ปยี่นมะน่า
ปยี่นมะน่า | |
---|---|
เมือง | |
พิกัด: 19°45′N 96°12′E / 19.750°N 96.200°E | |
ประเทศ | พม่า |
ดินแดนสหภาพ | เนปยีดอ |
จังหวัด | แดะคินะ |
อำเภอ | ปยี่นมะน่า |
ประชากร (2549, ประมาณการ) | |
• ทั้งหมด | 100,001 คน |
• ชาติพันธุ์ | พม่า, พม่าเชื้อสายอินเดีย, กะเหรี่ยง |
• ศาสนา | พุทธ, อิสลาม, คริสต์ |
เขตเวลา | UTC+6:30 (เวลามาตรฐานพม่า) |
ปยี่นมะน่า (พม่า: ပျဉ်းမနား; เอ็มแอลซีทีเอส: pyany:ma.na:, ออกเสียง: [pjɪ́ɰ̃.mə.ná]) เป็นเมืองแห่งการทำไม้และอ้อย ปยี่นมะน่าตั้งอยู่ในดินแดนสหภาพเนปยีดอของประเทศพม่า อยู่ห่างจากย่างกุ้ง อดีตเมืองหลวงทางเหนือประมาณ 320 กิโลเมตร รัฐบาลพม่าได้ย้ายเมืองหลวงของประเทศมาตั้งที่พื้นที่สีเขียวทางทิศตะวันตกของตัวเมืองนี้ตั้งแต่วันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548
ประวัติ
[แก้]ปยี่นมะน่ามีชื่อเดิมว่า แหน่จ่าง, แหน่ฉ่าง และ นีงจาง สองชื่อแรกมีความหมายว่า ดินแดนละเว้น[1] เนื่องจากในสมัยกษัตริย์นั้น หากมีการยกทัพทำศึก เมืองปยี่นมะน่าก็จะไม่อยู่ในเส้นทางเดินทัพ และหากมีการเก็บภาษีท้องที่ก็จะถูกละเว้นการเก็บส่วย ทั้งนี้เพราะบริเวณนั้นเต็มไปด้วยป่าทึบและชื้นแฉะ[1] ส่วนชื่อสุดท้ายมีความหมายว่า สะพานข้าม เนื่องจากมีสะพานข้ามคลองที่ค้าขายกับเมืองหยั่วเก้าก์ยะ[1] ขณะที่บุญช่วย ศรีสวัสดิ์ อ้างว่า ชื่อปยี่นมะน่า มาจากคำไทใหญ่ว่า ป๋างหมากนะ แปลว่า "ปางสมอ"[2]
ต่อมาในสมัยอาณานิคม มีการเปลี่ยนชื่อ แหน่ฉ่าง หรือ นีงจาง มาเป็น ปยี่นมะน่า เนื่องจากเวลาที่สะกดชื่อเมืองนีงจางเป็นภาษาอังกฤษ มักจะสับสนกับชื่อเมืองมยี่นชาน เวลาส่งจดหมายก็มักจะสลับที่อยู่บ่อย ๆ ทำให้เสียเวลาและเสียงาน ดังนั้นเพื่อเป็นการแก้ปัญหาจึงเปลี่ยนจาก นีงจาง เป็น ปยี่นมะน่า แทน[1] โดยเลือกจากชื่อหมู่บ้านที่อยู่ใกล้ที่สุด คือ ลางปยี่นมะน่า ซึ่งพื้นที่นี้อยู่ห่างจากตัวเมืองปยี่นมะน่าปัจจุบันราว 5 ไมล์[1]
เมืองปยี่นมะน่าแต่เดิมเคยเป็นฐานที่มั่นเก่าที่พลตรี อองซาน บิดาของอองซานซูจี นำฝ่ายต่อต้านทำสงครามเอกราชต่อสู้กับการครอบครองของเจ้าอาณานิคมอังกฤษ และญี่ปุ่นในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2
สาเหตุที่รัฐบาลพม่าประกาศย้ายเมืองหลวงไม่แน่ชัดนัก สาเหตุที่เป็นไปได้อาจเป็นว่าปยี่นมะน่าได้เปรียบย่างกุ้งในเชิงยุทธศาสตร์ เนื่องจากอยู่ห่างจากชายฝั่งทะเล เพราะพม่ากลัวการรุกรานแบบเดียวกับที่สหรัฐอเมริกาบุกอิรัก สาเหตุประการอื่นคือปยี่นมะน่าอยู่ใจกลางประเทศ ทำให้ง่ายต่อการปกครอง และใกล้กับชนกลุ่มน้อยต่าง ๆ ทำให้สั่งการทางทหารได้ง่ายกว่า สาเหตุสุดท้ายคือเป็นคำแนะนำของโหรประจำตัวพลเอกอาวุโส ต้านชเว ผู้ครองอำนาจสูงสุดในพม่า
มีกระแสข่าวออกมาว่าเมืองหลวงแห่งใหม่ของพม่าที่ย้ายไปตั้งที่ทำการในบริเวณเมืองปยี่นมะน่านั้นจะใช้ชื่ออย่างเป็นทางการว่า ยานโลน (Yan Lon) อันมีความหมายว่า ปลอดภัยจากการต่อสู้ (Secure from Strife) นอกจากนั้นที่ตั้งแห่งใหม่นี้ยังทำบังเกอร์หลบภัยแน่นหนา ติดตั้งขีปนาวุธต่อสู้อากาศยานอีกด้วย[3] แต่อย่างไรก็ตามภายหลัง รัฐบาลพม่าได้ขนานนามเมืองหลวงใหม่แห่งนั้นว่าเนปยีดอ
ภูมิอากาศ
[แก้]ข้อมูลภูมิอากาศของปยี่นมะน่า (1991–2020) | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เดือน | ม.ค. | ก.พ. | มี.ค. | เม.ย. | พ.ค. | มิ.ย. | ก.ค. | ส.ค. | ก.ย. | ต.ค. | พ.ย. | ธ.ค. | ทั้งปี |
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) | 31.6 (88.9) |
34.5 (94.1) |
37.4 (99.3) |
38.8 (101.8) |
36.1 (97) |
32.7 (90.9) |
31.5 (88.7) |
31.3 (88.3) |
32.6 (90.7) |
33.3 (91.9) |
32.5 (90.5) |
31.0 (87.8) |
33.6 (92.5) |
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) | 23.3 (73.9) |
25.5 (77.9) |
29.0 (84.2) |
31.6 (88.9) |
30.5 (86.9) |
28.5 (83.3) |
27.8 (82) |
27.7 (81.9) |
28.3 (82.9) |
28.4 (83.1) |
26.5 (79.7) |
23.7 (74.7) |
27.6 (81.7) |
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) | 15.0 (59) |
16.4 (61.5) |
20.6 (69.1) |
24.3 (75.7) |
24.8 (76.6) |
24.3 (75.7) |
24.1 (75.4) |
24.0 (75.2) |
24.1 (75.4) |
23.5 (74.3) |
20.5 (68.9) |
16.5 (61.7) |
21.5 (70.7) |
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) | 4.9 (0.193) |
5.2 (0.205) |
5.7 (0.224) |
33.7 (1.327) |
151.6 (5.969) |
215.5 (8.484) |
230.9 (9.091) |
273.1 (10.752) |
177.9 (7.004) |
160.1 (6.303) |
38.9 (1.531) |
9.2 (0.362) |
1,306.6 (51.441) |
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย (≥ 1.0 mm) | 0.7 | 0.4 | 0.9 | 3.0 | 10.1 | 17.0 | 18.9 | 21.2 | 14.7 | 10.3 | 2.4 | 0.8 | 100.5 |
แหล่งที่มา: องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก[4] |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 "สารรู้จักพม่า - ย้อนอดีต "'ปหฺยิ่นมะน๊า" ราชธานีแห่งใหม่ของสหภาพพม่า". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-07-06. สืบค้นเมื่อ 2013-09-26.
- ↑ บุญช่วย ศรีสวัสดิ์. คนไทยในพม่า. พระนคร : รามินทร์, 2503, หน้า 77
- ↑ พม่าทิ้งย่างกุ้งย้ายเมืองขึ้นเหนือ "หนีสหรัฐฯ"
- ↑ "World Meteorological Organization Climate Normals for 1991–2020". World Meteorological Organization. สืบค้นเมื่อ 16 October 2023.