พระเทพสิทธินายก (เลียบ ปญญฺสิริ)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระเทพสิทธินายก

(เลียบ ปญญฺสิริ)
ชื่ออื่นหลวงพ่อเลียบ วัดเลา
ส่วนบุคคล
เกิดมีนาคม พ.ศ. 2412 (71 ปี)
มรณภาพ18 เมษายน พ.ศ. 2483
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดเลา กรุงเทพมหานคร
อุปสมบทพ.ศ. 2434
พรรษา49
ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดเลา

หลวงพ่อเลียบ วัดเลา (มีนาคม พ.ศ. 2412 - 18 เมษายน พ.ศ. 2483) ท่านเป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง เป็นพระสงฆ์ผู้ทรงวิทยาคมอันแก่กล้า เสกน้ำมนต์เดือดได้ น้ำมันของท่านช่วยปัดเป่าทุกข์ภัยให้ผู้คนมากมาย เครื่องรางของขลัง เช่น ผ้าเช็ดหน้าเมตามหานิยม ธงค้าขาย เสื้อยันต์ ตะกรุดโทน ตะกรุดสามกษัตริย์ และเหรียญรุ่นแรกมีพุทธคุณรอบด้าน ได้ไปร่วมปลุกเสกวัตถุมงคลในพิธีสำคัญอยู่เป็นประจำ

ประวัติ[แก้]

หลวงพ่อเลียบ วัดเลา ท่านเกิดเมื่อเดือน มีนาคม พ.ศ. 2412 ในแผ่นดินองค์รัชกาลที่ 5 ที่บ้านปากคลองภาษีเจริญ จังหวัดธนบุรีจังหวัดในอดีตที่อยู่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาของประเทศไทย ซึ่งในปัจจุบันกลายเป็น กรุงเทพมหานคร ฐานะเป็นเพียงส่วนหนึ่งของประเทศไทยคือ ฝั่งธนบุรี เป็นบุตรของนายทัด และนางเปลี่ยน ทิพยทัศน์ เป็นบุตรคนที่ 4 ในจำนวนพี่น้องทั้งหมด 6 คน เมื่อในวัยเยาว์ได้ศึกษาอักขระในสมัยในสำนักพระครูพุทธพยากรณ์ (กล้ำ) วัดอัปสรสวรรค์ อุปสมบทเมื่อปี พ.ศ. 2434 โดยมีพระอาจารย์ทัด วัดสิงห์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระภาวนาโกศลเถระ (เอี่ยม) วัดหนัง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูสมณธรรมสมานาม (แสง) วัดปากน้ำภาษีเจริญ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า ปุญญสิริ ได้ศึกษาพระธรรมวินัยและสวดปาติโมกข์จนเจนจบย้ายไปวัดขุนจันทร์ เพื่อศึกษาวิปัสสนาธุระ กับ หลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง จนได้รับการยกย่องจากหลวงปู่เอี่ยมว่า มีพลังจิตกล้าแข็งมาก ศึกษาพระปริยัติธรรมในสำนักพระอุดรคณารักษ์ (ชุ่ม) วัดโพธิ์ และศึกษาโหราศาสตร์กับพระปรากรมมุนี (นวน) วัดสังข์กระจาย ต่อมาได้รับการแต่งตั้งเป็นพระสมุหวรคณิสรสิทธิการและพระเทพสิทธินายกตามลำดับ และได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชร และเป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อปี พ.ศ. 2547 ได้เข้าไปบูรณะวัดเลาและซ่อมแซมให้ดีขึ้น ในบั้นปลายชีวิตท่านได้ป่วยเป็นโรคลมอัมพาต จนถึงวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2483 เวลา 14.oo น.ท่านได้ถึงแก่มรณภาพด้วยอาการสงบ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร รัชกาลที่ 8 แห่งราชวงศ์จักรี รวมสิริอายุได้ 71 ปี 48 พรรษา

อ้างอิง[แก้]