ริกุ อิมโมเนน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ริกุ อิมโมเนน
เกิดริกุ อิมโมเนน
(1974-01-25) 25 มกราคม ค.ศ. 1974 (50 ปี)
โจเอินซู ประเทศฟินแลนด์
สัญชาติฟินแลนด์ ฟินแลนด์
ส่วนสูง1.80 เมตร (5 ฟุต 11 นิ้ว)*
น้ำหนัก71 กก. (157 ปอนด์)
รุ่นมิดเดิลเวท
รูปแบบมวยไทย
ทีมตุรกุมวยไทย
สถิติคิกบอกซิง/มวยไทย
คะแนนรวม47
ชนะ38
โดยการน็อก5
แพ้4
เสมอ5
ไม่มีการแข่งขัน0
ข้อมูลอื่น
นักเรียนเด่นโทปิ เฮลิน
ดาเนียล ฟอร์สเบิร์ก
มักวัน อาเมียร์คานี
ตีมู ปักกาแลน

ริกุ อิมโมเนน (ฟินแลนด์: Riku Immonen) เป็นอดีตนักมวยไทยระดับอาชีพชาวฟินแลนด์ ซึ่งภายหลังได้เป็นผู้ฝึกสอนมวยไทย เขาเป็นแชมป์โลกมวยไทยทั้งสมัครเล่นและอาชีพ นอกจากนี้ เขาทำการฝึกสอนแก่เหล่านักสู้ที่ค่ายมวยไทยตุรกุ นักเรียนส่วนใหญ่ที่รู้จักกันดีคือโทปิ เฮลิน และดาเนียล ฟอร์สเบิร์ก รวมถึงนักสู้ยูเอฟซีอย่างมักวัน อาเมียร์คานี และตีมู ปักกาแลน

ศิลปะการต่อสู้[แก้]

อิมโมเนนฝึกมวยปล้ำเป็นเวลา 6 เดือนขณะเป็นเด็กอายุประมาณ 12 ขวบ แต่ก็ไปเล่นวอลเลย์บอลแทนมวยปล้ำ จากนั้น เขาเริ่มมวยไทยตอนอายุ 18 ปีและหยุดการต่อสู้เมื่ออายุ 25 ปี โดยเริ่มทำการฝึกสอนตั้งแต่นั้น อย่างไรก็ตาม เขาหวนกลับมาในช่วงเวลาสั้น ๆ เมื่ออายุ 40 ปี เพื่อต่อสู้กับนักร้องอย่างดาเนียล แลนดา

งานเขียน[แก้]

ริกุ อิมโมเนน ได้เผยแพร่หนังสือสองเล่มในภาษาฟินแลนด์ โดยเป็นเรื่องตลกขนาดสั้นอย่าง "การผจญภัยของมนุษย์ฮาร์เลย์-เดวิดสัน" ที่เว็บไซต์ moottoripyora.org ในฟอรัมรถมอเตอร์ไซค์ซึ่งกลายเป็นผลงานไวรอล และอิมโมเนนตัดสินใจเผยแพร่หนังสือเล่มแรกของเขาในชื่อ "HD-miehen seikkailut" เมื่อปี ค.ศ. 2008 ที่มียอดจำหน่าย 10,000 เล่ม และหนังสือเล่มที่สองในชื่อ "HD-mies ja löydetyn respektin menetys" เมื่อปี ค.ศ. 2009 โดยมียอดจำหน่าย 5,000 เล่ม นอกจากนี้ หนังสือเล่มแรกได้รับการแปลเป็นภาษาเอสโตเนีย รวมทั้งอิมโมเนนยังได้เขียนบทความสำหรับนิตยสารไฟเตอร์แมกกาซีน และไฟต์สปอร์ต

รายการที่ชนะ[แก้]

ระดับอาชีพ

  • ค.ศ. 1999 แชมป์โลก ของสภามวยไทยโลก (160 ปอนด์)

สมัครเล่น

  • ค.ศ. 2001 เหรียญเงิน ชิงแชมป์ฟินแลนด์ รุ่นน้ำหนักไม่เกิน 81 กก.
  • ค.ศ. 1999 เหรียญทอง ชิงแชมป์โลกมวยไทยโลก ของสหพันธ์มวยไทยสมัครเล่นนานาชาติ ที่กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย รุ่นน้ำหนักไม่เกิน 71 กก.
  • ค.ศ. 1998 เหรียญทอง ชิงแชมป์โลกคิงส์คัพ ของสหพันธ์มวยไทยสมัครเล่นนานาชาติ ที่จังหวัดสมุทรปราการ ประเทศไทย รุ่นน้ำหนักไม่เกิน 71 กก.
  • ค.ศ. 1998 เหรียญทอง มวยไทยชิงแชมป์ยุโรป ของสหพันธ์มวยไทยสมัครเล่นนานาชาติ ที่กาตาเฟย์ ประเทศสเปน รุ่นน้ำหนักไม่เกิน 71 กก.
  • ค.ศ. 1998 เหรียญทอง มวยไทยชิงแชมป์ฟินแลนด์ ของสมาคมมวยไทยแห่งประเทศฟินแลนด์ ที่เฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ รุ่นน้ำหนักไม่เกิน 71 กก.

รางวัลที่ได้รับ

  • ค.ศ. 1999 นักสู้แห่งปี - ถ้วยรางวัล จากสมาคมมวยไทยแห่งประเทศฟินแลนด์
  • ค.ศ. 1999 นักสู้ยอดเยี่ยมอันดับ 2 ของการแข่งขัน - รางวัล ชิงแชมป์โลกมวยไทยโลก ของสหพันธ์มวยไทยสมัครเล่นนานาชาติ ที่กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
  • ค.ศ. 1998 นักสู้ที่ใช้เทคนิคมากที่สุดของการแข่งขัน - ถ้วยรางวัล มวยไทยชิงแชมป์ยุโรป ของสหพันธ์มวยไทยสมัครเล่นนานาชาติ ที่กาตาเฟย์ ประเทศสเปน

สถิติการชกมวยไทย[แก้]

ชก 47 แมตช์ ชนะ 38 ครั้ง (ชนะน็อก 5 ครั้ง, กรรมการตัดสิน 33 ครั้ง), เสมอ 5 ครั้ง, แพ้ 5 ครั้ง
วันที่ ผล คู่ชก รายการ วิธีชนะ ยก หมายเหตุ
12 มิ.ย. 2014 ชนะ เช็กเกีย ดาเนียล แลนดา จีบูไฟท์ไนท์ ปราก สาธารณรัฐเช็ก กรรมการตัดสิน (เป็นเอกฉันท์) 3
26 พ.ย. 1999 ชนะ ออสเตรเลีย ลุค เคมป์ตัน ศึกรายการโลก สภามวยไทยโลก เฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ การตัดสิน (เป็นเอกฉันท์) 5 ป้องกันตำแหน่ง
23 ก.ย. 1999 ชนะ เช็กเกีย ยินริช เวเลสกี ปาร์ดูบิเซ สาธารณรัฐเช็ก การตัดสิน (ไม่เป็นเอกฉันท์) 5
27 ก.ค. 1999 ชนะ ยูเครน ลีโอนิด เลอเบเดฟ เวทีมวยรังสิต กรุงเทพมหานคร การตัดสิน (เป็นเอกฉันท์) 5 ศึกรายการโลก สภามวยไทยโลก
20 มี.ค. 1999 ชนะ ออสเตรเลีย ลุค เคมป์ตัน ซันเทคสิงคโปร์คอนเวนชันแอนด์เอ็กซิบิชันเซ็นเตอร์ น็อกคู่ต่อสู้ (เตะหัว) 3 เปิดตัวในระดับอาชีพ
13 มี.ค. 1999 ชนะ ประเทศจอร์เจีย กิกะ คอร์ดาเซ ชิงแชมป์โลก สหพันธ์มวยไทยสมัครเล่นนานาชาติ อาคารกีฬา นิมิบุตร กรุงเทพมหานคร การตัดสิน (ไม่เป็นเอกฉันท์) 5 รอบชิงชนะเลิศ
11 มี.ค. 1999 ชนะ เบลารุส เซอร์จี คาร์ปิน ชิงแชมป์โลก สหพันธ์มวยไทยสมัครเล่นนานาชาติ อาคารกีฬา นิมิบุตร กรุงเทพมหานคร การตัดสิน (เป็นเอกฉันท์) 3 รอบรองชนะเลิศ
10 มี.ค. 1999 ชนะ ยูเครน ลีโอนิด เลอเบเดฟ ชิงแชมป์โลก สหพันธ์มวยไทยสมัครเล่นนานาชาติ อาคารกีฬา นิมิบุตร กรุงเทพมหานคร การตัดสิน (เป็นเอกฉันท์) 3
9 มี.ค. 1999 ชนะ ไทย อุดร บำรุง ชิงแชมป์โลก สหพันธ์มวยไทยสมัครเล่นนานาชาติ อาคารกีฬา นิมิบุตร กรุงเทพมหานคร การตัดสิน (เป็นเอกฉันท์) 3
7 มี.ค. 1999 ชนะ ฝรั่งเศส แบ็งฌาแม็ง บาดีซา ชิงแชมป์โลก สหพันธ์มวยไทยสมัครเล่นนานาชาติ อาคารกีฬา นิมิบุตร กรุงเทพมหานคร การตัดสิน (เป็นเอกฉันท์) 3
4 ก.พ. 1999 ชนะ เช็กเกีย บาซัฟ เซร์มัค เฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ การตัดสิน (เป็นเอกฉันท์) 5
22 พ.ย. 1998 ชนะ ฟินแลนด์ เปตรี กีตุลา มวยไทยชิงแชมป์ฟินแลนด์ ที่เฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ การตัดสิน (เป็นเอกฉันท์) 5 รอบชิงชนะเลิศ
31 ต.ค. 1998 ชนะ ฟินแลนด์ ไก กีรกอนเปลโต มวยไทยชิงแชมป์ฟินแลนด์อิลิมิเนชัน ตุรกุ ประเทศฟินแลนด์ การตัดสิน (เป็นเอกฉันท์) 5 รอบรองชนะเลิศ
12 ต.ค. 1998 แพ้ สวีเดน อับดู นีย์ สต็อกโฮล์ม ประเทศสวีเดน การตัดสิน (ไม่เป็นเอกฉันท์) 5
23 ส.ค. 1998 ชนะ ฝรั่งเศส อัมดาอู ราบา ชิงแชมป์โลกคิงส์คัพ สหพันธ์มวยไทยสมัครเล่นนานาชาติ ที่จังหวัดสมุทรปราการ ประเทศไทย น็อกคู่ต่อสู้ (เตะต่ำ) 3 รอบชิงชนะเลิศ
21 ส.ค. 1998 ชนะ ออสเตรเลีย ลุค เคมป์ตัน ชิงแชมป์โลกคิงส์คัพ สหพันธ์มวยไทยสมัครเล่นนานาชาติ ที่จังหวัดสมุทรปราการ ประเทศไทย การตัดสิน (ไม่เป็นเอกฉันท์) 5 รอบรองชนะเลิศ
19 ส.ค. 1998 ชนะ มอลโดวา ทนาตา ชิงแชมป์โลกคิงส์คัพ สหพันธ์มวยไทยสมัครเล่นนานาชาติ ที่จังหวัดสมุทรปราการ ประเทศไทย ชนะน็อกโดยเทคนิค (ถอนตัวออก) 3
17 ส.ค. 1998 ชนะ นิวซีแลนด์ คาร์ล คาวลีย์ ชิงแชมป์โลกคิงส์คัพ สหพันธ์มวยไทยสมัครเล่นนานาชาติ ที่จังหวัดสมุทรปราการ ประเทศไทย การตัดสิน (เป็นเอกฉันท์) 5
18 ก.ค. 1998 ชนะ ฟินแลนด์ โรเบิร์ต ตูโลเนน โกเปียวไอซ์ฮอลล์ ประเทศฟินแลนด์ การตัดสิน (เป็นเอกฉันท์) 5
4 เม.ย. 1998 ชนะ รัสเซีย มีฮาอิล สเตปานอฟ ชิงแชมป์ยุโรป สหพันธ์มวยไทยสมัครเล่นนานาชาติ ที่กาลาเฟย์ ประเทศสเปน การตัดสิน (ไม่เป็นเอกฉันท์) 5 รอบชิงชนะเลิศ
2 เม.ย. 1998 ชนะ ยูเครน ลีโอนิด เลอเบเดฟ ชิงแชมป์ยุโรป สหพันธ์มวยไทยสมัครเล่นนานาชาติ ที่กาลาเฟย์ ประเทศสเปน การตัดสิน (เป็นเอกฉันท์) 3 รอบรองชนะเลิศ
1 เม.ย. 1998 ชนะ ฝรั่งเศส ฟิลิป เฟเรียล ชิงแชมป์ยุโรป สหพันธ์มวยไทยสมัครเล่นนานาชาติ ที่กาลาเฟย์ ประเทศสเปน การตัดสิน (เป็นเอกฉันท์) 3
31 มี.ค. 1998 ชนะ โครเอเชีย สวอนโก ยาคอฟเลวิช ชิงแชมป์ยุโรป สหพันธ์มวยไทยสมัครเล่นนานาชาติ ที่กาลาเฟย์ ประเทศสเปน การตัดสิน (เป็นเอกฉันท์) 3
30 มี.ค. 1998 ชนะ อังกฤษ ลี สมิธ ชิงแชมป์ยุโรป สหพันธ์มวยไทยสมัครเล่นนานาชาติ ที่กาลาเฟย์ ประเทศสเปน การตัดสิน (เป็นเอกฉันท์) 3
28 ก.พ. 1998 เสมอ ฟินแลนด์ มานู วาร์โฮ ตัมเปเร ประเทศฟินแลนด์ เสมอ 5
2 ก.ค. 1998 ชนะ ฟินแลนด์ เวซา วาฮาเนียมี เฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ การตัดสิน (เป็นเอกฉันท์) 5
22 พ.ย. 1997 เสมอ ฟินแลนด์ มานู วาร์โฮ เฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ เสมอ 5
1 พ.ย. 1997 ชนะ ฟินแลนด์ เวซา วาฮาเนียมี ตุรกุ ประเทศฟินแลนด์ การตัดสิน (เป็นเอกฉันท์) 5
4 ต.ค. 1997 ชนะ ฟินแลนด์ ยุกกา นูติเนน เฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ การตัดสิน (เป็นเอกฉันท์) 5
31 พ.ค. 1997 ชนะ สวีเดน เฟรดดี ลินด์โฮล์ม สต็อกโฮล์ม ประเทศสวีเดน น็อกคู่ต่อสู้ (เตะร่างกาย) 5
10 พ.ค. 1997 เสมอ ฟินแลนด์ ยุกกา นูติเนน เฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ เสมอ 5
28 มี.ค. 1997 ชนะ เช็กเกีย ยินริช เวเลสกี มอสตา สาธารณรัฐเช็ก น็อกคู่ต่อสู้ (เตะหัว) 4
12 ก.พ. 1997 แพ้ รัสเซีย กริกอรี ดรอซ ชิงแชมป์โลก สหพันธ์มวยไทยสมัครเล่นนานาชาติ อาคารกีฬา นิมิบุตร กรุงเทพมหานคร การตัดสิน (ไม่เป็นเอกฉันท์) 3
10 ก.พ. 1997 ชนะ ฮ่องกง ซูต บีธ ชิงแชมป์โลก สหพันธ์มวยไทยสมัครเล่นนานาชาติ อาคารกีฬา นิมิบุตร กรุงเทพมหานคร การตัดสิน (เป็นเอกฉันท์) 3
7 ธ.ค. 1996 ชนะ เอสโตเนีย จูรี ทามิโกวิช โจเอินซู ประเทศฟินแลนด์ การตัดสิน (ไม่เป็นเอกฉันท์) 5
25 พ.ค. 1996 แพ้ ฟินแลนด์ มานู วาร์โฮ อีโลซารี โจเอินซู ประเทศฟินแลนด์ การตัดสิน (ไม่เป็นเอกฉันท์) 5
24 ก.พ. 1996 ชนะ เอสโตเนีย ลีออนที วอรอนต์สุค ตาร์ตู ประเทศเอสโตเนีย การตัดสิน (เป็นเอกฉันท์) 5
11 พ.ย. 1995 ชนะ เอสโตเนีย เซอร์เกย์ ฮาริโตนอฟ ลาห์ตี ประเทศฟินแลนด์ การตัดสิน (เป็นเอกฉันท์) 5
27 พ.ค. 1995 เสมอ ฟินแลนด์ อันติ กิกโก โจเอินซู ประเทศฟินแลนด์ เสมอ 5
24 ก.พ. 1995 แพ้ ฟินแลนด์ มานู วาร์โฮ ตัมเปเร ประเทศฟินแลนด์ การตัดสิน (เป็นเอกฉันท์) 5
5 มิ.ย. 1994 แพ้ ฟินแลนด์ มาร์โก ลาโกเนน โจเอินซู ประเทศฟินแลนด์ การตัดสิน (เป็นเอกฉันท์) 5
5 เม.ย. 1994 ชนะ ฟินแลนด์ ยุกกา ติโมเนน โจเอินซู ประเทศฟินแลนด์ การตัดสิน (เป็นเอกฉันท์) 5
14 ก.ย. 1993 ชนะ ฟินแลนด์ ไก กีรกอนเปลโต ลาห์ตี ประเทศฟินแลนด์ การตัดสิน (เป็นเอกฉันท์) 3
22 ส.ค. 1993 ชนะ ฟินแลนด์ ยุกกา ติโมเนน ตุรกุ ประเทศฟินแลนด์ การตัดสิน (ไม่เป็นเอกฉันท์) 3
15 มิ.ย. 1993 ชนะ ฟินแลนด์ ตาปิโอ เลิฟมัน โฮเต็ลจูลี โจเอินซู ประเทศฟินแลนด์ การตัดสิน (เป็นเอกฉันท์) 3
15 ก.พ. 1993 ชนะ ฟินแลนด์ ตาปิโอ เลิฟมัน ตุรกุ ประเทศฟินแลนด์ การตัดสิน (เป็นเอกฉันท์) 3
28 พ.ย. 1992 ชนะ ฟินแลนด์ คัลเล ซิลตาลา โจเอินซู ประเทศฟินแลนด์ การตัดสิน (ไม่เป็นเอกฉันท์) 3

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

แหล่งที่มา[แก้]

  • Suomalaiset kamppailulajien tekijät, Tero Laaksonen, ISBN 9789529949434
  • Muay Thai record at MTAF
  • Adventures of Harley-Davidson man at Moottoripyora.org

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]