บริการสุขภาพในประเทศอิสราเอล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงพยาบาลไบลินสันในเปตะห์ติกวา ประเทศอิสราเอล
โรงพยาบาลเด็กซาฟราที่เทลฮาโชเมอร์

บริการสุขภาพในประเทศอิสราเอล เป็นบริการสุขภาพแบบสากลและการมีส่วนร่วมในแผนประกันสุขภาพเป็นสิ่งจำเป็น ชาวอิสราเอลทุกคนมีสิทธิได้รับบริการสุขภาพขั้นพื้นฐานในฐานะสิทธิขั้นพื้นฐาน ระบบบริการสุขภาพของอิสราเอลขึ้นอยู่กับกฎหมายประกันสุขภาพแห่งชาติ ค.ศ. 1995 ซึ่งกำหนดให้ประชาชนทุกคนที่อาศัยอยู่ในประเทศเข้าร่วมหนึ่งในสี่องค์กรประกันสุขภาพอย่างเป็นทางการ ที่เรียกกันว่า คูปัตโฮลิม (קופת חולים - "กองทุนป่วยไข้") ซึ่งดำเนินการโดยองค์กรที่ไม่หวังผลกำไร และเป็นสิ่งต้องห้ามตามกฎหมายจากการปฏิเสธการเป็นสมาชิกที่เป็นพลเมืองอิสราเอล ชาวอิสราเอลสามารถเพิ่มความคุ้มครองทางการแพทย์และปรับปรุงทางเลือกได้โดยการซื้อประกันสุขภาพส่วนตัว[1] ในการสำรวจ 48 ประเทศใน ค.ศ. 2013 ระบบสุขภาพของอิสราเอลอยู่ในอันดับที่สี่ของโลกในแง่ของประสิทธิภาพ และใน ค.ศ. 2014 ได้รับการจัดให้อยู่ในอันดับที่ 7 จากที่มีอยู่ 51 ประเทศ[2] ส่วนใน ค.ศ. 2015 ประเทศอิสราเอลได้รับการจัดอันดับเป็นประเทศที่มีสุขภาพประชากรดีอันดับที่หกของโลกโดยการจัดอันดับของบลูมเบิร์ก[3] และอันดับแปดในแง่ของอายุขัย

ประวัติ[แก้]

การปรุงยาในเปตะห์ติกวา ในคริสต์ทศวรรษ 1930
นักศึกษาพยาบาลฮาดัสซาห์ ใน ค.ศ. 1948
รถพยาบาลมาเกนเดวิดอาดอม ใน ค.ศ. 1948

สมัยออตโตมัน[แก้]

ช่วงสมัยออตโตมัน บริการสุขภาพในภูมิภาคของปาเลสไตน์ไม่ดีและด้อยพัฒนา สถาบันทางการแพทย์ส่วนใหญ่ดำเนินการโดยมิชชันนารีศาสนาคริสต์ ที่ดึงดูดคนยากจนโดยการให้การดูแลฟรี ในปลายศตวรรษที่สิบเก้า ในฐานะยีชูฟ ซึ่งเป็นชุมชนชาวยิวยุคก่อนรัฐ เริ่มมีการเติบโตขึ้นในสมัยของอาลียาห์ครั้งที่หนึ่ง ชาวยิวพยายามที่จะสร้างระบบการแพทย์ของตัวเอง ส่วนใน ค.ศ. 1872 มักซ์ ซันเดรคซคี ซึ่งเป็นแพทย์คริสเตียนชาวเยอรมัน ตั้งรกรากอยู่ในเยรูซาเลมและเปิดโรงพยาบาลเด็กแห่งแรกในประเทศ ในชื่อมาเรียนสติฟท์ ซึ่งเปิดรับลูกหลานของทุกศาสนา[4] การตั้งถิ่นฐานทางการเกษตรของชาวยิว ได้รับการสนับสนุนทางการเงินโดยบารง แอดมง เดอ รอทส์ไชลด์ โดยจ้างแพทย์ที่เดินทางระหว่างชุมชนและดำเนินงานการปรุงยาในจัฟฟา ซึ่งเขาไปเยือนสัปดาห์ละสองครั้ง[5]

ใน ค.ศ. 1902 ศูนย์การแพทย์ชาเร เซเด็ค ซึ่งเป็นโรงพยาบาลยิวแห่งแรก ได้เปิดในเมืองเก่าของเยรูซาเลม ซึ่งรวมโรงพยาบาลของชาวยิวเพิ่มเติมที่เยรูซาเลมและจัฟฟา ใน ค.ศ. 1911 กองทุนสุขภาพของคนงานจูเดีย ซึ่งต่อมาได้พัฒนาเป็นบริการสุขภาพคลาลิต ได้รับการจัดตั้งในฐานะกองทุนประกันสุขภาพไซออนิสต์กองทุนแรก

ช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ผู้มีอำนาจของออตโตมันได้ทำการปิดโรงพยาบาลของชาวยิวในเยรูซาเลมและจัฟฟา กองทัพออตโตมันยึดอุปกรณ์การแพทย์และเอกสารฉบับร่างทางการแพทย์เป็นส่วนใหญ่ ด้วยการสิ้นสุดของสงครามและการพิชิตปาเลสไตน์ของอังกฤษ ยีชูฟถูกทิ้งโดยไม่มีระบบโรงพยาบาลที่มีประสิทธิภาพ ส่วนใน ค.ศ. 1918 องค์การไซออนิสต์ของฮาดัสซาห์สตรีแห่งอเมริกาได้จัดตั้งหน่วยแพทย์ไซออนิสต์อเมริกัน (AZMU) เพื่อสร้างระบบการแพทย์ของยีชูฟขึ้นใหม่ ด้วยความช่วยเหลือจากหน่วยแพทย์ไซออนิสต์อเมริกันและเงินบริจาคจากต่างประเทศ โรงพยาบาลของชาวยิวได้รับการรื้อฟื้น และได้ก่อตั้งขึ้นใหม่ในจัฟฟา ครั้นใน ค.ศ. 1919 มีโรงพยาบาลเปิดให้บริการที่เมืองซาเฟด และทิเบเรียส รวมทั้งโรงพยาบาลเปิดในไฮฟาใน ค.ศ. 1922 ทั้งนี้ หน่วยแพทย์ไซออนิสต์อเมริกันได้เปลี่ยนเป็นสหพันธ์การแพทย์ฮาดัสซาห์ ซึ่งดูแลระบบสุขภาพของยีชูฟ[6]

อาณัติของสหราชอาณาจักร[แก้]

ด้วยการเริ่มต้นของการปกครองของสหราชอาณาจักร ได้มีมาตรการเพื่อปรับปรุงสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ พวกเขาเริ่มขึ้นในช่วงการปกครองของกองทัพสหราชอาณาจักร และยังคงเติบโตร่วมกับการจัดตั้งอาณัติของสหราชอาณาจักรใน ค.ศ. 1922 ในเยรูซาเลม กองขยะสะสมได้ถูกนำออก และถังขยะสาธารณะได้รับการติดตั้ง ประชากรทั้งหมดได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันไข้ทรพิษ และสระน้ำรวมทั้งอ่างเก็บน้ำได้รับการปกป้องด้วยยากันยุงในฐานะส่วนหนึ่งของการรณรงค์เพื่อขจัดโรคมาลาเรีย[7] ใน ค.ศ. 1929 คณะกรรมาธิการไซออนิสต์และเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจสหราชอาณาจักรได้ส่งนักระบาดวิทยาชาวยิวชื่อกิเดียน เมอร์ ไปรอชปินนาเพื่อสร้างห้องปฏิบัติการสำหรับการวิจัยโรคมาลาเรีย ห้องปฏิบัติการของเมอร์เป็นหน่วยงานย่อยในการกำจัดโรค[8] การรณรงค์ต่อต้านโรคมาลาเรียจัดการโดยฮาดัสซาห์จนกระทั่ง ค.ศ. 1927 เมื่อองค์กรหันมารับผิดชอบหน่วยงานผ่านเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจ การบริหารอาณัติยังดำเนินการกรมอนามัยที่ดำเนินการโรงพยาบาล, คลินิก และห้องปฏิบัติการของตัวเอง กรมอนามัยดูแลบุคลากรของสหราชอาณาจักรที่ประจำการในอิสราเอลและให้บริการด้านสุขภาพแก่ชาวอาหรับ การลงทุนในด้านสุขภาพของชาวยิวมีเพียงเล็กน้อย โดยสันนิษฐานว่ายีชูฟมีความสามารถในการจัดการระบบการดูแลสุขภาพของตนเอง ร่วมกับการขยายตัวของยีชูฟผ่านอาลียาห์ครั้งที่สามและครั้งที่สี่ จำนวนสิ่งอำนวยความสะดวกการแพทย์ของชาวยิวจึงเพิ่มมากขึ้น จำนวนเตียงโรงพยาบาลฮาดัสซาห์เพิ่มขึ้นสามเท่า โรงพยาบาลยิวและกองทุนประกันสุขภาพก็ได้รับการจัดตั้งขึ้นใหม่ ผู้ให้บริการด้านการรักษาพยาบาลรายใหญ่รายอื่นนอกเหนือจากฮาดัสซาห์คือสหพันธ์แรงงานฮิสตาดรุต ซึ่งมีกองทุนป่วยไข้ของตนเอง และภายใน ค.ศ. 1946 ได้ดำเนินการโรงพยาบาลสองแห่ง รวมถึงคลินิกและศูนย์สุขภาพหลายร้อยแห่ง นอกจากนี้ ศูนย์การแพทย์เอกชนบางแห่งและกองทุนเพื่อสุขภาพได้รับการจัดตั้งขึ้น[6]

รัฐอิสราเอล[แก้]

ระบบสาธารณสุขของยีชูฟเป็นพื้นฐานของระบบบริการสุขภาพของอิสราเอลโดยมีการก่อตั้งรัฐอิสราเอลขึ้นใน ค.ศ. 1948 รัฐบาลอิสราเอลได้แทนที่แผนกสุขภาพอาณัติของสหราชอาณาจักรด้วยกระทรวงสาธารณสุข และจัดตั้งสำนักงานสาธารณสุขระดับภูมิภาคและบริการด้านระบาดวิทยา สิ่งอำนวยความสะดวกของโรงพยาบาลที่ดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจสหราชอาณาจักรได้รับการรับช่วงต่อโดยรัฐ และมีการก่อตั้งโรงพยาบาลรวมทั้งคลินิกใหม่ ในตอนท้ายของ ค.ศ. 1948 มีเพียง 53 เปอร์เซ็นต์ของประชากรชาวยิวของอิสราเอลเท่านั้นที่ได้รับความคุ้มครอง ประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ของพวกเขาโดยคลาลิต มีไม่กี่กองทุนสุขภาพขนาดเล็กที่จะประกันส่วนที่เหลือ ตลอดหลายปีต่อมา ระบบการดูแลสุขภาพของอิสราเอลได้ขยายออกไป และภายในหนึ่งทศวรรษ ประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์ได้รับความคุ้มครอง[9][10]

เบตฮาไบรยูตสเตราส์ ที่เยรูซาเลม สร้างขึ้นใน ค.ศ. 1927

ใน ค.ศ. 1973 กฎหมายบังคับใช้บังคับให้นายจ้างทุกคนมีส่วนร่วมในการประกันสุขภาพคนงานของตน โดยวิธีการชำระเงินโดยตรงไปยังแผนประกันของลูกจ้าง หน้าที่ของการมีส่วนร่วมในที่สุดก็เปลี่ยนไปและลดลงใน ค.ศ. 1991

จนกระทั่งมีการตรากฎหมายประกันสุขภาพแห่งชาติขึ้นใน ค.ศ. 1995 ระบบบริการสุขภาพของอิสราเอลขึ้นอยู่กับชุดของกองทุนป่วยไข้ที่ดำเนินการโดยไม่ขึ้นกับใคร ซึ่งเป็นที่รู้จักในฐานะคูปัตโฮลิม สำหรับคูปัตโฮลิมที่ใหญ่ที่สุดคือบริการสุขภาพคลาลิต ซึ่งเป็นเจ้าของโดยฮิสตาดรุต แรกเริ่มเดิมทีมีคูปัตโฮลิมอื่น ๆ อีกหกกองทุน แม้ว่าจะลดจำนวนเหลือเพียงสี่หลังจากที่มีสองกองทุนรวมเข้าด้วยกัน ที่นั่นมีโรงพยาบาลของรัฐบาลเป็นจำนวนมาก ซึ่งมีโรงพยาบาล 29 แห่งที่ดำเนินการโดยรัฐบาลใน ค.ศ. 1987 คลาลิตเป็นเจ้าของโรงพยาบาลจำนวนมาก เช่นเดียวกับคลินิกในแทบทุกเมือง, ตัวเมือง, หมู่บ้าน และคิบบุตซ์ มีองค์กรอื่น ๆ ที่ดูแลรักษาสิ่งอำนวยความสะดวกทางการแพทย์ของตัวเองบางส่วนและทุนการรักษาตัวในโรงพยาบาลของผู้รับบริการในโรงพยาบาลรัฐบาล สำหรับการประกันสุขภาพ ผู้คนต้องเสียค่าเบี้ยประกันซึ่งแตกต่างกันไปตามรายได้ ส่วนรัฐบาลได้ให้ความช่วยเหลือด้านการเงินแก่กองทุนสุขภาพเช่นเดียวกัน ในที่สุด ก็ได้มีแพทย์เอกชนอยู่บางส่วนและโรงพยาบาลเอกชนเพียงไม่กี่แห่ง รวมทั้งมีบางแผนประกันสุขภาพที่มีราคาแพงมากที่ครอบคลุมการดูแลสุขภาพส่วนตัว[11] ระดับความคุ้มครองสุขภาพเอื้ออำนวยแตกต่างกันไปในหมู่คูปัตโฮลิม นอกจากนี้ บริการสุขภาพคลาลิตเป็นกองทุนเดียวที่ไม่จำกัดการเข้าสมาชิกใหม่ตามอายุ, เงื่อนไขที่มีอยู่ก่อน หรือปัจจัยอื่น ๆ และสมาชิกในฮิสตาดรุตเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องมีก่อนสำหรับสมาชิกร่วมกับคลาลิต นั่นหมายความว่าคนที่ไม่ได้มีส่วนร่วมดังกล่าวและไม่สามารถเข้าร่วมโครงการประกันอื่นได้จะไม่มีประกันสุขภาพ ถึงกระนั้น กว่า 90 เปอร์เซ็นต์ของประชากรเป็นผู้มีประกัน

ใน ค.ศ. 1988 รัฐบาลได้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเพื่อตรวจสอบประสิทธิผล และประสิทธิภาพของระบบการดูแลสุขภาพของอิสราเอล ที่นำโดยโชชานา เนทันยาฮู คณะกรรมการได้ส่งรายงานฉบับสุดท้ายใน ค.ศ. 1990 ข้อเสนอแนะหลักของรายงานฉบับนี้คือการประกาศใช้กฎหมายประกันสุขภาพแห่งชาติในอิสราเอล ซึ่งกฎหมายประกันสุขภาพแห่งชาติมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1995[12] หลังจากที่ได้มีการออกกฎหมายใน ค.ศ. 1995 การเป็นสมาชิกในคูปัตโฮลิมที่มีอยู่สี่องค์กรก็ได้รับการรับรองตามกฎหมาย โดยชาวอิสราเอลได้รับสิทธิต่อการรับบริการพื้นฐานที่มีอยู่และเปลี่ยนองค์กรได้ปีละครั้ง

ในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 2000 การขาดแคลนแพทย์และพยาบาลในอนาคตกลายเป็นเรื่องที่น่ากังวล ในฐานะอัตราของแพทย์ที่จบการศึกษาจากโรงเรียนแพทย์ของอิสราเอลทุกปีได้ลดลงน้อยกว่าที่จำเป็นต้องมีถึง 300, 200 คน รวมถึงแพทย์และพยาบาลอพยพโซเวียตจำนวนมากเริ่มลาออก จำนวนนี้คาดว่าในที่สุดจะเพิ่มขึ้นเป็น 520 คนด้วยการเปิดโรงเรียนแพทย์แห่งที่ห้า แต่ผู้สำเร็จการศึกษายังคงต่ำกว่า 900 คนที่จำเป็นต้องมีใน ค.ศ. 2022 เรื่องนี้ทำให้เกิดปัญหาเรื่องการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งจะส่งผลเสียต่อคุณภาพและความเร็วในการรักษาพยาบาลในประเทศ ผลที่ตามมา ทางการอิสราเอลเริ่มให้สิ่งจูงใจแก่แพทย์ชาวยิวเพื่อย้ายถิ่นออกจากต่างประเทศและมีเวชปฏิบัติในอิสราเอล ในตอนแรก มีแพทย์ประมาณ 100 คนเท่านั้นจากอดีตสหภาพโซเวียตที่ย้ายมาอยู่ภายใต้โครงการนี้ทุกปี แต่ปัจจุบัน โครงการกำลังดึงดูดแพทย์จากทวีปอเมริกาเหนือและยุโรปตะวันตก คณะกรรมการสอบสวนที่กำลังตรวจสอบปัญหายังเรียกร้องให้มีการจูงใจให้กับนักศึกษาแพทย์ของอิสราเอลที่ไม่ได้รับการยอมรับในอิสราเอลและได้ไปเรียนแพทย์ในต่างประเทศเพื่อกลับมายังอิสราเอล รวมทั้งสำหรับโครงการที่เกี่ยวข้องกับนักเรียนต่างชาติ 150 คนที่เรียนแพทย์ในอิสราเอลที่จะปิดตัวลง นอกจากนี้ กระทรวงสาธารณสุขอิสราเอลประกาศเปิดตัววิชาชีพผู้ช่วยพยาบาลใหม่ และเพิ่มโครงการการศึกษาทางการพยาบาลในวิทยาลัย อีกทั้งทางการอิสราเอลยังได้เริ่มโครงการแพทย์จากยุโรปตะวันออกให้มาทำงานในประเทศอิสราเอลในสาขาต่าง ๆ เช่น กุมารเวชศาสตร์และอายุรศาสตร์[13][14][15]

กฎหมายประกันสุขภาพแห่งชาติ[แก้]

การใช้จ่ายด้านการดูแลสุขภาพในอิสราเอลในฐานะร้อยละของจีดีพี

ภายใต้กฎหมายประกันสุขภาพแห่งชาติ สมาชิกของหนึ่งในสี่องค์กรด้านการดูแลรักษาสุขภาพ หรือคูปัตโฮลิม (กองทุนป่วยไข้) ดังต่อไปนี้ เป็นภาคบังคับสำหรับประชาชนพลเมืองทั้งหมดของอิสราเอล อันได้แก่ คลาลิต, มัคคาบี, มิวเฮเดต และเลอมิต ซึ่งคลาลิตเป็นองค์กรใหญ่ที่สุดในสี่รายการ โดยมีประมาณ 54 เปอร์เซ็นต์ของประชากรที่อยู่ในสังกัดกองทุนดังกล่าว สี่คูปัตโฮลิมมีหน้าที่ให้รายชื่อบริการสุขภาพเหมือนกัน ที่เรียกว่า "ตะกร้าสุขภาพ" (סל בריאות; Sal Briut ) สำหรับสมาชิกทุกคน - รายการของบริการทางการแพทย์และการรักษาที่คูปัตโฮลิมแต่ละองค์กรจะต้องจัดหาเงินทุนให้แก่สมาชิก กฎหมายจัดตั้งระบบของการสำรวจคูปัตโฮลิมโดยตรงแบ่งตามรัฐ และบริการบางอย่างอยู่ภายใต้การบริหารงานโดยตรงของรัฐ ซึ่งโดยปกติมักจะหมายถึงกระทรวงสาธารณสุข

ตะกร้าสุขภาพครอบคลุมค่าใช้จ่ายทั้งหมดของการวินิจฉัยทางการแพทย์และการรักษาในสาขาเวชศาสตร์ครอบครัว, การอยู่โรงพยาบาล (ทั่วไป, คลอด, จิตเวช และเรื้อรัง), เวชศาสตร์ป้องกัน, การผ่าตัด (รวมทั้งการผ่าตัดแบบไม่เร่งด่วน), การปลูกถ่าย, การรักษาสำหรับยาเสพติดและโรคพิษสุราเรื้อรัง, อุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์, การปฐมพยาบาลและการขนส่งไปยังสถานพยาบาล, สูติศาสตร์และการรักษาภาวะเจริญพันธุ์, ยาที่ได้รับอนุมัติภายใต้ตะกร้าสุขภาพแห่งชาติ (ซึ่งมีการปรับปรุงทุกปี), การรักษาโรคเรื้อรังและการให้บริการทางแพทย์ เช่น กายภาพบำบัดและกิจกรรมบำบัด ตลอดจนการดูแลสุขภาพจิต[16][17][18] ยาสำหรับโรคร้ายแรงซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ "ตะกร้ายา" อย่างเป็นทางการ (ซึ่งมีขนาดใหญ่และได้รับการปรับปรุงเป็นประจำ แต่ไม่รวมถึงยาทั้งหมด) ได้รับการคุ้มครอง แม้ว่าผู้ป่วยจะต้องจ่ายเงินบางส่วนสำหรับยาเหล่านี้ในแบบประชาชนร่วมจ่าย: ยาที่รวมอยู่ในตะกร้าจะคุ้มครองในอัตราที่แตกต่างกันจาก 50 เปอร์เซ็นต์ถึง 90 เปอร์เซ็นต์[19] การดูแลไอวีเอฟ สำหรับเด็กสองคนแรกจนถึงอายุ 45 ปีและการแท้งก็ได้รับการคุ้มครองเช่นกัน

โดยทั่วไป แต่ละคูปัตโฮลิมช่วยให้สมาชิกสามารถเลือกแพทย์เวชปฏิบัติปฐมภูมิและผู้เชี่ยวชาญจากรายชื่อแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับกองทุน[19] ความพร้อมในการให้บริการแตกต่างกันตามสถานที่ เนื่องจากแต่ละหน่วยงานเหล่านี้มีสถานพยาบาลของตนเอง รวมไปถึงโรงพยาบาลเอกชน

ในขณะที่คูปัตโฮลิมมักจะครอบคลุมการรักษาพยาบาลในประเทศอิสราเอล พวกเขาสามารถให้ทุนทางการแพทย์ในต่างประเทศหากไม่สามารถขอรับการรักษาในประเทศอิสราเอล มีเงิน 250,000 ดอลลาร์โดยไม่มีการร่วมจ่ายในการให้เงินสนับสนุนการรักษาในต่างประเทศ แม้ว่าอธิบดีกระทรวงสาธารณสุขจะยกเลิกวงเงินดังกล่าวได้ แม้ว่าอธิบดีกระทรวงสาธารณสุขจะยกเลิกวงเงินดังกล่าวได้ก็ตาม[20]

สมาชิกของคูปัตโฮลิมแต่ละคนสามารถเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นได้ปีละครั้ง มีวันที่ระบุหกวันที่ผู้คนสามารถโอนได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับเวลาที่พวกเขาลงทะเบียนก่อนหน้านี้ ส่วนในสถานการณ์พิเศษ เป็นไปได้ที่จะยื่นคำร้องต่อกระทรวงสาธารณสุขเพื่อยกเลิกการเปลี่ยนแปลง หรือลงทะเบียนเร็วกว่าวันที่เป็นทางการ[19]

กฎหมายประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนดระบบการระดมทุนสาธารณะสำหรับบริการสุขภาพด้วยภาษีสุขภาพแบบก้าวหน้า ที่บริหารงานโดยปิตัวลีอูมี หรือสถาบันประกันภัยแห่งชาติ องค์กรประกันสังคมของอิสราเอล ซึ่งโอนเงินทุนไปยังคูปัตโฮลิมตามหลักเกณฑ์การเหมาจ่ายรายหัวโดยพิจารณาจากจำนวนสมาชิกในแต่ละกองทุน, การแจกแจงอายุของสมาชิก และดัชนีอื่น ๆ อีกจำนวนหนึ่ง คูปัตโฮลิมยังได้รับเงินทุนจากรัฐบาลโดยตรง ซึ่งรัฐบาลให้ดุลยพินิจคูปัตโฮลิมค่อนข้างกว้างในการกำหนดวิธีการใช้จ่ายเงินทุนนี้ โดยมีเงื่อนไขว่าคูปัตโฮลิมจะต้องรับประกันว่าจะให้การรักษาที่กำหนดไว้ในตะกร้าสุขภาพเป็นบริการขั้นต่ำสำหรับสมาชิกของตน

สำหรับภาษีสุขภาพ ผู้ได้รับค่าจ้างและผู้ประกอบอาชีพอิสระจะต้องจ่าย 3.1 เปอร์เซ็นต์ของเงินเดือน ต่อเดือนสูงสุด 60 เปอร์เซ็นต์ของค่าจ้างเฉลี่ยในตลาด (เกือบ ๆ 6,300 นิวเชเกลอิสราเอลใน ค.ศ. 2020) และ 5 เปอร์เซ็นต์ของรายได้ที่สูงกว่านั้น[21] นายจ้างมีหน้าที่ตามกฎหมายในการหักเงินประกันจากเงินเดือนของพนักงาน ในขณะที่นายจ้างต้องดำเนินการจ่ายเงินด้วยตนเอง ส่วนผู้รับบำนาญมีเงินสมทบหักออกจากเงินบำนาญ เช่นเดียวกับผู้ที่ได้รับสวัสดิการว่างงาน ผู้ที่ไม่ได้ทำงาน แต่มีรายได้จะต้องจ่ายภาษีสุขภาพ 5 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่ผู้ที่ไม่ได้ทำงานและไม่มีรายได้จะต้องจ่าย 104 นิวเชเกลอิสราเอลต่อเดือน มีคนเพียงไม่กี่ประเภทเท่านั้นที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องจ่ายเบี้ยประกันสุขภาพ ผู้เยาว์ที่อยู่ในความอุปการะจะได้รับการยกเว้น และแม่บ้านที่ไม่ได้ทำงานจะได้รับการยกเว้นเว้นแต่จะได้รับเงินบำนาญหรือคู่สมรสจะได้รับเงินบำนาญเพิ่มขึ้น[22] นอกจากนี้ คนที่อพยพสู่ประเทศอิสราเอลภายใต้กฎหมายว่าด้วยการกลับคืน และพลเมืองอิสราเอลที่เกิดในต่างประเทศหรือถูกทิ้งไว้ในฐานะผู้เยาว์ ผู้ที่ตั้งถิ่นฐานในประเทศอิสราเอลจะได้รับการประกันสุขภาพฟรีหนึ่งปีหากพวกเขาไม่ได้ทำงาน ภายใต้ข้อยกเว้นบางประการ

ในขณะที่บริการสาธารณสุขส่วนใหญ่ครอบคลุมโดยคูปัตโฮลิมภายใต้กฎหมายประกันสุขภาพแห่งชาติ บริการหลังคลอด และการดูแลผู้สูงอายุดำเนินการโดยตรงโดยกระทรวงสาธารณสุข[23]

การใช้จ่ายด้านการดูแลสุขภาพของรัฐบาลอยู่ที่ประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ของทั้งหมด ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยสำหรับประเทศสมาชิกที่ 72 เปอร์เซ็นต์[24]

แม้ว่าผู้อยู่อาศัยส่วนใหญ่จะได้รับความคุ้มครองภายใต้กฎหมายประกันสุขภาพแห่งชาติ แต่ก็มีข้อยกเว้นบางประการต่อผู้ที่ได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐด้วยวิธีการอื่น ทหารทุกคนยกเว้นผู้ที่พบว่าที่พบว่าไม่มีคุณสมบัติสำหรับการรับบริการทางการแพทย์ แต่เป็นอาสาสมัครจะไม่ได้รับความคุ้มครองจากคูปัตโฮลิมในระหว่างการรับราชการทหาร แต่จะได้รับการดูแลสุขภาพผ่านระบบบริการสุขภาพของทหาร เมื่อออกจากกองทัพ เหล่าทหารจึงกลับเข้าร่วมคูปัตโฮลิมก่อนหน้า ส่วนทหารผ่านศึกที่พิการจะได้รับการคุ้มครองโดยกระทรวงกลาโหม นอกจากนี้ ทหารผ่านศึกสงครามโลกครั้งที่สองและเหยื่อของนาซีที่พิการบางคนมีสิทธิ์ได้รับสิทธิประโยชน์ด้านสุขภาพบางประเภทจากกระทรวงการคลัง ส่วนผู้ย้ายถิ่นฐานใหม่ที่ยังไม่ได้ลงทะเบียนกับคูปัตโฮลิมและต้องการบริการสุขภาพในทันทีสามารถขอความคุ้มครองจากผู้ตรวจการแผ่นดินของกระทรวงสาธารณสุข[19][25]

สิทธิตามกฎหมายประกันสุขภาพแห่งชาติ[แก้]

อาคารกระทรวงสาธารณสุข ที่ถนนยาฟา เยรูซาเลม
  • พลเมืองอิสราเอลทุกคนมีสิทธิได้รับบริการสุขภาพภายใต้กฎหมายการประกันสุขภาพแห่งชาติ
  • ผู้อยู่อาศัยทุกคนมีสิทธิที่จะลงทะเบียนเป็นสมาชิกของคูปัตโฮลิมตามที่เขา/เธอเลือก โดยไม่มีเงื่อนไขหรือข้อจำกัดใด ๆ อันเนื่องมาจากอายุของเขา/เธอ หรือสถานะสุขภาพของเขา/เธอ
  • ผู้อยู่อาศัยทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับบริการทั้งหมดที่รวมอยู่ในตะกร้าบริการทางการแพทย์ผ่านคูปัตโฮลิมซึ่งเธอหรือเขาเป็นสมาชิก โดยขึ้นอยู่กับดุลยพินิจทางการแพทย์และในระดับคุณภาพที่เหมาะสมภายในระยะเวลาที่เหมาะสม และไม่อยู่ห่างจากบ้านของเขา/เธอเกินไป
  • สมาชิกแต่ละคนมีสิทธิได้รับบริการด้านสุขภาพ ในขณะที่ดำรงศักดิ์ศรี, ความเป็นส่วนตัว และรักษาความลับทางการแพทย์ของสมาชิก
  • ชาวอิสราเอลทุกคนมีสิทธิที่จะย้ายจากคูปัตโฮลิมหนึ่งไปยังอีกอย่างหนึ่ง
  • สมาชิกแต่ละคนมีสิทธิเลือกผู้ให้บริการ เช่น แพทย์, ผู้ดูแล, นักบำบัดโรค โรงพยาบาล และสถาบันต่าง ๆ จากภายในรายชื่อผู้ให้บริการที่ได้ทำสัญญากับคูปัตโฮลิมที่สมาชิกสังกัดอยู่ รวมถึงภายในการเตรียมการสำหรับการเลือกผู้ให้บริการ และที่คูปัตโฮลิมประกาศเป็นครั้งคราว
  • สมาชิกแต่ละคนมีสิทธิที่จะรู้ว่าโรงพยาบาลและสถาบันใด รวมถึงผู้ให้บริการรายอื่นมีข้อตกลงในการให้บริการกับคุปัตโฮลิม ตลอดจนกระบวนการคัดเลือกผู้ให้บริการที่คูปัตโฮลิมคืออะไร
  • สมาชิกแต่ละคนมีสิทธิที่จะเห็นและรับสำเนาระเบียบคูปัตโฮลิม
  • ผู้อยู่อาศัยแต่ละรายมีสิทธิ์ได้รับข้อมูลทั้งหมดจากคูปัตโฮลิมเกี่ยวกับการเตรียมการชำระเงินกับคูปัตโฮลิมสำหรับบริการด้านสุขภาพและแผนประกันเสริมของคูปัตโฮลิม
  • สมาชิกแต่ละคนมีสิทธิร้องเรียนกับกรรมการสอบสวนสาธารณะ ณ สถาบันการแพทย์ที่ดูแลสมาชิก ต่อผู้รับผิดชอบในการสอบสวนข้อร้องเรียนของสมาชิกที่คูปัตโฮลิมซึ่งตนเป็นสมาชิกอยู่ หรือต่อกรรมการรับเรื่องร้องเรียนสำหรับกฎหมายประกันสุขภาพแห่งชาติในกระทรวงสาธารณสุข
  • สมาชิกแต่ละคนมีสิทธิฟ้องที่ศาลแรงงานเขต[26]

ความคุ้มครองเพิ่มเติมและประกันภัยส่วนบุคคล[แก้]

ผู้อยู่อาศัยในอิสราเอลสามารถเสริมการประกันสุขภาพของตนได้นอกเหนือจากบริการที่ได้รับทุนสาธารณะในสองวิธีหลัก ได้แก่ การประกันภัยเพิ่มเติมที่เสนอโดยกองทุนสุขภาพ และความคุ้มครองการประกันสุขภาพเอกชนที่จัดทำโดยบริษัทประกันภัยเชิงพาณิชย์

ความคุ้มครองเพิ่มเติม[แก้]

กองทุนสุขภาพทั้งสี่เสนอทางเลือกแก่สมาชิกในการซื้อแผนประกันเสริมซึ่งให้ความคุ้มครองสำหรับบริการที่ไม่รวมอยู่ในตะกร้าบริการหรือให้ความคุ้มครองในระดับที่เพิ่มขึ้น แผนเสริมเหล่านี้มักมีให้ในระดับความคุ้มครองสองหรือสามระดับ ตลอดจนรวมหรือให้ส่วนลดสำหรับบริการและผลิตภัณฑ์ เช่น ความคิดเห็นที่สองจากผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์, การผ่าตัด และกระบวนการทางการแพทย์อื่น ๆ โดยแพทย์เอกชน ตลอดจนในสถานบริการเอกชนหรือกึ่งเอกชนในอิสราเอลและต่างประเทศ, ความคุ้มครองทันตกรรมและจัดฟันสำหรับผู้ใหญ่, ส่วนลดสำหรับยาที่ไม่รวมอยู่ใน "ตะกร้ายา" สาธารณะ, การขยายเวลาการดูแลคลอดบุตร, การฉีดวัคซีนเพิ่มเติมรวมถึงการทดสอบทางการแพทย์, การแพทย์ทางเลือก และอื่น ๆ ซึ่งราคาของแผนเสริมเหล่านี้ค่อนข้างไม่รุนแรง (ราคาเท่ากับ 10 ถึง 40 ดอลลาร์สหรัฐต่อเดือนสำหรับผู้ใหญ่โดยขึ้นอยู่กับกลุ่มอายุและระดับความครอบคลุมใน ค.ศ. 2019) ทั้งนี้ กฎหมายไม่ให้กองทุนสุขภาพปฏิเสธการเข้าร่วมแผนประกันสุขภาพเสริมใด ๆ ของสมาชิก และไม่สามารถเรียกเก็บเบี้ยประกันที่แตกต่างกันได้เนื่องจากเงื่อนไขที่มีอยู่ก่อนแล้ว แม้ว่าโดยทั่วไปแล้วจะกำหนดระยะเวลารอคอยเริ่มต้นก่อนที่ความคุ้มครองเพิ่มเติมจะมีผล (ซึ่งอาจได้รับการยกเว้นหากสมาชิกได้รับการโอนจากกองทุนอื่น และอยู่ภายใต้แผนเสริมของกองทุนเดิมอยู่แล้ว)

อ้างอิง[แก้]

  1. Sharon Segel. "Can universal healthcare work? A look at Israel's successful model". Physicians News Digest. สืบค้นเมื่อ 3 August 2015.
  2. "Most Efficient Health Care 2014: Countries - Bloomberg Best (and Worst)". Bloomberg. 25 August 2014. สืบค้นเมื่อ 3 August 2015.
  3. "Singapore ranked world's healthiest country, UK fails to make top 20". The Independent. 31 October 2015.
  4. Shemuel Nissan and Petra Martin (August 1998). "Max Sandreczky: A Pediatric Surgeon in 19th-Century Jerusalem" (PDF). Journal of Pediatric Surgery. 33 (8): 1187–93. doi:10.1016/s0022-3468(98)90148-8. สืบค้นเมื่อ 24 November 2015.
  5. "B'nai B'rith-Sha'ar Zion Hospital in Jaffa (1891–1921): The First Jewish Community Hospital in Palestine".
  6. 6.0 6.1 Shvarts, Shifra: The Workers' Health Fund in Eretz Israel: Kupat Holim, 1911–1937
  7. "Life throughout the ages in a holy city". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-12-16. สืบค้นเมื่อ 2018-11-07.
  8. Colin Miller. "Galilee cornerstone". Jerusalem Post. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-08. สืบค้นเมื่อ 2018-11-07.
  9. "The Health Care System in Israel: An Historical Perspective".
  10. "Nathan Straus Presents Health Center in Jerusalem to Hadassah". Jewish Telegraphic Agency.
  11. "Israel's Health Care System Seen by Many As Sick Itself - Jewish Telegraphic Agency". www.jta.org.
  12. "Can Universal Healthcare Work? A Look at Israel's Successful Model".
  13. Yossi Nachemi (8 March 2013). "Countdown to coalition". The Times of Israel. สืบค้นเมื่อ 3 August 2015.
  14. Jusdy Siegel-Itzkovich (7 June 2010). "Panel decries nurse, doctor shortages". Jerusalem Post. สืบค้นเมื่อ 3 August 2015.
  15. "Israel looks for cure to doctor shortage". Marketplace. 26 February 2008. สืบค้นเมื่อ 3 August 2015.
  16. "history of Israel health care".
  17. "Cabinet expands free basic dental care to children aged 13 and 14". The Jerusalem Post - JPost.com.
  18. Efrati, Ido (2 July 2015). "Israel Launches Privatization of Mental Health Care" – โดยทาง Haaretz.
  19. 19.0 19.1 19.2 19.3 http://www.moia.gov.il/Publications/health_en.pdf
  20. http://www.health.gov.il/English/Topics/RightsInsured/RightsUnderLaw/ServicesAbroad/Pages/default.aspx
  21. Maltz, Judy (17 April 2017). "Cheaper Israeli Health Care Proves a Draw for U.S. Immigrants" – โดยทาง Haaretz.
  22. "Request Rejected". www.btl.gov.il.
  23. adva.org (Note: Mental health services were run by the Health Ministry at the time of this article's publication, hence them being mentioned as a service run by that miniatry, but responsibility has since shifted to the Kupot Holim)
  24. Britnell, Mark (2015). In Search of the Perfect Health System. London: Palgrave. p. 70. ISBN 978-1-137-49661-4.
  25. Julie Stahl (13 April 2010). "Israeli Pro-Life Group Helps Women Cope". CBN News. สืบค้นเมื่อ 3 August 2015.
  26. "Rights of the Insured under the National Health Insurance Law". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 May 2012.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]