกออกมาจากบทความบริษัทได้ในลักษณะการสรุปความ

ถ้าหากสินค้าหรือการบริการนั้นมีความโดดเด่น สามารถสร้างบทความแยกออกมาได้ แต่หากไม่มีความโดดเด่น ไม่ควรจะแยกออกมา แต่ควรมีข้อมูลที่พิสูจน์ยืนยันได้แสดงในบทความสินค้าและบริการหลาย ๆ ชนิด ซึ่งมีเนื้อหาที่กว้างกว่า เช่น บทความที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และการบริการทั้งหมดของบริษัท

ถ้าหากพบบทความสินค้าและการบริการที่ไม่มีความโดดเด่นในตัวเอง ควรกล้าที่จะรวมบทความนั้นเข้ากับบทความอื่นที่มีขอบเขตกว้างกว่า เช่นบทความบริษัท หรือแจ้งลบ

หากไม่มีความโดดเด่น[แก้]

บทความองค์การที่ไม่มีความโดดเด่น จะไม่แยกบทความออกมา อย่างไรก็ตามในวิกิพีเดียอาจรวมในบทความอื่นตามความเหมาะสม อย่าพยายามโฆษณาองค์การ และควรจะมีแหล่งข้อมูลที่มีคุณภาพกำกับ

ข้อมูลที่พิสูจน์ยืนยันได้เกี่ยวกับองค์การท้องถิ่นอาจจะรวมกับบทความแม่ในหัวข้อ ท้องที่อื่น