ภาษาเพิร์ล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษาเพิร์ล
กระบวนทัศน์กระบวนทัศน์การเขียนโปรแกรม: เชิงฟังก์ชัน, เชิงคำสั่ง, เชิงวัตถุ (class-based), reflective
ผู้ออกแบบแลร์รี วอลล์
ผู้พัฒนาแลร์รี วอลล์
เริ่มเมื่อ18 ธันวาคม 1987; 36 ปีก่อน (1987-12-18)
รุ่นเสถียร
  • 5.30.1[1] / 10 พฤศจิกายน 2019; 4 ปีก่อน (2019-11-10)
  • 5.28.2[2] / 19 เมษายน 2019; 4 ปีก่อน (2019-04-19)
รุ่นทดลอง
5.31.6[3] / 20 พฤศจิกายน 2019; 4 ปีก่อน (2019-11-20)
ระบบชนิดตัวแปรDynamic
ภาษาโปรแกรมC
ระบบปฏิบัติการCross-platform
สัญญาอนุญาตArtistic License 1.0[4][5] or GNU General Public License[6]
นามสกุลของไฟล์.pl, .pm, .xs, .t, .pod
เว็บไซต์www.perl.org
ได้รับอิทธิพลจาก
AWK, BASIC, C, C++, Lisp, sed, Unix shell[7]
ส่งอิทธิพลต่อ
CoffeeScript,[ต้องการอ้างอิง] Groovy,[ต้องการอ้างอิง] JavaScript, Julia, LPC, PHP, Python, Raku, Ruby, Windows PowerShell

ภาษาเพิร์ล (อังกฤษ: Perl) (ย่อมาจาก Practical Extraction and Report Language) เป็นภาษาโปรแกรมแบบไดนามิก พัฒนาโดยนายแลร์รี วอลล์ (Larry Wall) ในปี ค.ศ. 1987 เพื่อใช้งานกับระบบปฏิบัติการยูนิกซ์

ภาษาเพิร์ล นั้นถูกออกแบบมาให้ใช้งานได้ง่าย โครงสร้างของภาษาจึงไม่ซับซ้อน มีลักษณะคล้ายกับภาษาซี นอกจากนี้เพิร์ลยังได้แนวคิดบางอย่างมาจากเชลล์สคริปต์, ภาษา AWK, sed และ Lisp

ปัจจุบันเวอร์ชันล่าสุดคือ 5.18.0

โครงสร้างของภาษา[แก้]

ตัวอย่างการเขียนโปรแกรม Hello World ด้วยภาษาเพิร์ล

#!/usr/bin/perl
print "Hello, world!\n";    # '\n' is a 'newline'

บรรทัดแรกเป็นการประกาศให้ระบบปฏิบัติการค้นหาตัวแปลภาษาเพิร์ลตามตำแหน่งที่ระบุ ส่วนบรรทัดที่สองเป็นการพิมพ์ข้อความ (หรือสตริง) ว่า "Hello, world!" และสัญลักษณ์ในการขึ้นบรรทัดใหม่ออกมา ตามด้วยความเห็นหรือคอมเมนต์ว่า '\n' is a 'newline' ในบรรทัดเดียวกัน สำหรับรุ่น 5.10 สามารถเขียนได้อีกแบบว่า

#!/usr/bin/perl
say "Hello, world!";

ตัวแปร[แก้]

ภาษาเพิร์ลมีตัวแปรอยู่ 4 ชนิด ได้แก่

  • สเกลาร์ สามารถเก็บข้อมูลได้ 1 อย่าง อาจจะเป็น ตัวเลข, สตริง หรือ รีเฟอเรนซ์ ก็ได้
  • อาเรย์ เป็นเสมือนกลุ่มของสเกลาร์ที่ถูกเรียงไว้
  • แฮช หรืออีกชื่อหนึ่งคือแถวลำดับแบบจับคู่ เป็นเสมือนตู้ล็อกเกอร์สำหรับเก็บสเกลาร์ กุญแจที่จะใช้ไขตู้ล็อกเกอร์จะเรียกว่า keys
  • ไฟล์แฮนเดิล เป็นตัวแปรที่ใช้สำหรับ I/O โดยเฉพาะ อาจจะใช้สำหรับรับการสั่งงานจากผู้ใช้ผ่านทาง Standard Input หรือใช้สำหรับแสดงผลออกทาง Standard Output

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Perl 5.30.1 is now available!". www.nntp.perl.org. สืบค้นเมื่อ 2019-11-10.
  2. "Perl 5.28.2 is now available!". www.nntp.perl.org. สืบค้นเมื่อ 2019-04-19.
  3. "Perl 5.31.6 is released". perl.org. สืบค้นเมื่อ 2019-11-21.
  4. "The "Artistic License" - dev.perl.org". dev.perl.org.
  5. Artistic - file on the Perl 5 git repository
  6. "Perl Licensing". dev.perl.org. สืบค้นเมื่อ 2011-01-08.
  7. Larry Wall. "Programming is Hard, Let's Go Scripting..." All language designers have their occasional idiosyncracies. I’m just better at it than most.