ภาษาดาร์ต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Dart
กระบวนทัศน์Multi-paradigm: functional, imperative, object-oriented, reflective[1]
ผู้ออกแบบLars Bak, Kasper Lund
ผู้พัฒนาGoogle
เริ่มเมื่อ10 ตุลาคม 2011; 12 ปีก่อน (2011-10-10)[2]
รุ่นเสถียร
3.3.3[3] แก้ไขบนวิกิสนเทศ / 27 มีนาคม 2024; 31 วันก่อน (27 มีนาคม 2024)
ระบบชนิดตัวแปร1.x: Optional
2.x: Inferred[4] (static, strong)
แพลตฟอร์มCross-platform
ระบบปฏิบัติการCross-platform
สัญญาอนุญาตBSD
นามสกุลของไฟล์.dart
เว็บไซต์dart.dev
ตัวแปลภาษาหลัก
Dart VM, dart2native, dart2js, DDC, Flutter
ได้รับอิทธิพลจาก
C, C++, C#, Erlang, Java, JavaScript, Ruby, Smalltalk, Strongtalk,[5] TypeScript[6]

ดาร์ต (Dart) เป็นภาษาโปรแกรมที่ออกแบบโดย Lars Bak และ Kasper Lund และพัฒนาโดยกูเกิล[8] สามารถใช้ในการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์บนเว็บ และ แอปมือถือ ตลอดจนแอปพลิเคชันเซิร์ฟเวอร์ และ แอปพลิเคชันเดสก์ท็อป

ดาร์ตเป็นภาษาเชิงวัตถุอิงคลาส และมีการเก็บขยะ ที่มีวากยสัมพันธ์แบบภาษาซี[9] ดาร์ตสามารถทำการคอมไพล์ออกมาเป็นรหัสเครื่อง, จาวาสคริปต์ หรือ WebAssembly

ความเป็นมา[แก้]

ดาร์ตได้รับการเปิดตัวในการประชุม GOTO ใน ออร์ฮูส ประเทศเดนมาร์ก ระหว่างวันที่ 10-12 ตุลาคม พ.ศ. 2554[10] Lars Bak และ Kasper Lund เป็นผู้ก่อตั้งโครงการดาร์ต[11] ดาร์ต 1.0 เปิดตัวเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2556[12]

ดาร์ต 2.0 ได้รับการเปิดตัวในเดือนสิงหาคม 2561 โดยมีการเปลี่ยนแปลงภาษารวมถึงระบบชนิดข้อมูล[13]

การป้องกันตัวชี้ที่เป็นโมฆะ[แก้]

ตั้งแต่เวอร์ชัน 2.12 เป็นต้นไป ภาษาดาร์ตมีการป้องกันตัวชี้ที่เป็นโมฆะ (อังกฤษ: null safety)[14] สิ่งนี้เป็นการรับประกันว่าตัวชี้ที่เป็นโมฆะจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตอย่างจัดแจ้ง

ฟลัตเตอร์[แก้]

Google เปิดตัว Flutter สำหรับการพัฒนาแอพ ฟลัตเตอร์ถูกสร้างขึ้นโดยใช้ Dart, C, C++ และ Skia ฟลัตเตอร์เป็นเฟรมเวิร์ก UI ที่โอเพ่นซอร์สและหลายแพลตฟอร์ม ก่อน Flutter 2.0 นักพัฒนาสามารถกำหนดเป้าหมายได้เฉพาะ Android, iOS และเว็บเท่านั้น การเปิดตัว Flutter 2.0 เพิ่มการรองรับ macOS, Linux และ Windows ในรูปแบบเบต้า[15] Flutter 2.10 เปิดตัวพร้อมการสนับสนุนการผลิต (production support) สำหรับ Windows[16] และ Flutter 3 เปิดตัวการสนับสนุนการผลิตสำหรับแพลตฟอร์มเดสก์ท็อปทั้งหมด[17]

ตัวอย่าง[แก้]

ตัวอย่างโปรแกรมเฮลโลเวิลด์

void main() {
  print('Hello, World!');
}

อ้างอิง[แก้]

  1. Kopec, David (30 June 2014). Dart for Absolute Beginners. Apress. p. 56. ISBN 9781430264828. สืบค้นเมื่อ 24 November 2015.
  2. Bak, Lars (10 October 2011). "Dart: a language for structured web programming". Google Code Blog. สืบค้นเมื่อ 31 January 2016.
  3. "Release 3.3.3".
  4. "The Dart type system". dart.dev.
  5. "Web Languages and VMs: Fast Code is Always in Fashion. (V8, Dart) - Google I/O 2013". YouTube. สืบค้นเมื่อ 22 December 2013.
  6. "The Dart Team Welcomes TypeScript". 10 September 2019. สืบค้นเมื่อ 22 February 2020.
  7. "Dart SDK Tags". GitHub.
  8. "A Bit About Dart - Learn Dart: First Step to Flutter". Educative: Interactive Courses for Software Developers (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-06-20.
  9. "A Tour of the Dart Language". dart.dev. สืบค้นเมื่อ 2018-08-09.
  10. "Dart, a new programming language for structured web programming", GOTO conference (presentation) (opening keynote), Århus conference, 2011-10-10
  11. Ladd, Seth. "What is Dart". What is Dart?. O'Reilly. สืบค้นเมื่อ August 16, 2014.
  12. "Dart 1.0: A stable SDK for structured web apps". news.dartlang.org. สืบค้นเมื่อ 2018-08-08.
  13. Moore, Kevin (2018-08-07). "Announcing Dart 2 Stable and the Dart Web Platform". Dart. สืบค้นเมื่อ 2018-08-08.
  14. Hracek, Filip (2020-06-10). "Announcing sound null safety". Dart (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-05-12.
  15. Sells, Chris (2021-03-03). "What's New in Flutter 2.0". Flutter (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-05-12.
  16. Sneath, Tim (February 3, 2022). "Announcing Flutter for Windows".
  17. Chisholm, Kevin (2022-05-12). "What's new in Flutter 3". Flutter (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-05-12.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]