มนตรี สังขทรัพย์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พลเอก มนตรี สังขทรัพย์
รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2550 – 30 กันยายน พ.ศ. 2552
เสนาธิการทหารบก
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 – 30 กันยายน พ.ศ. 2550
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2492 (75 ปี)
กรุงเทพมหานครประเทศไทย ไทย
ศาสนาศาสนาพุทธ
คู่สมรสน้องนุช สังขทรัพย์

พลเอก มนตรี สังขทรัพย์ อดีตรองผู้บัญชาการทหารสูงสุด เกิดเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2492 จบการศึกษาจากโรงเรียนเตรียมทหารรุ่นที่ 9 โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้ารุ่นที่ 20 (ร่วมรุ่นเดียวกับ พล.อ.จิรเดช คชรัตน์) วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 44 (วปร.44) และวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรจากประเทศอังกฤษ

ประวัติ[แก้]

พลเอกมนตรี สังขทรัพย์ เกิดเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2492 มีชื่อเล่นว่า "แดง" จึงได้รับการเรียกชื่ออย่างไม่เป็นทางการจากสื่อมวลชนว่า "บิ๊กแดง" เป็นนักเรียนโรงเรียนเตรียมทหาร รุ่น 9, โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่น 20, วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่น 44 และวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรจากประเทศอังกฤษ ชีวิตครอบครัวสมรสกับนางน้องนุช สังขทรัพย์ มีบุตรชาย 2 คน คือ นายถิรชัย และนายณพมนัส สังขทรัพย์ โดยมีตำแหน่งเป็นประธานรุ่น จปร.20 ด้วย[1]

การรับราชการทหาร[แก้]

พล.อ.มนตรีเป็นนายทหารเหล่าปืนใหญ่ รับราชการในหน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ (นปอ.) และกรมจเรทหารบกมาตลอด เริ่มตั้งแต่เป็นผู้บังคับหมวด ผู้บังคับกองร้อยในกองพลทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน (ปตอ.พัน 5) เป็น พันโท (พ.ท.) ในตำแหน่งผู้บังคับกองพันทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน (ปตอ. พัน 5) ก่อนที่จะมาติดยศ พันเอก (พ.อ.) ในตำแหน่งรองผู้อำนวยการกองยุทธการ ศูนย์การทหารปืนใหญ่

ก่อนที่จะเป็น พล.ต.ในตำแหน่ง เจ้ากรมจเรทหารบก มนตรีเคยเป็น พันเอก (พิเศษ)(พ.อ.(พิเศษ)) ในตำแหน่งผู้อำนวยการกรมจเรทหารบก และเป็นรองผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการกำลังสำรอง (ผบ.นสร.) และเป็น พลโท (พล.ท.)ในตำแหน่งผู้บัญชาการกำลังสำรอง (ผบ.นสร.)

บทบาทหลังการรัฐประหาร[แก้]

หลังการรัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น พลเอก (พล.อ.) และรับตำแหน่งเสนาธิการทหารบก พร้อมกับดำรงตำแหน่งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ด้วย ซึ่งในกลางปี พ.ศ. 2550 ชื่อของ พล.อ.มนตรีเป็นที่จับตามองเนื่องจากถูกคาดหมายว่าอาจจะได้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการทหารบก ถัดจาก พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ด้วยการมีชื่อคู่กับ พล.อ.สพรั่ง กัลยาณมิตร และ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา[2][3] ซึ่งท้ายที่สุดตำแหน่งนี้ก็ตกเป็นของ พล.อ.อนุพงษ์ ในที่สุด ส่วน พล.อ.มนตรีได้ดำรงตำแหน่ง รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด (รอง ผบ.สส.)[4]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ประวัติจากไทยรัฐ
  2. พล.อ.มนตรี สังขทรัพย์ เข้าโฟกัสม้ามืด ผบ.ทบ. จากสนุกดอตคอม
  3. [ลิงก์เสีย] "พล.อ.มนตรี"ม้าแรงช่วงปลายจ่อผบ.ทบ. จากกรุงเทพธุรกิจ
  4. [ลิงก์เสีย] พระเจ้าอยู่หัวฯโปรดเกล้าฯแล้วอนุพงษ์เป็นผบ.ทบ.สพรั่งเป็นรองปลัดกระทรวงกลาโหม มนตรีเป็นรองผบ.สส. จากโอเคเนชั่น
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๒ เก็บถาวร 2022-08-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๒
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๓ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๘, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๔๙
  7. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน เก็บถาวร 2022-08-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๔ ตอนที่ ๒๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๔, ๒๘ มีนาคม ๒๕๒๐
  8. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน เก็บถาวร 2022-08-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๔ ตอนที่ ๒๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕๕, ๒๘ มีนาคม ๒๕๒๐
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2022-08-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๕๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔, ๑๔ เมษายน ๒๕๒๙
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์เหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2022-08-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๑๖๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗, ๒๐ กันยายน ๒๕๓๔