ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย"

พิกัด: 13°44′34″N 100°29′55″E / 13.742824°N 100.498579°E / 13.742824; 100.498579
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 26: บรรทัด 26:
| footnote =
| footnote =
}}
}}
'''โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย''' (อักษรย่อ : ส.ก., S.K.) เป็นโรงเรียนชายล้วนในระดับชั้น [[มัธยมศึกษา]] สังกัด [[สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน]] [[กระทรวงศึกษาธิการ]] และเป็นโรงเรียนรัฐบาลแห่งแรกของประเทศไทย ก่อตั้งโดย [[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] เมื่อวันที่ [[8 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2425]] ปัจจุบันมีอายุ 135 ปี ตั้งอยู่เลขที่ 88 [[ถนนตรีเพชร]] [[วังบูรพาภิรมย์|แขวงวังบูรพาภิรมย์]] [[เขตพระนคร]] [[กรุงเทพมหานคร]] บนเนื้อที่ 11 ไร่ 2 งาน 23 ตารางวา ประกอบด้วยอาคารเรียน 7 หลัง ห้องเรียนทั้งหมด 78 ห้อง


โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เป็น 1 ในกลุ่มโรงเรียน[[จตุรมิตรสามัคคี]] ซึ่งประกอบด้วย [[โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย]], [[โรงเรียนเทพศิรินทร์]], [[โรงเรียนอัสสัมชัญ]] และ [[โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย]] มีการแข่งขันฟุตบอลระหว่างทีมของทั้ง 4 โรงเรียน โดยแต่ละโรงเรียนจะผลัดกันเป็นเจ้าภาพในทุกๆ 2 ปี
นอกจากการแข่งขันฟุตบอล ยังมี [[การแปรอักษร]] ของทั้ง 4 โรงเรียน ซึ่งเป็นอีกสัญลักษณ์สำคัญของงาน โดยกีฬาจตุรมิตรสามัคคีจะจัดขึ้นในทุกๆ 2 ปี ที่ [[สนามศุภชลาศัย]]

นอกจากนี้ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ยังมีกรีฑาสวนกุหลาบสัมพันธ์ และงานชุมนุมลูกเสือ - เนตรนารี สวนกุหลาบสัมพันธ์ ซึ่งจัดขึ้นร่วมกับโรงเรียนใน [[กลุ่มโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย|เครือสวนกุหลาบวิทยาลัย]] เป็นประจำทุกปี โดยแต่ละโรงเรียนจะผลัดกันเป็นเจ้าภาพ

== สัญลักษณ์ประจำโรงเรียน ==
* '''คติพจน์ :''' "สุวิชาโน ภวํ โหติ" อ่านว่า "สุ-วิ-ชา โน พะ-วัง โห-ติ" แปลว่า "ผู้รู้ดี เป็นผู้เจริญ"
* '''คติประจำใจ :''' "เป็นผู้นำ รักเพื่อน นับถือพี่ เคารพครู กตัญญูพ่อแม่ ดูแลน้อง" คือสุภาพบุรุษสวนกุหลาบวิทยาลัย<ref>http://www.sk.ac.th/index.php?option=com_content&task=view&id=552&Itemid=265</ref>
* '''สีประจำโรงเรียน :''' "ชมพู - ฟ้า"
** สีชมพู เป็นสีประจำวันพระราชสมภพใน [[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]
** สีฟ้า เป็นสีประจำวันพระราชสมภพใน [[สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง]]
* '''ตราประจำโรงเรียน :''' ตราประจำโรงเรียนเป็นรูปหนังสือมีไม้บรรทัดดินสอปากกาคั่นอยู่ หน้าปกหนังสือมี[[พระเกี้ยว|พระเกี้ยวยอด]]หรือจุลมงกุฏ และอักษรย่อ จ.ป.ร. ด้านขวามีช่อดอกกุหลาบ มุมซ้ายล่างมีริบบิ้นผูกช่อดอกกุหลาบ ซึ่งมีตัวหนังสือกำกับว่า "โรงเรียนหลวงสวนกุหลาบ" ด้านบนปรากฏมีปรัชญาและคติพจน์ "สุวิชาโน ภวํ โหติ" ด้านล่างมีคำแปลว่า "ผู้รู้ดี เป็นผู้เจริญ"
* '''ดอกไม้ประจำโรงเรียน :''' ดอกกุหลาบพันธุ์จุฬาลงกรณ์

== ประวัติโรงเรียน ==
เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2325 เมื่อแรกสร้าง[[พระบรมมหาราชวัง]]ในสมัย[[รัชกาลที่ 1]] บริเวณวังข้าง ด้านใต้หมดเพียงป้อมอนันตคิรี กำแพงพระราชวังหักตรงไปทางตะวันตกจนถึงป้อมสัตบรรพตในระหว่าง กำแพงพระบรมมหาราชวังกับวัดพระเชตุพนมีบ้านเสนาบดีและวังเจ้า คั่นอยู่หลายบริเวณ

ครั้นเมื่อถึง[[รัชกาลที่ 2]] จึงมีการขยายเขตพระราชวังออกไป ในพระราชวังด้านใต้มีที่ว่าง โปรดฯให้ทำสวนปลูกต้นกุหลาบ สำหรับเก็บดอกใช้ในราชการจึงเกิดมีสวนกุหลาบขึ้นในพระราชวัง ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 2 เป็นต้นมา และในสมัย[[รัชกาลที่ 3]] โปรดฯให้แบ่งสวนกุหลาบส่วนหนึ่งสร้างพระคลังศุภรัตน ทำเป็นตึกรูปเก๋งจีน แต่พื้นที่นอกจากสร้างคลังศุภรัตน ยังคงเป็นสวนกุหลาบต่อมาอย่างเดิม

[[ไฟล์:คลังศุภรัตน พระบรมมหาราชวัง.jpg|thumb|250px|พระตำหนักสวนกุหลาบในพระบรมมหาราชวัง]]
[[ไฟล์:สวนกุหลาบวัดมหาธาตุ.jpg|thumb|250px|พระตำหนักสวนกุหลาบก่อนการบูรณะ]]
[[ไฟล์:New Suparat.jpg|thumb|250px|พระตำหนักสวนกุหลาบ ในปัจจุบัน]]

ต่อมาใน[[รัชกาลที่ 4|รัชกาลที่ 5]] เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเจริญพระชันษาถึงเวลาจะเสด็จมาประทับอยู่พระราชวังชั้นนอก แต่พระบรมพระชนกนาถมีพระประสงค์ที่จะให้เสด็จประทับอยู่ในที่ใกล้พระองค์ จึงโปรดฯให้จัดตำหนักพระราชทานเป็นที่ประทับของ[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]ที่ในสวนกุหลาบ บริเวณอาคารพระคลังศุภรัตน ซึ่งสร้างไว้ในสมัยรัชกาลที่ 3 และได้เรียกพระตำหนักนี้ว่า พระตำหนักสวนกุหลาบ และหลังจากที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติแล้ว ก็โปรดฯให้[[กรมหลวงอดิศรอุดมเดช]] เสด็จไปประทับอยู่ที่พระตำหนักสวนกุหลาบแทน จนออกจากวัง และจากนั้นมาก็ใช้เป็นคลังเก็บของเรื่อยไป<ref>http://www.sakulthai.com/DSakulcolumndetail.asp?stcolumnid=162&stissueid=2387&stcolcatid=2&stauthorid=13</ref>

=== ยุคที่ 1 พระพุทธเจ้าหลวงทรงให้กำเนิด (ชื่อยุคพระราชทานกำเนิด) ===
เมื่อ[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติแล้ว โปรดฯ ให้เลือกสรรลูกผู้ดีมาฝึกหัด จัดเป็น[[กรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์|กรมทหารมหาดเล็กสำหรับรักษาพระองค์]] และให้เป็นที่ศึกษาหาความรู้ในราชสำนักสำหรับราชการด้วย และพระองค์เองก็ทรงดำรงตำแหน่งผู้บังคับการกรมทหารมหาดเล็ก ครั้นเมื่อกรมทหารมหาดเล็กเจริญขึ้นทรงพระราชดำริว่า เชื้อสายราชสกุลชั้นหม่อมเจ้า หม่อมราชวงศ์มีอยู่มากแต่มักไม่ได้รับการอบรม บางคนประพฤติเสเพลเป็นนักเลงหัวไม้ เมื่อเกิดถ้อยความก็ขึ้นชื่อว่า เชื้อเจ้านายไปรังแกผู้อื่น จึงโปรดให้หม่อมเจ้า หม่อมราชวงศ์ ซึ่งมีอายุสมควรจะฝึกหัด เข้าเป็นทหารมหาดเล็ก

ต่อมา[[กรมพระยาดำรงราชานุภาพ]]ได้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้บังคับการกรมทหารมหาดเล็ก ได้ทรงดำริที่จะจัดตั้งโรงเรียนขึ้นแห่งหนึ่ง เพื่อฝึกหัดหม่อมเจ้า และหม่อมราชวงศ์โดยเฉพาะ ให้เป็นทหารมหาดเล็ก ทั้งนี้เนื่องจากฐานะทหารมหาดเล็กได้เสื่อมไปไม่เหมือนแต่ก่อน ประกอบกับสมัยนั้นราชการกระทรวงต่างๆ เปลี่ยนแปลงแบบแผนเป็นอย่างใหม่ เป็นที่นิยมของคนหนุ่มๆขึ้นมาก ไม่เหมือนสมัยก่อนซึ่งมีเพียงทหารมหาดเล็กอย่างเดียว ดังนั้นกรมพระยาดำรงราชานุภาพจึงคิดว่าควรจะจัดตั้งโรงเรียนจะได้มีผู้สมัครเข้ามามาก กรมพระยาดำรงราชานุภาพจึงนำความเห็น ขึ้นกราบทูล[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] และได้รับความเห็นชอบด้วย พระองค์ดำรัสสั่งให้จัดตั้งโรงเรียน ตามที่คิดนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรับจะทรงอุดหนุน ครั้นจะเลือกหาที่ตั้งโรงเรียนในโรงเรียน มหาดเล็กก็ไม่มีที่พอแก่การจัด จึงได้เลือก [[พระตำหนักสวนกุหลาบ]] ซึ่งตอนนั้นใช้เป็นคลังรุงรังรกอยู่ไม่เป็นประโยชน์นัก จึงกราบทูลฯขอ ก็ทรงพระกรุณาโ่เด้ะด้เด้เด้ปรดเกล้า พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนขึ้นในที่นั้น อาศัย เหตุนั้นจึงได้เรียกชื่อว่า "โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ" เมื่อ [[พ.ศ. 2425]] เป็นต้น

[[ไฟล์:โรงเรียนราชินี.jpg|thumb|250px|left|สวนกุหลาบอังกฤษสุนันทาลัย]]

โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบได้จัดทั้งการฝึกหัดอย่างทหาร และเรียนแบบสามัญเหมือนโรงเรียนทั้งปวงด้วย ต่อมากิจการงานของโรงเรียนเจริญก้าวหน้าขึ้นตามลำดับ มีหม่อมเจ้า หม่อมราชวงศ์และบุตรหลานของข้าราชการ สมัครเรียนมากขึ้นทุกที จนเกินจำนวนตำแหน่งนายทหารมหาดเล็ก ฉะนั้น ณ จุดนี้เอง [[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ก็ทรงตัดสินพระทัยว่า ถ้าหากเปลี่ยนให้เป็นโรงเรียน สำหรับข้าราชการทั่วไป จะเป็นประโยชน์ แก่บ้านเมืองยิ่งกว่าเป็นโรงเรียนสำหรับนายทหารมหาดเล็กกรมเดียว และได้เปลี่ยนฐานะนักเรียนจากทหารมาเป็นนักเรียนพลเรือน นอกจากนั้นพระองค์ก็ได้โปรดฯให้สร้าง [[ตึกยาว]]ทางพระราชวังด้านใต้ ใช้เป็นที่เล่าเรียนและที่อยู่นักเรียนอีกหลังหนึ่งด้วย การตั้งโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบจึงนับว่าสำเร็จบริบูรณ์เมื่อ ปี ระกา [[พ.ศ. 2427]] นั่นเอง โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบมีนักเรียนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งเมื่อ [[พ.ศ. 2436]] จึงขยายออกไปตั้งนอกพระบรมมหาราชวัง และจากเหตุนี้เองจึงเรียกชื่อเพียง "โรงเรียนสวนกุหลาบ" กับได้แยกเป็น 2 แห่ง คือ โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบฝ่ายไทย และ โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบฝ่ายอังกฤษ

=== ยุคที่ 2 ขยายออกนอกวัง ===
* '''โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบฝ่ายไทย'''
หลังจากออกย้ายจาก[[พระบรมมหาราชวัง]] โรงเรียนสวนกุหลาบก็ได้เคลื่อนย้ายไปยังศาลา 4 หลัง ของวัดมหาธาตุด้านทิศเหนือเรียกว่า โรงเรียนสวนกุหลาบวัดมหาธาตุด้านทิศเหนือ เพื่อรอการก่อสร้างโรงเรียนแห่งใหม่ ซึ่งในช่วงนี้มีโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบฝ่ายไทยอยู่ 2 ที่ ซึ่งอีกที่หนึ่งอยู่ที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวงในพระบรมมหาราชวัง เรียกว่า โรงเรียนสวนกุหลาบไทยในโรงเรียนมหาดเล็กหลวง ซึ่งโรงเรียนนี้คาดว่าเกิดจากการเคลื่อนย้าย ไปยังวัดมหาธาตุนั้นเคลื่อนย้ายไปไม่หมด ต่อมากระทรวงธรรมการได้งบประมาณในการสร้างที่ว่าการกระทรวงใหม่ และกระทรวงต้องการให้โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบเป็นโรงเรียนสำหรับฝึกหัดทดลองวิธีสอนและตำราเรียน จึงยกตึกหลังแรกใน 3 หลัง ให้เป็นโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ เรียกว่า โรงเรียนสวนกุหลาบวังหน้า ซึ่งจริงๆ กระทรวงต้องการให้โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบทั้งฝ่ายไทยและฝ่ายอังกฤษมารวมกันที่นี่ แต่สถานที่คับแคบไป จึงนำมาเฉพาะโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบฝ่ายไทยเพียงฝ่ายเดียว ต่อมาในปี [[พ.ศ. 2452]] กระทรวงธรรมการ ได้ย้ายสถานที่ใหม่ ดังนั้นโรงเรียนสวนกุหลาบจึงต้องย้ายด้วย ซึ่งได้ย้ายไปอาศัยอยู่ ณ บริเวณศาลาวัดมหาธาตุด้าน ใต้เป็นการชั่วคราว จนกระทั่งย้ายมาอยู่ที่โรงเลี้ยงเด็กริมคลองมหานาค (โรงเรียนสวนกุหลาบโรงเลี้ยงเด็กริมคลอง มหานาค) หลังจากโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบฝ่ายไทยได้ย้ายไปตามสถานที่ต่างๆ ถึง 5 แห่ง โรงเรียนสวนกุหลาบก็ได้กลับมารวมอีกครั้งที่ "ตึกแถวหลังยาววัดราชบูรณะ" โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้กรมโยธาธิการออกแบบ แล้วใช้งบประมาณของวัดราชบูรณะเพื่อเช่าสถานที่ และพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้กำหนดเป็นโรงเรียนชั้นมัธยมศึกษาพิเศษ แล้วให้ชื่อว่า "โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย" และการรวมตัวครั้งนี้เป็นการรวม "สวนกุหลาบ" ทั้งหมด ซึ่งรวมทั้งโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบฝ่ายอังกฤษด้วย

* '''โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบฝ่ายอังกฤษ'''
[[ไฟล์:Main narumitr.jpg|thumb|250px|ตึกแม้นนฤมิตร์]]
หลังจากโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบฝ่ายไทย ย้ายออกจาก[[พระบรมมหาราชวัง]]ไปแล้ว แต่โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบฝ่ายอังกฤษยังคงอยู่ในพระบรมหาราชวัง โดยย้ายจากที่เดิมมาอยู่ที่ตึก 2 หลังริม[[พระที่นั่งสุทไธสวรรยปราสาท|พระที่นั่งสุทไธสวรรย]] เรียกว่า "โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบริมพระที่นั่งสุทธัยสวรรค์" ต่อมาได้ย้ายไปตั้งอยู่ ณ วังพระองค์เจ้าภานุมาศ ซึ่ง หมายถึง "วังหน้า" เดิมในสมัยรัชกาลที่ 4 เรียกว่า โรงเรียนสวนกุหลาบวังหน้า โดยอาศัยเก๋งจีนที่เป็นฝีพระหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นที่สอน หลังจากอาศัยอยู่ที่นี่ช่วงหนึ่ง ก็ได้ย้ายมาตั้งอยู่ที่สตรีสวนสุนันทาลัย ( ปากคลองตลาด ) เนื่องจากโรงเรียนนี้มีนักเรียนน้อยลงเรื่อยๆ จำต้องปรับปรุง มีการพักการเรียนการสอนไว้ก่อน โรงเรียนสวนกุหลาบซึ่งยังไม่มีสถานที่แน่นอน จึงได้ย้ายมา เปิดการสอนเป็นชั่วคราว เรียกว่า โรงเรียนสวนกุหลาบอังกฤษสุนันทาลัย จนกระทั่ง[[สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ]] ได้มีหนังสือขอพระราชทานที่โรงเรียนสตรีสุนันทาลัยเพื่อปรับปรุงให้เป็น "[[โรงเรียนราชินี]]" โรงเรียนสวนกุหลาบอังกฤษสุนันทาลัยจึงได้ย้ายมารวมอยู่กับ[[โรงเรียนเทพศิรินทร์]] เพราะว่าโรงเรียนเทพศิรินทร์ได้มีการปรับปรุงซ่อมแซมโรงเรียนครั้งใหญ่ ใช้งบประมาณในการสร้างโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบแห่งใหม่ โดยมีข้อตกลงในการก่อสร้าง "[[ตึกแม้นนฤมิตร์]]" เป็นตึกเรียนหลังใหม่ และให้ชื่อว่า โรงเรียนสวนกุหลาบตึกแม้นนฤมิตร์ ทั้งนี้โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการให้กรมศึกษาธิการเป็นผู้ดำเนินการทำสัญญาก่อสร้าง ต่อมาได้มีการเปลี่ยนนามโรงเรียนสวนกุหลาบเป็นโรงเรียนเทพศิรินทร์ตึกแม้นนฤมิตร์แทน โดยเหตุที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นว่าพระองค์ได้ออกเงินเพียงส่วนน้อยเท่านั้น

=== ยุคที่ 3 กลับมารวมตัว ===
[[ไฟล์:LongBuilding.jpg|thumb|300px|right|[[ตึกยาว]]หรือ[[อาคารสวนกุหลาบ]] จากมุมมองด้านหน้าโรงเรียน]]
[[ไฟล์:การแข่งขันกรีฑานักเรียน.jpg|thumb|250px|right|การชก[[มวยไทยโบราณ]] ระหว่างนาย[[ยัง หาญทะเล]] ทหารคนสนิทของ[[กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์]] (คนขวา) กับนาย ไล่ หู นักมวยจีน (คนซ้าย) ที่สนามโรงเรียนสวนกุหลาบ เมื่อ พ.ศ. 2465
<ref>http://www.osknetwork.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=1476#26459</ref>]]
ต่อมาการเดินทางอันยาวนานของ "สวนกุหลาบ" จึงได้สิ้นสุดลงเมื่อปี [[พ.ศ. 2454]] โดยโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ ได้รวมกับฝ่ายไทยและได้แหล่งที่พำนักถาวร พร้อมกับนามว่า "โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย" ถึงตรงนี้ โรงเรียนสวนกุหลาบทั้งสองฝ่ายก็ได้มารวมกันอีกครั้งโดยอยู่ในพื้นที่ของ[[วัดราชบูรณะราชวรวิหาร|วัดราชบุรณะ]] และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงให้สร้าง[[ตึกยาว]]ขึ้นเพื่อดำเนินการสอน การที่พระองค์ทรงพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้สร้าง[[ตึกยาว]]นี้ ทรงมอบให้กรมโยธาธิการเป็นผู้ออกแบบโดยใช้งบประมาณของวัดราชบูรณะ ซึ่งในเวลานั้นเงินสร้างตึกให้ชาวบ้านเช่าโดยเปลี่ยนเป็นให้โรงเรียนเช่า เพื่อใช้เป็นโรงเรียนแผนใหม่ ทั้งนี้ด้วยความคิดของ[[เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี]] (หม่อมราชวงศ์เปีย มาลากุล) ศิษย์เก่าเลขประจำตัวหมายเลข 2 ของโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ เสนาบดีกระทรวงธรรมการในขณะนั้น โดยมีการเซ็นสัญญาเช่ากับพระธรรมดิลก เจ้าอาวาสวัดราชบูรณะในสมัยนั้น โดยมีนายเอง เลียงหยง เป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 10,150 บาท จึงได้เกิด[[ตึกยาว]] รวมนักเรียนสวนกุหลาบจากที่ต่างๆ

ในปี [[พ.ศ. 2453]] พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จมาทอดพระเนตรการก่อสร้างด้วยพระองค์เอง ก่อนสวรรคตในปี [[พ.ศ. 2453]] นั้นเอง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าทรงเป็นผู้ก่อกำเนิดโรงเรียนนี้โดยแท้ นับเป็นมหากรุณาธิคุณแก่ทวยราษฎร์อย่าง ล้นเกล้าฯหาที่สุดมิได้

'''ตึกยาว''' ที่เคียงข้างตึกยาว(สวนกุหลาบ) ความจริงแล้วก่อนช่วงเกิดสงครามโลก ตึกยาวดังกล่าวเป็นของโรงเรียนเพาะช่าง ซึ่งมีหลักฐานเป็นภาพป้ายโรงเรียนเพาะช่างติดอยู่บริเวณทางเข้าตึกยาว

=== บทบาททางวิชาการ สังคม และการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม ===
* ริเริ่มโครงการฟุตบอลประเพณีจุฬา-ธรรมศาสตร์
* โรงเรียนมีความโดดเด่น ในด้าน ความรักความสมานสามัคคีกลมเกลียวระหว่างรุ่นพี่-รุ่นน้อง ความรักกตัญญูกตเวที ทั้งระหว่าง พ่อ-แม่ ระหว่างอาจารย์-ลูกศิษย์ มีความเป็นผู้นำ ดังคติประจำใจที่ว่า "เป็นผู้นำ รักเพื่อน นับถือพี่ เคารพครู กตัญญูพ่อ-แม่ ดูแลน้อง"
* โรงเรียนมีความโดดเด่นด้านกิจกรรมมากมาย โดยจัดขึ้นในกลุ่ม ของนักเรียน (ตัวอย่าง ภายใน รร. คือ งานสมานมิตร และงานมุทิตาจิต ภายนอกโรงเรียน ได้แก่ สวนจาม สวนโดม สวนศรีตรัง เป็นต้น) ชึ่งในโรงเรียนก็ได้จัดกิจกรรมชุมนุมขึ้นของนักเรียนที่เปิดทำการทั้งหมดทั้งที่มีในคำสั่งโรงเรียนและไม่มีในคำสั่งโรงเรียน(ปีการศึกษา 2551) จำนวนทั้งหมดเฉลี่ย 30-50 ชุมนุมในแต่ละปีการศึกษา

=== บทบาททางการเมืองและการก้าวสู่ปัจจุบัน ===
[[พ.ศ. 2475]] มี [[การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475]] ซึ่งเป็นที่ไม่คาดคิดว่าโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย โรงเรียนหลวงแห่งแรกของประเทศไทย จะมีหน้าประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวกับการเมืองการปกครองในสมัยนั้นด้วย เมื่อ วันศุกร์ ที่ [[24 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2475]] [[คณะราษฎร]] ได้จับตัวพระบรมวงศานุวงศ์ เป็นตัวประกัน รวมทั้ง [[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ]] ด้วย บรรยากาศขณะนั้นตึงเครียดมีการวิพากษ์วิจารณ์เป็นอย่างมาก บรรยากาศด้านการเมืองรุนแรงน่าหวาดกลัวแม้กระทั่งในโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย

ในวันที่ [[24 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2475]] ซึ่งเป็นวันเปลี่ยนแปลงการปกครองนั้น มีรถถังแล่นมาจอดขวางประตูโรงเรียน มีนายทหารและพลเรือนของคณะราษฎร นำโดย นาย[[สงวน ตุลารักษ์]] ได้เข้ามาในโรงเรียน เชิญอาจารย์ใหญ่ ซึ่งขณะนั้นคือ อาจารย์เอซี เชอร์ชิล และนักเรียน ม.6-ม.8 เข้าหอประชุมสามัคคยาจารย์สมาคม ประกาศทุกคนได้รับทราบว่า ขณะนี้ได้มีการปฏิวัติเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง ขอให้ทุกคนอยู่ในความสงบ

นักเรียนสวนกุหลาบได้ลุกขึ้นถามว่า "ทำไมต้องเปลี่ยนแปลงการปกครอง" นายสงวน ตอบว่า "ไม่ต้องถามเวลานี้ ถ้าต้องการรายละเอียดต้องตอบด้วยปืน ขณะนี้ได้จับเจ้านายไปแล้ว"

บรรยากาศตอนนี้มีความสับสน นักเรียนที่ไม่เข้าใจเหตุการณ์ บ้างก็หลบอยู่ตามห้องเรียน บ้างก็กระโดดหนีออกจากโรงเรียนไป ที่เข้าประชุมก็ไม่ค่อยเข้าใจแจ่มชัดนัก แต่การกระทำครั้งนี้ดูเหมือนว่าจะควบคุมความสงบสุขของ ครูและนักเรียนในโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ซึ่งเป็นโรงเรียนใหญ่ และในขณะนั้นถือว่าใกล้ชิดกับราชวงศ์และข้าราชการชั้นสูงของกระทรวงธรรมการนั่นเอง

จากเหตุการณ์ตอนนี้พอสันนิษฐานว่า โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยเป็นโรงเรียนที่มีบทบาทสำคัญแห่งหนึ่ง ซึ่งคณะราษฎร์จำเป็นจะต้องควบคุมสถานการณ์ไว้ เพราะเป็นต้นแบบในด้านต่างๆของโรงเรียนทั่วไป ครูอาจารย์ และ นักเรียน ก็น่าจะเป็นพลังที่จะต่อต้านคณะปฏิวัติ ซึ่งก่อให้เกิดความระส่ำระสาย ยากที่คณะราษฎร์จะดูแลได้ จึงได้ใช้วิธีนำรถถังมาปิดโรงเรียนและควบคุมสถานการณ์ดังกล่าว

นอกจากนี้ กิจกรรมอีกประการหนึ่งที่เป็นผลสะท้อนให้เห็นว่า โรงเรียนสวนกุหลาบมีบทบาททางการเมืองการปกครอง สมัยนั้นคือ การที่ลูกเสือโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย มีส่วนช่วยรัฐบาลในการปราบ[[กบฏบวรเดช]] ในกรณีของการปราบกบฏบวรเดชนี้ รัฐบาลขณะนั้นได้ขอความร่วมมือจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ให้ส่งอาสาสมัครที่เป็นลูกเสือไปช่วยเป็นกองกำลัง ด้านลำเลียงกระสุนปืนส่งเสบียงบริเวณบางซื่อบ้าง และหลักสี่ทำหน้าที่เฝ้าคุกเพื่อไม่ให้มีการจลาจลบ้าง โดยแต่งกายชุดลูกเสือไปช่วยเป็นพลรบ การสู้รบครั้งนี้มีลูกเสือโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยที่ช่วย เป็นกองกำลังสนับสนุนจนฝ่ายรัฐบาลได้รับชัยชนะ ต่อมา[[แปลก พิบูลสงคราม|จอมพล ป. พิบูลสงคราม]] นายกรัฐมนตรี ได้มอบโล่เกียรติยศ จากการปราบกบฏครั้งนี้ ให้กับโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย (อยู่ในห้องนิทรรศการ จาริกานุสรณ์) และนักเรียนรุ่นนั้นทุกคนได้รับเหรียญพิทักษ์[[รัฐธรรมนูญ]] ซึ่งมีการประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษาด้วย

เมื่อในปี [[พ.ศ. 2541]] เหตุการณ์ทางการเมืองที่ไม่น่าเชื่อว่าจะเกิดขึ้นอีกเป็นหนที่สอง เมื่อนักเรียนโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย กว่า 2,000 คน ได้เดินทางไปยังกระทรวงศึกษาธิการเพื่อสอบถามข้อข้องใจ ในเรื่องสาเหตุของการสั่งย้ายผู้อำนวยการโรงเรียนในสมัยนั้น (ผอ.ธานี สมบูรณ์บูรณะ) จากเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ปรากฏไปตามสื่อต่าง ๆ ทั้ง โทรทัศน์ วิทยุ และหนังสือพิมพ์

== ประวัติสิ่งปลูกสร้างต่างๆ ในโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ==
[[ไฟล์:Sk during ww2.jpg|thumb|300px|แผนที่-อาคาร ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2]]
ในระยะก่อนเกิด[[สงครามโลกครั้งที่ 2]] นั้น ได้มีการสร้างอาคารต่างๆเพิ่มเติม รวมทั้งสิ้นแล้วมีอาคารอยู่ 10 หลัง คือ อาคารเรียนหลังยาว ([[อาคารสวนกุหลาบ|ตึกยาว]]) ซึ่งยังคงตั้งตระหง่านมาจนกระทั่งมาจนถึงทุกวันนี้ ตึกวิทยาศาสตร์ชั้นเดียว โรงอาหาร โรงพลศึกษา ตึกหลังกลางและบ้านพักครู ที่พักภารโรง รวม 5 หลัง ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 นั้น อาคารบางหลังได้รับความเสียหายจากลูกระเบิด และเมื่อสงครามสงบก็ได้รับการซ่อมแซมดังนี้คือ อาคารหลังยาว และตึกวิทยาศาสตร์ได้รับการซ่อมแซมจนใช้การได้ดี ส่วนโรงอาหาร โรงพลศึกษา และตึกหลังกลาง นั้นถูกระเบิดเมื่อ [[14 กันยายน]] [[พ.ศ. 2488]] ได้รับความเสียหายมากจนเกินกว่าจะซ่อมแซมให้ใช้ได้ดังเดิมได้

[[พ.ศ. 2496]] ก็ได้สร้างหอประชุม"สวนกุหลาบรำลึก"เคียงข้างกับตึกหลังยาวทางด้านวิทยาลัยเพาะช่าง และมีสะพานลอยโยงถึงตึกเรียนหลังยาวด้วย หอประชุมนี้ภายหลังทรุดโทรมลง และได้ทุบในปี พ.ศ. 2534 สร้างเป็น "อาคารสวนกุหลาบรำลึก"(ปัจจุบัน)

[[พ.ศ. 2510]] มีการสร้างตึกพลศึกษา ทางด้านทิศตะวันตกใกล้ตึกวิทยาศาสตร์และอีก 2 ปีต่อมาก็ ได้สร้างโรงอาหารขึ้นใกล้กับตึกพลศึกษา หลังจากนั้นก็ได้สร้างตึกสามัคยาจารย์สมาคม 3 ชั้น แทนที่สามัคยาจารย์สมาคม ทางด้านใต้ของโรงเรียน และสุดท้ายก็ได้สร้างอาคารสามัคยาจารย์ 4 ชั้น ติดกับตึกสามัคยาจารย์เดิมขึ้น พร้อมกับอาคารพระเสด็จ ซึ่งสร้างแทนที่ศาลาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี

[[พ.ศ. 2519]] เปิดใช้สนามกีฬาเอนกประสงค์ "สนามไพศาล" เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2519 โดยที่มาของนาม "สนามไพศาล" เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่ "นายไพศาล นันทาภิวัฒน์ ศิษย์เก่าสวนกุหลาบฯ ปี พ.ศ. 2481" ซึ่งถึงแก่กรรมด้วยโรคหัวใจวาย เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2518 สนามไพศาลเป็นลานซีเมนต์ล้อมตาข่ายเหล็ก ใช้เป็น สนามบาสเก็ตบอล สนามตะกร้อ สนามเทนนิส ลานจัดกิจกรรมนักเรียน ภายหลัง ทุบเพื่อสร้าง "อาคาร 123 ปี สวนกุหลาบ" ปลายปี พ.ศ. 2547

[[พ.ศ. 2521]] สร้างตึกดำรงราชานุภาพ บนพื้นที่เดิมซึ่งเป็นโรงอาหารเป็นอาคารเรียน 5 ชั้น ชั้นล่างเป็นโรงอาหาร ต่อมาเมื่อตึกปิยมหาราชานุสรณ์สร้างเสร็จแล้วได้ย้ายโรงอาหารไปชั้นล่างของตึกปิยมหาราชานุสรณ์ ส่วนชั้นล่างของตึกดำรงราชานุภาพได้กั้นเป็นห้องเรียนและห้องโสตทัศนศึกษา

[[พ.ศ. 2525]] เนื่องในโอกาสที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยมีอายุครบ 100 ปี ได้ก่อสร้าง[[ตึกปิยมหาราชานุสรณ์]] ซึ่งเดิมเป็นอาคารโรงยิมชั้นเดียว ครั้นก่อสร้างเสร็จแล้วได้รับพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นเกล้าล้นกระหม่อมจาก[[พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช]] เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์ [[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] และทรงเปิดอาคารเมื่อ [[30 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2527]]

<gallery>
ไฟล์:หอประชุมสวนกุหลาบรำลึก2.jpg|หอประชุมสวนกุหลาบรำลึก
ไฟล์:ตึกยาว-โรงไฟฟ้าวัดเลียบ.jpg|[[ตึกยาว]] ด้านหลังเป็นปล่องโรงไฟฟ้าวัดเลียบ
ไฟล์:ศาลาพระเสด็จ 2496.jpg|โรงพละ และศาลาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี
ไฟล์:สามัคยาจารย์สมาคม-ตึกยาว.jpg|สามัคยาจารย์สมาคม
</gallery>

[[พ.ศ. 2530]] กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนอนุรักษ์อาคารหลังยาวเป็นโบราณสถานเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ เนื่องจากมีความสำคัญทางประวัติการศึกษาแห่งชาติ ในปีเดียวกันทางโรงเรียนได้ทำการรื้อถอนอาคารพระเสด็จฯ เพื่อก่อสร้างใหม่ เนื่องจากบริเวณที่ตั้งอาคารเกิดการทรุดตัว เกรงว่าจะเป็นอันตราย และได้สร้างอาคารพระเสด็จฯ ขึ้นมาใหม่ เสร็จสมบูรณ์และได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก[[สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี]]เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคาร เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2535 และในปีเดียวกัน มีพิธีเปิดอาคารสุทธิ เพ็งปาน ซึ่งเริ่มก่อสร้างมาตั้งแต่ปี 2534 ด้านหลังของอาคารสามัคยาจารย์ ใช้เป็นที่พักนักกีฬาและ สระว่ายน้ำ

[[ไฟล์:ตึกยาว สวนกุหลาบ.jpg|thumb|300px|[[ตึกยาว]] ปัจจุบันได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน]]
[[พ.ศ. 2537]] ดำเนินการก่อสร้างอาคารหอประชุมสวนกุหลาบรำลึก หลังใหม่ขึ้น แทนหลังเดิมซึ่งชำรุดทรุดโทรม โดย[[สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี]] เสด็จมาพระราชดำเนินมา ทรงทำพิธีเปิดในวันที่ 8 มีนาคม 2538

[[พ.ศ. 2538]] จุดรวมสำคัญของสวนกุหลาบวิทยาลัยในรอบ 113 ปี คืองาน "สวนกุหลาบวิทยาลัย ใน 12 ทศวรรษ" 8-11 มีนาคม พ.ศ. 2538 เพื่อรวบรวมประวัติศาสตร์อันยาวนานของสวนกุหลาบวิทยาลัยเพื่อจัดตั้ง [http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%93%E0%B8%91%E0%B9%8C%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4_%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%A2 พิพิธภัณฑ์การศึกษาแห่งชาติ] ณ [[ตึกยาว]] ปัจจุบันนี้ตึกยาวได้มีอายุ {{อายุ|2454|6|25}} ปีแล้ว และตึกยาวก็เป็นตึกที่ใช้อบรมนักเรียน ผลิตบุคลากรและเยาวชนที่มีคุณภาพออกไปรับใช้ประเทศชาติ ตึกยาวจึงเป็นที่รักใครของนักเรียนสวนกุหลาบยากยิ่งเสมอมาโดยตลอด

[[พ.ศ. 2547]] รื้อสนามกีฬาเอนกประสงค์ "สนามไพศาล" สร้างอาคารเอนกประสงค์ "อาคาร ๑๒๓ ปี สวนกุหลาบ" เปิดใช้เมื่อ 9 มีนาคม 2549

[[พ.ศ. 2549]] อัญเชิญ [[หลวงพ่อสวนกุหลาบ]]องค์จำลอง ประดิษฐาน ณ บุษบก ซึ่งสร้างขึ้นใหม่ ณ หน้า [[อาคาร ๑๒๓ ปี สวนกุหลาบวิทยาลัย]]เมื่อ 9 มิถุนายน 2549 ซึ่งตรงกับ[[งานฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี พุทธศักราช 2549|งานฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี]]

จากบทนิพนธ์ของกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ที่ว่า
{{คำพูด|ประโยชน์ของโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ นอกจาก เป็นบ่อเกิดวิชาคุณของข้าราชการเป็นกันมาก ยังมีประโยชน์แพร่หลายอย่างอื่นอีก ที่เป็นสำคัญคือเมื่อปรากฏว่าจัดตั้ง โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบได้ดั่งพระราชประสงค์แล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริ ว่าสมควรจะจัดการตั้งโรงเรียนเขียนและสอนวิชาให้แพร่หลายออกไปเป็นการศึกษาสำหรับประเทศสยาม จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้คิดจัดตั้งโรงเรียนขึ้นตามพระราชอารามหลวงทั้งในกรุงและหัวเมือง...}}

จากพระราชดำรัสของ[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] จากการพระราชทานรางวัลนักเรียนโรงเรียนสวนกุหลาบ [[พ.ศ. 2427]]<ref>http://www1.tv5.co.th/service/mod/heritage/king/rama5/index01.htm</ref> ที่ว่า
{{คำพูด|ฉันมีความยินดีที่ได้มาเป็นผู้ให้รางวัลแก่เด็กนักเรียน ซึ่งได้ไล่หนังสือเป็นครั้งแรกในเมืองไทย เพราะการที่เคยไล่หนังสือมาแต่ก่อนนั้น ก็ได้ไล่แต่พระสงฆ์ วิชาหนังสือเป็นวิชาที่นับถือ แลเป็นที่สรรเสริญมาแต่โบราณ เพราะวิชาที่อาจทำให้การทั้งปวงสำเร็จไปได้ทุกสิ่งทุกอย่าง ในกาลเวลานี้ผู้ซึ่งจะเป็นข้าราชการ ไม่รู้หนังสือแล้วเกือบจะเป็นอันใช้ไม่ได้ทีเดียว แต่เป็นการขัดข้องลำบากแก่หม่อมเจ้า หม่อมราชวงศ์อยู่มาก ด้วยไม่มีทางที่จะเข้ารับราชการได้ เพราะเป็นเจ้าเสียไม่ได้เป็นขุนนาง จึงคิดหาโอกาสที่จะให้เรียนหนังสือ ได้ไล่วิชา เหมือนหนึ่งได้ถวายตัว เช่น ข้าราชการ เจ้านายตั้งแต่ราชตระกูล ตั้งแต่ลูกฉันเป็นต้นลงไป ตลอดถึงราษฎรที่ต่ำที่สุด จะได้มีโอกาสเล่าเรียนเสมอกัน ไม่ว่าเจ้า ว่าขุนนาง ว่าไพร่ เพราะฉะนั้นจึงขอบอกได้ว่าการเล่าเรียนในบ้านเมืองเรานี้ จะเป็นข้อสำคัญที่หนึ่ง ซึ่งฉันจะอุตสาห์จัดขึ้นให้เจริญ จงได้...}}

ได้แสดงให้เห็นว่าโรงเรียนสวนกุหลาบเป็นบ่อเกิดของความรู้รวมทั้งบุคลากรที่มีความสามารถมากมายเพื่อเผยแพร่วิชาความรู้แก่เยาวชนรุ่นหลัง ต่อไป

ปัจจุบันนี้โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยก็ได้จัดตั้งมาเป็นเวลากว่า {{อายุ|2425|3|8}} ปีแล้วและก็สามารถผลิตบุคลากรและเยาวชนที่มีคุณภาพออกไปรับใช้ประเทศชาติเสมอมาโดยตลอด สมกับคำนิพนธ์ของ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ และ พระราชปณิธานของ[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] พระผู้ก่อตั้งสถานศึกษาแห่งนี้ทุกประการ

== เพลงประจำโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ==
เพลงประจำโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ประพันธ์ขึ้นตามพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คำร้องโดย หม่อมราชวงศ์เลื่อน สิงหรา ผู้เรียบเรียงคือ สุวัฒน์ เทียมหงษ์ ทำนองจากเพลงแขกต่อยหม้อ อัตราจังหวะสองชั้น เป็นเพลงไทยเดิมที่ใช้ประกอบการแสดง ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา มีจังหวะการเอื้อนทำนองโดยเฉพาะ<ref name="TGV">{{cite web|title= เพลงประจำโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย |work=ไทยกู๊ดวิวดอตคอม |url=http://www.thaigoodview.com/node/17197|accessdate=[[15 มกราคม]] [[พ.ศ. 2553|2553]]|author=กาญจนา เตชะวณิชย์|date=[[18 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2551|2551]]}}</ref><ref>{{cite web|title= บทเพลงชาวสวนฯ : เพลงประจำโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย|work=เว็บไซต์โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย |url=http://www.sk.ac.th/index.php?option=com_content&task=view&id=163&Itemid=109|accessdate=[[15 มกราคม]] [[พ.ศ. 2553|2553]]}}</ref>

== กิจกรรม - ประเพณี ==
{{บน}}
* วันละอ่อน
* วันรับขวัญเสมา
* [[วันแนะนำกิจกรรม]]
* วันสมานมิตร
* วันมุทิตาจิต
* วันจากเหย้า
* [[นิทรรศสวนฯ]] (Suankularb Exhibition)
{{กลาง}}
* [[จตุรมิตรสามัคคี]] (Jaturamitr)
* ลูกเสือ-เนตรนารีสวนกุหลาบสัมพันธ์ (ร่วมกับโรงเรียนในเครือ)
* กรีฑาสวนกุหลาบสัมพันธ์ (ร่วมกับโรงเรียนในเครือ)
* มหัศจรรย์วันสุภาพบุรุษสวนกุหลาบ
* วันประกาศเกียรติคุณ
* กีฬาประเพณีเตรียมอุดม - สวนกุหลาบฯ
{{ล่าง}}

== ชุมนุมและกิจกรรมของ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ==
ชุมนุมและกิจกรรมของ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ได้มีประวัติมายาวนาน โดยประกอบด้วย ชุมนุมมากมายที่เกิดขึ้นจากการรวมกลุ่มของเด็กนักเรียน ด้วยความสมัครใจของตัวนักเรียนเอง และเป็นต้นแบบ ของกิจกรรม ให้กับโรงเรียนอื่นๆ อีกมากมาย

เช่น ชุมนุมลูกเสือ ชุมนุมวงดุริยางค์ ชุมนุมเชียร์และแปรอักษร ชุมนุมประชาสัมพันธ์ ชุมนุมยูเนสโก ชุมนุมการละคร เป็นต้น....

== ผู้อำนวยการ ==
{|class="PrvPe0b"
! width="50" style="background: Khaki;text-align: center;"| ลำดับ
! width="300" style="background: Khaki;text-align: center;"| รายนาม
! width="200" style="background: Khaki;text-align: center;"| ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
|-
| 1 || ม.อ.ต.พระยาศึกษาสมบูรณ์ (ม.ล.แหยม อินทรางกูร) ||
|-
| 2 || อ.อ.พระยาอุปการศิลปเสริฐ (อั๋น ชัชกุล) ||
|-
| 3 || Ernest Young || พ.ศ. 2437 - พ.ศ. 2438
|-
| 4|| W.G. Johnson || พ.ศ. 2438 - พ.ศ. 2440
|-
| 5 || E.S. Smith || พ.ศ. 2438 - พ.ศ. 2440
|-
| 6 ||H.E. Spivey || พ.ศ. 2446 - พ.ศ. 2458
|-
| 7 || พระยาวินิจวิทยาการ (กร อมาตยกุล) || พ.ศ. 2450 - พ.ศ. 2457
|-
| 8 || [[นอร์แมน ซัตตัน]] || พ.ศ. 2458 - พ.ศ. 2473
|-
| 9 || พระปวโรฬารวิทยา (ป๋อ เชิดชื่อ)|| พ.ศ. 2473 - พ.ศ. 2475
|-
| 10 || A.C. Churchill || พ.ศ. 2475 - พ.ศ. 2477
|-
| 11 || หลวงบุญปาลิตวิชชาสาสก์ || พ.ศ. 2481 - พ.ศ. 2496
|-
| 12 || นายนพ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา || พ.ศ. 2498 - พ.ศ. 2500
|-
| 13 || นายสำเนียง ตีระวนิช || พ.ศ. 2500 - พ.ศ. 2501
|-
| 14 || นายถวิล สุริยนต์ || พ.ศ. 2501 - พ.ศ. 2503
|-
| 15 || นายโปร่ง ส่งแสงเติม || พ.ศ. 2503 - พ.ศ. 2509
|-
| 16 || นายวินัย เกษมเศรษฐ || พ.ศ. 2509 - พ.ศ. 2513
|-
| 17 || นายสุวรรณ จันทร์สม || พ.ศ. 2513 - พ.ศ. 2519
|-
| 18 || นายกมล ธิโสภา || พ.ศ. 2519 - พ.ศ. 2521
|-
| 19 || นายประยูร ธีระพงษ์ || พ.ศ. 2521 - พ.ศ. 2522
|-
| 20 || นายสำเริง นิลประดิษฐ์ || พ.ศ. 2522 - พ.ศ. 2526
|-
| 21 || นายสุทธิ เพ็งปาน || พ.ศ. 2526 - พ.ศ. 2535
|-
| 22 || นางสมหมาย วัฒนะคีรี || พ.ศ. 2535 - พ.ศ. 2539
|-
| 23 || นายธานี สมบูรณ์บูรณะ || พ.ศ. 2539 - พ.ศ. 2541
|-
| 24 || นายศิริ สุงคาสิทธิ์ || พ.ศ. 2541 - พ.ศ. 2542
|-
| 25 || นายณรงค์ รักเดช || พ.ศ. 2542 - พ.ศ. 2543
|-
| 26 || นายสมพงษ์ รุจิรวรรธน์ || พ.ศ. 2543 - พ.ศ. 2545
|-
| 27 || นายสิทธิรักษ์ จันทร์สว่าง || พ.ศ. 2545 - พ.ศ. 2549
|-
| 28 || นายมนตรี แสนวิเศษ || พ.ศ. 2549 - พ.ศ. 2552
|-
| 29 || นายพีระ ชัยศิริ || พ.ศ. 2552 - พ.ศ. 2554
|-
| 30 || ดร.เชิดศักดิ์ ศุภโสภณ || พ.ศ. 2554 - พ.ศ. 2558
|-
| 31 || นายวิฑูรย์ วงศ์อิน || พ.ศ. 2558 - พ.ศ. 2559
|-
| 32 || ดร.วิทยา ศรีชมภู|| พ.ศ. 2559 - ปัจจุบัน
|}

== ศิษย์เก่าเกียรติยศ ==
* [[พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ]]
* [[พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประวิตรวัฒโนดม กรมหลวงปราจิณกิติบดี]]
* [[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต|จอมพล จอมพลเรือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต]]
* [[พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน|พลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน]]
* [[สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา|พลเรือเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา]]
* [[พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์|พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า วรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์]]
* [[พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช|จอมพล พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช]]
* [[พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์]]
* [[พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์|พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์]]
* [[พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์]]
* [[พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศุภโยคเกษม]]
* [[พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสนิทพงศ์พัฒนเดช]]
* [[หม่อมเจ้าอุปพัทธพงศ์ ศรีธวัช]]
* [[หม่อมเจ้าธำรงสิริ ศรีธวัช]]
* [[พระยามโนปกรณนิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์)|มหาอำมาตย์โท พระยามโนปกรณนิติธาดา]]
* [[พระยาเทพหัสดิน (ผาด เทพหัสดิน ณ อยุธยา)|พลเอกพระยาเทพหัสดิน (ผาด เทพหัสดิน ณ อยุธยา)]]
* [[พระยาราชวังสัน (ศรี กมลนาวิน)|พลเรือโท พระยาราชวังสัน (ศรี กมลนาวิน)]]
* [[เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา)|มหาเสวกเอก เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี]]
* [[พระยาศรีสกลไกรนุชิต (สวาสดิ์ ภัทรนาวิก)|พระยาศรีสกลไกรนุชิต (สวาสดิ์ ภัทรนาวิก)]]
* [[ทวี บุณยเกตุ]]
* [[หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช|ศาสตราจารย์ (พิเศษ) หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช]]
* [[ปรีดี พนมยงค์|ศาสตราจารย์ ดร. ปรีดี พนมยงค์]]
* [[หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช|ศาสตราจารย์ (พิเศษ) พลตรี หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช]]
* [[ธานินทร์ กรัยวิเชียร|ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ธานินทร์ กรัยวิเชียร]]
* [[เปรม ติณสูลานนท์|พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก เปรม ติณสูลานนท์]]
* [[สุรยุทธ์ จุลานนท์|พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์]]
* [[สุธรรม ภัทราคม|ศาสตราจารย์ (พิเศษ) สุธรรม ภัทราคม]]
* [[พุ่ม สาคร]] นักเรียน[[ทุนเล่าเรียนหลวง]]คนแรกของประเทศไทย
* [[เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี (หม่อมราชวงศ์เปีย มาลากุล)]] - [[รายนามเสนาบดีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการของไทย|อดีตเสนาบดี]][[กระทรวงธรรมการ]] ผู้นิพนธ์หนังสือ[[สมบัติผู้ดี]] และเนื้อร้องเพลง[[สามัคคีชุมนุม]] <!--เลขประจำตัว 2-->
* [[พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์]] - ต้น[[:หมวดหมู่:ราชสกุลรัชนี|ราชสกุลรัชนี]] อดีต[[องคมนตรี]] [[นักเขียน|นักนิพนธ์]] ผู้พระราชทานกำเนิดการสหกรณ์ไทย
* [[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต]] - ต้น[[:หมวดหมู่:ราชสกุลบริพัตร|ราชสกุลบริพัตร]] [[สภาองคมนตรีไทย|อดีตประธานองคมนตรี]] [[รายนามและรายพระนามอภิรัฐมนตรีและองคมนตรีไทย|อดีตประธาน]][[อภิรัฐมนตรีสภา]]และ[[เสนาบดีสภา]] [[รายนามเสนาบดีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของไทย|อดีตเสนาบดี]][[กระทรวงกลาโหม (ประเทศไทย)|กระทรวงกลาโหม]] และ[[รายนามเสนาบดีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยของไทย|อดีตเสนาบดี]][[กระทรวงมหาดไทย (ประเทศไทย)|กระทรวงมหาดไทย]] ผู้นิพนธ์ทำนอง[[เพลงมหาชัย]] และ[[เพลงมหาฤกษ์]]
* มหาเสวกเอก [[เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา)]] - [[ประธานสภาผู้แทนราษฎรไทย]]คนแรก อดีตเสนาบดีกระทรวงธรรมการ นักเขียน ผู้ประพันธ์[[เพลงชาติไทย|เพลงชาติมหาชัย]] และ[[เพลงกราวกีฬา]] ผู้นำกีฬา[[ฟุตบอล]]มาเผยแพร่[[ฟุตบอลในประเทศไทย|ในประเทศไทย]]
* ศาสตราจารย์ ดร.[[ปรีดี พนมยงค์]] - [[นายกรัฐมนตรีไทย]]คนที่ 7 ผู้นำ[[คณะราษฎร]]และ[[ขบวนการเสรีไทย]]สายพลเรือน [[รัฐบุรุษอาวุโส]] [[ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ (ประเทศไทย)|ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์]]ใน[[รัชกาลที่ 8]] อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย [[รายนามเสนาบดีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทย|อดีตรัฐมนตรีว่าการ]][[กระทรวงการต่างประเทศ (ประเทศไทย)|กระทรวงการต่างประเทศ]] [[รายนามเสนาบดีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของไทย|อดีตรัฐมนตรีว่าการ]][[กระทรวงการคลัง (ประเทศไทย)|กระทรวงการคลัง]] ผู้ก่อตั้งและ[[ผู้ประศาสน์การ]] [[มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง]] ผู้ก่อตั้ง[[ธนาคารแห่งประเทศไทย|ธนาคารชาติไทย]] เลขาธิการ[[สภาผู้แทนราษฎรไทย|สภาผู้แทนราษฎร]]คนแรก <!--เข้าเรียน ประมาณ พ.ศ. 2457-->
* [[หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล]] - [[รายนามเสนาบดีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการของไทย|อดีตรัฐมนตรีว่าการ]][[กระทรวงศึกษาธิการ]] [[อดีตอธิบดีกรมสามัญศึกษา]] ผู้ก่อตั้ง [[โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา]]
* นาวาอากาศตรี [[อัษฎาวุธ วัฒนางกูร]] - รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สายงานปฏิบัติการ [[บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)]]
* พลเอก [[เปรม ติณสูลานนท์]] - อดีตนายกรัฐมนตรี ประธานองคมนตรีและ[[รัฐบุรุษ]]
* [[พระยามโนปกรณนิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์)]] นายกรัฐมนตรี
* [[ทวี บุณยเกตุ]] นายกรัฐมนตรี
* [[หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช]] นายกรัฐมนตรี
* [[หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช]] นายกรัฐมนตรี
* [[ธานินทร์ กรัยวิเชียร]] นายกรัฐมนตรี
* [[พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์]] นายกรัฐมนตรี
* [[สุธรรม ภัทราคม]] อดีตประธานศาลฎีกา อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
* [[อาทิวราห์ คงมาลัย]] นักดนตรี
* [[เนวิน ชิดชอบ]] ประธานสโมสรบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด อดีตหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย

== ดูเพิ่ม ==
* [[จตุรมิตรสามัคคี]]
* [[อาคารสวนกุหลาบ]]
* [[สโมสรฟุตบอลสวนกุหลาบ]]
* [[365 วัน ตามติดชีวิตเด็กเอ็นท์]]
* [[โรงเรียนในเครือสวนกุหลาบวิทยาลัย]]
* [http://www.skmuseum.com พิพิธภัณฑ์การศึกษาแห่งชาติ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย]

== อ้างอิง ==
<div style="overflow:scroll;height:300px;">
{{รายการอ้างอิง|2}}
</div>

== แหล่งข้อมูลอื่น ==
* [http://www.sk.ac.th โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย]
* [http://www.osknetwork.com สมาคมศิษย์เก่าสวนกุหลาบวิทยาลัย]
* [http://www.skmuseum.com พิพิธภัณฑ์การศึกษาแห่งชาติ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย]
* [http://www.suanboard.net เว็บบอร์ดไม่เป็นทางการ]
* [http://www.jaturamitr.com จตุรมิตรดอตคอม]
* [http://www.facebook.com/pinkblue.shirt คนเสื้อชมพูฟ้า Facebook Page]
* [https://www.facebook.com/pages/%E0%B8%95%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B2/1526437537574312 ตำนานบรรดาเรา Facebook Page]
{{geolinks-bldg|13.742824|100.498579|ชื่อ=โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย}}
{{geolinks-start-no-title|13.772738|100.506663}} สมาคมศิษย์เก่าสวนกุหลาบ


{{โรงเรียนในเครือสวนกุหลาบ}}
{{รายชื่อโรงเรียนห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์}}
{{จตุรมิตรสามัคคี}}
{{โรงเรียนชายล้วน}}
{{สถานศึกษาในเขตพระนคร}}
{{สร้างปี|2425}}
{{เรียงลำดับ|สวนกุหลาบวิทยาลัย}}
[[หมวดหมู่:โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ]]
[[หมวดหมู่:โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ]]
[[หมวดหมู่:เขตพระนคร|โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย]]
[[หมวดหมู่:เขตพระนคร|โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 21:17, 12 มิถุนายน 2560

โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
Suankularb Wittayalai School
ตราประจำโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
ที่ตั้ง
แผนที่
พิกัด13°44′34″N 100°29′55″E / 13.742824°N 100.498579°E / 13.742824; 100.498579
ข้อมูล
ชื่ออื่นส.ก. (SK)
ประเภทโรงเรียนชายล้วน - โรงเรียนรัฐบาล - โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ
คำขวัญสุวิชาโน ภวํ โหติ (ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญ)
สถาปนา8 มีนาคม พ.ศ. 2425 (142 ปี 94 วัน)
ผู้ก่อตั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
หน่วยงานกำกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
รหัส10105505
ผู้อำนวยการดร.วิทยา ศรีชมภู
ระดับปีที่จัดการศึกษาม.1- ม.6
สี  ชมพู   ฟ้า
เพลงเพลงประจำโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย (บรรดาเรา)
ดอกไม้ดอกกุหลาบพันธุ์จุฬาลงกรณ์
เว็บไซต์www.sk.ac.th