ภาสกร บุญญลักษม์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาสกร บุญญลักษม์
ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี
เริ่มดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม 2566
ก่อนหน้าณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด11 ตุลาคม พ.ศ. 2510 (56 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
การศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

นายภาสกร บุญญลักษม์ (เกิด 11 ตุลาคม 2510) เป็นข้าราชการชาวไทย ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี[1], อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่, อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย, อดีตผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย, อดีตรองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย, อดีตปลัดจังหวัดกำแพงเพชร, อดีตนายอำเภอเมืองพิษณุโลก, นายอำเภอเมืองนนทบุรี, นายอำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก และอดีตนายอำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี

ประวัติ[แก้]

นายภาสกร บุญญลักษม์ เป็นชาวกรุงเทพมหานคร เกิดเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2510 จบการศึกษาจากระดับปริญญาตรีจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[2]

รับราชการ[แก้]

นายภาสกรเริ่มต้นรับราชการในตำแหน่งนายอำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี จากนั้นมาเป็นนายอำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก ตามด้วยรักษาราชการแทนนายอำเภอเมืองนนทบุรี ก่อนจะได้รับแต่งตั้งเป็นนายอำเภอเมืองนนทบุรี ในปี 2554 ตามด้วยตำแหน่งนายอำเภอเมืองพิษณุโลกและได้รับรางวัล ครุฑทองคำ จากพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นเมื่อปี 2558 จากผลงานการจับกุมพ่อค้ายาเสพติดได้อย่างต่อเนื่องจนขยายผลเข้าไปถึงในเรือนจำ[3] ต่อมาในปีเดียวกัน ก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นปลัดจังหวัดกำแพงเพชร[4]

จากนั้นในปี 2560 ได้รับแต่งตั้งเป็นรองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย[5] ในยุคที่นายณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร เป็นผู้ว่าราชการจังหวัด และได้ร่วมในปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัยถ้ำหลวง[6] กระทั่งวันที่ 1 ตุลาคม 2563 จึงได้รับโปรดเกล้าฯ ให้พ้นจากตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงรายและให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย[7][8] ต่อมาในวันที่ 1 ตุลาคม 2564 ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย แทนนายประจญ ปรัชญ์สกุล ที่ขยับไปดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่[9][10]

แต่ดำรงตำแหน่งได้เพียงปีเดียว ก็ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ สลับกับนายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์[11] และจากการโยกย้ายในครั้งนี้ส่งผลให้อาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ จิตรกรชื่อดังและศิลปินแห่งชาติถึงกับหลั่งน้ำตาโดยให้เหตุผลว่านายภาสกรเป็นคนมุ่งมั่นในการทำงาน[12] ในวันที่ 18 กันยายน 2566 ในการประชุมคณะรัฐมนตรีที่ประชุมมีมติให้นายภาสกร มาดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานีสืบต่อจากนายณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร หรือผู้ว่าหมูป่าที่เสียชีวิตไป[13]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 140 ตอนพิเศษ 245 ง หน้า 3 วันที่ 2 ตุลาคม 2566
  2. ภาสกร บุญญลักษม์ ผู้ว่าฯเชียงราย สลับคุมกระบี่
  3. เปิดใจ 1 ใน 4 ขรก.ดีเด่นเมืองสองแคว จับยาไม่กี่เม็ดขยายผลทลายแก๊งถึงเรือนจำ
  4. ปลัดจังหวัดใหม่
  5. รอง ผวจ.ใหม่
  6. ไม่ต้องกังวล!ทีมหมูป่ากินอาหารมื้อแรกในรอบ 9 วันแล้ว ทีมแพทย์ซีลประกบในถ้ำ
  7. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ
  8. จับตา"มหาดไทย"ย้ายใหญ่!
  9. กรุแตก! 11 ผู้ตรวจราชการ กระจายนั่ง 'ผู้ว่าฯ' คุมจังหวัดใหญ่ เชียงราย-ร้อยเอ็ด-สกลนคร
  10. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ
  11. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ
  12. เปิดประวัติ ภาสกร บุญญลักษม์ ผู้ว่าฯเชียงราย คนที่ อ.เฉลิมชัย ไม่อยากให้ย้าย
  13. มท. โยกย้าย ขรก.ระดับสูง 24 ตำแหน่ง “อรรษิษฐ์” ผงาดนั่งอธิบดีกรมการปกครอง
  14. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๔, เล่ม ๑๓๙ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๑๑๕, ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕
  15. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๗, เล่ม ๑๓๑ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๔๗, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๗
  16. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๒๙, ๒๙ ธันวาคม ๒๕๓๘
  17. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๑๙๓, ๒๐ ธันวาคม ๒๕๓๘
  18. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์, เล่ม ๑๒๓ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๑๙, ๒๕ ธันวาคม ๒๕๔๙
  19. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๓ ข หน้า ๓, ๑ พฤษภาคม ๒๕๖๔
  20. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ และเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๖๒, เล่ม ๑๔๐ ตอนที่ ๓๐ ข หน้า ๕, ๗ กรกฎาคม ๒๕๖๖