ภาษาปาสกาล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ภาษาปาสกาล เป็นภาษาโปรแกรมที่ใช้กันอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะในวงการศึกษา คิดค้นขึ้นโดยนีเคลาส์ เวียร์ท (Niklaus Wirth) นักวิทยาการคอมพิวเตอร์ชาวสวิสใน ค.ศ. 1970 เพื่อช่วยในการเรียนการสอนการเขียนโปรแกรมโครงสร้าง (structured programming) ภาษาปาสกาลนั้นพัฒนาขึ้นมาจากภาษาอัลกอล (Algol) และชื่อปาสกาลนั้นตั้งเพื่อเป็นเกียรติแก่แบลซ ปัสกาล นอกเหนือจากภาษาปาสกาลแล้ว เวียร์ทได้พัฒนาภาษาโมดูลาทู (Modula-2) และโอเบอรอน (Oberon) ซึ่งมีโครงสร้างคล้ายกับภาษาปาสกาล แต่สามารถรองรับการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ (object-oriented programming)

โครงสร้างอย่างง่าย[แก้]

โปรแกรมภาษาปาสกาลทุกอัน จะเริ่มต้นด้วยคีย์เวิร์ด Program และส่วนของโค้ดจะอยู่ระหว่างคีย์เวิร์ด Begin และ End ภาษาปาสกาลนั้นไม่สนใจความแตกต่างระหว่างตัวพิมพ์ใหญ่และตัวพิมพ์เล็ก ("end" มีผลเท่ากับ "End"). เซมิโคลอน (;) ใช้เพื่อแบ่งคำสั่ง และ มหัพภาค(.) ใช้เมื่อจบโปรแกรม (หรือยูนิต)

ภาษาปาสกาลเป็นภาษาที่มีโครงสร้างที่ตายตัว เช่นการประกาศตัวแปร จะอยู่ระหว่าง Program กับ Begin โดยไม่สามารถไปประกาศที่อื่นได้เหมือนกับภาษา VB, C หรือภาษาอื่น ๆ ทำให้ผู้เรียนได้ทราบถึงขั้นตอนการเขียนโปรแกรมที่ถูกต้อง เพื่อง่ายต่อการตรวจสอบในภายหลัง

program HelloWorld(output);
// ประกาศตัวแปรที่นี่
begin
    WriteLn('Hello, World!')
end.

ข้อมูลอื่น[แก้]