ฟุตบอลในประเทศตุรกี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฟุตบอลในประเทศตุรกี
ประเทศตุรกี
องค์กรบริหารดูแลสหพันธ์ฟุตบอลตุรกี
ทีมชาติฟุตบอลทีมชาติตุรกี
การแข่งขันระดับชาติ
การแข่งขันของสโมสร
ซือเปร์ลีก
ทีเอฟเอฟ เฟิสต์ลีก
ทีเอฟเอฟ เซคันด์ลีก
ทีเอฟเอฟ เทิร์ดลีก
การแข่งขันระดับนานาชาติ
สนามกีฬาทืร์คเทเลคอม เป็นสนามเหย้าของกาลาทาซาไร

ฟุตบอล เป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในประเทศตุรกี โดยเริ่มเป็นที่รู้จักกันมาตั้งแต่สมัยจักรวรรดิออตโตมัน[1] การแข่งขันฟุตบอลนัดแรกของประเทศจัดขึ้นที่ซาโลนิกาใน ค.ศ. 1875 จากการแนะนำของผู้อาศัยชาวอังกฤษ[2] ในปัจจุบัน ระบบลีกฟุตบอลตุรกีมีลีกอาชีพ 5 ระดับ โดยหนึ่งในนั้นเป็นลีกฟุตบอลหญิง

ระบบลีก[แก้]

ซือเปร์ลีก[แก้]

ซือเปร์ลีก เป็นลีกฟุตบอลระดับสูงสุดของประเทศ จัดการแข่งขันกันมาตั้งแต่ ค.ศ. 1959 มีสโมสรเข้าร่วมแข่งขัน 18 สโมสร ทีมชนะเลิศจะได้สิทธิ์เข้าร่วมแข่งขันในรอบแบ่งกลุ่มของยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก สโมสรที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดของประเทศ ได้แก่ กาลาทาซาไร, เฟแนร์บาห์แช, เบชิกทัช และแทรปซอนสปอร์ กาลาทาซาไรเป็นสโมสรที่ชนะเลิศซือเปร์ลีกมากที่สุด แต่ถ้าหากนับช่วงลีกก่อนที่จะเป็นซือเปร์ลีกเข้าไปด้วยแล้ว เฟแนร์บาห์แชจะเป็นสโมสรที่คว้าแชมป์มากที่สุด[3] อย่างไรก็ตาม สหพันธ์ฟุตบอลตุรกีไม่รองรับแชมป์รายการเตอร์กิชฟุตบอลแชมเปียนชิและเนชันนัลดิวิชัน แม้ว่ารายการเหล่านั้นจะเคยดำเนินการโดยสหพันธ์ฟุตบอลตุรกีก็ตาม

ทีมที่จบสี่อันดับแรกของลีกจะได้สิทธิ์เข้าร่วมแข่งขันระดับทวีปยุโรป โดยทีมอันดับที่หนึ่งและสอง จะได้สิทธิ์สำหรับยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ทีมอันดับที่สามและสี่ จะได้สิทธิ์สำหรับยูฟ่ายูโรปาลีก สามทีมอันดับสุดท้ายที่มีคะแนนน้อยที่สุดจะต้องตกชั้นสู่ทีเอฟเอฟ เฟิสต์ลีก

ฟุตบอลถ้วย[แก้]

การแข่งขันฟุตบอลถ้วยสองรายการหลักของประเทศ ได้แก่ เตอร์กิชคัพ ซึ่งเปิดโอกาสให้สโมสรจากลีกทุกระดับเข้าร่วมแข่งขัน และเตอร์กิชซูเปอร์คัพ ซึ่งเป็นการพบกันระหว่างทีมชนะเลิศซือเปร์ลีกกับทีมชนะเลิศเตอร์กิชคัพ

รายการแข่งขันอื่น ๆ ที่ถูกยกเลิก ได้แก่ ไพรม์มินิสเตอร์คัพ, อะตาตืร์กคัพ, อิสตันบูลฟุตบอลคัพ, ฟลีตคัพ, ทีเอสวายดีคัพ และสปอร์โตโตคัพ

ฟุตบอลทีมชาติตุรกี[แก้]

ฟุตบอลทีมชาติตุรกีแข่งขันนัดแรกเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม ค.ศ. 1923 ในนัดที่เสมอกับโรมาเนีย 2–2 ตุรกีเคยผ่านเข้าสู่รอบสุดท้ายของฟุตบอลโลกสองครั้งในปี 1954 และ 2002 ความสำเร็จมากที่สุดของทีมชาติเกิดขึ้นในฟุตบอลโลก 2002 ซึ่งพวกเขาจบอันดับที่สาม และฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ 2003 ซึ่งพวกเขาจบอันดับที่สามเช่นกัน นอกจากนี้ ยังเคยเข้ารอบรองชนะเลิศในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2008 และเข้ารอบก่อนรองชนะเลิศในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2000[4][5][6][7][8]

อ้างอิง[แก้]

  1. Aslan Amani (2013-07-19). "Football in Turkey: A force for liberalisation and modernity?". openDemocracy. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-13. สืบค้นเมื่อ 2014-06-24.
  2. "Before the national Turkish leagues". Erdinç Sivritepe. สืบค้นเมื่อ 15 September 2018.
  3. "Turkey – List of Champions". rsssf.com. Rec.Sport.Soccer Statistics Foundation. สืบค้นเมื่อ 15 September 2018.
  4. James Davis (2002-04-28). "Turkey's world challenge born in Germany". The Observer. สืบค้นเมื่อ 2014-06-24.
  5. Ian Hawkey (2010-10-11). "Ozil's choice is Germany's gain and Turkey's loss". The National. สืบค้นเมื่อ 2014-06-24.
  6. Flohr, Markus; Popp, Maximilian (2010-09-17). "Reverse Immigration: Turkey Recruits Players 'Made in Germany'". Spiegel Online. สืบค้นเมื่อ 2014-06-24.
  7. McCarra, Kevin (7 October 2003). "German foundation beneath Turkey's rise to greatness". the Guardian.
  8. "Dawn of a new Turkish era - Soccer - www.theage.com.au". www.theage.com.au.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]