ผีเสื้อจักรพรรดิ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ผีเสื้อจักรพรรดิ
ตัวเมีย
ตัวผู้
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Arthropoda
ชั้น: Insecta
อันดับ: Lepidoptera
วงศ์: Nymphalidae
สกุล: Danaus
สปีชีส์: D.  plexippus
ชื่อทวินาม
Danaus plexippus
(Linnaeus, 1758)
ชื่อพ้อง

ผีเสื้อจักรพรรดิหรือผีเสื้อโมนาร์ช (อังกฤษ: Monarch butterfly) อยู่ในสายพันธุ์ Nymphalidae[3]มันเป็นผีเสื้อที่รู้จักกันดีในทวีปอเมริกาเหนือพวกมันจะผสมเกสรดอกไม้ทำให้ดอกไม้แพร่พันธุ์ได้ดี[4]เสวมันมีปีกสีขาว,ส้ม.ดำและมีขนาดประมาณ 8.9-10.2 ซม. (3ครึ่ง-4 นิ้ว)[5]พวกมันมีสีและลวดลายที่คล้ายคลึงกัน แต่มีขนาดเล็กและมีแถบสีดำเป็นพิเศษทีแตกต่างกันในแต่ละตัว มันมีสิ่งที่น่าสังเกตคือการอพยพในช่วงปลายฤดูร้อน - ฤดูใบไม้ร่วงจากภาคเหนือและภาคกลางของประเทศสหรัฐอเมริกาและทางใต้ของประเทศแคนาดาไปยังรัฐฟลอริด้าและประเทศเม็กซิโก[6][7]ผีเสื้อจักรพรรดิถูกส่งไปสถานีอวกาศและได้มีการทดลองกับมันที่นั้นด้วย[8]

อนุกรมวิธาน[แก้]

ชื่อของผีเสื้อจักรพรรดินั้นถูกตั้งเพื่อเป็นเกียรติแต่พระเจ้าวิลเลียมที่ 3 แห่งอังกฤษ[9]ซึ่งถูกอธิบายลักษณะโดยคาโรลัส ลินเนียสในหนังสือระบบธรรมชาติ (Systema Naturae) ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10 ปี ค.ศ. 1758 ซึ่งถูกจัดอยู่ในสกุลPapilio[10]

ลักษณะ[แก้]

ผีเสื้อจักรพรรดิ

ผีเสื้อจักรพรรดิมีปีกสีขาว,ส้ม.ดำและมีขนาดประมาณ 8.9-10.2 ซม. (3ครึ่ง-4 นิ้ว)[5]สีพื้นของปีกเป็นสีส้มมีขอบสีดำและมีจุดเล็กๆสีขาว ปีกด้านล่างของพวกมันจะมีลักษณะเหมือนกันแต่บางตัวอาจมีสีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลเข้มและอาจมีจุดใหญ่สีขาวด้วย[11]พวกมันจะมีสีที่เข็มขึ้นจนเป็นสีแดงในช่วงการอพยพ[12]

ขนาดปีกของผีเสื้อจักรพรรดิไม่ได้อยู่ทีการอพยพแต่อยู่ที่ถิ่นกำเนิดถ้าผีเสื้อจักรพรรดิอยู่ในฝั่งตะวันออกจะมีปีกที่ใหญ่กว่าฝั่งตะวันตก[8]

พวกมันบินค่อนข้างช้า[13]ความเร็วของของพวกมันคือประมาณ9 กม. / ชม. หรือ 5.5 ไมล์ต่อชั่วโมง[14]ซึ่งช้ากว่าการวิ่งหย่อกๆของมนุษย์ซะอีก

ตัวผู้นั้นจะมีขนาดใหญ่กว่าตัวเมียเล็กน้อย[8][11]แต่ปีกของตัวผู้จะเบาและเล็กกว่าตัวเมียเล็กน้อย[15]และยังมีอีกพวกหนึ่งที่พบในประเทศออสเตรเลีย,ประเทศอินโดนีเซีย,ประเทศมาเลเซียรวมถึงภาคใต้ของประเทศไทยซึ่งเรียกว่า nivosus สีปีกของพวกมันจะมีสีขาวและมีสีส้มมันเป็นจำนวนประชากรเพียง1%ของผีเสื้อจักรพรรดิทั้งหมดอีกทั้งยังมีผีเสื้อจักรพรรดิจำนวนถึง10%ที่สามารถพบได้บนเกาะฮาวายอีกด้วย[16]

การอพยพ[แก้]

ตามธรรมชาติแล้ว ถ้าผีเสื้อชนิดนี้มีถิ่นกำเนิดในประเทศอเมริกาเหนือ ในทุกๆปี พวกมันจะบินอพยพหนีฤดูหนาวตามเส้นทางจากทางทิศตะวันออกของอเมริกาเหนือไปยังตอนกลางของประเทศเม็กซิโกที่มีอากาศอบอุ่นกว่า และเป็นผีเสื้อที่มีการนำทางในการบินโดยใช้กลไกนาฬิกาในร่างกาย เปรียบเสมือนมีเครื่องบอกเวลาอัตโนมัติให้กับตัวมันเอง ทำงานสอดคล้องกับตำแหน่งของดวงอาทิตย์ที่เปลี่ยนไปในแต่ละช่วงเวลา มาใช้นำทางการบินของพวกมัน มุ่งตรงไปยังทางทิศใต้ในระยะไกลมากๆถึง 4,000 กิโลเมตร ได้อย่างถูกต้อง

นักวิจัยกลุ่มนี้ได้พยายามหาวิธีตรวจสอบว่า ทำไมสมองของผีเสื้อชนิดนี้สามารถมองเห็นภาพรวมของเส้นทางการบินได้อย่างไร จากการทดลองพบว่า พวกผีเสื้อจักรพรรดินี้ได้อาศัยดวงอาทิตย์ช่วยกระตุ้นสัญญาณกระแสประสาทเหมือนใช้เป็นนาฬิกาบอกเวลาในระดับโมเลกุลตรงบริเวณหนวดของพวกมัน เพื่อให้พวกมันสามารถบินไปในระยะทางที่ไกลๆไปยังจุดหมายปลายทางที่ต้องการได้ กลุ่มนักวิจัยนี้ได้ลองสร้างสมการคณิตศาสตร์นำมาจำลองทิศทางการบินของผีเสื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจากผลของการคำนวณอัตราการกระพริบของสัญญาณกระแสประสาทที่หนวดของมัน และดวงตาทั้งสองข้างของผีเสื้อชนิดนี้จะมีวงจรรับแสงหันไปตามการเปลี่ยนตำแหน่งของดวงอาทิตย์ โดยที่ลำตัวของผีเสื้อจะทำมุมชี้ไปตามทิศทางของดวงอาทิตย์ในมุมที่ค่อยๆแคบลงเรื่อยๆ ในที่สุดจะมีผลทำให้ผีเสื้อชนิดนี้บินทำมุมฉากกับตัวมันเองทำให้บินได้อย่างยากลำบากตรงตามที่คาดการณ์ไว้ในแบบจำลอง โดยการจำลองทางคณิตศาสตร์แบบง่ายๆนี้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี เพราะสามารถนำมาใช้ตรวจสอบการทำนายเส้นทางการบินของผีเสื้อจักรพรรดิจริงๆที่เลี้ยงไว้ในห้องทดลองได้ด้วย[17]

วงจรชีวิต[แก้]

การพบกันของตัวผู้ตัวเมีย

1.ไข่. 2.หนอน 3.ดักแด้ 4.ผีเสื้อ

ไข่[แก้]

ผีเสื้อจักรพรรดิเมื้อหลังจากผ่านการผสมพันธุ์แล้ว[18] จะบินไปที่พืชที่เป็นอาหารของตัวหนอนเช่นใบอ่อนของต้น milkweed [19][20]เพื่อวางไข่ในช่วงฤดูร้อนและฤดูใบไม่ผลิ[21] ไข่จะมีสีครีมหรือสีเขียวอ่อนไข่ไก่และมีรูปทรงกรวยและมีขนาดประมาณ 1.2 × 0.9 มม ไข่มีน้ำหนักน้อยกว่า 0.5 มิลลิกรัม และอาจวางไข่ได้มากถึง290 ถึง 1180 ฟอง[22][18]ไข่ใช้เวลา 3 ถึง 8 วันในการพัฒนาและฟักเป็นหนอน[8][23]

หนอน[แก้]

หนอนผีเสื้อจักรพรรดิ

ดักแด้[แก้]

พวกมันกลายเป็นดักแด้แล้วกลายเป็นของเหลวจากนั้นก็จะกลายเป็นผีเสื้อเมือผีเสื้ออกจากดักแด้พวกมันจะมีสีที่ซีดและปีกที่เปียก

ผีเสื้อ[แก้]

พวกมันจะกลายเป็นผีเสื้อแล้วออกมาจากเป็นดักแด้2สัปดาห์จากนั้นมันจะตากปีกให้แห้งเพื่อที่จะทำให้สามารถบินได้[8][24][25]


อ้างอิง[แก้]

  1. Committee On Generic Nomenclature, Royal Entomological Society of London (2007) [1934]. The Generic Names of British Insects. Royal Entomological Society of London Committee on Generic Nomenclature, Committee on Generic Nomenclature. British Museum (Natural History). Dept. of Entomology. p. 20.
  2. Scudder, Samuel H.; William M. Davis; Charles W. Woodworth; Leland O. Howard; Charles V. Riley; Samuel W. Williston (1989). The butterflies of the eastern United States and Canada with special reference to New England. The author. p. 721. ISBN 0-665-26322-8.
  3. "Conserving Monarch Butterflies and their Habitats". USDA. 2015.
  4. "Conserving Monarch Butterflies and their Habitats". USDA. 2015.
  5. 5.0 5.1 Garber, Steven D. (1998). The Urban Naturalist. Courier Dover Publications. pp. 76–79. ISBN 0-486-40399-8.
  6. Groth, Jacob (10 November 2000). "Monarch Migration Study". Swallowtail Farms. สืบค้นเมื่อ 21 July 2014.
  7. "Monarch Migration". Monarch Joint Venture. 2013.
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 8.4 "Petition to protect the Monarch butterfly (Danaus plexippus plexippus) under the endangered species act" (PDF). Xerces Society. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-04-12. สืบค้นเมื่อ 1 September 2014.
  9. Adams, Jean Ruth (1992). Insect Potpourri: Adventures in Entomology. CRC Press. pp. 28–29. ISBN 1-877743-09-7.
  10. Linnaeus, Carl (1758). Systema Naturae (ภาษาละติน). Vol. 1. Stockholm: Laurentius Salvius. p. 471. OCLC 174638949. สืบค้นเมื่อ 5 June 2012.
  11. 11.0 11.1 Braby, Michael F. (2000). Butterflies of Australia: Their Identification, Biology and Distribution. CSIRO Publishing. pp. 597–599. ISBN 0-643-06591-1.
  12. Satterfield, Dara A.; Davis, Andrew K. (April 2014). "Variation in wing characteristics of monarch butterflies during migration: Earlier migrants have redder and more elongated wings". Animal Migration. 2 (1). doi:10.2478/ami-2014-0001.
  13. Klots, Alexander B. (1951). A Field Guide to the Butterflies of North America, East of the Great Plains (Tenth ed.). Boston: Houghton Mifflin Company. pp. 78, 79. ISBN 0395078652.
  14. "monarchscience". Akdavis6.wixsite.com. 31 December 2016. สืบค้นเมื่อ 6 January 2017.
  15. "Monarch, Danaus plexippus". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 ธันวาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 27 สิงหาคม 2008.
  16. Gibbs, Lawrence; Taylor, O.R. (1998). "The White Monarch". Department of Entomology University of Kansas. สืบค้นเมื่อ 17 July 2014.
  17. "การอพยพ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-13. สืบค้นเมื่อ 2017-05-01.
  18. 18.0 18.1 Oberhauser (2004), p. 3
  19. Lefevre, T.; Chiang, A.; Li, H; Li, J; de Castillejo, C.L.; Oliver, L.; Potini, Y.; Hunter, M.D.; de Roode, J.C. (2012). "Behavioral resistance against a protozoan parasite in the monarch butterfly". Journal of Animal Ecology. 81 (1): 70–9. doi:10.1111/j.1365-2656.2011.01901.x. PMID 21939438.
  20. "The other butterfly effect – A youth reporter talks to Jaap de Roode". TED Blog. สืบค้นเมื่อ 12 December 2014.
  21. "Monarch Butterfly Life Cycle and Migration". National Geographic Education. 24 October 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-06. สืบค้นเมื่อ 15 August 2013.
  22. Oberhauser (2004), p. 23
  23. Oberhauser (2004), p. 51
  24. "Reproduction". Monarch Lab. Regents of the University of Minnesota. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-03. สืบค้นเมื่อ 13 December 2014.
  25. Flockhart, D. T. Tyler; Martin, Tara G.; Norris, D. Ryan (2012). "Experimental Examination of Intraspecific Density-Dependent Competition during the Breeding in Monarch Butterflies (Danaus plexippus)". PLoS ONE. 7 (9): e45080. Bibcode:2012PLoSO...745080F. doi:10.1371/journal.pone.0045080. PMC 3440312. PMID 22984614.