ผู้ใช้:Kuakul/หน้าทดลอง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

กวี ณ ลำปาง (เกิด พ.ศ. 2501) เป็นนักธุรกิจ นักเคลื่อนไหวทางการเมือง และนักการเมืองชาวไทย อดีตสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร 3 สมัย เขาเคยประกอบธุรกิจส่งออก เปเปอร์มาเช่ (papier-mâché) โดยตลาดส่งออกหลักคือกลุ่มสหภาพยุโรปและประเทศสหรัฐอเมริกา อีกทั้งยังเป็นวิทยากรอบรมเสริมสร้างความรู้และอาชีพให้แก่นักเรียน นักศึกษา หน่วยงานราชการ หน่วยงานเอกชน หรือผู้ที่สนใจทั่วไป

ปฐมวัย[แก้]

กวี ณ ลำปาง เกิดที่กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรของนายเกรียติ คงเจริญ และนางนิภา ณ ลำปาง โดยบิดาประกอบธุรกิจโรงพิมพ์บริเวณวงเวียนใหญ่ กรุงเทพมหานคร ส่วนมารดาประกอบธุรกิจโรงแรมที่อำเภอหาดใหญ่ก่อนจะย้ายกลับมาประกอบธุรกิจหอพักบริเวณอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ กรุงเทพมหานคร

การศึกษา[แก้]

เขาจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนอำนวยศิลป์ และโรงเรียนผดุงศิษย์พิทยา ก่อนจะเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต สาขานิติศาสตร์

ด้วยความสนใจทางด้านการเมืองการปกครอง และการบริหารจัดการภาครัฐ ประกอบกับเพื่อต่อยอดกับการดำรงตำแหน่งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขาจึงตัดสินใจศึกษาต่อระดับปริญญาโทสาขารัฐประศาสนศาสตร์ ที่สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ในระหว่างที่ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครสมัยที่ 2

ชีวิตส่วนตัว[แก้]

กวี ณ ลำปาง สมรสกับ เกื้อกูล ณ ลำปาง (เสียชีวิตเมื่อปี 2550) มีบุตร-ธิดาด้วยกัน 3 คน ได้แก่

1. นางสาวกานต์แก้ว ณ​ ลำปาง (แก้ม)

2. นางสาวกรองแก้ว ณ​ ลำปาง (กาพย์)

3. นายกานต์ ณ ลำปาง (กล้า)

ประวัติการทำงานการเมือง[แก้]

เขาเริ่มเข้าสู่การเมืองครั้งแรก ใน พ.ศ. 2533 ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ในพื้นที่เขตพญาไท สังกัดพรรคพลังธรรม และต่อมาย้ายมาสังกัดพรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชน และพรรคเพื่อไทย ตามลำดับ

กวี ณ​ ลำปาง เป็นนักเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตย โดยเขายึดถืออุดมการณ์ประชาธิปไตยเป็นหลักในการทำงานการเมือง โดยในปี พ.ศ. 2535 เขาได้เข้าร่วมชุมนุมในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ และ เขาได้เข้าร่วมชุมนุมกับแนวร่วมประชาธิปไตยต่อด้านเผด็จการแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2553

ประวัติการทำงานด้านการเมือง[แก้]

สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร 3 สมัย

■ ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการคุ้มครองผู้บริโภค

■ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย (สุเทพ อัตถากร)

■ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

■ คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติสัญชาติ ปี 2554

■ ประธานอนุกรรมการรถไฟฟ้ากรุงเทพมหานคร

■ ประธานอนุกรรมการพิจารณางบประมาณสำนักงานระบายน้ำ ของกรุงเทพมหานคร

■ ประธานกรรมการการศึกษาของสภากรุงเทพมหานคร

■ ประธานอนุกรรมการพิจารณางบประมาณการศึกษาสภากรุงเทพมหานคร

■ ประธานอนุกรรมการพิจารณางบประมาณสำนักรักษาความสะอาดของสภากรุงเทพมหานคร

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรปี 2554[แก้]

กวี ณ ลำปาง เป็นผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต 6 (ดินแดง-พญาไท) โดยสังกัดพรรคเพื่อไทย

การเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ปี 2565[แก้]

กวี ณ ลำปาง เป็นผู้สมัครสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตพญาไท โดยสังกัดพรรคเพื่อไทย โดยมีสโลแกนประจำตัวว่า "สถานีต่อไปพญาไท ผู้โดยสารสามารถเปลี่ยนกรุงเทพฯ ให้ดีกว่านี้ได้ที่สถานีนี้ next station เลือกกวี ณ ลำปาง"

ประวัติการทำงานด้านสังคมและเกียรติประวัติอื่น[แก้]

ประวัติการทำงานด้านสังคม[แก้]

■ นักอุตสาหกรรมดีเด่นของกระทรวงอุตสาหกรรม ประจำปี 2533

นักกฎหมายดีเด่นของสภาทนายความ ประจำปี 2534

■ กรรมการบริหารของสมาคมนักวิทยุและโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

■ วิทยากรของโครงการพระราชดำริผ่านดาวเทียมของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

■ วิทยากรของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

■ วิทยากรของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

■ วิทยากรของสถาบันการศึกษาหลายแห่ง อาทิเช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันราชภัฎวไลยอลงกรณ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร เป็นต้น

■ กรรมการการศึกษาโรงเรียนสามเสนวิทยาลัย

■ กรรมการการศึกษาโรงเรียนอนุบาลสามเสน

■ กรรมการการศึกษาโรงเรียนรุจิเสรีวิทยา

เกียรติประวัติอื่น[แก้]

■ รางวัลเทพทองปี 2546 จากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

■ รับพระราชทานเข็ม ภปร. จากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

■ รางวัลคนดีสังคมไทย สาขาบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติประจำปี 2546 จาก น.พ.กระแส ชนะวงศ์

■ เกียรติบัตรคุณค่าแห่งความซื่อสัตย์ จากคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงการราชการ

■ บุคคลตัวอย่าง ปี 2546 จาก ศ.ดร.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์

■ โล่เกียรติยศ จากหลายหน่วยงาน อาทิเช่น สำนักงานสวัสดิการและสังคม(กรุงเทพมหานคร) การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สถาบันราชภัฎวไลยอลงกรณ์ กองพันทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์ กองพันทหารสื่อสารที่ 12 และโรงเรียนสามเสนวิทยาลัย เป็นต้น

■ ใบประกาศเกียติคุณ จากหลายหน่วยงาน อาทิเช่น กองพลทหารม้าที่ 2 รักษาพระองค์ กรมตำรวจ สมาคมสงเคราะห์สัตว์ในพระบรมราชูปถัมภ์ กองทัพเรือ กองทัพภาคที่ 1 และกรมทหารราชที่ 1 รักษาพระองค์ เป็นต้น

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)