ฤดูพายุไซโคลนมหาสมุทรอินเดียเหนือ พ.ศ. 2562

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฤดูพายุไซโคลนมหาสมุทรอินเดียเหนือ พ.ศ. 2562
แผนที่สรุปฤดูกาล
ขอบเขตฤดูกาล
ระบบแรกก่อตัว4 มกราคม พ.ศ. 2562
(สถิติเร็วที่สุด เสมอเท่าปี 2557)
ระบบสุดท้ายสลายตัว12 ธันวาคม พ.ศ. 2562
พายุมีกำลังมากที่สุด
ชื่อจ้า
(สถิติพายุที่มีกำลังแรงที่สุด
เป็นอันดับสามในมหาสมุทรอินเดียเหนือ)
 • ลมแรงสูงสุด250 กม./ชม. (155 ไมล์/ชม.)
(เฉลี่ย 3 นาที)
 • ความกดอากาศต่ำที่สุด915 hPa (มิลลิบาร์)
สถิติฤดูกาล
พายุดีเปรสชัน12 ลูก
พายุดีเปรสชันหมุนเร็ว11 ลูก
พายุไซโคลน8 ลูก
พายุไซโคลนกำลังแรง6 ลูก (สถิติสูงสุด)
พายุไซโคลนกำลังแรงมาก6 ลูก (สถิติสูงสุด)
พายุซูเปอร์ไซโคลน1 ลูก
ผู้เสียชีวิตทั้งหมด173 คน
ความเสียหายทั้งหมด> 1.15 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ
(ค่าเงิน USD ปี 2019)
(สถิติความเสียหายมากที่สุดเป็นอันดับสอง
ของแอ่งมหาสมุทรอินเดียเหนือ)
ฤดูพายุไซโคลนมหาสมุทรอินเดียเหนือ
2560, 2561, 2562, 2563, 2564

ฤดูพายุไซโคลนมหาสมุทรอินเดียเหนือ พ.ศ. 2562 คือรอบของพายุหมุนเขตร้อน ที่เคยมีการก่อตัวในมหาสมุทรอินเดียเหนือในอดีต ซึ่งไม่มีการกำหนดฤดูอย่างเป็นทางการ แต่พายุไซโคลนมีแนวโน้มก่อตัวระหว่างเดือนเมษายนถึงธันวาคม โดยมีอัตราสูงที่สุดตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงพฤศจิกายน

ขอบเขตของบทความนี้จะถูกจำกัดอยู่ในมหาสมุทรอินเดียที่อยู่ในซีกโลกเหนือ ทางทิศตะวันออกของจะงอยแอฟริกาและทางทิศตะวันตกของคาบสมุทรมลายู โดยมีสองทะเลหลักอยู่ในมหาสมุทรอินเดียเหนือ คือ ทะเลอาหรับ ไปทางตะวันตกของอนุทวีปอินเดีย ถูกเรียกอย่างย่อว่า ARB โดยกรมอุตุนิยมวิทยาอินเดีย (IMD); และอ่าวเบงกอล ไปทางตะวันออก เรียกอย่างย่อว่า BOB โดย IMD

ผู้ที่รับผิดชอบอย่างเป็นทางการในแอ่งนี้ตามศูนย์อุตุนิยมวิทยาชำนัญพิเศษประจำภูมิภาค คือ กรมอุตุนิยมวิทยาอินเดีย (IMD) ขณะที่ศูนย์ร่วมการเตือนภัยไต้ฝุ่นจะออกคำเตือนอย่างไม่เป็นทางการในภูมิภาคนี้ โดยเฉลี่ยแล้วแอ่งนี้จะมีพายุก่อตัว 4-6 ลูกในทุกฤดูกาล[1][2]

ภาพรวมฤดูกาล[แก้]

มาตราพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรอินเดียเหนือ (IMD)
  พายุดีเปรสชัน (≤51 กม./ชม.)   พายุไซโคลนกำลังแรงมาก (118–165 กม./ชม.)
  พายุดีเปรสชันหมุนเร็ว (52–61 กม./ชม.)   พายุไซโคลนกำลังแรงอย่างมาก (166–221 กม./ชม.)
  พายุไซโคลน (62–87 กม./ชม.)   พายุซูเปอร์ไซโคลน (>222 กม./ชม.)
  พายุไซโคลนกำลังแรง (88–117 กม./ชม.)

พายุ[แก้]

พายุไซโคลนปาบึก[แก้]

พายุไซโคลน (IMD)
พายุไซโคลน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 4 (เข้ามาในแอ่ง) – 8 มกราคม
ความรุนแรง 85 กม./ชม. (50 ไมล์/ชม.) (3 นาที)
998 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.47 นิ้วปรอท)

พายุโซนร้อนก่อตัวในทะเลจีนใต้เมื่อวันที่ 1 มกราคม และสองวันให้หลัง ปาบึกก็ได้เคลื่อนตัวลงสู่อ่าวไทย จากนั้นไม่เพียงนานหลังจากที่ปาบึกพัดขึ้นฝั่งในภาคใต้ เมื่อวันที่ 4 มกราคม กรมอุตุนิยมวิทยาอินเดียได้ออกคำแนะนำกับระบบพายุ ทำให้มันกลายเป็นพายุไซโคลนลูกแรกสุดในบรรดาพายุทั้งหมดของแอ่งนี้ จากที่ก่อนหน้านี้ตำแหน่งดังกล่าวเป็นของพายุไซโคลนฮีบารูตั้งแต่ปี 2548 รวมถึงยังเป็นพายุไซโคลนลูกแรกที่มีชื่อเป็นชื่อจาก RSMC โตเกียวด้วย[3] พายุปาบึกนับเป็นพายุที่ข้ามแอ่งมาลูกล่าสุดของแอ่งนี้ นับตั้งแต่พายุโซนร้อนฮวาเหม่ย์ เมื่อปี 2544 และพายุดีเปรสชันเขตร้อนวีลมาเมื่อต้นเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2558

พายุไซโคลนกำลังแรงอย่างมากฟานี[แก้]

พายุไซโคลนกำลังแรงอย่างมาก (IMD)
พายุไซโคลน (TMD)
พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 4 (SSHWS)
ระยะเวลา 26 เมษายน – 4 พฤษภาคม
ความรุนแรง 215 กม./ชม. (130 ไมล์/ชม.) (3 นาที)
937 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 27.67 นิ้วปรอท)
  • วันที่ 26 เมษายน พายุดีเปรสชันก่อตัวขึ้นทางตะวันตกของเกาะสุมาตรา โดยกรมอุตุนิยมวิทยาอินเดียให้รหัสเรียกว่า BOB 02 โดยระบบมีการจัดระบบขึ้นอย่างช้า ๆ ขณะที่เคลื่อนตัวโค้งไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
  • วันที่ 27 เมษายน เวลา 00:00 UTC (หรือตรงกับ 07.00 น. ตามเวลาในประเทศไทย) กรมอุตุนิยมวิทยาอินเดียได้ปรับความรุนแรง BOB 02 เป็นพายุดีเปรสชันหมุนเร็ว ต่อมาขณะที่พายุกำลังเคลื่อนตัวเลี้ยวไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือเฉเหนือ พายุดีเปรสชันหมุนเร็วได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุไซโคลน และได้รับชื่อว่า ฟานี (Fani) ขณะที่กำลังเคลื่อนตัวไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ การพัฒนาของระบบดำเนินไปอย่างช้ามากเป็นเวลาหลายวัน เนื่องจากอิทธิพลของแรงเฉือนแนวตั้งกำลังปานกลาง
  • วันที่ 29 เมษายน เวลา 12:00 UTC (หรือตรงกับ 19:00 น. ตามเวลาในประเทศไทย) ฟานีทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุไซโคลนกำลังแรง
  • วันที่ 30 เมษายน ฟานีมีการทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็ว จนทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุไซโคลนกำลังแรงอย่างมากในเวลา 17:00 UTC[4]
  • วันที่ 2 พฤษภาคม เวลา 06:00 UTC ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมระบุว่าฟานีมีกำลังเทียบเท่ากับพายุหมุนเขตร้อนระดับ 4 ตามมาตราแซฟเฟอร์–ซิมป์สัน โดยฟานีกลับมาทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็วอีกครั้ง มีความเร็วลมสูงสุดในสามนาทีเพิ่มขึ้นเป็น 215 กม./ชม. และความเร็วลมสูงสุดในหนึ่งนาทีที่ 250 กม./ชม.
  • วันที่ 3 พฤษภาคม เวลา 04:00 UTC (09.30 น. ตามเวลาท้องถิ่น) ฟานีพัดขึ้นฝั่งที่นครปูริ รัฐโอฑิศา[5] จากนั้นจึงอ่อนกำลังลงเป็นพายุไซโคลนกำลังแรงมากไม่นานหลังจากพัดขึ้นฝั่งแล้ว และอ่อนกำลังลงเป็นพายุไซโคลนในเวลาต่อมาตามลำดับ
  • วันที่ 4 พฤษภาคม ฟานีอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชัน จากนั้นสลายตัวลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงในเวลาต่อมา

พายุไซโคลนกำลังแรงมากวายุ[แก้]

พายุไซโคลนกำลังแรงมาก (IMD)
พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 2 (SSHWS)
ระยะเวลา 10 – 17 มิถุนายน
ความรุนแรง 150 กม./ชม. (90 ไมล์/ชม.) (3 นาที)
978 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.88 นิ้วปรอท)

ในช่วงต้นเดือนมิถุนายน การเต้นเป็นจังหวะอย่างแรงของความผันผวนแมดเดน–จูเลียน (MJO) เคลื่อนมาทางด้านตะวันออกเข้าสู่เขตร้อนของมหาสมุทรอินเดีย ทำให้บริเวณดังกล่าวมีเมฆปกคลุมและมีปริมาณน้ำฝนเพิ่มขึ้นทั่วทั้งภูมิภาค[6]

  • วันที่ 9 มิถุนายน กรมอุตุนิยมวิทยาแห่งอินเดีย (IMD) ได้บันทึกว่ามีการก่อตัวขึ้นของหย่อมความกดอากาศต่ำเหนือด้านตะวันออกเฉียงใต้ของทะเลอาหรับ ทางตอนเหนือของประเทศมัลดีฟส์
  • วันที่ 10 มิถุนายน ช่วงต้นวัน พายุดีเปรสชันก่อตัวขึ้นในทะเลอาหรับ โดยอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศมัลดีฟส์ โดยกรมอุตุนิยมวิทยาอินเดียให้รหัสเรียกว่า ARB 01 โดยตัวระบบพายุมีการเคลื่อนตัวไปทางเหนือ และค่อย ๆ ทวีกำลังแรงขึ้นจนกลายเป็นพายุดีเปรสชันหมุนเร็ว ก่อนจะมีกำลังเป็นพายุไซโคลนในช่วงท้ายของวัน และได้รับชื่อว่า วายุ (Vayu)
  • วันที่ 11 มิถุนายน กรมอุตุนิยมวิทยาอินเดียได้ปรับความรุนแรงของวายุเป็นพายุไซโคลนกำลังแรง ซึ่งก่อนหน้านั้นวายุมีกำลังเป็นพายุหมุนเขตร้อนระดับ 1 ตามการจัดของศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมตามมาตราแซฟเฟอร์–ซิมป์สัน (SSHWS)
  • วันที่ 12 มิถุนายน วายุเริ่มเข้าสู่ช่วงทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็ว และมีกำลังเป็นพายุไซโคลนกำลังแรงมากในไม่นานหลังจากนั้น โดยมีความรุนแรงเท่าพายุหมุนเขตร้อนระดับ 2
  • วันที่ 13 มิถุนายน อิทธิพลของแนวสันกึ่งเขตร้อนกำลังแรงที่ปกคลุมอยู่เหนือประเทศซาอุดีอาระเบียทำให้วายุเคลื่อนตัวช้าลง และเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนตัวไปทางตะวันตก โดยพัดปกคลุมอยู่ในแนวชายฝั่งรัฐคุชราตในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศอินเดีย[7][8] ต่อมาเวลา 12:00 UTC วายุมีกำลังแรงสุดด้วยความรุนแรงเทียบเท่าพายุหมุนเขตร้อนระดับ 3 มีความเร็วลมสูงสุดในหนึ่งนาทีที่ 185 กม./ชม.[8]
  • วันที่ 14 มิถุนายน วายุเริ่มอ่อนกำลังลงขณะเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกอย่างช้า ๆ ห่างออกจากชายฝั่งรัฐคุชราต เนื่องจากอิทธิพลของลมเฉือนกำลังแรง[7]
  • วันที่ 17 มิถุนายน วายุอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันหมุนเร็ว ขณะเคลื่อนตัวเข้าประชิดชายฝั่งรัฐคุชราตอีกครั้ง

พายุดีเปรสชันหมุนเร็วบีโอบี 03[แก้]

ดีเปรสชันหมุนเร็ว (IMD)
พายุดีเปรสชัน (TMD)
ระยะเวลา 6 – 8 สิงหาคม
ความรุนแรง 55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (3 นาที)
988 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.18 นิ้วปรอท)
  • วันที่ 6 สิงหาคม พายุดีเปรสชันก่อตัวขึ้นเหนือด้านตะวันตกเฉียงเหนือของอ่าวเบงกอล โดยกรมอุตุนิยมวิทยาอินเดียได้ให้รหัสเรียกว่า BOB 03 จากนั้นไม่นานระบบได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันหมุนเร็วขณะอยู่บริเวณใกล้ชายฝั่งทางตอนเหนือของรัฐโอฑิศา
  • วันที่ 7 สิงหาคม เวลาประมาณ 08:00–09:00 UTC พายุดีเปรสชันหมุนเร็วได้พัดขึ้นฝั่งที่แนวรอยต่อรัฐโอฑิศาและรัฐเบงกอลตะวันตก ประเทศอินเดีย

พายุไซโคลนกำลังแรงมากฮีกาอา[แก้]

พายุไซโคลนกำลังแรงมาก (IMD)
พายุไซโคลน (TMD)
พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 2 (SSHWS)
ระยะเวลา 22 – 26 กันยายน
ความรุนแรง 140 กม./ชม. (85 ไมล์/ชม.) (3 นาที)
978 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.88 นิ้วปรอท)

พายุดีเปรสชันบนแผ่นดิน 01[แก้]

ดีเปรสชัน (IMD)
ระยะเวลา 30 กันยายน – 1 ตุลาคม
ความรุนแรง 45 กม./ชม. (30 ไมล์/ชม.) (3 นาที)
ไม่ทราบความกดอากาศ

พายุซูเปอร์ไซโคลนจ้า[แก้]

พายุซูเปอร์ไซโคลน (IMD)
พายุไซโคลน (TMD)
พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 4 (SSHWS)
ระยะเวลา 24 ตุลาคม – 1 พฤศจิกายน
ความรุนแรง 250 กม./ชม. (155 ไมล์/ชม.) (3 นาที)
915 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 27.02 นิ้วปรอท)

พายุไซโคลนกำลังแรงอย่างมากมาฮา[แก้]

พายุไซโคลนกำลังแรงอย่างมาก (IMD)
พายุไซโคลน (TMD)
พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 3 (SSHWS)
ระยะเวลา 30 ตุลาคม – ปัจจุบัน
ความรุนแรง 185 กม./ชม. (115 ไมล์/ชม.) (3 นาที)
956 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.23 นิ้วปรอท)

พายุไซโคลนกำลังแรงมากบุลบูล[แก้]

พายุไซโคลนกำลังแรงมาก (IMD)
พายุไซโคลน (TMD)
พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 1 (SSHWS)
ระยะเวลา 5 – 11 พฤศจิกายน
ความรุนแรง 120 กม./ชม. (75 ไมล์/ชม.) (3 นาที)
986 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.12 นิ้วปรอท)

พายุไซโคลนปาวัน[แก้]

พายุไซโคลน (IMD)
พายุไซโคลน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 2 ธันวาคม – ปัจจุบัน
ความรุนแรง 70 กม./ชม. (45 ไมล์/ชม.) (3 นาที)
1000 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.53 นิ้วปรอท)

พายุดีเปรสชันหมุนเร็วเออาร์บี 06[แก้]

ดีเปรสชันหมุนเร็ว (IMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 3 – 5 ธันวาคม
ความรุนแรง 55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (3 นาที)
1002 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.59 นิ้วปรอท)

พายุดีเปรสชันหมุนเร็วเออาร์บี 08[แก้]

ดีเปรสชันหมุนเร็ว (IMD)
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (SSHWS)
Counterclockwise vortex
ระยะเวลา 8 – 10 ธันวาคม
ความรุนแรง 55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (3 นาที)
1004 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.65 นิ้วปรอท)

รายชื่อพายุ[แก้]

ภายในแอ่งนี้ พายุหมุนเขตร้อนจะมีชื่อเมื่อมีความรุนแรงในระดับพายุไซโคลน มีความเร็วลม 65 กม./ชม. (40 ไมล์/ชม.) เป็นชื่อที่คัดเลือกโดยสมาชิกขององค์คณะพายุหมุนเขตร้อนของคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (ESCAP)/องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) โดยศูนย์อุตุนิยมวิทยาชำนัญพิเศษประจำภูมิภาคในนิวเดลี ได้มีการเริ่มต้นกำหนดชื่อในเดือนกันยายน ปี พ.ศ. 2547 ชื่อในแอ่งนี้ไม่มีการถอดถอนชื่อพายุหมุนเขตร้อน เนื่องจากรายการชื่อเป็นเพียงการกำหนดไว้ใช้เพียงครั้งเดียว ก่อนที่จะร่างรายชื่อใหม่ขึ้นมาทดแทน ถ้าหากมีพายุจากแอ่งมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเคลื่อนเข้ามา ก็จะใช้ชื่อเดิมที่มากับตัวพายุ

โดยในฤดูการนี้มีชื่อถูกใช้ทั้งสิ้น 7 ชื่อ ตั้งแต่ฟานี ถึง ปาวัน ดังนี้

รายชื่อพายุหมุนเขตร้อนของมหาสมุทรอินเดียเหนือในฤดูกาล 2562
รหัสพายุ ชื่อพายุ รหัสพายุ ชื่อพายุ รหัสพายุ ชื่อพายุ รหัสพายุ ชื่อพายุ
BOB 02 ฟานี
(Fani)
ARB 02 ฮีกาอา
(Hikaa)
ARB 04 มาฮา
(Maha)
ARB 05 ปาวัน
(Pawan)
ARB 01 วายุ
(Vayu)
ARB 03 จ้า
(Kyarr)
BOB 03 บุลบูล
(Bulbul)

วันที่ 4 มกราคม พายุโซนร้อนปาบึก เคลื่อนตัวข้ามมาแอ่งจากอ่าวไทย ในฐานะพายุไซโคลน ส่วนชื่อ ปาบึก เป็นชื่อที่ได้รับมาจากกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น

ผลกระทบ[แก้]

ตารางนี้แสดงรายการพายุทั้งหมดที่เกิดขึ้นทางตอนเหนือของมหาสมุทรอินเดีย ในช่วงปี พ.ศ. 2562 ซึ่งจะระบุชื่อของพายุ, วันที่พายุเริ่มก่อตัว, ความรุนแรง (ตามสเกลของ IMD), ข้อมูลพื้นฐานของพายุ, พื้นที่ได้รับผลกระทบ และความเสียหายที่เกิดจากพายุ โดยตัวเลขที่แสดงความเสียหายจะถูกระบุเป็นค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ ปี ค.ศ. 2019 และความเสียหาย การสูญเสียจากพายุ จะนับตั้งแต่พายุเริ่มรวมตัวจนถึงพายุถึงความรุนแรงสูงสุด

ชื่อ วันที่ ระดับความรุนแรง ความเร็วลม ความกดอากาศ พื้นที่ผลกระทบ ความเสียหาย
(USD)
เสียชีวิต อ้างอิง
ปาบึก 4 – 8 มกราคม พายุไซโคลน 85 กม./ชม. 998 hPa (29.47 นิ้วปรอท) ไทย, พม่า, หมู่เกาะอันดามัน ไม่มี ไม่มี
ฟานี 26 เมษายน – 4 พฤษภาคม พายุไซโคลนกำลังแรงอย่างมาก 215 กม./ชม. 937 hPa (27.67 นิ้วปรอท) หมู่เกาะนิโคบาร์, ศรีลังกา, ภาคใต้ของอินเดีย, ภาคตะวันออกของอินเดีย,
บังกลาเทศ, พม่า, เนปาล, ภูฏาน
>&00000081000000000000008.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ 89 [9][10]
[11][12]
[13]
วายุ 10 – 17 มิถุนายน พายุไซโคลนกำลังแรงมาก 150 กม./ชม. 978 hPa (28.88 นิ้วปรอท) ภาคเหนือของมัลดีฟส์, ลักษทวีป, อินเดีย, ภาคใต้ของปากีสถาน, ภาคตะวันออกของโอมาน &0000000000140000000000140 พันดอลลาร์สหรัฐ 8 [14][15]
[16]
BOB 03 6 – 11 สิงหาคม พายุดีเปรสชันหมุนเร็ว 55 กม./ชม. 988 hPa (29.18 นิ้วปรอท) ภาคตะวันออกของอินเดีย, บังกลาเทศ &0000000000000000000000 ไม่ทราบ 3 [17]
ฮีอากา 22 – 25 กันยายน พายุไซโคลนกำลังแรงมาก 140 กม./ชม. 972 hPa (28.70 นิ้วปรอท) ภาคตะวันตกของอินเดีย, โอมาน, ซาอุดีอาระเบีย, เยเมน &0000000000000000000000 ไม่ทราบ 6 [18]
LAND 01 30 กันยายน – 1 ตุลาคม พายุดีเปรสชัน 45 กม./ชม. 1004 hPa (29.65 นิ้วปรอท) ภาคตะวันตกของอินเดีย &0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
จ้า 24 ตุลาคม – 1 พฤศจิกายน พายุซูเปอร์ไซโคลน 250 กม./ชม. 915 hPa (27.02 นิ้วปรอท) ภาคตะวันตกของอินเดีย, โอมาน, เยเมน, โซมาเลีย &0000000000000000000000 เล็กน้อย &0000000000000000000000 ไม่มี
มาฮา 30 ตุลาคม – 7 พฤศจิกายน พายุไซโคลนกำลังแรงอย่างมาก 185 กม./ชม. 956 hPa (28.23 นิ้วปรอท) ศรีลังกา, ภาคใต้ของอินเดีย, มัลดีฟส์, ภาคตะวันตกของอินเดีย, โอมาน &0000000000000000000000 เล็กน้อย &0000000000000000000000 ไม่มี
บุลบูล 6 – 11 พฤศจิกายน พายุไซโคลนกำลังแรงมาก 140 กม./ชม. 971 hPa (28.67 นิ้วปรอท) เมียนมาร์, หมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์, ภาคตะวันออกของอินเดีย, บังกลาเทศ &00000033800000000000003.38 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ 41 [19][20][21][22]
ปาวัน 2 – 7 ธันวาคม พายุไซโคลน 75 กม./ชม. 999 hPa (29.50 นิ้วปรอท) โซมาเลีย &0000000000000000000000 ไม่ทราบ 1 [23]
ARB 06 3 – 5 ธันวาคม พายุดีเปรสชันหมุนเร็ว 55 กม./ชม. 1002 hPa (29.53 นิ้วปรอท) รัฐทมิฬนาฑู &0000000000000000000000 ไม่ทราบ 25 [24]
ARB 08 8 – 10 ธันวาคม พายุดีเปรสชันหมุนเร็ว 55 กม./ชม. 1004 hPa (29.53 นิ้วปรอท) โซโคตรา, โซมาเลีย &0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
สรุปฤดูกาล
12 ลูก 4 มกราคม – 10 ธันวาคม   215 กม./ชม. 937 hPa (27.67 นิ้วปรอท)   &000001148014000000000011.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ 173


ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Annual Frequency of Cyclonic Disturbances (Maximum Wind Speed of 17 Knots or More), Cyclones (34 Knots or More) and Severe Cyclones (48 Knots or More) Over the Bay of Bengal (BOB), Arabian Sea (AS) and Land Surface of India" (PDF). India Meteorological Department. สืบค้นเมื่อ 30 October 2015.
  2. RSMC — Tropical Cyclones New Delhi (2010). Report on Cyclonic Disturbances over North Indian Ocean during 2009 (PDF) (Report). India Meteorological Department. pp. 2–3. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2010-04-06. สืบค้นเมื่อ May 24, 2011.
  3. "Tropical Cyclone Advisory Bulletin No. 1" (PDF). India Meteorological Department. 4 January 2019. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-01-06. สืบค้นเมื่อ 6 January 2019.
  4. "Extremely Severe Cyclonic Storm Fani Bulletin No. 33" (PDF). Indian Meteorological Department. 30 April 2019. สืบค้นเมื่อ 30 April 2019.
  5. "Cyclone Fani to Make Landfall Near Puri Today, Odisha Moves 11 Lakh People to Safety". CNN-News18. 3 May 2019. สืบค้นเมื่อ 3 May 2019.
  6. http://www.bom.gov.au/climate/tropical-note/
  7. 7.0 7.1 Gopal, Neetha (13 June 2019). "Tropical Cyclone Advisory Bulletin #18" (PDF). India Meteorological Department. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 13 June 2019. สืบค้นเมื่อ 13 June 2019.
  8. 8.0 8.1 "Tropical Cyclone Warning #12 (06Z)". Joint Typhoon Warning Center. Naval Meteorology and Oceanography Command. 13 June 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 June 2019. สืบค้นเมื่อ 13 June 2019.
  9. Ahmad, Adil. "India: Death toll from cyclone Fani climbs to 64". AA.com. สืบค้นเมื่อ 12 May 2019.
  10. "Lightning kills 8 in Uttar Pradesh". New Indian Express. 3 May 2019. สืบค้นเมื่อ 5 May 2019.
  11. "Cyclone Fani leaves trail of destruction in Bangladesh; 17 dead, several hurt". Northeast Now. 5 May 2019. สืบค้นเมื่อ 5 May 2019.
  12. "Odisha estimates loss at ₹12,000 Cr due to cyclone Fani". The Hindu Business Line. 15 May 2019. สืบค้นเมื่อ 16 May 2019.
  13. "Global Catastrophe Recap: First Half of 2019" (PDF). Aon Benfield. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-08-12. สืบค้นเมื่อ 12 August 2019.
  14. "Rains and strong winds hit Mumbai; 1 killed, 2 injured as portion of cladding collapses at Churchgate Railway Station". Mumbai Mirror. 12 June 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 June 2019. สืบค้นเมื่อ 14 June 2019.
  15. Saiyed, Kamal; Mohanty, Aishwarya (13 June 2019). "Gujarat: Six killed, 2 injured in 3 districts ahead of Vayu landfall". The Indian Express. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 June 2019. สืบค้นเมื่อ 14 June 2019.
  16. Waqar Bhatti, M. (15 June 2019). "Elderly man apparently dies due to heat stroke as weathermen predicts another very hot, humid day on Sunday". The News International. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 June 2019. สืบค้นเมื่อ 16 June 2019.
  17. "3 killed, 2 missing in Odisha due to floods". Odisha Sun Times. August 8, 2019. สืบค้นเมื่อ August 9, 2019.
  18. "TN: Fisherman killed in cyclone off Oman laid to rest in home town". Times of India. October 17, 2019. สืบค้นเมื่อ October 18, 2019.
  19. 'Bulbul' claims 2 lives in Odisha, extensive damage to crops (Report). ReliefWeb. Government of India. November 10, 2019. สืบค้นเมื่อ December 9, 2019.
  20. "Cyclone Bulbul caused Rs 23,811 crore losses: West Bengal Government". India Today. Press Trust of India. November 17, 2019. สืบค้นเมื่อ December 9, 2019.
  21. "Cyclone 'Bulbul' destroys 9,455 homesteads in Khulna". The Independent. November 11, 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-09. สืบค้นเมื่อ December 9, 2019.
  22. "Cyclone Bulbul causes Tk 263cr loss in 16 dists". The Independent. November 13, 2019. สืบค้นเมื่อ December 9, 2019.
  23. https://www.garoweonline.com/en/news/puntland/somalia-storm-pawan-delivers-a-bigger-punch-to-coasts-in-puntland
  24. Dravida Thambi (December 3, 2019). "Flood alert issued in Tamil Nadu, 3 houses collapse, 17 dead". The Free Press Journal. สืบค้นเมื่อ December 9, 2019.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]