วัดพรหมนิวาสวรวิหาร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดพรหมนิวาสวรวิหาร
แผนที่
ชื่อสามัญวัดพรหมนิวาสวรวิหาร, วัดพรหมนิวาส, วัดขุนยวน, วัดขุนญวน
ที่ตั้งตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ประเภทพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดวรวิหาร
นิกายมหานิกาย
เจ้าอาวาสพระครูประดิษฐ์กิจจารักษ์ (สมเกียรติ สปฺปญฺโญ)
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

วัดพรหมนิวาสวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดวรวิหาร สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา[1] ปัจจุบันเจ้าอาวาสคือ พระครูประดิษฐ์กิจจารักษ์ (สมเกียรติ สปฺปญฺโญ)[2]

วัดพรหมนิวาสวรวิหารตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. 2270 เดิมชื่อ วัดขุนยวน บ้างเขียนว่า วัดขุนญวน ตามการบอกเล่าสืบต่อกันมา ผู้สร้างวัดมียศเป็นขุน ได้เป็นแม่ทัพไปรบข้าศึกที่เมืองโยนก (นครเชียงใหม่) และมีชัยชนะกลับมา จึงได้สร้างวัดขึ้นเป็นอนุสรณ์ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. 2275 ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงปฏิสังขรณ์วัดพรหมนิวาสนี้เมื่อครั้งทรงผนวชอยู่ ต่อมาเปลี่ยนชื่อมาเป็น วัดพรหมนิวาส เมื่อ พ.ศ. 2483 ในสมัยพระครูกุศลธรรมธาดา (สุดใจ เขมสีโร) เป็นเจ้าอาวาส ซึ่งหมายถึง "ที่สถิตของพรหม"[3] วัดได้ยกสถานะเป็นพระอารามหลวงเมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2483[4]

ใบเสมามีความเก่าแก่ น่าจะสร้างในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ คล้ายกับที่วัดสิงห์ เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร ลายประดับใบเสมา สลักลวดลายประดับอย่างงามวิจิตร บริเวณฐานใบเสมา ประดับลายหน้ากระดาน ประจำยามลูกฟัก ส่วนท้องเสมาแกะสลักลายกรอบสามเหลี่ยมภายในประดับลายพุ่มข้าวบิณฑ์ เอวเสมาประดับตัวเหงาทำเป็นรูปพญานาคหลายเศียร

อ้างอิง[แก้]

  1. "วัดพรหมนิวาสวรวิหาร". ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม.
  2. "มติมหาเถรสมาคม ที่ 48/2562 เรื่อง เสนอแต่งตั้ง พระครูประดิษฐ์กิจจารักษ์ ให้ดำรงตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดพรหมนิวาส จังหวัดพระนครศรีอยุธยา" (pdf). สำนักงานเลขาธิการมหาเถรสมาคม. 28 มกราคม 2562. สืบค้นเมื่อ 14 กรกฎาคม 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  3. "ถวายผ้าพระกฐินพระราชทานวัดพรหมนิวาสวรวิหาร อยุธยา". ผู้จัดการออนไลน์.
  4. "แจ้งความกระทรวงธรรมการ เรื่อง เปลี่ยนนามพระอารามหลวง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา.