พิพิธภัณฑ์กีฬาออสเตรเลีย

พิกัด: 37°49′08″S 144°59′03″E / 37.818921°S 144.984249°E / -37.818921; 144.984249
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พิพิธภัณฑ์กีฬาออสเตรเลีย
ด้านนอกพิพิธภัณฑ์กีฬาออสเตรเลียที่สนามคริกเก็ตเมลเบิร์น
แผนที่
ชื่อเดิม
พิพิธภัณฑ์กีฬาแห่งชาติ
ก่อตั้ง22 พฤศจิกายน ค.ศ. 1986
ในชื่อ หอศิลป์กีฬาและพิพิธภัณฑ์โอลิมปิกแห่งออสเตรเลีย
13 มีนาคม ค.ศ. 2008
ในชื่อ พิพิธภัณฑ์กีฬาแห่งชาติ
ยุติ4 ตุลาคม ค.ศ. 2003
ในชื่อ หอศิลป์กีฬาและพิพิธภัณฑ์โอลิมปิกแห่งออสเตรเลีย
ที่ตั้งเมลเบิร์น ออสเตรเลีย
ประเภทพิพิธภัณฑ์กีฬา
เว็บไซต์australiansportsmuseum.org.au

พิพิธภัณฑ์กีฬาออสเตรเลีย (อังกฤษ: Australian Sports Museum; เดิมชื่อ พิพิธภัณฑ์กีฬาแห่งชาติ; อังกฤษ: National Sports Museum) เป็นพิพิธภัณฑ์ที่อุทิศให้กับกีฬาของออสเตรเลีย และตั้งอยู่ภายในสนามคริกเก็ตเมลเบิร์น ในเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย มีการจัดแสดงนิทรรศการกีฬาต่าง ๆ เช่น คริกเกต ฟุตบอลออสเตรเลีย กีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนและฤดูหนาว เทนนิส รักบี้ลีก รักบี้ยูเนียน ฟุตบอล บาสเกตบอล มวยสากล และเนตบอล หอเกียรติยศกีฬาออสเตรเลียตั้งอยู่ภายในพิพิธภัณฑ์ ร่วมกับพิพิธภัณฑ์การแข่งม้าออสเตรเลีย และพิพิธภัณฑ์สโมสรคริกเกตเมลเบิร์น

พิพิธภัณฑ์สโมสรคริกเกตเมลเบิร์นที่อยู่ติดกันมีนิทรรศการที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ของสโมสรคริกเกตเมลเบิร์น วันที่ 6 ตุลาคม ค.ศ. 2010 พิพิธภัณฑ์การแข่งม้าออสเตรเลียได้ถูกรวมเข้าไปในพิพิธภัณฑ์กีฬาออสเตรเลีย ซึ่งปัจจุบันส่งผลให้มีการแข่งม้าเคียงข้างกีฬาที่โดดเด่นอื่น ๆ ของออสเตรเลีย

พิพิธภัณฑ์นี้เคยมีชื่อว่าพิพิธภัณฑ์กีฬาแห่งชาติ และปิดในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2019[1] และได้งบประมาณ 17.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในการพัฒนาขื้นใหม่ (5 ล้านดอลลาร์ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลของรัฐ[2]) โดยมีกำหนดเปิดให้บริการอีกครั้ง (ด้วยชื่อใหม่) ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2020[ต้องการอัปเดต][1][2]

หอศิลป์กีฬาและพิพิธภัณฑ์โอลิมปิกแห่งออสเตรเลีย[แก้]

ก่อนที่พิพิธภัณฑ์กีฬาออสเตรเลียจะเปิดขึ้น หอศิลป์กีฬาและพิพิธภัณฑ์โอลิมปิกแห่งออสเตรเลียเปิดดำเนินการมา 17 ปีก่อนที่จะปิด พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ตั้งอยู่ด้านหน้าอัฒจันทร์ของสมาชิกสโมสรคริกเกตเมลเบิร์น ซึ่งเปิดในปี ค.ศ. 1928 ซึ่งถูกรื้อถอนพร้อมกับพิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์เปิดดำเนินการครั้งแรกเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน ค.ศ. 1986 ก่อนปิดให้บริการในวันที่ 4 ตุลาคม ค.ศ. 2003 ในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของการเปิดบริการ พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เปิดให้ประชาชนเข้าชมฟรีมากกว่า 35,000 คน พร้อมกับสามารถเข้าชมศาลาสมาชิกสโมสรคริกเกตเมลเบิร์นในอดีตได้

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "National Sports Museum". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 January 2020. สืบค้นเมื่อ 20 January 2020.
  2. 2.0 2.1 "MCC appoints arete Australia to complete National Sports Museum redevelopment". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-01-20. สืบค้นเมื่อ 2023-11-15.

แหล่ง้อมูลอื่น[แก้]

37°49′08″S 144°59′03″E / 37.818921°S 144.984249°E / -37.818921; 144.984249