ศูนย์การทหารปืนใหญ่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ศูนย์การทหารปืนใหญ่ ค่ายภูมิพล
ประเทศไทย
กองบัญชาการค่ายพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ตำบลเขาพระงาม อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี 15160
วันสถาปนา16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2497; 70 ปีก่อน (2497-02-16)
เว็บไซต์https://artycenter.rta.mi.th/
ผู้บังคับบัญชา
ผู้บัญชาการปัจจุบันพลตรี[1] พิศิษฐ ปัญญานะ ​[2]

ศูนย์การทหารปืนใหญ่ มีศูนย์บัญชาการตั้งอยู่ ณ ค่ายพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร สังกัดกองทัพบกไทย ตั้งอยู่ที่ ตำบลเขาพระงาม อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี

ประวัติศูนย์การทหารปืนใหญ่[แก้]

ศูนย์การทหารปืนใหญ่ ซึ่งเป็นหัวหน้าเหล่าและสายวิทยาการปืนใหญ่สนามและการต่อสู้ป้องกันภัย ทางอากาศของ ทบ. ในปัจจุบันนี้นั้น ถือกำเนิดมาจาก จเรทัพบก ซึ่ง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะดำรงพระราชอิสริยยศเป็น พลเอก สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามกุฏราชกุมาร ทรงดำรงตำแหน่งเป็นจเรทัพบกและมีนายพันเอกพระประสิทธิ์ราชศักดิ์ เป็นผู้ช่วยจเรทัพบก เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2446 โดยให้ขึ้นตรงต่อกรมยุทธนาธิการ (ทบ.) สาเหตุที่โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งจเรทัพบกขึ้นก็เพราะเริ่มมีหน่วยทหารประจำหัวเมืองต่าง ๆ หลายหัวเมือง จำเป็นต้องมีผู้ตรวจการทหารบกทำการตรวจตราต่างพระเนตรพระกรรณ

  1. ต่อมาในปี 2448 เปลี่ยนชื่อจากจเรทัพบกเป็นกรมจเรทัพบก คงมีเจ้าหน้าที่เพียง 2 ตำแหน่ง ดังเดิม.
  2. ครั้นปี 2449 ได้เพิ่มเจ้าหน้าที่ให้อีก 2 ตำแหน่ง คือ ผู้ช่วยจเรทหารราบ และผู้ช่วยจเรทหารปืนใหญ่ พระยาภักดีภูธร (ชื่น ภักดีกุล) ในขณะนั้นมียศ นายพันตรี หลวงสุรยุทธโยธาหาญ เป็นผู้ช่วยจเรทหารราบ และนายพันตรี หลวงศัลวิธานนิเทศ เป็นผู้ช่วยจเรทหารปืนใหญ่.
  3. ในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2541 โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งจเรทหารปืนใหญ่, จเรทหารช่างและจเรพัสดุขึ้น 3 ตำแหน่ง

ครั้นถึงวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2451 กรมยุทธนาธิการ ได้ปรับปรุงกิจการจเร ใหม่โดยจัด ตั้งจเรเหล่า และ กำหนด หน้าที่จเรไว้เป็นข้อบังคับจเรทหารบก แบ่งเป็นจเรทัพบก, จเรทหารราบ, จเรทหารม้า, จเรทหารปืนใหญ่, จเรทหารช่าง และจเรพัสดุ สำนักงานจเรต่าง ๆ เป็นส่วนรวมว่าจเรทหารบกแผนกจเรทหารปืนใหญ่ ซึ่งกลายเป็นศูนย์การทหารปืนใหญ่ ในปัจจุบัน โดยสมบูรณ์ เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2451

ในตอนปลายรัชกาล (2453) มีการขยายกำลังกองทัพครั้งใหญ่ คือมีกำลัง 10 กองพล หน่วยส่วนกลาง มีถึง 12 หน่วย สำหรับแผนกจเรทหารปืนใหญ่ของกรมยุทธนาธิการนั้นมี พลตรี กรมหมื่นกำแพงเพชรอรรคโยธิน ผู้บัญชาการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ ทรงรั้งตำแหน่งจเรทหาร ปืนใหญ่และจเรทหารช่างด้วย เมื่อปืนใหญ่มีระยะยิงไกลขึ้นและกระสุนมีอำนาจมากขึ้น จะเป็นทีจะต้องหา สนามยิงปืน ที่เหมาะสม และมีความปลอดภัยเพียงพอ กองทัพบกจึงตกลงใจให้สร้างสนามยิงปืนใหญ่ขึ้นที่ตำบล โคกกระเทียม อำเภอเมือง ลพบุรี ในปี 2457 คือที่ตั้งศูนย์การทหารปืนใหญ่ปัจจุบันนี้ โดยมี พลโท พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช ครั้งดำรงตำแหน่งเป็นผู้ช่วยเสนาบดีกระทรวงกลาโหม จเรการปืนใหญ่ ทหารบกและรักษาการ ผู้บังคับการ โรงเรียน ทหารปืนใหญ่เป็นแม่กองงานท่านแรก วันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2481 แผนกที่ 3 กรมจเรทหารบก (บก.ศป.) ได้ย้ายมารวมกับ กองโรงเรียนทหาร ปืนใหญ่ที่โคกกระเทียม และแปรสภาพ เป็นแผนกปืนใหญ่กรมเสนาธิการทหารบก เมื่อ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2484

  1. พ.ศ. 2488 แผนกปืนใหญ่กรมเสนาธิการทหารบกได้แปรสภาพเป็นกรมจเรทหารปืนใหญ่
  2. วันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2495 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามสนามยิงปืนใหญ่ โคกกระเทียม ซึ่งเป็นที่ตั้งกรมจเรทหารปืนใหญ่ว่า ค่ายพหลโยธิน
  3. 6 สิงหาคม พ.ศ. 2495 กรมจเรทหารปืนใหญ่ แปรสภาพเป็น กรมการทหารปืนใหญ่ขึ้นตรงต่อกรมยุทธศึกษาทหารบก
  4. ปี พ.ศ. 2497 กรมทหารปืนใหญ่ได้แปรสภาพเป็นศูนย์การทหารปืนใหญ่ลง 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2497 จึงอาจกล่าวได้ว่า และในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2497 คือวันเกิดของศูนย์การทหารปืนใหญ่อีกด้วย
  1. 29 ธันวาคม พ.ศ. 2562 ค่ายพหลโยธินได้เปลี่ยนนามค่ายเป็น ค่ายพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร หรือเรียกสั้น ๆ ว่า ค่ายภูมิพล[3]

หน่วยขึ้นตรง[แก้]

  • โรงเรียนทหารปืนใหญ่ ศูนย์การทหารปืนใหญ่
  • กองพันทหารปืนใหญ่ ศูนย์การทหารปืนใหญ่
  • กองบริการ ศูนย์การทหารปืนใหญ่
  • หน่วยตรวจโรค ศูนย์การทหารปืนใหญ่

รายพระนามและชื่อผู้บัญชาการศูนย์การทหารปืนใหญ่[แก้]

  1. พันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (กิ่ม พหลโยธิน) (พ.ศ. 2435 - 2447)
  2. พลตรี พระยาสีหราชเดโชชัย (พ.ศ. 2447 - 2458)
  3. พลโท พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช (พ.ศ. 2458 - 2463)
  4. พลตรี พระอมรวิสัยสรเดช (พ.ศ. 2463 - 2469)
  5. พันเอก หม่อมเจ้านิลประภัศร เกษมศรี (พ.ศ. 2469 - 2473)
  6. พันเอก พระศรายุทธสรสิทธิ์ (พจน์ พหลโยธิน) (พ.ศ. 2473 - 2475)
  7. พันเอก พระยาฤทธิอัคเณย์ (พ.ศ. 2475 - 2475)
  8. พันตรี หลวงสินาดโยธารักษ์ (ชิต มั่นศิลป์) (พ.ศ. 2476 - 2476)
  9. พันตรี หลวงเกรียงศักดิ์พิชิต (พ.ศ. 2476 - 2481)
  10. พันตรี หลวงสวัสดิ์สรยุทธ (พ.ศ. 2480 - 2484)
  11. พันเอก อุทัย วงศ์วีรเดช (พ.ศ. 2486 - 2494)
  12. พันเอก ประสิทธิ์ อะดุงเดชจรูญ (พ.ศ. 2486 - 2487)
  13. พลจัตวา หลวงประเสริฐศัตราวุธ (พ.ศ. 2487 - 2487)
  14. พันเอก หลวงจุลยุทธยรรยง (ดล บุนนาค) (พ.ศ. 2489 - 2491)
  15. พลตรี ชาญ วุฒิรณประมวลธน (พ.ศ. 2494 - 2495)
  16. พลตรี เฉลิม พงษ์สวัสดิ์ (พ.ศ. 2495 - 2500)
  17. พลตรี สาธร กาญจนรักษ์ (พ.ศ. 2500 - 2507)
  18. พลตรี วรวิทย์ เศรษฐบุตร (พ.ศ. 2507 - 2517)
  19. พลตรี สัมผัส พาสนยงภิญโญ (พ.ศ. 2517 - 2522)
  20. พลตรี อัมพร สมบูรณ์ยิ่ง (พ.ศ. 2522 - 2525)
  21. พลตรี อรรคพล สมรูป (พ.ศ. 2525 - 2526)
  22. พลตรี ศิรินทร์ ธูปกล่ำ (พ.ศ. 2526 - 2530)
  23. พลตรี อำพน บุตรเมฆ (พ.ศ. 2530-2533)
  24. พลตรี วิศาล กังวาลไกล (พ.ศ. 2533 - 2535)
  25. พลตรี พิชัย ฉินนะโสต (พ.ศ. 2535 - 2538)
  26. พลตรี ไพบูลย์ กาญจนพิบูลย์ (พ.ศ. 2538 - 2542)
  27. พลตรี ประเสริฐ กาสุวรรณ (พ.ศ. 2542 - 2544)
  28. พลตรี วิบูลย์ ปิยะพิสุทธิ์ (พ.ศ. 2544 - 2546)
  29. พลตรี สายชล ทับพุ่ม (พ.ศ. 2550 - 2552)
  30. พลตรี วีระพันธ์ เกตุรัตน์ - 2553
  31. พลตรี เฉลิมเกียรติ เมฆทรัพย์ (พ.ศ. 2553 - 2555)
  32. พลตรี บุญธรรม โอริส (พ.ศ. 2555 - 2557)
  33. พลตรี สุรศักดิ์ แพน้อย (พ.ศ. 2557 - 2559)
  34. พลตรี ณรงค์ศักดิ์ อัมรานนท์ (พ.ศ. 2559 - 2560)
  35. พลตรี ไกรเวทย์ พูลอำไภย์ (พ.ศ. 2560 - 2561)
  36. พลตรี เฉลิมเกียรติ พิมพ์ทนต์ (พ.ศ. 2561 - 2562)
  37. พลตรี วิสันติ สระศรีดา (พ.ศ. 2562 - 2563)
  38. พลตรี ทวนชัย นัดนะรา (พ.ศ. 2563 - 2564)
  39. พลตรี นพสิทธิ์ คงชินศาสตร์ธิติ (พ.ศ. 2564 - 2566)
  40. พลตรี พิศิษฐ ปัญญานะ[4] (พ.ศ. 2566 - ปัจจุบัน)

ยศทหารเป็นยศขณะดำรงตำแหน่งและในวงเล็บเป็นระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่ง

สถานที่สำคัญภายในค่าย[แก้]

การทดสอบปืนใหญ่ เขาพุโลน

ในปัจจุบันมีการเปิดค่ายทหารให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว ในค่ายทหารต่าง ๆ ของจังหวัดลพบุรี เช่นเดียวกับศูนย์การทหารปืนใหญ่ฯ แห่งนี้ การเที่ยวชมแหล่งท่องเที่ยวในเขตทหาร ที่เดี๋ยวนี้มีค่ายทหารหลายแห่ง เปิดประตูให้คนทั่วไปเข้ามาท่องเที่ยว อย่างที่ "ศูนย์การทหารปืนใหญ่" ค่ายพหลโยธิน อ.เมืองลพบุรี จ.ลพบุรี ซึ่งมีสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ ดังนี้

  1. กองบัญชาการเขาน้ำโจน (ตึกชาโต้) จัดสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2487 ตั้งอยู่บนเขาน้ำโจน เป็นศิลปกรรมแบบฝรั่งเศส สร้างด้วยหินทั้งหลัง ออกแบบให้มีลักษณะของป้อมปราการที่แข็งแกร่งดุจหินผา มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ในห้วงสงครามมหาเอเชียบูรพา โดย ฯพณฯ จอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้ใช้ตึกนี้เป็นตึกบัญชาการวางแผนยุทธศาสตร์
  2. พิพิธภัณฑ์พลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ ได้จัดที่บ้านพักของท่าน ซึ่งเคยเป็นผู้อำนวยการแผนกโรงเรียนทหารปืนใหญ่โคกกระเทียมลพบุรี จัดเป็นห้องต่างๆ ได้แก่ ห้องรับแขก ห้องส่วนตัว มีตู้ของใช้เสื้อผ้า และห้องเก็บของ
  3. ตึกพิพิธภัณฑ์อนุสรณ์ 111 ปี ฯพณฯ พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) ภายในพิพิธภัณฑ์ ส่วนใหญ่จะเป็นภาพของที่ระลึก เหรียญตราและชุดเครื่องแบบ
  4. พิพิธภัณฑ์อาวุธทหารปืนใหญ่ เป็นที่เก็บรวบรวมปืน และอาวุธยุทโธปกรณ์ของทหารปืนใหญ่ อาทิเช่น ปืนใหญ่โบราณ ปืนใหญ่มหาชัย ปืนใหญ่มหาฤกษ์ ปืนใหญ่โบราณเนื้อทองเหลือง ปืนใหญ่ภูเขาเบอร์ 51 เป็นต้น
  5. อนุสรณ์สถาน จอมพล ป.พิบูลสงคราม ปรับปรุงจากบ้านพักนายทหารสัญญาบัตร หมายเลข 59 สร้างในปี พ.ศ. 2481 ซึ่งเป็นบ้านพักของ ฯพณฯ จอมพล ป.พิบูลสงคราม ในขณะที่ ฯพณฯ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยแรก
  6. อนุสาวรีย์ จอมพล ป.พิบูลสงคราม จัดสร้างขึ้นเมื่อพ.ศ. 2522 เพื่อเป็นอนุสรณ์ระลึกถึงคุณงามความดีของ ฯพณฯ ที่มีต่อประเทศชาตินานัปการ
  7. อนุสาวรีย์ พลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา ที่จัดสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2503 เพื่อเป็นอนุสรณ์ระลึกถึงคุณงามความดีของ ฯพณฯ ผู้ซึ่งได้รับการยกย่องให้เป็น "เชษฐบุรุษ"ของไทย
  8. หลวงพ่อเขาน้ำโจน เป็นพระพุทธรูป หินทรายปางนาคปรก สมัยลพบุรี เป็นที่เคารพสักการบูชาของชาวค่ายพหลโยธินและบริเวณใกล้เคียง เป็นพระพุทธรูปที่มีความเก่าแก่และงดงามอย่างยิ่ง

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]