ข้ามไปเนื้อหา

พาราซอโรโลฟัส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก พาราซอโรโลพัส)
พาราซอโรโลฟัส
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่:
Late Cretaceous, 76.5–73Ma
Possible Maastrichtian record
Parasaurolophus walkeri
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Sauropsida
อันดับใหญ่: Dinosauria
อันดับ: Ornithischia
วงศ์: Hadrosauridae
วงศ์ย่อย: Lambeosaurinae
สกุล: Parasaurolophus
Parks, 1922
ชนิดต้นแบบ
Parasaurolophus walkeri
Parks, 1922
ชนิด
ชื่อพ้อง[1]

พาราซอโรโลฟัส (อังกฤษ: Parasaurolophus) ชื่อของมันหมายความว่า "คล้ายกิ้งก่าหงอน" ซึ่งในเวลานั้นมีการค้นพบไดโนเสาร์ตระกูลเดียวกันมาก่อนแล้วอย่างเจ้าซอโรโลฟัสและชื่อมันก็แปลว่า "กิ้งก่าหงอน" พาราซอโรโลฟัสจึงถูกตั้งชื่อตามญาติห่างๆของมันไปด้วยเลย พาราซอโรโลฟัสเป็นไดโนเสาร์วงศ์แฮโดรซอริด (ไดโนเสาร์ปากเป็ด) ประเภทกินพืช อาศัยอยู่ในทวีปอเมริกาเหนือและเอเชียเมื่อปลายยุคครีเทเชียส ประมาณ 76 - 73 ล้านปีก่อน มันเป็นสัตว์กินพืชที่สามารถเดินได้ทั้ง 2 ขาและ 4 ขา แต่ส่วนใหญ่จะเดิน 4 ขา ณ เวลานี้มีการค้นพบสปีชีส์ที่แน่นอนของมันอยู่ทั้งหมด 3 สปีชีส์ ก็คือ P. walkeri P. tubican และ P. cyrtocristatus ตอนนี้ยังมีการนำเสนอสปีชีส์ที่ 4 อยู่นั่นก็คือ P. jiayensis แต่ก็ยังมีทฤษฎีที่ว่าสปีชีส์นี้คือ คาโรโนซอรัส อยู่ จึงอาจจะยังไม่เป็นที่ยอมรับกันสักเท่าไร ซากฟอสซิลที่รู้จักกันเป็นอย่างดีถูกค้นพบที่ รัฐอัลเบอร์ตา ประเทศแคนาดา และ รัฐนิวเม็กซิโกกับรัฐยูทาห์ ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยพาราซอโรโลฟัสถูกนำเสนอชื่อขึ้นในปี 1922 โดยนักธรณีวิทยาชาวแคนาดา Wiliam Parks จากการค้นพบกะโหลกศีรษะและโครงกระดูกบางส่วนที่รัฐอัลเบอร์ตา

พาราซอโรโลฟัสเป็นแฮโดรซอริดขนาดใหญ่โดยมีขนาดอยู่ที่ 8 - 10 เมตร ลักษณเด่นของมันก็คือ มีหงอนยาวขนาดใหญ่อยู่บนหัวเพื่อใช้ในการสื่อสารแต่ก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ แต่ก็มีนักบรรพชีวินวิทยาหลายคนได้นำเสนอไว้ว่าหงอนบนหัวของมันสามรถใช้ในการสื่อสารหรือส่งเสียงร้องเพื่อใช้ในการข่มขู่ศัตรูและเรียกคู่ ซึ่งบางทฤษฎีได้เสนอว่า มันอาจจะใช้ในการรักษาอุณหภูมิได้ด้วย แต่ทฤษฎีหลายๆ ทฤษฎีจะนำเสนอว่าหงอนของพวกมันสามารถใช้ในการระบุเพศผู้เพศเมียได้ ซึ่งนั่นก็เป็นลักษณะเด่นของนกและกิ้งก่าโดยทั่วไปอยู่แล้วอีกด้วย

กะโหลกของคาโรโนซอรัสที่ถูกค้นพบที่จีน ถือว่ามีลักษณะที่คล้ายกับเจ้าพาราซอโรโลฟัสมาก



ลักษณะเด่นและรายละเอียด

[แก้]
ขนาดของพาราซอโรโลฟัส (2 สปีชีส์) มาเปรียบเทียบกันพร้อมกับเปรียบเทียบกับมนุษย์

เช่นเดียวกันกับไดโนเสาร์ส่วนใหญ่ ฟอสซิลส่วนใหญ่ของเจ้าพาราซอโรโลฟัสยังไม่สมบูรณ์ ตอนนี้ฟอสซิลของมันทั้งหมดนั้นถูกค้นพบได้ประมาณ 80% แล้ว วึ่งถือว่าค่อนข้างสมบูรณ์เลยทีเดียว ขนาดของมันถูกประมาณไว้ที่ 8.56 - 9.45 เมตร โดยมีน้ำหนักประมาณ 2 ตัน แต่ Gregory S. Paul นักบรรพชีวินวิทยาได้ใช้หลักการของ Allometry ซึ่งได้น้ำหนักออกมาประมาณ 5 ตัน กะโหลกของพาราซอโรโลฟัสมีขนาดประมาณ 1.6 เมตร เป็นการวัดขนาดที่รวมหงอนของพวกมันด้วยแล้ว ขาหน้าของมันค่อนข้างสั้นและมีขาหลังที่ยาวเช่นเดียวกันกับไดโนเสาร์ในวงศ์แฮโดรซอริดตัวอื่นๆ เพราะเหตุนี้จึงทำให้มันสามารถยืน 2 ขาได้ มันจึงสามารถกินยอดไม้จากปลายกิ่งไม้ ที่ไดโนเสาร์บางชนิดไม่สามารถเอื้อมไปกินถึงได้ มันจึงมีข้อได้เปรียบในการกินอาหาร

การเปรียบเทียบขนาดของแฮโดรซอริดสปีชีส์อื่นๆ แต่สีม่วงไวโอเลตที่เห็นอยู่จะไม่ใช่พาราซอโรโลฟัส แต่จะเป็นคาโรโนซอรัสที่มีหน้าตาที่คล้ายกัน

กะโหลก

[แก้]
กะโหลกของพาราซอโรโลฟัส

ลักษณะเด่นของกะโหลกพาราซอโรโลฟัสแน่นอนว่าต้องเป็นกระดูกที่ยื่นออกมาทางด้านหลังของกะโหลก เป็นหงอนยาวขนาดใหญ่ที่สามารถใช้ในการดึงดูดเพศตรงข้าม และส่งเสียงร้อง กระดูกโพรงจมูกของมันนั้นแยกเป็น 2 ท่อ ยาวจนถึงปลายของหงอนเพราะเหตุนี้จึงทำให้มันสามารถส่งเสียงร้องดังกังวานได้ มีข้อสันนิษฐานที่ว่า พาราซอโรโลฟัสถือเป็นไดโนเสาร์ที่สามารถส่งเสียงร้องดังไปได้ไกลมาก จึงอาจจะทำให้มันเป็นไดโนเสาร์ที่สามารถส่งเสียงร้องดังได้มากที่สุดอีกด้วย แต่ย้ำว่ามันยังเป็นแค่การสันนิษฐานเท่านั้น...


การเจริญเติบโต

[แก้]
ซากฟอสซิลของ Joe ที่ถูกค้นพบในรัฐยูทาห์ ประเทศสหรัฐอเมริกา

ส่วนใหญ่แล้วนักบรรพชีวินวิทยาจะศึกษามันจากซากฟอสซิลของพาราซอโรโลฟัสที่โตเต็มวัยแล้ว ส่วนพวกตัวเล็กหรือตัววัยเด็กได้มีการค้นพบซากฟอสซิลที่สมบูรณ์ในช่วงปี 2009 และได้ถูกบันทึกไว้ในปีนั้นเช่นเดียวกัน โดยมีหมายเลขฟอสซิลคือ RAM 140000 และมันก็มีชื่ออีกด้วย...ชื่อของมันก็คือ Joe มันถูกค้นพบโดยอาสาสมัครที่พิพิธภัณฑ์ซากดึกดำบรรพ์ Raymond M. Alf (RAM) โดยมันถูกค้นในการก่อตัวของชั้นหิน Kaiparowits Formation ที่รัฐยูทาห์ ประเทศสหรัฐอเมริกา เรียกได้ว่าเป็นฟอสซิลที่สมบูรณ์พาราซอโรโลฟัสวัยเยาว์ที่สมบูรณ์ที่สุดเท่าที่เคยได้มีการค้นพบมา โดยฟอสซิลมีอายุประมาณ 75 ล้านปี แต่ Joe มีอายุก่อนตายเพียงแค่ 1 ปีเท่านั้น

ลักษณะของ Joe นั้นมีความคล้ายคลึงกับ P. cyrtocristatus อยู่หลายประการ เช่น รูปแบบของหงอนบนหัวที่นูนขึ้นมาเล็กน้อย และรูปทรงของกะโหลกที่ดูคล้ายกันกับพาราซอโรโลฟัสในวงศ์เดียวกัน มากกว่า แฮโดรซอริด สปีชีส์อื่น จึงทำให้นักบรรพชีวินวิทยาสามารถสันนิษฐานหน้าตาของพาราซอโรโลฟัสในแต่ละช่วงวัยได้

โดยพาราซอโรโลฟัสในวัยเด็กจะมีหงอนนูนขนาดเล็กอยู่บนหัว พอเริ่มเข้าสู่วัยรุ่นมันอาจจะมีหงอนที่ไม่มีขนาดใหญ่สักเท่าไร แต่ก็อาจจะยาวจนยื่นไปทางด้านหลังท้ายทอยแล้วพอสมควร แต่ก็ยังเป็นข้อสันนิษฐานกันอยู่ เนื่องจากยังไม่มีการค้นพบซากฟอสซิลของพาราซอโรโลฟัสในวัยรุ่นเลย ส่วนใหญ่จะมีการค้นพบแต่พวกโตเต็มวัยจึงทำได้เพียงแค่สันนิษฐานหน้าตาของมันในช่วงวัยรุ่นเท่านั้น และช่วงวัยสุดท้าย ช่วงโตเต็มวัย ในช่วงวัยนี้พาราซอโรโลฟัสจะมีหงอนขนาดใหญ่อยู่บนหัว และมีสันหลังที่สูงเด่น จึงทำให้มันดูเป็นไดโนเสาร์ที่สง่างามมาก

การจัดจำแนกประเภท

[แก้]

พาราซอโรโลฟัสนั้นเป็นไดโนเสาร์ที่ถูกจัดอยู่ในวงศ์แฮโดรซอริด โดยไดโนเสาร์ในวงศ์นี้ถูกแบ่งออกเป็น 2 วงศ์ย่อยนั่นก็คือ Saurolopinae (ซอโรโลฟีน) และ Lambeosaurinae (แลมบีโอซอรีน) ซึ่งในตอนแรกนั้นพาราซอโรโลฟัสถูกจัดไว้ว่าเป็นญาติใกล้ชิดกันกับซอโรโลฟัส แต่ในเวลาต่อมามันทั้งสองก็ได้ถูกแยกห่างออกจากกันหลังมีการจัดวงศ์ย่อยให้แฮโดรซอริดใหม่ ดังที่กล่าวไว้ข้างต้น โดยซอโรโลฟัสถูกจัดอยู่ในวงศ์ย่อย ซอโรโลฟีน และพาราซอโรโลฟัสถูกจัดอยู่ในวงศ์ย่อย แลมบีโอซอรีน พวกมันทั้งสองจึงไม่ค่อยเกี่ยวเนื่องกันสักเท่าไรแล้ว

Saurolopinae (ซอโรโลฟีน)

[แก้]
ภาพของ Edmontosaurus โดยศิลปินอย่าง คุณ Natee Puttapipat
แน่นอนว่าพาราซอโรโลฟัสของเราก็ต้องอยู่ในกลุ่มไดโนเสาร์วงศ์ย่อยนี้เช่นกัน

ซอโรโลฟีนนั้นเป็นไดโนเสาร์วงศ์ย่อยของวงศ์ใหญ่อย่าง แฮโดรซอริด โดยที่ไดโนเสาร์วงศ์ย่อยนี้จะมีลักษณะเด่นก็คือ มีจะงอยปากเป็ดอยู่ที่บริเวณปลายปากและมีฟันกรามที่คล้ายแบตเตอรี ที่สามารถงอกได้ตลอดชีวิต นี่คือหนึ่งในความมหัศจรรย์ของไดโนเสาร์วงศ์แฮโดรซอริด และลักษณะเด่นอย่างสุดท้ายของไดโนเสาร์ในวงศ์ย่อยนี้ก็คือ พวกมันไม่มีหงอน และมีทรงกะโหลกที่ยาวแบน ตัวอย่างเช่น ชานตงโกซอรัส,เอ็ดมอนโตซอรัส,ซอโรโลฟัส

Lambeosaurinae (แลมบีโอซอรีน)

[แก้]
นี่คือเพื่อนของเจ้าพาราซอร์ กับ โคริ ซึ่งเจ้านี่ก็คือ แลมบิโอซอรัส เจ้านี่อาจจะมีหน้าตาคล้ายกับโคริอยู่หลายจุดเลยทีเดียว

แลมบีโอซอรีนเป็นกลุ่มของไดโนเสาร์วงศ์ย่อยของกลุ่มไดโนเสาร์วงศ์ใหญ่อย่าง แฮโดรซอริด โดยไดโนเสาร์วงศ์ย่อยนี้มีลักษณะที่มีความแตกต่างจากซอโรโลฟีนอยู่หลายอย่าง ซึ่งบางคนอาจจะแยกไม่ออกหรือดูแล้วยังไม่เข้าใจ แต่ถ้าสังเกตรายละเอียดลึกๆ แล้วจะเห็นความแตกต่างอยู่มาก ซึ่งกลุ่มไดโนเสาร์วงศ์ย่อยนี้จะมีลักษณะเด่นที่สุดก็คือ หงอนที่มีหลากหลายรูปแบบที่อยู่บนหัว ในแต่ละสปีช๊ส์ก็จะมีลักษณะของหงอนแตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นโคริโทซอรัสที่มีหงอนคล้ายหมวกของนักรบโบราณ และพระเอกของเราอย่างเจ้าพาราซอโรโลฟัสที่มีหงอนยาวสูงอยู่บนหัว

และอันที่จริงแล้วหงอนของพวกมันนั้นไม่ได้มีไว้ดึงดูดเพศตรงข้ามเพียงอย่างเดียวแต่ยังสามารถส่งเสียงร้องดังกังวานได้แตกต่างกันออกไปอีกตามลักษณะของหงอนที่ต่างกันออกไป แต่ใครจะร้องได้เสียงดังที่สุดหละ!? ได้มีการศึกษากันอย่างละเอียดโดยเหล่านักบรรพชีวินวิทยาและนักวิทยาศาสตร์หลายต่อหลายคน โดยศึกษาลักษณะของโครงสร้างของกะโหลกและโพรงภายใน..ซึ่งได้ผลสรุปออกมาว่า ยิ่งมีโพรงในกะโหลกมากและหงอนมีขนาดใหญ่จะอำนวยต่อการส่งเสียงร้องดังกังวานได้ ซึ่งผู้ชนะของเราก็ได้แก่.....พาราซอโรโลฟัส!!!! ของพวกเรานั่นเองและไม่ได้เป็นเพียงแค่ แฮโดรซอริด ที่ร้องเสียงดังที่สุดแต่ยังได้ขึ้นแท่นเป็น ไดโนเสาร์ที่มีเสียงร้องดังที่สุด อีกด้วย

อ้างอิง

[แก้]
  1. Martin 2014.