นักบุญคริสโตเฟอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นักบุญคริสโตเฟอร์
“นักบุญคริสโตเฟอร์อุ้มพระกุมารเยซู
(St. Christopher Carrying the Christ Child)
by เฮียโรนิมัส บอส ราว ค.ศ.1485
มรณสักขี
เสียชีวิตราว ค.ศ. 251
เอเซียไมเนอร์
นิกายโรมันคาทอลิก
อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์
วันฉลอง25 กรกฎาคม
สัญลักษณ์ต้นไม้, กิ่งไม้, ยักษ์, ยักษ์อุ้มพระกุมารเยซู, หอก, เกราะ, คนมีหัวเป็นหมา
องค์อุปถัมภ์ชายโสด, ผู้ขับยานพาหนะเช่นรถหรือเรือ, การเดินทาง, พายุ, โรคชัก, คนทำสวน, โรคปวดฟัน, คนเล่นคลื่น

นักบุญคริสโตเฟอร์ (อังกฤษ: Saint Christopher; กรีก: Άγιος Χριστόφορος) เป็นชาวคานาอัน ต่อมาได้นับถือศาสนาคริสต์และพลีชีพเป็นมรณสักขีในรัชสมัยจักรพรรดิเดซิอุสแห่งจักรวรรดิโรมันราวคริสต์ศตวรรษที่ 3 และเป็นหนึ่งในนักบุญผู้ช่วยศักดิ์สิทธิ์สิบสี่องค์

คริสตจักรโรมันคาทอลิกถือว่านักบุญคริสโตเฟอร์เป็นนักบุญองค์อุปถัมภ์ผู้เดินทางและนักกีฬา แต่เมื่อปี ค.ศ. 1969 ทางสันตะสำนักก็ยกเลิกวันฉลองนักบุญคริสโตเฟอร์จากปฏิทินศาสนาที่เป็นทางการ เพราะขาดหลักฐานทางประวัติศาสตร์ว่านักบุญคริสโตเฟอร์มีตัวตนหรือเป็นผู้เคร่งครัดทางศาสนาจริงหรือไม่[1] แต่การฉลองก็ยังทำกันตามท้องถิ่น

ตำนานของนักบุญคริสโตเฟอร์[แก้]

ในบางภาพ นักบุญคริสโตเฟอร์จะมีหัวเป็นสุนัข

ตามตำนานกล่าวว่าในสมัยของจักพรรดิเดซิอุสแห่งจักรวรรดิโรมันมีชายคนหนึ่งชื่อ เรเพรบัส หรือ เรโพรบัส (ภาษาอังกฤษ รีโพรเบท) ถูกจับเป็นเชลยศึกจากสงครามกับชนเผ่าทางตะวันตกของอียิปต์และถูกส่งไปทำงานในหน่วย “Marmaritae” ซึ่งสันนิษฐานว่าอาจจะเป็นชนเผ่าเบอร์เบอร์แห่งไซเรไนคา เรเพรบัสมีลักษณะสูงใหญ่และท่าทางน่าเกรงขามมีหัวเป็นสุนัข (cynocephaly) และเป็นผู้กินเนื้อมนุษย์เช่นชน Marmaritae[2] ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตามในที่สุดเรเพรบัสก็หันมานับถือศาสนาคริสต์และเข้าพิธีบัพติศมาและเริ่มเผยแพร่ศาสนา ในที่สุดเจ้าเมืองแอนติออก (หรือบางเรื่องก็ว่าพระจักพรรดิเอง) ประกาศสั่งประหารชีวิตเรเพรบัสเพราะความเชื่อในศาสนาคริสต์ แต่เรเพรบัสก็รอดการปองชีวิตมาได้หลายครั้งอย่างปาฏิหาริย์ แต่ในที่สุดก็อนุญาตให้ประหารตนเองหลังจากที่เปลึ่ยนศาสนาคนเป็นจำนวนมาก ร่างของเรเพรบัสถูกนำกลับไปอะเล็กซานเดรียโดยปีเตอร์แห่งอัตตาเลีย

อ้างอิง[แก้]

  1. http://www.catholic.org/saints/saint.php?saint_id=36
  2. In both East and West, stories, such as the Irish Passion of St. Christopher], and iconography, such as that illustrated at dog-headed The Legend of Saint Christopher the Dogface เก็บถาวร 2007-08-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน present him as literally having a dog's face. The dog-faced version is found not only in the East, where it is more common, but also in the West, as shown in some of the images in the source just quoted and in a thirteenth-century stained-glass window in the cathédral St-Maurice of Angers, France; and the image of the Christ-bearing Christopher is also found in Eastern iconography (Greek Orthodox Saints เก็บถาวร 2008-02-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน).

ข้อมูลเพิ่มเติม[แก้]