พรรคไทยภักดี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พรรคไทยภักดี
ประธานวรงค์ เดชกิจวิกรม
หัวหน้าอิสราพร นรินทร์
เลขาธิการธนุ สุขบำเพิง[1]
เหรัญญิกอนันต์ สาครเจริญ
นายทะเบียนสมาชิกไชยยุทธ ศรีเปารยะ
กรรมการบริหาร
  • ทศพล พรหมเกตุ
  • กรรญดา ณ หนองคาย
  • ว่าที่ร้อยตรีสานนท์ บุญมี
  • จักรพงศ์ ฉัตรพศิน
  • ปฏิยุทธ ทองประจง
  • สกล มาเนียม
ผู้อำนวยการทินกร ปลอดภัย
คำขวัญไทยภักดี ภักดีประชา ศรัทธาสถาบัน
ก่อตั้ง24 สิงหาคม 2021; 2 ปีก่อน (2021-08-24)[2]
ที่ทำการ206 ถนนประชาราษฎร์ ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี 11000[3]
จำนวนสมาชิก  (ปี 2565)13,301 คน[4]
อุดมการณ์กษัตริย์นิยม[5]
อนุรักษนิยม[6]
ชาตินิยม
จุดยืนขวาจัด
สี  สีเขียว
เพลงไทยภักดีทำดีให้พ่อ
เว็บไซต์
thaipakdee.org
การเมืองไทย
รายชื่อพรรคการเมือง
การเลือกตั้ง

พรรคไทยภักดี (อังกฤษ: Thai Pakdee Party, อักษรย่อ: ทภด., TPD) เป็นพรรคการเมืองสายกษัตริย์นิยมของไทย ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2564 โดยวรงค์ เดชกิจวิกรม อดีตแพทย์ และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพิษณุโลก สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ แกนนำกลุ่มไทยภักดี ได้มีการรวบรวมเครือข่ายประชาชนผู้จงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ และระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

ต่อมาในวันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2565 พรรคไทยภักดีได้จัดการประชุมใหญ่สามัญประจำปี ครั้งที่ 2/2565 ที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาสุวินทวงศ์ เพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคเพิ่มเติม ซึ่งที่ประชุมมีมติเลือกเทพราช รังสิต พระนัดดาของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต และวรชาติ จินตประทีปโกวิท เป็นคณะกรรมการบริหารพรรค[7] จากนั้นในวันเสาร์ที่ 5 สิงหาคม 2565 พรรคไทยภักดีได้จัดการประชุมใหญ่เพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่หลังนายแพทย์วรงค์ได้ลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรค ซึ่งที่ประชุมมีมติเลือก ดร. อิสราพร นรินทร์ และ ธนุ สุขบำเพิง เป็นหัวหน้าพรรคและเลขาธิการพรรคคนใหม่พร้อมกับเปลี่ยนแปลงสีของพรรคเป็นสีเขียว และเดินหน้าสถาปนาระบอบราชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญ

การเลือกตั้ง[แก้]

พรรคไทยภักดี ส่งสมาชิกของพรรคลงสมัครรับเลือกตั้งครั้งแรกเมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2565 ในการเลือกตั้งซ่อมกรุงเทพมหานครเขต 9 พรรคไทยภักดีได้ส่งพันธ์เทพ ฉัตรนะรัชต์ ลงรับเลือกตั้ง โดยได้คะแนนทั้งหมด 5,987 คะแนน เป็นอันดับที่ 5 ของเขต[8]

ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง[9] แต่ไม่ได้รับเลือกเข้าสภาผู้แทนราษฎรในครั้งนี้

บุคลากร[แก้]

รายชื่อหัวหน้าพรรค[แก้]

ลำดับ ชื่อ เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ
1 วรงค์ เดชกิจวิกรม 24 สิงหาคม พ.ศ. 2564 5 สิงหาคม พ.ศ. 2566
2 ดร.อิสราพร นรินทร์ 5 สิงหาคม พ.ศ.2566 ปัจจุบัน

รายชื่อเลขาธิการพรรค[แก้]

ลำดับ ชื่อ เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ
1 วิชัย ล้ำสุทธิ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2564 18 ตุลาคม พ.ศ. 2564
2 พลตำรวจโท ชาญเทพ เสสะเวช 2 มกราคม พ.ศ. 2565 5 สิงหาคม พ.ศ. 2566
3 ธนุ สุขบำเพิง 5 สิงหาคม พ.ศ. 2566 ปัจจุบัน

อ้างอิง[แก้]

  1. ไทยภักดีรีแบรนด์จากเหลืองเป็นเขียว เดินหน้าสถาปนาระบอบราชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญ พร้อมเปลี่ยนหัวหน้าและเลขาฯ คนใหม่
  2. "ไทยภักดี: นพ.วรงค์เปิดตัว "พรรคไทยภักดี" ประกาศจุดยืนสู้พรรคก้าวไกล-คณะก้าวหน้า-ม็อบสามนิ้ว". สืบค้นเมื่อ 2021-01-20.
  3. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรคและคณะกรรมการบริหารพรรคไทยภักดี
  4. ข้อมูลพรรคการเมืองที่ยังดำเนินการอยู่ ณ วันที่ 1 ธันวาคม 2565
  5. "ไทยภักดี ยันไม่ท้อ ชี้นี่คือคะแนนบริสุทธิ์ รับพรรคยังใหม่ ที่มาสู้กับการเมืองเก่า". สืบค้นเมื่อ 30 January 2022.
  6. "ขวาชัดเจน 'เหรียญทอง' หนุนไทยภักดี สะดุ้ง!พรรคไหน 'ขวาไม่ชัด ซ้ำดัดจริต'". thaipost.net/. สืบค้นเมื่อ 29 January 2022.
  7. 'เทพราช รังสิต' นั่งเก้าอี้กรรมการบริหารพรรคไทยภักดี
  8. ""ไทยภักดี" เผย ผลคะแนน "เลือกตั้งซ่อม" ยอมรับได้ แม้เสียเปรียบทุกประตู". bangkokbiznews.com. สืบค้นเมื่อ 30 January 2022.
  9. เลือกตั้ง 2566 : ไทยภักดีต้องได้ 1 เก้าอี้ “วรงค์” วอน กกต. ทบทวนคะแนนปาร์ตี้ลิสต์

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]