ข้ามไปเนื้อหา

นากอร์โน-คาราบัค

พิกัด: 39°48′55″N 46°45′7″E / 39.81528°N 46.75194°E / 39.81528; 46.75194
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นากอร์โน-คาราบัค
(อัปเปอร์คาราบัค)

ที่ตั้งและอาณาเขตของอดีตแคว้นปกครองตนเองนากอร์โน-คาราบัค (สีอ่อน)
ที่ตั้งและอาณาเขตของอดีตแคว้นปกครองตนเองนากอร์โน-คาราบัค (สีอ่อน)
พื้นที่
• รวม
4,400 ตารางกิโลเมตร (1,700 ตารางไมล์)
น้อยมาก
ประชากร
• 2556 ประมาณ
146,573[1]
• สำมะโนประชากร 2553
141,400[2]
29 ต่อตารางกิโลเมตร (75.1 ต่อตารางไมล์)
เขตเวลาUTC+4
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)
+5

นากอร์โน-คาราบัค (อังกฤษ: Nagorno-Karabakh; รัสเซีย: Нагорный Карабах, อักษรโรมัน: Nagorny Karabakh, แปลตรงตัว'คาราบัคภูเขา'; อาร์มีเนีย: Լեռնային Ղարաբաղ, อักษรโรมัน: Leṙnayin Ġarabaġ, ฟัง; อาเซอร์ไบจาน: Dağlıq Qarabağ, ฟัง หรือ Yuxarı Qarabağ, listen) หรือ อัปเปอร์คาราบัค (Upper Karabakh) เป็นภูมิภาคที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในแถบเทือกเขาคอเคซัส ตั้งอยู่ระหว่างภูมิภาคโลเวอร์คาราบัคกับภูมิภาคซียูนิค และครอบคลุมพื้นที่ด้านตะวันออกเฉียงใต้ของทิวเขาเลสเซอร์คอเคซัส พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาและป่าไม้

นากอร์โน-คาราบัคเป็นดินแดนที่มีข้อพิพาทเกี่ยวกับอำนาจอธิปไตย โดยนานาชาติยอมรับว่าภูมิภาคนี้เป็นส่วนหนึ่งของอาเซอร์ไบจาน[3] แต่ในปัจจุบัน พื้นที่ส่วนใหญ่ของภูมิภาคอยู่ภายใต้การปกครองของสาธารณรัฐอาร์ทซัค รัฐเอกราช "โดยพฤตินัย" ซึ่งมีกลุ่มชาติพันธุ์อาร์มีเนียอาศัยอยู่และได้รับการสถาปนาขึ้นบนพื้นที่ของ (อดีต) แคว้นปกครองตนเองนากอร์โน-คาราบัคของสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอาเซอร์ไบจาน อาเซอร์ไบจานไม่ได้ใช้อำนาจทางการเมืองในภูมิภาคนี้นับตั้งแต่การกำเนิดขบวนการคาราบัคในปี พ.ศ. 2531 หลังจากที่สงครามนากอร์โน-คาราบัคสิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 2537 ตัวแทนจากรัฐบาลอาร์มีเนียและรัฐบาลอาเซอร์ไบจานได้จัดการเจรจาสันติภาพว่าด้วยสถานะที่ยังเป็นที่โต้แย้งของนากอร์โน-คาราบัค โดยมีกลุ่มมินสค์ขององค์การเพื่อความมั่นคงและความร่วมมือในยุโรปเป็นผู้คอยไกล่เกลี่ย

ภูมิภาคนากอร์โน-คาราบัคมีขอบเขตการปกครองเดียวกับแคว้นปกครองตนเองนากอร์โน-คาราบัคในสมัยสหภาพโซเวียต โดยมีเนื้อที่ประมาณ 4,400 ตารางกิโลเมตร (1,700 ตารางไมล์) อย่างไรก็ตาม พื้นที่ทางประวัติศาสตร์ของภูมิภาคนี้ครอบคลุมเนื้อที่ประมาณ 8,223 ตารางกิโลเมตร (3,175 ตารางไมล์)[4][5]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Population of NKR as of 01.01.2013". NKR. 1 January 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-10-23. สืบค้นเมื่อ 20 February 2014.
  2. "Official Statistics of the NKR. Official site of the President of the NKR". President.nkr.am. 1 January 2010. สืบค้นเมื่อ 6 May 2012.
  3. "General Assembly adopts resolution reaffirming territorial integrity of Azerbaijan, demanding withdrawal of all Armenian forces". United Nations. 14 March 2008. สืบค้นเมื่อ 30 Aug 2015.
  4. Robert H. Hewsen. "The Meliks of Eastern Armenia: A Preliminary Study". Revue des études Arméniennes. NS: IX, 1972, pp. 288.
  5. Robert H. Hewsen, Armenia: A Historical Atlas. The University of Chicago Press, 2001, p. 264. ISBN 978-0-226-33228-4

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]