ผู้ใช้:Wsirinapa/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ระบบราชการเป็นรูปแบบโครงสร้างขององค์การขนาดใหญ่[1]ที่สามารถนำไปใช้ในการบริหารจัดการองค์การทั้งต่อภาครัฐและภาคเอกชน เป็นรูปแบบที่มีความเป็นทางการค่อนข้างมาก มีการแบ่งงานตามความชำนาญของแต่ละบุคคล มีการกำหนดกฎเกณฑ์เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งลักษณะดังกล่าวสามารถที่จะใช้พัฒนาการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุผลตามเป้าหมายที่กำหนดไว้

ประวัติความเป็นมา[แก้]

ทฤษฎีระบบราชการ เป็นรูปแบบแนวคิดที่ได้มาจาก แม็กซ์ เวเบอร์ ชาวเยอรมันที่สำเร็จการศึกษาทางด้านกฎหมายและรับราชการในกองทัพของเยอรมัน เวเบอร์เกิดในตระกูลที่ร่ำรวยและครอบครัวของเขาเกี่ยวข้องกับการเมือง เวเบอร์มีความสนใจทางด้านสังคมวิทยา ศาสนา เศรษฐศาสตร์ และการเมือง ชีวิตการทำงานของเวเบอร์อยู่ในช่วงปี ค.ศ.1864-1920 " ในช่วงที่เวเบอร์เขียนหนังสือ The Protestant Ethic and the Spirit of Capitalism เขามีโอกาสเข้าไปในประเทศสหรัฐอเมริกาและได้เห็นระบบนายทุน ในปี ค.ศ.1904 เวเบอร์ได้รับเชิญให้ร่วมประชุมที่ Saint Louis ซึ่งเป็นเรื่องของสังคมวิทยาของศาสนา (Sociology of religion) และต่อมาได้นำเสนอแนวคิดการจัดองค์การ ที่เรียกว่า Bureaucracy แมคซ์ เวเบอร์ เป็นนักทฤษฎีองค์การชาวเยอรมันซึ่งอธิบายทฤษฎีเกี่ยวกับการครอบงำ (Domination) โดยเขาเห็นว่าผู้นำหรือนักบริหารจะบริหารงานให้มีประสิทธิภาพได้ ขึ้นอยู่กับการที่ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชายินยอมที่จะปฏิบัติตาม และจะต้องมีระบบการบริหารมาดำเนินการให้คำสั่งมีผลให้บังคับได้ "[2] เป็นแนวทางในการจัดองค์การแบบระบบราชการ มีการจัดวางโครงสร้างพื้นฐานที่เต็มไปด้วยความเคร่งครัดจากกฎระเบียบ ลักษณะของโครงสร้างที่มีความเป็นทางการค่อนข้างมาก คือ การยึดติดกับการบังคับบัญชา ส่งผลให้มีลักษะเหมือนเครื่องกล ผู้บังคับบัญชาสามารถควบคุม และคาดหมายพฤติกรรมของสมาชิกในองค์การได้อย่างเที่ยงตรง และมุ่งเน้นโครงสร้างที่ตายตัว รวมทั้งมุ่งหวังผลในด้านการควบคุม และมีการทำตัวแบบขององค์การ โดยตัวแบบองค์การของเวเบอร์จะมีลักษณะที่มุ่งเน้นการแบ่งงานที่ชัดเจนและให้ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญปฏิบัติงานเท่านั้น มีการกำหนดกฎเกณฑ์เพื่อให้การปฏิบัติเป็นไปในทิศทางเดียวกัน มีความก้าวหน้าของพนักงาน ความชำนาญในด้านของเทคนิค การกำหนดสายการบังคับบัญชาจากส่วนบนไปสู่ส่วนล่างขององค์การ[3][4] ซึ่งลักษณะดังกล่าวสามารถใช้พัฒนาการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ มีการปฏิบัติงานอย่างเป็นขั้นตอน แนวคิดนี้ถือได้ว่า แม็กซ์ เวเบอร์ เป็นผู้วางรากฐานให้กับระบบราชการทั่วโลก เขาจึงได้รับขนานนามว่าเป็น "บิดาของระบบราชการ" [5][6][7][8]

ระบบราชการ[แก้]

ระบบราชการ (Bureaucracy) เป็นรูปแบบโครงสร้างในการจัดองค์การขนาดใหญ่ให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน ซึ่งอาจแยกพิจารณาได้ 2 แบบ ดังนี้

  1. ระบบราชการในฐานะที่เป็นสถาบันทางสังคม (Social Institute) เป็นสถาบันการบริหารและการปกครองของรัฐ ที่มีหน้าที่ปกป้อง ดูแล และรักษาไว้ซึ่งผลประโยชน์ของประเทศ เป็นสถาบันที่มั่นคงยากต่อการเปลี่ยนแปลง[9]
  2. ระบบราชการในฐานะที่เป็นรูปแบบหนึ่งของการจัดองค์การ (a form of organization) เป็นระบบการบริหารระบบหนึ่ง ซึ่งมีโครงสร้างแบบที่เรียกว่า "Weberian Bureaucracy" เป็นรูปแบบที่สามารถเปลี่ยนแปลงและแก้ไขได้ตามสถานการณ์และความเหมาะสม


รูปแบบการใช้อำนาจ[แก้]

  1. อำนาจมาจากบารมีส่วนตัวของบุคคล (Charismatic Domination) คือ ผู้นำที่ได้อำนาจมาจากบารมีหรือบุคลิกลักษณะส่วนตัว ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ทำให้ผู้ตามยอมรับ จงรักภักดีและเชื่อมั่นในตัวของผู้นำ โดยกลไกในการบริหารที่เหมาะสม คือ ระบบ Dictatorship, Communal [10]
  2. อำนาจแบบประเพณีนิยม (Traditional Domination) คือ ผู้นำที่ได้อำนาจมาจากจารีตประเพณีที่สังคมยึดถือและปฏิบัติมานาน เช่น การสืบทอดตำแหน่งของกษัตริย์ ผู้นำลักษณะนี้เปรียบเสมือนเจ้านายชนชั้นสูงในสังคม โดยกลไกในการบริหารที่เหมาะสม คือ Feudal / Patrimonial[11]
  3. อำนาจตามกฎหมาย (Legal Domination) คือ ผู้นำที่มีอำนาจโดยมีคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนดไว้ตามมาด้วยตำแหน่งทางสังคมที่ผู้ตามยอมรับ กลไกการบริหารที่เหมาะสม คือ Bureaucracy [12]

โครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ[แก้]

หลักลำดับขั้น (Heirachy)[แก้]

เป็นหลักที่มีเป้าหมายอย่างชัดเจนในการทำให้องค์การอยู่ภายใต้การสั่งการและควบคุม มีการกำหนดกฎเกณฑ์ให้ปฏิบัติไปในรูปแบบเดียวกัน การบริหารจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนที่เหมาะสม ซึ่งจะทำให้มีการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การทำงานในองค์การขนาดใหญ่นั้นก็มักจะมีกฎระเบียบและระบบที่ใช้กันมานานแล้ว คือ การที่จะให้ผู้บริหารระดับสูงเซ็นต์เอกสารจะต้องผ่านการคัดกรองถ้อยคำและเรียบเรียงอย่างสละสลวยและต้องผ่านการดำเนินงานไปทีละลำดับจากพนักงานชั้นล่างไปสู่หัวหน้าแผนก ผู้จัดการสาขา ผู้จัดการโรงงานกว่าจะถึงผู้บริหารสูงสุดทำให้เกิดความล่าช้าในการทำงาน แต่การที่พนักงานระดับล่างดำเนินการแบบไม่ปรึกษาผู้ใดก็ย่อมไม่เป็นผลดีต่อองค์การเช่นกัน ต้องปรับคนล่ะครึ่งทางถึงจะประสบผลสำเร็จ[13]

ความสำนึกแห่งความรับผิดชอบ (Responsibility)[แก้]

ในการทำงานไม่ว่าจะตำแหน่งใดก็ตามเจ้าหน้าที่ทุกคนจะต้องมีความสำนึกและความรับผิดชอบต่อการกระทำของตน รู้จักรับผิดชอบต่อหน้าที่และงานที่ได้รับมอบหมาย และพร้อมที่จะให้มีการตรวจสอบโดยผู้บริหารอยู่ตลอดเวลา

หลักแห่งความสมเหตุสมผล (Rationality)[แก้]

เป็นหลักที่มุ่งสู่ความถูกต้องเหมาะสม ในหลักนี้จะนำมาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงาน มีการใช้เครื่องมือ เครื่องใช้ การบริหารทรัพยากรต่างๆ ที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ ส่งผลให้บรรลุผลตามเป้าหมายที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยแนวทางที่จะนำไปสู่ความสมเหตุสมผล คือ

  1. การกำหนดกฎระเบียบ ข้อบังคับขององค์การให้อยู่ในรูปของกฎหมายอย่างชัดเจน ให้ความสำคัญและใส่ใจต่อกระบวนการทำงานที่จะบรรลุผลอย่างมีประสิทธิภาพ
  2. มีการจัดฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ให้เกิดความรู้ความเข้าใจต่อกระบวนการในการทำงานมากขึ้น
  3. ต้องแยกทรัพย์สินของตนออกจากทรัพย์สินขององค์การอย่างเด็ดขาด [14]

หลักการมุ่งสู่ความสำเร็จ (Achievement Orientation)[แก้]

เป็นการปฏิบัติงานที่มุ่งสู่เป้าหมายขององค์การอยู่เสมอ ซึ่งหลักการนี้ต้องอาศัยปัจจัย 3 อย่างในการทำให้เกิดผลสำเร็จ คือ

  1. เจ้าหน้าที่ต้องถือหลักประสิทธิภาพ หรือ หลักประหยัด ในการตัดสินใจเลือกหนทางปฏิบัติอย่างถูกต้อง
  2. การแบ่งงานตามความชำนาญเฉพาะด้านของบุคคล
  3. กำหนดวิธีการปฏิบัติงานที่ถูกต้อง เหมาะสมกับลักษณะงาน

หลักการทำให้เกิดความแตกต่างหรือการมีความชำนาญเฉพาะด้าน (Specialization)[แก้]

ในการบริหารงานภายในองค์การที่มีขนาดใหญ่และมีพนักงานเป็นจำนวนมาก จะต้องมีการแบ่งงานตามความถนัดหรือความสามารถเฉพาะกลุ่มบุคคล มีการจัดแผนกงานหรือส่วนงานตามลักษณะโครงสร้างองค์การแบบระบบราชการ และต้องมีหน่วยงานรับรอง เพื่อให้เกิดการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการแบ่งงานจะต้องยึดหลักการจัดองค์การ คือ

  1. การแบ่งงานตามส่วนพื้นที่
  2. การแบ่งงานตามหน้าที่
  3. การแบ่งงานตามลูกค้าหรือผู้รับบริการ
  4. การแบ่งงานตามกระบวนการทำงาน

หลักระเบียบวินัย (Discipline)[แก้]

เป็นหลักที่จะต้องมีการกำหนดกฎระเบียบ ข้อบังคับ และบทลงโทษ เพื่อความคุมความประพฤติของสมาชิก และฝึกให้สมาชิกทุกคนมีระเบียบวินัยต่อการทำงานและการปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับในภายในองค์การ

ความเป็นวิชาชีพ (Professionalization)[แก้]

บุคคลที่ประกอบอาชีพรับราชการ จะต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานในหน้าที่ของตน และต้องมีความรู้ในเรื่องของกฏ ระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ ซึ่งในการปฏิบัติงานจะต้องปฏิบัติงานอย่างเต็มเวลามีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ มีการจัดระบบการทำงาน มีการใช้ความสมเหตุสมผลในการตัดสินใจหรือแก้ปัญหา เป็นผู้ที่รักในวิชาชีพ เป็นผู้ที่นำความรู้ที่ตนมีอยู่ไปใช้ในทางที่ถูกที่ควร และนำใช้ในการดำเนินงานอย่างเต็มที่ [15][16]

อ้างอิง[แก้]

  1. http://politicgroups.blogspot.com/2008/09/bureaucracy.html
  2. http://applerakchon.blogspot.com/2012/10/5-max-weber.html
  3. https://www.slideshare.net/wiraja/ss-8385218
  4. http://learningofpublic.blogspot.com/2015/10/bureaucracy-system-theory-max-weber.html
  5. พิทยา บวรวัฒนา, 2527, รัฐประศาสนศาสตร์ ทฤษฎีและแนวทางการศึกษา ค.ศ.1887-1970,(กรุงเทพ : คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
  6. อุทัย เลาหวิเชียร, 2526, การเปลี่ยนแปลงของรัฐประศาสนศาสตร์ ศึกษาจากอิทธิพลของรัฐศาสตร์ พฤติกรรมศาสตร์ และศาสตร์ทางการบริหาร ในรวมผลงานของนักวิชาการไทยเล่มที่1 กรุงเทพมหานคร : คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันพัฒนบริหารศาสตร์.
  7. Max Weber, 1992, "Bureaucracy" in Classics of Organization Theory, Harcourt College Publishers, Orlando : 73­78.
  8.  Mouzelis, Nicos P, 1975, Organization And Bureaucracy : An Analysis of Modern Theories, University of Warwick, London : 8­10.
  9. http://kantacandidate.blogspot.com/2012/02/bureaucracy-max-weber.html
  10. https://www.youtube.com/watch?v=KvbXLQ3eJH0
  11. https://docs.google.com/file/d/0B0QqZeoMeRdmWnFiSkQwY0pRcjA/edit
  12. http://documents.tips/education/max-weber-bureaucracy-55849bc523831.html
  13. http://punyatida.blogspot.com/2015/08/max-weber.html
  14. [1]
  15. http://adisony.blogspot.com/2012/10/max-weber-bureaucracy.html
  16.  Max Weber. (1947). The Theory of Social and Economic Organizations. Translated by A.M. Handerson and T. Parsons. New York : Free Press.